นายกสมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสต์จุฬาฯ เปิดดัวหนังสือ “ร่วมปกิณกะ 101 ปี ตรึงตรา ล้ำค่า น่าภูมิใจ “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” วันนี้ (25 มี.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ นายกสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานกรรมการดำเนินงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ 2567 เปิดเผยถึงการจัดงาน “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” 26 มีนาคม 2567 โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.น.จ.) ซึ่งในการจัดงานในครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินงานฯ ได้เล็งเห็นว่า “การพิมพ์หนังสือ” เป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดการจดจารบันทึกอันถาวรยาวนาน และหนังสือที่เป็นที่รู้จักของชาวจุฬาฯ มาอย่างเนิ่นนานนับเป็นเวลา 101 ปี นั่นคือ “หนังสือมหาวิทยาลัย” ที่ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อ ปี 2466 ซึ่งถือเป็นหนังสือสำคัญและมีประวัติความเป็นมาอันล้ำค่า สมควรที่จะได้รับการอนุรักษ์จัดพิมพ์ซ้ำอีกในวาระนี้ “คณะกรรมการดำเนินงานฯ จึงได้นำ “หนังสือมหาวิทยาลัย” จำนวน 44 ฉบับ มาประมวลจัดพิมพ์ ทั้งหน้าปก สารบัญ และหน้าเปิดบทของแต่ละเล่ม รวบรวมไว้ในหนังสือที่ระลึก “มหาวิทยาลัย : UNIVERSITY”เนื่องในการจัดงาน “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” 26 มีนาคม 2567 โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ผู้ซึ่งเป็นนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ รับเป็นสาราณียกรร่วมกับคณะทำงานสาราณียกร ซึ่งหนังสือที่ระลึกนี้จะมอบให้กับนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบันของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะเดินทางมาร่วมงานในวันที่ 26 มีนาคม 2567 ทุกคน โดยคาดหวังว่าการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกในครั้งนี้ จะทำให้เกิดอรรถประโยชน์ 2 ประการ คือ 1) ชุมชนชาวจุฬาฯ จะได้รับรู้ถึงผลงานของบรรพชนชาวจุฬาฯ เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมาว่าได้ผลิตสิ่งดีไว้ในบรรณาพิภพ และยังเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในปัจจุบันและอนาคต และประการที่ 2) สาธารณชน ผู้ที่สนใจงานสังคมศาสตร์แขนงต่าง ๆ จะได้เข้าถึงเอกสารชั้นปฐมภูมิอย่างง่าย ๆ เช่น พระราชพงศาวดาร วรรณกรรม เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ บทความทางวิทยาศาสตร์ ศาสนา ภาพประกอบเรื่อง ฯลฯ อันจะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า “ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต : ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก”” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ประธานกรรมการดำเนินงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ 2567 กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนพี่น้องนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบันทุกรุ่น ร่วมใส่เสื้อสีชมพูร่วมงาน “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” ที่จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (วันอังคารที่ 26 มีนาคม 2567) โดยช่วงเช้าเวลา 06.00 – 09.00 น. พิธีวางพุ่มสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และพิธีทำบุญตักบาตร และช่วงเย็นเวลา 17.00 – 22.00 น. งานสังสรรค์รื่นเริง พร้อมรับชมกิจกรรมการแสดงจากผู้แทนนิสิตเก่าจุฬาฯ และนิสิตปัจจุบัน มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทั้งการบรรเลงบทเพลง โดยวงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Band) การแสดงชุดต่าง ๆ อาทิ การแสดงจากผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Cheerleader) การแสดงโดยศิลปิน การแสดงโดยสมาคมนิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ สมาคมนิสิตเก่าคณะนิเทศศาสตร์ และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ การแสดง “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” การแสดงจากผู้แทนนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่น 50 ปี (CU16) และรุ่น 51 ปี (CU17) การมอบธงสัญลักษณ์การเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 50 ปี จากผู้แทนนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่น 50 ปี (CU16) สู่ผู้แทนนิสิตเก่าจุฬาฯ รุ่น 51 ปี (CU17) และกิจกรรมพิเศษ “จุฬาฯ ถ้วน ล้วนถวายพระพร” ที่มีการขับร้องบทเพลงและบทกวีเพลง “ในอุ่นอ้อมอกมั่นคง” และการเชิญธงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธงสโมสรนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ ธงคณะต่าง ๆ ขึ้นประจำบนเวที ทั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในงานวันครบรอบ 107 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเช้า “สำหรับพี่น้องจุฬาฯ ที่ไม่สามารถเดินทางมาร่วมงานได้ สามารถดาวน์โหลดหนังสือที่ระลึก “มหาวิทยาลัย” เนื่องในการจัดงาน “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” รูปแบบ E-Book ทาง https://identity.in.th/web/flipbook/107cu/ เพื่อร่วมซึมซับ ศึกษา ผลงานของรุ่นพี่ รุ่นน้องชาวจุฬาฯ รุ่นต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา 107 ปี ที่ผ่านมา ที่ได้สร้างสรรค์ผลงานวรรณศิลป์อันทรงคุณค่า ตรึงตรา และภาคภูมิใจ ที่สำคัญเป็นการบันทึกไว้เป็นมรดกของชาวจุฬาฯ ให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงท้าย ด้านอาจารย์ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์ สาราณียกร กล่าวว่า สำหรับหนังสือมหาวิทยาลัย UNIVERSITY เนื่องในการจัดงาน “107 ปี จุฬาฯ พระคุณแนบไว้นิรันดร” ในครั้งนี้ รูปแบบของ “ปกหนังสือ” เป็นส่วนสำคัญที่สุดที่สาราณียกรผู้รับผิดชอบในแต่ละปีจะต้องสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีตและสวยงาม ตั้งแต่การออกแบบฟอนต์ตัวอักษร การคัดเลือกภาพที่จะนำมาตีพิมพ์ การให้สีปก การขยายหรือย่อองค์ประกอบต่าง ๆ ที่นับว่าเป็นงานศิลปะชั้นสูง ที่จะทำให้ผู้อ่านเลือกหยิบจับและซื้อหามาอ่าน ประการถัดมา คือ “เนื้อหา” ซึ่งมีบทความ เรื่องสั้น เรื่องแปลจากต่างประเทศ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งจะต้องคัดเลือกและทาบทามนักเขียนผู้ทรงคุณวุฒิมาเขียนบทความนั้น ๆ และประการสุดท้าย “หน้าโฆษณา” ที่จะทำให้เราได้เห็นพัฒนาการของสินค้าและการออกแบบโฆษณาชิ้นนั้น ๆ แต่เพื่อความสมบูรณ์และเหมาะสมของหนังสือ จึงได้รวบรวมส่วนที่เป็นหน้าปก สารบัญ และหน้าเปิดบทของแต่ละเล่ม มาไว้ในหนังสือที่ระลึกฉบับนี้ จำนวนผู้ชม : 17,087 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปลัด มท. สั่งการผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ผ่านกิจกรรม “ปลูกต้นไม้คู่ชีวิต” โดยให้นักเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่จังหวัด ร่วมปลูกต้นไม้คนละ 1 ต้น อุทัย มณี มิ.ย. 25, 2022 วันที่ 25 มิ.ย. 65 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… วิทยาลัยพระธรรมทูตเห็น Disruption เพิ่มทักษะธรรมวิจัยสร้างนวัตกรรมรองรับ อุทัย มณี ม.ค. 10, 2019 วันที่ 10 มกราคม 2562 เวลา 19.00 น. พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและรักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต… “รองผู้ว่าฯแม่ฮ่องสอน-คกก.ขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5” ตรวจเยี่ยมประเมินผลงานที่วัดแม่ลาหลวง อุทัย มณี ส.ค. 31, 2023 วันที่ 31 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ วัดแม่ลาหลวง ตำบลแม่ลาหลวง อำเภอแม่ลาน้อย… หวั่นพระถูกข้อหารุกป่า! พศจ.ขอนแก่นแจ้งเจ้าสำนักที่พักสงฆ์ ขอตั้งวัด-ผ่อนผันภายใน 7 ก.ย.นี้ อุทัย มณี ส.ค. 10, 2021 สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น แจ้งเตือนที่พักสงฆ์ในพื้นที่… มมร เอาด้วยตั้ง “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน” อุทัย มณี ม.ค. 14, 2021 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ ห้องประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย… เสียงจากสงฆ์ธรรมยุต : ผู้ทรงศีลทรงธรรมไม่ควรถูกกระทำเยี่ยงคนธรรมดา อุทัย มณี เม.ย. 18, 2022 วันที่ 18 เมษายน 65 เฟชบุ๊คชื่อ “Sophonthamudom” หรือ พระครูโสภณธรรมอุดม… IRPC มอบน้ำมันเชื้อเพลิงแก่วัด..ฌาปนกิจผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 อุทัย มณี ก.ค. 16, 2021 วันที่ 16 ก.ค. 64 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19… นายอำเภอพาชม! ผลสำเร็จ “โคก หนอง นา พช.” อุทัย มณี ต.ค. 10, 2021 วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2564 นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี… พระ “ขี้เหนียว” อุทัย มณี ส.ค. 28, 2023 “เปรียญสิบ” คิดว่าผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินวาทกรรมแบบนี้… Related Articles From the same category บันไดไม่แห้ง!! “คณะศิษย์หลวงปู่ชา” วัดหนองป่าพง เข้ามุทิตา “พระพรหมสิทธิ” วันที่ 26 กันยายน 2567 พระภาวนาวัชราจารย์ (เฮนนิ่ง เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ… มหาดไทยเชิญคนไทยสวดมนต์ข้ามปี ถวายพระราชกุศล เสริมสิริมงคลทั่วโลก กระทรวงมหาดไทย เชิญชวนพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรม… ขอโทษ!! คำว่า “ขอโทษ” มันคือ การยอมรับผิดของผู้พลาดพลั้งพูด หรือ กระทำลงไปด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง… ทัวร์ลง !! “พระครูเล็ก” หลังคลิปเสียงคล้ายหลุดสู่สาธารณะ วันที่ 28 พ.ย. 2564 ดร.ณพลเดช มณีลังกา อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น… ลาสิกขาแล้ว! “พระกากัน มาลิค” นักเเสดงชาวอินเดีย หลังบวช 100 วันกว่า วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 จากกรณีก่อนหน้านี้ที่เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2565…
Leave a Reply