เที่ยวน่าน : ยลวัดภูเก็ต แลวิถีชุมชนไทลื้อ 200 ปี “ผู้เขียน” เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาได้รับคำชวนจาก “ศูนย์อาเซียนศึกษา” มจร ให้ไปร่วมสัมมนาวิชาการนานาชาติ ที่ มจร จังหวัดน่าน ภายใต้เงื่อนไขคือ ต้องชวนพระสงฆ์จากมหาวิทยาลัยสงฆ์มอญ จากประเทศเมียนมา ไปด้วย ซึ่งสุดท้ายได้ต่อรองว่าขอนำไป “พระนิสิตมอญ” จาก มจร ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์มอญไปร่วมก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นการเดินทางไปร่วมงานในครั้งนี้ จึงไปร่วมในสถานะมิใช่ “สื่อมวลชน” แต่เป็นผู้ติดตามหรือประสานงานให้กับคณะสงฆ์มอญ เมื่อถึงเวลาไปจริง คิดจะ “เบี้ยว” เนื่องจากดูแล้วท่าทางไม่น่าราบรื่น “พอดี” ดันไปรับปาก “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทยไว้ว่า หากขึ้นจะไปพูดคุยกับ “เจ้าคุณต่าย” พระชยานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน และ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งปลัดเก่งบอกว่าเป็นโต้โผใหญ่จัดงานนี้ ส่วนอีกเป้าหมายหนึ่ง “ติดใจ” วิถีชีวิตและธรรมชาติ “วัดภูเก็ต” อ.ปัว จ.น่าน ของ “เจ้าคุณพล” พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 อยากไปเยือนอีกครั้ง อยากไป “ค้างแรม” เนื่องจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วเคยไปครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ค้างคืน อยากไปชมบรรยากาศพระอาทิตย์ตกดิน มองเห็นภูเขาทอดยาวสูงตะหง่าน ด้านล่างเป็นทุ่งนา ใกล้ ๆ เห็นเจดีย์องค์เก่า ด้วย รู้สึกชอบ จึง “ตัดสินใจ” ไปร่วม การสัมมนาวิชาการมีระหว่างวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน เนื่องจากการสัมมนาครั้งนี้มีมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ฯ และมูลนิธิกสิกรไทย รวมทั้งสถานทูตจีนในประเทศไทย เข้าร่วมด้วย ในส่วนของคณะผู้บริหาร มจร นับตั้งแต่ “พระพรหมวัชรธีราจารย์” อธิการบดี มจร ลงไปจนถึงคณาจารย์หลายรูป หลายท่านไปร่วม “ผู้เขียน” เมื่อถึงที่พักซึ่งทางเจ้าภาพจัดไว้เป็นรีสอร์ทสวยงาม ขอแยก “ห้องนอน” และขอ “จ่ายเอง” ไม่ต้องเดือดร้อนเจ้าภาพ เนื่องจากแต่ไหนแต่ไรมาติดนิสัยแบบ “พระภิกษุ” คือ ไม่ชอบร่วมนอนกับใคร เป็นคนโลกส่วนตัวสูง และอีกประการหนึ่งว่าง ๆ มักหาอะไรขีดเขียนไปเรื่อย ๆ สรุปความก็คือชอบความสงบและความเป็นส่วนตัว วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ภาคเช้ากำหนดการเปลี่ยน แต่โชคดีเจอ “เจ้าคุณต่าย” ที่รีสอร์ทที่พัก คณะของท่านมาร่วมประชุมกับผู้บริหาร มจร เพื่อยกสถานะ “วิทยาลัยสงฆ์น่าน” เป็น “วิทยาเขต” เฉลิมพระเกียรติ ฯ ได้พูดคุยกับท่านเล็กน้อยทั้งเรื่องมหาวิทยาลัยสงฆ์น่าน ทั้งเรื่องกิจกรรมที่ท่านทำอยู่ในจังหวัดน่านโดยเฉพาะ “ศูนย์การเรียนรู้ภูเพียงโมเดล รักษ์ป่าน่าน” ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่ของวัดพระธาตุแช่แห้ง จึงรู้ว่าท่านนอกจากเป็นพระนักพัฒนา มีความองค์ความรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่านแล้ว ยังสืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองน่านด้วย เพราะมีนามสกุลต่อท้ายว่า ณ น่าน ภาคบ่าย “กรมสมเด็จพระเทพฯ” เสด็จ หลังจากรับเสด็จด้านล่างแล้ว ผู้เขียนมิใช่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรด้วย จึงเดินไปสักการะ “พระธาตุแช่แห้ง” แล้วแวะไปดู “ตัวบอม” ในพระอุโบสถ ที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยกับภรรยา ร่วมกันสร้างเอาไว้ เมื่อหลายเดือนก่อน ด้วยความสงสัยว่า “ตัวบอม” คืออะไร ถามจาก “เจ้าคุณต่าย” พอจับใจความได้ แต่ยังไม่แน่ชัด ไปค้นคว้าจากหนังสือ ศิลปะวัฒนธรรม ค่ายมติชน พอได้ความรู้ว่า “ตัวมอม คือ สัตว์หิมพานต์ ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะโดดเด่น มักปรากฏคู่กับวัดและวิถีชีวิต “ล้านนา” ตัวมอมเป็นสัตว์ในจินตนาการที่ช่างล้านนาใช้เรียกสัตว์ในอุดมคติที่ไม่มีตัวตนอยู่จริง ปรากฏอยู่เฉพาะในคติความเชื่อของชาวบ้านและงานศิลปกรรมล้านนา กล่าวคือ มักปรากฏอยู่ในลักษณะของงานประติมากรรมประดับตามวัดทางภาคเหนือตอนบนเท่านั้น โดยเฉพาะวัดในจังหวัดเชียงใหม่ที่อดีตเป็นศูนย์กลางความรุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา ตัวมอมมีลักษณะคล้ายคลึงกับสัตว์หลายชนิดผสมกัน ทั้ง สุนัข แมว ตุ๊กแก กิ้งก่า ลิง เสือ มีแขนยาว ลำตัวยาวยืดคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน มีใบหู และสีตัวจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฝีมือของช่าง ในงานประติมากรรมของชาวล้านนาจะปรากฏประติมากรรมรูปตัวมอมประดับอยู่บริเวณราวบันได ตามหน้าแหนบ รอยต่อคอสอง บนเครื่องหลังคา หน้าบัน ซุ้มประตูโขง ซุ้มวิหาร ซุ้มประตูทางเข้า บานประตูท้องไม้ โก่งคิ้ว ต้นเสา และบริเวณภายในของวิหาร อุโบสถ เจดีย์ อาคารอื่นภายในวัด.” ต่อจากนั่นก็แวะไปเดินดู โรงเรียนพระปริยัติธรรม ไปดูพระพุทธรูปไสยาสน์เก่าแก่ที่สร้างโดย “นางแสนพลัว” ตั้งแต่ พ.ศ. 2129 ล่วงเลยมาแล้ว 438 ปี ผู้สร้างคงเป็นคหบดีชาวน่านยุคนั้น เพราะองค์พระพุทธรูปใหญ่โตมาก คนธรรมดาไม่น่าสร้างได้ ในจารึกแปลโดยกรมศิลปากรระบุว่าสร้างถวาย..พระธาตุแช่แห้ง เดินไปดู ““ศูนย์การเรียนรู้ภูเพียงโมเดล รักษ์ป่าน่าน” มีเจ้าหน้าที่ดูแลอยู่ เหมือนสวนพักผ่อน มีสวนสมุนไพร ผักปลอดสารพิษ ผักออแกนิค ด้วย เดินจนหมดแรงกลับไปที่วิทยาลัยสงฆ์น่าน เจอเจ้าคุณพล “พระเทพเวที” เจ้าคณะภาค 6 พอดี จึงถึงโอกาสขอท่านไปเที่ยว “วัดภูเก็ต” อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่าน ท่านเจ้าคุณก็เมตตาหารถให้ทันที พร้อมกับกำชับด้วยว่าไปแล้ว..ต้องเขียนเป็นเรื่องเล่าด้วยว่าไปเจออะไรมา และกำชับต่อว่าให้ไปคุยกับ “ป้าหลอม” ช่างทอผ้าภูมิปัญญาไทยลื้อ คนเก่าแก่ที่รักษาภูมิปัญญาทอผ้าไทยลื้อไว้ 200 กว่าปีด้วย ประธานกลุ่มกลุ่มทอผ้าไทลื้อบ้านเก็ต ซึ่งอดีต “ป้าหลอม” หรือ นาง ศดานันท์ เนตรทิพย์ ได้รับหน้าที่ทำตุง ศิลปะของจังหวัดน่าน ถวายเพื่อใช้ประกอบในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี 2551 ด้วย หรือแม้กระทั้งสำคัญ ๆ ในจังหวัดน่านก็ “ร่วมจัด” แสดงฝีมือหลายครั้ง ทั้งเป็นบุคคลสำคัญในการตั้งกลุ่มวิสาหกิจการทอผ้าอีกหนึ่งอัตลักษ์ของชาวไทลื้อจากรุ่นสู่รุ่นสืบทอดกันมา 200 กว่าปี จนได้รับคัดเลือกให้เป็น OTOP 5 ดาว ด้วยการทอผ้าในแบบโบราณต่างๆ ทุกลวดลาย เช่น ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายขิด ผ้าลายมัดก่าน ตุง พร้อมทั้งบรรจงเรื่องราวการอพยพของบรรพบุรุษไทลื้อจากสิบสองปันนาลงในลายผ้าเป็น “สตอรี่” เรื่องเล่าด้วย “วัดภูเก็ต” ตั้งอยู่ใน ต.วรนคร อ.ปัว จังหวัดน่าน เห็นชื่อแล้วอาจจะแปลกใจกันเล็กน้อยว่าชื่อวัด น่าจะอยู่ในจังหวัดภูเก็ต มากกว่าที่จะอยู่ใน จังหวัดน่าน ซึ่งตามจริงแล้ววัดภูเก็ต ตั้งชื่อตามหมู่บ้านที่ชื่อว่า หมูบ้านเก็ต แต่ด้วยวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ซึ่งทางเหนือ เรียกว่า “ดอย” หรือ “ภู” จึงตั้งชื่อว่า “วัดภูเก็ต” หมายถึง วัดบ้านเก็ตที่อยู่บนภู หรือ ดอย วัดภูเก็ต ถือว่าเป็นวัดที่มีภูมิทัศน์และวิวที่สวยงาม โดยจุดเด่นของวัด คือ มีระเบียงชมวิวด้านหลังวัด ติด กับทุ่งนาที่กว้าง ไกลพร้อมด้วยฉากหลัง เป็นภูเขาวนอุทยานดอยภูคา ในยามเช้าวัดภูเก็ตเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามอีกแห่งหนึ่ง ด้านล่างวัดมี แม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งเป็นน้ำซับซึมมาจากใต้ดินไหลรินรวมกันเป็นลำธารให้ฝูงปลาและสัตว์น้ำอยู่อาศัย ทางวัดได้จัดให้เป็นเขตอภัยทานให้นักท่องเที่ยว สามารถให้อาหารจากลานข้างบน ผ่านท่อไหลลงไปให้กับฝูงปลาได้ และสามารถมองเห็นฝูงปลาที่อยู่ด้านล่างได้อย่างชัดเจน มีอุโบสถทรงล้านนาประยุกต์ จิตรกรรม ฝาผนังสามมิติ เป็นที่ประดิษฐาน “หลวงพ่อแสนปัว หรือ หลวงพ่อพุทธเมตตา” ที่ศักดิ์สิทธิ์ หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ชุมชน “วัดภูเก็ต” เป็นชุมชนของชาวไทลื้อมีบ้านเรือนประมาณ 200 กว่าหลังคาเรือน ประชากร 1,000 คน ถือว่าเป็นชุมชนขนาดใหญ่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของอำเภอปัว มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีหลายวัดที่พยายามรักษาแบบอัตลักษณ์ของชุมชนไทลื้อ และภูมิปัญญาของตนไว้อย่างเดียวแน่นโดยเฉพาะ “การทอผ้า” ซึ่งทั้ง “วัดและชุมชน” มี “เจ้าคุณพล” พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 นี่แหละ เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน ที่นำความเจริญมาให้ทั้งการสร้างวัดภูเก็ตให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว การนำเด็ก ๆ มาบวชเรียนเป็นสามเณรโดยมี โรงเรียนพระปริยัติสามัญ ตอนนี้มีสามเณรประมาณ 100 รูป ภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรมมี “ร้านค้าสหกรณ์” นำผลิตภัณฑ์ชุมชนและฝีมือวาดรูป ช่างสิบหมู่ของสามเณรมาจำหน่ายเพื่อหารายได้ให้กับ “กองทุนสามเณร” ด้วย “ผู้เขียน” ถามครูผู้หญิงท่านหนึ่ง บอกตอนนี้สามเณรหายาก น้อยลง ปีหนึ่งต้องออกไปแนะแนว เยี่ยมเยียนตามชุมชนปีละไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง แต่สามเณรที่นี่ครูบอกว่า “เก่ง” สอบติดมหาวิทยาลัยดัง ๆ หลายแห่งทั้ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,แม้โจ้ หรือแม้กระทั้งมหิดล ซึ่งการดูแลอุปถัมภ์นอกจากรัฐบาลแล้ว ตอนนี้ก็ได้ “เจ้าคุณพล” และ “เจ้าอาวาสวัดภูเก็ต” เป็นหลักใหญ่ เท่าที่สอบถามจาก “ชาวบ้าน” พระเทพเวที หรือ “เจ้าคุณพล” ถือว่าเป็น “แกนนำสำคัญ” ในการนำความเจริญมาสู่วัดและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการรักษาภูมิปัญญาของชุมชนไทลื้อไว้อย่างเหนียวแน่นและมั่นคง “ป้าหลอม” หญิงชราในวัย 70 ปี เป็น “ผู้นำแห่งความเปลี่ยนแปลง” ยึดมั่นในอุดมการณ์ในการที่จะรักษาวิถีชีวิตไทลื้อไว้โดยเฉพาะการ “ทอผ้า” ไว้อย่างเหนี่ยวแน่น ปัจจุบันสังขารร่วงโรยไปตามกาลเวลา เป็นผู้นำในการรวบรวมสตรีในชุมชนตั้งเป็น “วิสาหกิจทอผ้าชุมชน” มีเครือข่ายประมาณ 58 ครัวเรือน “ป้าหลอม” บอกตอนนี้ธุรกิจทอผ้าให้ “พี่อ้อย” ซึ่งเป็นลูกสาวเป็นคนดูแลแทน เพราะอายุมาก ไปไหนลำบาก คนในชุมชนที่เคยร่วมกันทำงานบางคนก็จากไปแล้ว ปัจจุบันสินค้าประเภทนี้ “จำหน่ายยาก” ช่องตลาดน้อยลง ผ้าทอของป้าหลอม ทำมาจากฝ้าย ปั่นด้ายและทอเองกับมือ ผสมจากสีธรรมชาติ ไม่ใช้สีเคมี “ป้าหลอม” นำลายผ้าที่เล่าเรื่องราวการอพยพของบรรพบุรุษจากสิบสองปันนา ประเทศจีนลงเป็น “ลายผ้า” มีดาว มีรูปสัตว์ มีท้องฟ้า และเส้นทางทิวเขา ซึ่งป้าบอกว่า “ลายผ้า” นี้ คือ เรื่องราว การเดินทางของปู่ย่าตายายเมื่อ 200 กว่าปีก่อนมาทำเป็น..ลายผ้า เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษและอัตลักษณ์ของไทลื้อ “ผู้เขียน” หลังจากพูดคุยกับป้าหลอมจบ เดินทางกลับสู่ตัวจังหวัดน่าน โดยได้รับความอนุเคราะห์รถจาก “หลวงพี่ต่อ” ซึ่งผู้เขียนก็ไม่รู้ว่าเป็นรูปใด เพียงฟังจาก “พระเทพเวที” ว่าเป็นเลขารองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เมื่อถึงตัวจังหวัดน่าน บอกคนขับรถว่าอยากทาน “อาหารพื้นเมือง” คนขับรถจึงพาไปร้านอาหารแห่งหนึ่งในตัวจังหวัด ได้ทานอาหารพื้นเมืองสมใจอยาก จึงไปสมทบกับคณาจารย์บางส่วนจาก “มจร” ส่วนกลาง ที่ยังไม่ได้กลับ ที่วิทยาลัยสงฆ์น่าน “จังหวัดน่าน” เป็นจังหวัดหนึ่งในหลายจังหวัดที่ผู้เขียนเดินทางไปแล้วรู้สึกประทับใจทั้งในมิตรไมตรีและอัตลักษณ์ของจังหวัด ที่ยังคงไว้อย่างเหนี่ยวแน่น โดยเฉพาะ ป่าไม้และธรรมชาติ สวยงามมองไปทางไหนในช่วงต้นฤดูฝนแบบนี้ สดชื่นไปหมด!! จำนวนผู้ชม : 813 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ทนาย “หลวงพี่น้ำฝน” ฟ้องคดีอาญาทั้ง “จาตุรงค์” และ บิ๊กสื่อช่องดัง” ผู้ประกาศข่าว โดนด้วย อุทัย มณี ส.ค. 22, 2023 วันนี้ 22 ส.ค. 66 ที่วัดไผ่ล้อม ต.พระปฐมเจดีย์ อ.เมือง จ.นครปฐม… มหาจุฬาฯ รวมผู้นำพุทธ 55 ชาติเปิด UN จัดวิสาขะโลก อุทัย มณี พ.ค. 21, 2023 วันที่ 21 พ.ค. 66 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม,ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกและประธานกรรมการดำเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ… “คณะสงฆ์อุบล” ส่งมอบเครื่อง “อุปโภค -บริโภค” ปันน้ำใจไทอุบล สู่คนเชียงราย-หนองคาย อุทัย มณี ก.ย. 16, 2024 วันที่ 16 กันยายน 2567 คณะจังหวัดอุบลราชธานี ส่งมอบข้าวสาร อาหารแห้ง… วัดพุทธเกียวโตสุดล้ำ! สร้างพระโพธิสัตว์กวนอิม AI เทศน์ได้ อุทัย มณี ก.พ. 25, 2019 วันที่ 25 ก.พ.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วัดพุทธในประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้… ระวัง !! แก๊งค์หากิน “เร่ขายโล่รางวัล อุทัย มณี ธ.ค. 16, 2018 โดย..นายสัจจวาที เดียวนี้ผมเห็นสมาคม มูลนิธิหรือบางทีก็องค์กร… “มหาไพรวัลย์” ฟาดแรง “ว.วชิรเมธี” ปมตำหนิ “หนุ่ม” ลั่น ตักน้ำใส่บาตร ชะโงกดูหน้าตัวเองบ้าง. อุทัย มณี ต.ค. 18, 2024 วันที่ 18 ต.ค. 2567 ยังคงร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง จากกรณีที่มีการพาดพิงกันไปมาระหว่าง… แจกฟรี!พระขุนแผนพิมพ์เล็ก หลวงพ่อพัฒน์ คือ “รุ่นวางศิลาฤกษ์” อุทัย มณี ธ.ค. 24, 2018 วัดห้วยด้วน (ธารทหาร) อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ พระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมที่มีชื่อเสียง… ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม คำสำคัญ ๓ คำที่ต้องทำความเข้าใจในการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา อุทัย มณี ธ.ค. 18, 2018 คำ ๓ คำนี้ พบว่าเป็นคำที่ไทยบัญญัติใช้ ศีลธรรม (ในพระไตรปิฎกพบมีแต่ว่า… เสกวาระสุดท้าย19 ส.ค.2565ที่วัดประดู่ฉิมพลี กทม.! พระสิวลีพระอรหันต์เรียกลาภ 101 ปี “หลวงปู่พัฒน์”มาแรง อุทัย มณี ส.ค. 20, 2022 พระอรหันต์เรียกลาภมาแรง! พระสิวลี 101 ปี หลวงปู่พัฒน์ ปุญฺญกาโม… Related Articles From the same category ปลัดมท.ปลุกสังคมช่วยกันสร้าง “นักจิตอาสา” โดยใช้หลัก “บวร” สร้างความรัก ความสามัคคี ความเสียสละ ในชุมชนกลับคืนมา!! วันที่ 16 กันยายน วานนี้ เวลา 19.15 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย… อลงกรณ์เผย“ประเทศกานา”ชื่นชมโครงการพระราชดำริยกเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน วันที่ 22 ก.พ. 66 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์… “พระนักวิชาการ”ชื่อดัง ติง”กรรมการสิทธิ” วินิจฉัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระธรรมวินัย ควรปรึกษา “มหาเถรสมาคม” ก่อน วันที่ 28 กันยายน 2566 หลังจากเว็ปไซต์ข่าว "Thebuddh" ได้นำบทสัมภาษณ์ของ… “เจ้าฟ้าทีปังกรฯ” เสร็จสักการะสมเด็จพระสังฆราช วันพุธ ที่ 5 เมษายน 2566 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ… “ชวน”นิมนต์ พระธุดงค์รณรงค์สันติภาพรอบโลก ฉันเพลสนทนาสันติภาพ วันที่ 17 มิ.ย.2563 นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะประธานรัฐสภา…
Leave a Reply