เมื่อวันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมศิลปากรได้ลงสำรวจด้วยวิธีเดินเท้า ที่พระธาตุดอยห้างบาตร จ.ลำพูน ได้ข้อสรุปดังนี้ 1. การสำรวจครั้งนี้มุ่งเน้นในพื้นที่ 300 ไร่ ตามระวางของสำนักพุทธ ดำเนินการสำรวจด้วยวิธีเดินเท้า ตามจุดที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะพบโบราณสถาน ประกอบด้วย พื้นที่ยอดเขา, พื้นที่แนวสันเขา และพื้นที่เชิงเขา ประกอบกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้อาวุโส พระสงฆ์ และผู้นำชุมชนภายในพื้นที่
2.การสำรวจครั้งนี้ สามารถดำเนินการได้ทั้งสิ้น 57 จุดสำรวจ พบโบราณสถาน 1 แห่ง คือ โบราณสถานดอยจันตั๊ะ และพื้นที่ศาสนสถาน 2 แห่ง คือ 1)พื้นที่พระธาตุดอยห้างบาตร บนยอดเขา และ 2)พื้นที่วัดดอยห้างบาตร ตรงเชิงเขา (เหมือนกับข้อมูลที่เคยสำรวจในครั้งแรก) พื้นที่อื่น ๆ นอกจากนี้ยังไม่มีการพบแหล่งโบราณคดีหรือโบราณสถานใด ๆ เพิ่มเติม
3.ข้อมูลที่พบใหม่ในครั้งนี้ คือ บริเวณศาสนสถาน คือ 1) พื้นที่พระธาตุดอยห้างบาตร บนยอดเขา พบแนวหินเรียงก่อในลักษณะทางเดิน ยาวประมาณ 50 เมตร บริเวณลาดเนินเพิ่มเติม ซึ่งยังไม่สามารถกำหนดอายุได้ 2) พื้นที่วัดดอยห้างบาตร ตรงเชิงเขา พบกลุ่มกองอิฐ ที่เสียหายจากการปรับพื้นที่ ขนาดอิฐใกล้เคียงกับที่นิยมใช้ในสมัยล้านนา และบ่อน้ำโบราณกรุอิฐ เพิ่มเติม แต่ยังไม่สามารถกำหนดอายุสมัยที่ชัดเจนได้
4.การประชุมแจ้งสรุปผลการการทำงานในเบื้องต้น วันที่ 11/08/65 เวลา 14.00 น. มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมรับฟังผลการสำรวจในเบื้องต้น มีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นายจักรรินทร์ สิรินทรภูมิ นายอำเภอบ้านธิ, นายสุชาติ แซ่ซิน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ, นางสาวนภัสสร ตั้งหลัก หัวหน้าสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ, นายเผด็จ ใจมุข ผู้ใหญ่บ้านห้วยไซใต้, นายนิติธร บุตรดา ผู้ช่วย สส.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล, พระครูวิเชียรปัญญา (ครูบาทันใจ) วัดดอยห้างบาตร
5.ประเด็นแจ้งในที่ประชุมประกอบด้วย 1) แจ้งผลการสำรวจเบื้องต้น ตามที่ได้รายงานในข้อ 1-3 2) แจ้งบทบาทหน้าที่ของกรมศิลปากร คือ การสำรวจเพื่อค้นหา กำหนดจุดหลักฐานทางโบราณคดี และให้ความเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับอายุสมัยเพื่อใช้ในการประกอบการพิจารณา แต่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแนวเขตพื้นที่วัดดอยห้างบาตรในปัจจุบัน 3) ที่ประชุมขอให้เร่งดำเนินการแจ้งผลการสำรวจในครั้งนี้ไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาต่อไป
Leave a Reply