“มจร” มอบพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา ฯ แก่ “มธ.” เพื่อกระชับสัมพันธ์เนื่องในปีมหามงคล

วันที่ 15 มีนาคม 2567  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบให้ พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการฝ่ายวางแผนและพัฒนา ปฎิบัติหน้าที่แทนในพิธีมอบพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมี รองอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้า นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมพิธี  โดยมี รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ร่วมรับมอบ

พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวว่า  วันนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยการดำเนินการของรองอธิการการบดีฝ่ายต่างประเทศ พระมหาสุรศักดิ์    ปจฺจนฺตเสโน  ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมอบพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฺฉลิมพระเกียรติให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยท่านอธิการบดีเดินทางมารับด้วยตนเอง พร้อมกับคณาจารย์ เจ้าหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระไตรปิกฎที่มอบให้ในวันนี้ สืบเนื่องด้วยปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชมนมายุครบ 72 พรรษา ในวโรการปีมหามงคลนี้ประชาคมชาวมหาจุฬา ได้จัดกิจกรรมทั้งทางด้านวิชาการ จิตอาสา ทั้งด้านอื่น ๆ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และเพื่อเทิดทูนสถานชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปีมหามงคล

ในการมอบพระไตรปิฏกในครั้งนี้ เป็นฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพระไตรปิฎก ที่ครูบาอาจารย์ ขอมหาจุฬา  ฯที่นำโดย พระเดชพระคุณ ศาตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีเป็นบรรณาธิการใหญ่ ในการแปลจากภาษาลี ซึ่งเป็นต้นฉบับ มาสู่ภาษาไทย เป็นฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาค พระราชอิสริยยศของสมเด็จพระพันปีหลวง ในสมัยนั้น เป็นพระไตรปิฏกที่ได้รับการพูดถึงว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย แปลสำนวนที่ไม่ทิ้งของเดิม ไม่ทิ้งภาษาบาลี เป็นภาษาร่วมสมัย อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุดฉบับหนึ่ง

“เบื้องต้นนี้จึงเจริญพรเรียนท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขอมอบพระไตรปิฏกฉบับสำคัญนี้ ที่ลงทุนด้วยสติปัญญาและความอดทน ต่อประชาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ ในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากนั้น ที่ผ่านมาระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาตลอด มีความสัมพันธ์ทั้งด้านสถานที่ วิชาการ กิจกรรมด้านอื่น ๆ มากมาย ในเบื้องต้นนั้น ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีความเคารพนับถือใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่านเป็นผู้สร้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคเริ่มต้น เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง คือ พระพิลธรรม หรือ หลวงพ่ออาจ ประวัติศาสตร์บอกว่าท่านสองนี้เป็นกัลยาณมิตรกัน ไปมาหาสู่กัน ปรึกษาหารือกัน และทั้งคู่เป็นผู้ที่มีความคิดล้ำสมัยตั้งแต่นั้น อันนี้ประการที่หนึ่ง

ส่วนประการที่สอง เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับ พระราชวรมุนี ปัจจุบันคือ พระพรหมบัณฑิต  ซึ่งท่านมีตำแหน่งทางวิชาการคือศาสตราจารย์ และเป็นศาสตราจารย์รูปแรกของ มจร ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากในคณะสงฆ์ที่มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยเห็นความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์  ส่วนเรื่องที่สามคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดกว้างทางวิชาการ ระยะแรกๆ  พระภิกษุ สามเณรจะไปศึกษามหาวิทยาลัยยากมาก แต่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแรก ๆ ที่เปิดกระตู่กว้างให้กับพระภิกษุสามเณร ที่เรียกว่าเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ใครก็ตามมีคุณสมบัติพร้อมก็มีสิทธิเรียน พวกเราพระภิกษุสามเณรที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็มีทางเลือกมากขึ้น  ซึ่งแต่เดิมไปได้เฉพาะอินเดีย เท่านั้น

ในนามพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาจุฬา และชาวประชาคมมหาจุฬา ทั้งส่วนกลาง วิทยาลัยเขต 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ 28 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 4 แห่ง และสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง ขอมอบพระไตรปิฏกฉบับเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในปีมหามงคล 6 รอบ 72 พรรษา แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไปศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาดังที่กล่าวมาแล้ว..”

ด้าน รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น กล่าวว่า “ในนามของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันนี้รู้สึกยินดีปลาบปลื้มเป็นมาก ๆ ที่ได้มีพิธีกรรมที่น่าเลื่อมใส อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับมอบพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมีโอกาสรับมอบพระไตรปิฏกในวันนี้ สืบเนื่องจากการที่ทั้งสองสถาบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีความร่วมมือกันทางวิชาการ การศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการวิชาการ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงมิตรสัมพันธ์ ไมตรีทั้ง สองมหาวิทยาลัย ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมาอันยาวนาน

สุดท้ายขอของกราบขอบพระคุณ พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยทาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเก็บพระไตรปิฏกฉบับนี้ ไว้เป็นสื่อ เพื่อศึกษา ค้นคว้า ให้กับคณาจารย์ นักศึกษา บุคคลากร ตลอดจนประชาชน หรือผู้สนใจ ได้ศึกษาต่อไป..”

Leave a Reply