เรื่องเล่า : คณะสงฆ์มอญ – มหาจุฬาฯ “มจร”มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะมีงานประสาทปริญญาประจำปี ระหว่างวันที่ 9 -10 ธันวาคม 2566 ซึ่งตามกำหนดการวันที่ 9 เป็นวันซ้อมใหญ่ วันที่ 10 เป็นวันรับปริญญาจริง ปีนี้มีผู้จบการศึกษาทั้งสิ้น 4,628รูป/คน ลงทะเบียนเข้ารับประทานปริญญาบัตรรับจริง 3,108 รูป/คน แยกเป็นบรรพชิต 1,671 รูป และคฤหัสถ์ 1,437 คน อันนี้รวมวิทยาเขต “มจร” ทั่วประเทศที่มีมากกว่ามี 43 แห่ง รวมทั้งสถาบันสมทบจากต่างประเทศอีก 5 แห่ง แต่ไม่นับรวมผู้มีชื่อเสียงทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ที่สภา “มจร” อนุมัติปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ เข็มเกียรติคุณ ซึ่งมาจากทั่วโลกอีก 117 รูป/คน โดยแบ่งเป็นปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 74 รูป/คน และเข็มเกียรติคุณ 43 รูป/คน ซึ่งตอนนี้มีประมุขสงฆ์บ้าง นักวิชาการบ้าง ผู้คำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาบ้าง เริ่มทยอยเดินทางเข้ามายังประเทศไทยแล้ว “ผู้เขียน” ในฐานะ “ผู้ประสานงาน” ให้กับคณะสงฆ์มอญหรือ “รามัญ” ซึ่งปีนี้ทางสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ให้โอกาสมี “ส่วนร่วม” ในการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา และ “มจร” ในโอกาสสำคัญนี้ด้วยเนื่องจาก มีคณะสงฆ์มอญประกอบด้วย 2 นิกาย คือ “รามัญนิกาย -นิกายมหาเย็น” จะมารับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และขณะเดียวกันคณะสงฆ์มอญใช้โอกาสนี้เจริญสัมพันธไมตรีถวาย “พระไตรปิฎกฉบับภาษามอญ” ให้กับ “มจร” ในขณะที่ผู้บริหาร “มจร” ก็มอบถวายพระไตรปิฎกฉบับ “มจร” ให้กับคณะสงฆ์มอญเฉกเช่นเดียวกัน หากเป็นสมัยก่อนโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งแบบนี้ มีการแลกเปลี่ยนพระไตรปิฎกซึ่งกันและกันมีแบบนี้ คงจะมีการเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืนเป็นอย่างต่ำ เพราะพระไตรปิฎกคือ คัมภีร์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา บรรจุทั้งพระอภิธรรม พระวินัยและพระสูตรที่เป็นรากเหง้าสำคัญในการรวบรวมความเป็น พระพุทธศาสนา ไว้ในนี้ทั้งหมด พระไตรปิฏกคือ..ชีวิตของพระพุทธศาสนา การมอบพระไตรปิฏกเสมือนการมอบชีวิตของพระพุทธศาสนาให้กันและกัน เป็นการสืบทอดอายุของพระพุทธศาสนาให้ยึดยาวไปชั่วลูกชั่วหลาน คณะสงฆ์มอญในประเทศพม่าประกอบด้วย 3 นิกาย คือ รามัญนิกาย นิกายมหาเย็น และนิกายชะเวจิน จำนวนพระภิกษุ -สามเณร มากที่สุดคือ รามัญนิกาย มีประมาณ 10,000 รูป จำนวน วัด1,000 กว่าวัด ส่วนนิกายมหาเย็นมีวัด 98 วัดและพระภิกษุ-สามเณร 1,000 กว่ารูป ส่วนชะเวจิน มีน้อยกว่าทั้งสองนิกาย เดิมความแตกแยกระหว่างนิกายในคณะสงฆ์มอญก็เหมือนกับความแตกแยกระหว่าง “คณะสงฆ์มหานิกาย-คณะธรรมยุต” ในประเทศไทย และลามไปถึงวาทกรรม “พระฉัน -พระเธอ” ในหมู่ประชาชนด้วย แต่ปัจจุบันนี้ความแตกแยกระหว่างนิกายนั้นได้สลายลงไปด้วยอิทธิพลของพระภิกษุรุ่นใหม่และประชาชนคนรุ่นใหม่แล้ว ตามประวัติศาสตร์ของคณะสงฆ์มอญเดิมทีคณะสงฆ์มอญในพม่า ไม่มีความแตกแยกกันเพราะมีนิกายเดียว คือ รามัญนิกาย หลังจากมอญตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า รัฐบานพม่าใช้นโยบาย “แบบแยกแล้วปกครอง” จึงแยกคณะสงฆ์มอญออกเป็น 3 นิกายดังที่กล่าวมา ปัจจุบัน “คณะสงฆ์รามัญนิกาย” ของมอญ มีศูนย์กลาง อยู่ในเมืองเมาะละแหม่งซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐมอญ มีการจัดสอบพระปริยัติธรรมแบบฉบับของมอญเองทุกปี ในแต่ละปีมีพระสงฆ์มอญมาร่วมสอบร่วม 3,000 รูป ซึ่งการสอบพระปริยัติธรรมนี้ เป็นไปโดยความเห็นชอบของรัฐบาลพม่า “ผู้เขียน” เคยพาคณะสงฆ์และมอญจากประเทศไทย ไปร่วมถวายผ้าไตร เลี้ยงภัตตาหาร ในนาม “มูลนิธิรามัญรักษ์” หลายครั้ง รู้สึกประทับใจ และทั้งมีความพยายามที่จะให้ “พระภิกษุ-สามเณร” เหล่านี้เมื่อสอบผ่านตามหลักสูตรชั้นสูงของเขาแล้วเช่น “ธรรมจริยะ” สามารถมาเรียนต่อ “มจร” หรือ “มมร” ได้เลย ภายใต้การอนุมัติของคณะสงฆ์มอญด้วยกันเอง หลายปีมานี้ “ผู้เขียน” มีโอกาสคลุกคลีและพูดคุยกับคณะสงฆ์มอญทั้ง 3 นิกายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะสงฆ์ในรามัญนิกายและนิกายมหาเย็น หรือ “รามัญธรรมยุต” สัมผัสได้ว่า คณะสงฆ์มอญรุ่นใหม่ ความแตกแยกระหว่างนิกาย “เบาบาง -จางหาย” ไปเกือบหมดแล้ว คณะสงฆ์รุ่นใหม่ มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น ฉันข้าววงเดียวกัน ไปไหนไปด้วยกัน และที่สำคัญท่านเหล่านี้ผ่านการศึกษามาจากต่างประเทศ เช่น ศรีลังกา อินเดีย และประเทศไทย ระบบการศึกษายุคใหม่..ทำให้ความแตกแยกระหว่างนิกายในอดีต ปัจจุบันแทบไม่มีหลงเหลือ ซึ่งส่งผลดีต่อการทำงานรับใช้พระพุทธศาสนาในระยะยาว เพราะหากคณะสงฆ์มีความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ชาวบ้านก็สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียว เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศพม่า ศรีลังกา กัมพูชา หรือแม้กระทั้งประเทศไทย “ผู้เขียน”นำมาเล่าเรื่องเหล่านี้ สืบเนื่องมาจากคณะสงฆ์มอญประกอบด้วย “คณะสงฆ์รามัญนิกาย-นิกายมหาเย็น” หรือรามัญธรรมยุต จะเดินทางมารับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และจะมีการมอบพระไตรปิฏกแก่ “มจร” ร่วมกันในวันเสาร์ที่ 9 ธันวาคม 2566 นี้ โดยมี “พระธรรมวัชรบัณฑิต” อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เกียรติแก่คณะสงฆ์มอญมารับพระไตรปิฏกด้วยตัวท่านเอง รวมทั้งมีรองอธิการบดี คณะผู้บริหารอีกหลายท่านมาร่วมงาน ภายใต้การประสานงานของรองฝ่ายต่างประเทศคือ “พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน” และคณะทำงาน ซึ่งกิจกรรมมอบพระไตรปิฏกซึ่งกันและกันระหว่างคณะสงฆ์สองประเทศแบบนี้ “ผู้เขียน” เป็นหัวเก่าให้ความสำคัญเป็นอย่างมากและทั้งดีใจและภูมิใจเป็นอย่างมากที่ตนเองเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมแบบนี้ และที่ดีใจมากยิ่งกว่าคือ คณะผู้บริหาร “มจร” ให้โอกาส ให้เกียรติ โดยไม่เลือกว่าคณะสงฆ์ที่จะมามอบนั้น เป็นมาอย่างไรและปัจจุบันอยู่กันอย่างไร ซึ่งสอดคล้องกับความคิดของ “ผู้เขียน” ที่ว่า ความเป็นพระสงฆ์ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหน ชนชาติพันธุ์อะไร หรือนิกายใด ถือว่าเป็น “ลูกสมณโคดม” สืบเชื้อสายแห่ง “ศากยะมุนี” เช่นเดียวกัน ต้องเป็นอันเดียวกัน ศาสนาพุทธในพม่าเจริญ ศาสนาพุทธในไทยก็เจริญ หากศาสนาพุทธในกัมพูชาตกต่ำ ศาสนาพุทธในไทยก็ตกต่ำ เราต้องช่วยกัน ต้องพยุงซึ่งกันและกัน เหมือน “พระพรหมบัณฑิต” เคยบอกกับผู้เขียนว่า คณะสงฆ์ไทยเราติดหนี้บุญคุณคณะสงฆ์มอญ ยินดีมากที่ “มจร” ได้มีโอกาสทำงานร่วมกับคณะสงฆ์มอญ ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ว่ายุคนี้หรือยุคอนาคต “ผู้เขียน” ขอยืมสำนวนวัดพระธรรมกายที่มักสอนลูกศิษย์เสมอว่า “พุทธบุตรต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว” กันฉะนั้น.. จำนวนผู้ชม : 762 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘พระว.วชิรเมธี’ กว่าจะมาเป็น ‘พระเมธีวชิโรดม’ อุทัย มณี ก.ค. 30, 2019 'พระว.วชิรเมธี' กว่าจะมาเป็น 'พระเมธีวชิโรดม' : สำราญ สมพงษ์ รายงาน… ผิดหรือไม่ “ที่ไม่นับถือศาสนา” คำถามท้าทายคณะสงฆ์ ?? อุทัย มณี เม.ย. 06, 2021 เว็บไซต์ข่าว "thestandard" โดย ณัฐพงศ์ ดวงแก้ว ได้รายงานเกี่ยวกับผู้ไม่นับถือศาสนาใด… “มจร”ร่วมจัดบรรพชาเฉลิมพระเกียรติ ปลูกต้นกล้าโพธิปัญญาแดนพุทธภูมิ 9 – 25 ต.ค.2562 อุทัย มณี ต.ค. 06, 2019 วันที่ 6 ต.ค.2562 พระเมธีธรรมาจารย์ หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดี… ผ่านฉลุย : ร่าง.พ.ร.บ.รายจ่ายปี’63 อุทัย มณี ม.ค. 11, 2020 หลังจากสภาผู้แทนราษฎรอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ… เช็ครายชื่อพระภิกษุสามเณรผู้สอบได้ ประโยค ป. ธ. 9 ดังคาด “วัดโมลีฯ” แชมป์ อุทัย มณี มี.ค. 12, 2023 วันที่ 12 มีนาคม 2566 ณ แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร… พระมหาไพรวัลย์นำจุดเทียนอาลัยพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่พุทธมณฑล อุทัย มณี ม.ค. 27, 2019 วันที่ 27 ม.ค.2562 เพจ ไพรวัลย์ วรรณบุตร โพสต์ข้อความว่า ภาพกิจกรรมที่พุทธมณฑลเมื่อวานนี้… ข่าวดี!! ศูนย์ปริยัตินิเทศก์รับสมัครพระภิกษุ-คฤหัสถ์ เป็นนักวิชาการศาสนา 14 อัตรา อุทัย มณี ก.ย. 17, 2024 วันที่ 17 กันยายน 2567 พระพรหมบัณฑิต ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์… มทร.ธัญบุรีเปิดภาคการศึกษาใหม่! นิมนต์พระ’มจร’รับบบิณฑบาต อุทัย มณี มิ.ย. 28, 2019 เมื่อเวลา 06.00น.วันที่ 28 มิ.ย.2562 พระราชวรมุนี,รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต… นายอำเภอเบญจลักษ์ นำทีมอำเภอตรวจร่วมขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน” เน้นย้ำ ต้องรวมกลุ่ม “คุ้มบ้าน” ที่มั่นคง ควบคู่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อุทัย มณี พ.ย. 04, 2023 วันที่ 4 พ.ย.66 นายธนเดช พระอารักษ์ นายอำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ… Related Articles From the same category สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ – คณะสงฆ์จีนนิกาย -ปลัด มท. ร่วมวางศิลาฤกษ์ก่อสร้าง “วัดมังกรธรรมนาวาราชาธิคุณ (วัดเล่งเน่ยยี่ 4)” วันนี้ (5 ก.ย. 67) เวลา 16.09 น. ที่วัดมังกรธรรมนาวาราชาธิคุณ 龍船法恩寺… เปิดใจ!พระส.ส.ดาวสภาศรีลังกา ทำหน้าที่ไม่แพ้ฆราวาส ชื่นชอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 25 ธันวาคม 2561 พระสุวรรณเมธาภรณ์ ผศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ… ฝึกอาชีพก็มี!! “ศพช.ลำปาง” จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น “108 อาชีพแก้จน พัฒนาคนทุกช่วงวัย” ต่อยอดผลผลิต “โคก หนอง นา” วันที่ 12 ตุลาคม 2564 ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง จัดกิจกรรม… อว. ชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง “ศ.-รศ.-ผศ.” เพิ่มเติมการขอตำแหน่ง 5 ด้าน อว. ชี้แจงหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้ง "ศ.-รศ.-ผศ." เพิ่มเติมการขอตำแหน่ง… ‘พระว.วชิรเมธี’ยกไอน์สไตน์ชูศาสนาพุทธเป็นศาสนาสากล เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม เพจ ‘พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี’ เผยแพร่คลิปความยาว…
Leave a Reply