มหาดไทย Kick-Off : 60 วันทุก อปท.ต้องมีธนาคารขยะอย่างน้อย 1 แห่ง เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี ชีวีตที่มีความสุขอย่างยั่งยืนของประชาชน วันนี้(3 ม.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งในวันนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 7,773 แห่ง ได้เริ่ม Kick-Off การขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) พร้อมกันทั่วประเทศ ด้วยความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องของกระทรวงมหาดไทย ในการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดการขยะมูลฝอยโดยดำเนินการตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการจัดให้มีระบบจัดการและกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมากรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลการดำเนินการคัดแยกขยะรีไซเคิลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู จังหวัดลพบุรี องค์การบริหารส่วนตำบลผาสามยอด จังหวัดเลย องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และเทศบาลตำบลหนองล่อง จังหวัดลำพูน ตั้งแต่วันที่ 5 – 17 ตุลาคม 2566 เพื่อถอดบทเรียน จัดทำแผนงานและแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) โดยมีศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการฯ เกี่ยวกับการดำเนินการศึกษาจัดทำแผนงานและแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมทั้งมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการดำเนินงานตามคู่มือโครงการศึกษาจัดทำแผนงานและแนวทางขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า แนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นนี้ เป็นการสนับสนุนให้ประชาชนได้มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลในครัวเรือน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายใต้หลักการ 3ช (3Rs) คือ ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมทั้งรณรงค์สร้างความรับรู้ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนในทุกพื้นที่มีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะและคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลหรือไปขาย เพื่อให้มีรายได้สู่ชุมชน และพัฒนาสู่การจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและรับซื้อขยะรีไซเคิลจากประชาชน อันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชนและนำรายได้ไปจัดสวัสดิการสังคมในรูปแบบต่าง ๆ “สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับพื้นที่ ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนในระดับจังหวัด โดยคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอยระดับจังหวัด ทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีธนาคารขยะอย่างน้อยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละ 1 แห่ง ซึ่งจะต้องมีการประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ในระดับจังหวัด) ให้สอดคล้องกับคู่มือแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ท้องถิ่นจังหวัด ให้คำแนะนำและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจัดตั้งธนาคารขยะ ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับจากวันนี้ที่มีการ Kick-Off รวมทั้งมีการจัดทำพื้นที่ต้นแบบ (พี่เลี้ยง) ของธนาคารขยะ และขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัด โดยสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดตั้งคณะกรรมการธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงานธนาคารขยะประจำชุมชน/หมู่บ้าน พร้อมทั้งสนับสนุนผลักดันให้อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก (อถล.) ทุกครัวเรือน เข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารขยะของชุมชน/หมู่บ้าน พร้อมทั้งรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในจังหวัดทราบถึงประโยชน์ของการคัดแยกขยะรีไซเคิล สร้างองค์ความรู้ในการดำเนินโครงการธนาคารขยะ ให้ทราบถึงผลประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการธนาคารขยะ ผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายศึกษาวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามคู่มือแนวทางที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด พร้อมทั้งติดตาม และรายงานผลการขับเคลื่อนโครงการให้กระทรวงมหาดไทยทราบทุกเดือน 2) การขับเคลื่อนในระดับอำเภอ ให้คณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในระดับอำเภอ จัดประชุมซักซ้อมแนวทางการขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับอำเภอ โดยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ ท้องถิ่นอำเภอ ให้คำแนะนำ สนับสนุน และร่วมดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง มีธนาคารขยะของชุมชน/หมู่บ้าน โดยใช้กลไกคณะกรรมการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยระดับอำเภอ สนับสนุนและผลักดันการดำเนินงานโดยใช้อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา ร่วมกันประสานงานและขับเคลื่อนธนาคารขยะในระดับชุมชน/หมู่บ้าน ส่งเสริม และสนับสนุนการดำเนินงานของคณะทำงานธนาคารขยะประจำชุมชน/หมู่บ้าน ในการจัดทำข้อบังคับธนาคารขยะ ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานธนาคารขยะและการเปิดรับสมาชิก พร้อมทั้งการติดตามและรายงานผลการขับเคลื่อนนโยบาย รวบรวมปัญหา อุปสรรค ผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการขับเคลื่อนนโยบายฯ ให้จังหวัดทราบ และ 3) การขับเคลื่อนในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการเตรียมความพร้อมสำรวจข้อมูลขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน การจัดการขยะมูลฝอย ได้แก่ การคัดแยกขยะมูลฝอย การรีไซเคิลขยะในระดับครัวเรือน ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำฐานข้อมูล มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินงานธนาคารขยะในชุมชน/หมู่บ้าน พร้อมทั้งจัดทำธรรมนูญชุมชน/หมู่บ้าน/ตำบล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการคัดแยกขยะมูลฝอยครัวเรือน และจัดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ คณะกรรมการธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน และคณะทำงานธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านการติดตามและรายงานผลการขับเคลื่อนนั้น จังหวัดจะเป็นหน่วยงานรวบรวมและบันทึกในแบบรายงานของจังหวัด เพื่อให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นทราบ โดยมีระยะเวลาดำเนินงานติดตามและรายงานผล คือ 1) วันที่ 22 มกราคม 2567 เป็นการเตรียมความพร้อมในการมีฐานข้อมูลขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน (การจัดการขยะมูลฝอย การคัดแยกขยะมูลฝอย ผู้ประกอบการรับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่) พร้อมทั้งมีการประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินงานธนาคารขยะในพื้นที่ และมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ และประกาศจัดตั้งคณะทำงานธนาคารขยะในระดับชุมชน/หมู่บ้าน 2) วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 จะมีการจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ ในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน มีหน้าที่ในการประชุมและการสำรวจผู้ประกอบการรับซื้อในชุมชน ราคา ประเภทของขยะรีไซเคิลที่รับซื้อ ประสานงานผู้รับซื้อให้เข้าร่วมธนาคารขยะในราคา ระยะเวลา และสถานที่ที่เพียงพอต่อปริมาณขยะที่เข้ารับซื้อตามความเหมาะสม มีการจัดทำระเบียบ/ข้อบังคับธนาคารขยะ โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกระเบียบ หลักเกณฑ์ และอำนาจในการบริหาร คณะทำงานฯ และฝ่ายต่าง ๆ เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงาน เช่น การรับสมัคร การรับซื้อขยะ การประชาสัมพันธ์ การทำบัญชี พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเพื่อสร้างการรับรู้การดำเนินงานธนาคารขยะกับชุมชน โดยจัดตั้งทีมปฏิบัติการร่วมกับอาสาสมัคร ท้องถิ่นรักษ์โลก เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะรีไซเคิล เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความน่าสนใจของการเป็นสมาชิกธนาคารขยะ และ 3) วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 จะเป็นวันแห่งการขับเคลื่อนโครงการฯ ซึ่งจะมีการเปิดรับสมาชิกธนาคารขยะชุมชน/หมู่บ้าน โดยกําหนดวันเวลา และสถานที่ในการรับสมัคร ที่เหมาะสม และประชาสัมพันธ์การรับสมัครให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบ พร้อมทั้งมีการประชุมทำความเข้าใจ สร้างองค์ความรู้ในการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะที่ขายได้-ขายไม่ได้ และแจ้งกำหนดการในการรับซื้อขยะรีไซเคิลให้สมาชิกได้รับทราบ “ขอให้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านนายอำเภอ ผู้นำท้องถิ่นท้องที่ ร่วมแรง ร่วมใจกัน ระดมสรรพกำลังสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม Change for Good ทำให้เกิดธนาคารขยะในทุกพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม และช่วยกันหนุนเสริมขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพูดคุยกันอย่างสม่ำเสมอ มีการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมรับประโยชน์ ตาม 4 กระบวนการของแนวทางการทำงานโครงการในพระราชดำริกว่า 5,151 โครงการ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอให้ทุกท่านได้ช่วยกัน Action Now แล้วเราจะมีความสุขในการทำให้เกิดทำให้มีสิ่งที่ดีในแผ่นดินไทย ในพื้นที่ชุมชนของพวกเรา เพื่อโลกใบเดียวนี้ของเราทุกคน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 10,973 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ยอดลงทะเบียนหนี้นอกระบบครบ 60 วัน มูลหนี้ 9,240 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้วกว่า 1.36 แสนราย ไกล่เกลี่ยแล้ว 9,066 ราย หนี้ลดลงกว่า 606 ล้านบาท อุทัย มณี ม.ค. 29, 2024 วันที่ 29 ม.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการลงทะเบียนแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ… ภาคีเครือข่ายฯ-คณะสงฆ์ปทุมธานี เดินหน้า’วัดประชา รัฐ สร้างสุข-รักษาศีล 5′ อุทัย มณี เม.ย. 24, 2019 ประธานชมรมรักษ์บวร รักษ์ศีล 5 ปทุมธานีฯ ประสานความร่วมมือสภาอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี… แน่นห้อง!ดร.พระธรรมโมลี เปิดโสเหล่…เสวนาวิชาการเรื่องAI อุทัย มณี ม.ค. 31, 2019 วันที่ 31 มกราคม 2562 ที่หอประชุมอาคารพระพรหมบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… พศ.แจงแล้วปม! ตรวจสอบเณรร่วมม็อบราษฎรขัดคำสั่งมส. อุทัย มณี ก.พ. 25, 2021 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 เพจคณะปฎิสังขรณ์การพระศาสนาใหม่ออกแถลงการณ์… ปรากฎการณ์ : เมื่อพระไม่ทิ้งโยม..?? อุทัย มณี ส.ค. 14, 2021 ตั้งแต่บรรพกาลจวบจนปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์มีส่วนสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเป็นอย่างมาก… ย้อนรำลึก “พระกิตติวุฑโฒ” 19 ปี เก็บสรีระสังขาร ปิดตำนาน 1 ในวงการสงฆ์ เจ้าของวาทกรรม “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” อุทัย มณี มี.ค. 13, 2024 วันที่ 13 มี.ค. 67 รายการ “ถอนหมุดข่าว” เผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์… ส่องภาพคณะสงฆ์รามัญนิกาย “สอบบาลี” ณ รัฐมอญ อุทัย มณี มี.ค. 13, 2021 วันนี้ (13 มี.ค.64) ณ รัฐมอญ ประเทศเมียนมา แม้สถานการณ์การเมืองจะมีการชุมนุมและประท้วงทั่วประเทศ… ตามไปดู “วัด ประชารัฐ สร้างสุข” อุทัย มณี ธ.ค. 17, 2023 ไม่กี่วันที่ผ่านมาติดตาม “พระเทพเสนาบดี” เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี… ‘อธิการบดี มจร’ แนะนิสิตปฏิบัติธรรม นำสามไตรเสริมวิชาชีวิต ผ่าวิกฤติยุค Disruption อุทัย มณี ธ.ค. 18, 2018 วันที่ 18 ธ.ค.2561 เวลา 17.00 น. ที่สถาบันโพธิญาณมหาวิชชาลัย พุทธมณฑล… Related Articles From the same category พช.จับมือ ปณ.ลดค่าขนส่ง OTOP หนุนเศรษฐกิจฐานรากสู้ภัยโควิด เสริมแกร่งเศรษฐกิจฐานรากมั่นคง “อธิบดี พช.” ขานรับนโยบาย… ในหลวง พระราชทานพระพุทธรูปแก่ชาวพุทธในประเทศอินเดีย จำนวน 72 องค์ วันที่ 24 ก.ย.2566 เวลา 09.00 น. ณ สมาคมมหาโพธิ์อินเดีย สำนักงานใหญ่… “นิยม” ถาม “อนุชา” ตอบ เรื่อง “นิตยภัต” วันที่ 6 ม.ค. 66 วานนี้ ณ ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ดร.นิยม เวชกามา… เจ้าอาวาสศรีสะเกษเดือด!! ตำรวจทำเกินหน้าที่หรือไม่ ซัดผู้นำชุมชนบางคนอยากคุมวัด!! วันที่ 17 เมษายน 2566 เฟชบุ๊ค หลวงพี่ตะวัน ปัญญาชนก้นบาตร หรือ… “สงฆ์สายวัดป่ากาฬสินธุ์แตกยับ” 45 เจ้าคณะอำเภอ-ตำบล ทยอยลาออกค้านมติมส. ปลดเจ้าคณะจังหวัด วันที่ 21 ต.ค. 64 – จากกรณีมหาเถรสมาคม (มส.) มีคำสั่งแต่งตั้งพระสังฆาธิการ…
Leave a Reply