“พระมหานรินทร์ ซัด!! พระต้น ข้อความ “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ” รับไม่ได้??
“สมัยหนึ่ง มีอุบาสกรู้แจ่มแจ้งคำสอนของพระศาสดา ได้ยินพราหมณีสองแม่ลูกคุยกัน จึงเดินเข้าไปหา
มีฟุตโน๊ตไว้ด้วยว่า อ้างอิงจากขุททกนิกาย วิมานวัตถุ : เรื่องเปสการิยวิมาน
แม่เทพธิดาผู้น่าชม มองแล้วไม่เบื่อเธอมาจากไหนหนอจึงอุบัติยังภพของเรานี้เราทั้งมวลมองดูเธอไม่รู้จักอิ่ม เหมือนทวยเทพชั้นไตรทศ รวมทั้งพระอินทร์มองดูพระพรหมไม่รู้จักอิ่ม
พระสูตรนี้ (เปสการิยวิมาน) ก็มีเนื้อหาเพียงเท่านี้ แต่ขออธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งว่า พระสูตรนี้ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยเริ่มที่องค์อมรินทร์ หรือพระอินทร์ ทรงมีคำถามต่อนางเปสการิยเทพธิดา ว่าทำบุญอะไรมา จึงได้มาเกิดในวิมานอันสวยงาม มีบริวารและยศสูงส่ง ข่มเทพอัปสรผู้เกิดก่อน
องค์อมรินทร์ได้สดับดังนั้น ก็ทรงชื่นชมต่อผลบุญของนางเปสการิยเทพธิดา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ชาวกรุงพาราณสี. วันหนึ่ง เวลาเช้า พระภิกษุจำนวนมาก ได้เข้าไปบิณฑบาตในกรุงพาราณสี ท่านเดินผ่านบ้านของนายช่างหูก ซึ่งขณะนั้น ธิดา (ลูกสาว) ของนายช่างหูก กำลังไซ้เหาให้แก่มารดา และได้เหลือบเห็นพระภิกษุเหล่านั้นเดินบิณฑบาตผ่านไป จึงได้พูดกับมารดาว่า “พระเหล่านี้กำลังหนุ่มแน่น มีรูปร่างหล่อเหล่า ผิวเนียนละเอียด ดูท่าว่าจะสูญเสียของรักบางอย่าง (เกิดความเสียใจอย่างแรง) จึงได้พากันมาบวช (ทำนองบวชชีเพราะหนีช้ำ)
ในขณะนั้น มีอุบาสกคนหนึ่ง เดินผ่านหน้าบ้านของเปสการพราหมณ์มาเช่นกัน ได้ฟังสองแม่ลูกพูดคุยกันเช่นนั้น จึงเข้าไปทักทายมารดาและลูกสาวทั้งคู่ แต่เปสการิยพราหมณ์ผู้เป็นบิดา ได้เข้าไปสนทนากับอุบาสกคนนั้นแทน โดยถามว่า ท่านอุบาสก เดี๋ยวนี้ กุลบุตร (เด็กหนุ่ม) จำนวนมาก พากันสละทรัพย์สินและเครือญาติ ไปออกบวชในศาสนาของพระศากยโคดม พวกเขาเห็นประโยชน์อะไรจึงทำไปเช่นนั้น
ต่อจากนี้ อุบาสกท่านนั้น ได้พรรณนาความหมายของการออกบวช ตามภูมิความรู้ที่ตนเองมี พรรณนาถึงคุณของพระรัตนตรัย และอานิสงส์ของการรักษาเบญจศีล ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
3. จากการที่ธิดาของนายช่างหูก ได้รับศีลและธรรมปฏิบัติจากอุบาสกคนดังกล่าวไปปฏิบัติ จนกระทั่งได้บรรลุโสดาปัตติผล และส่งผลให้ได้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นปาทปริจาริกา (สนม) ของพระอินทร์ ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการรับศีลจากอุบาสกมารักษา และปฏิบัติธรรมว่าด้วยการพิจารณาอาการ 32 ในร่างกาย จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายความรัก ซึ่งนับว่าเป็นตัวอย่างในทางพระศาสนาที่น่าสรรเสริญ
ในสังคมอินเดียยุคพุทธกาลนั้น สตรีสาวอาจจะไม่ได้มีอิสระในการไปไหนมาไหนตามลำพัง ยิ่งการจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าถึงนอกเมือง คือป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จึงเป็นเรื่องใหญ่ นี่จึงเป็นเหตุให้นางได้รับศีลจากอุบาสกแทน เพราะว่ามาหาถึงบ้าน ในขณะที่บิดามารดาก็ยังอยู่พร้อมหน้า
แต่ในหนังสือธรรมนาวาวัง ของพระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ กลับนำเรื่องราวดังกล่าวมาบิดเบือน โดยสร้างวาทกรรมใหม่ว่า “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ” โดยยกเอาเรื่องนางเปสการิยเทพธิดามาเป็นตัวอย่าง
ถ้าพระทวีวัฒน์จะสร้างวาทกรรมขึ้นมาว่า “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ก็ยังถือว่าตรงตามข้อเท็จจริง แต่การที่พระทวีวัฒน์สร้างวาทกรรมว่า “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ” จึงเกิดคำถามว่า ทำไมจึงมาเจาะจงที่พระ ทั้งๆ ที่พระภิกษุไม่ได้มีบทบาทสำคัญในเรื่องเปสการิยธิดานั้นเลย
2. การสร้างวาทกรรม “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ” ซึ่งเนื้อหาจริงๆ ก็ดังที่กล่าว คือ ความสำคัญในเรื่องเปสการธิดานั้น คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเวลานั้นก็ทรงประทับอยู่ที่เมืองพาราณสี แต่ธิดาของนายช่างหูกคงไม่สะดวกจะเดินทาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้แต่เพียงรับศีลและฟังธรรมจากอุบาสกแทน
ด้วยความคิดวิปริตเช่นนี้เอง พระทวีวัฒน์ (ต้น) จารุวณฺโณ จึงได้ตัดลัดเนื้อหาของพระไตรปิฎกรวมทั้งอรรถกถา นำมาเล่าเพียงนิดหน่อย แล้วก็สร้างวาทกรรมสำทับลงไปว่า “ไม่จำเป็นต้องรับศีลจากพระ”
คำถามสุดท้าย แน่ใจหรือว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้อ่านเนื้อหาในหนังสือชุด ธรรมนาวาวัง ทั้งหมดแล้ว จึงทรงโปรดให้พิมพ์เผยแพร่แก่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไทย
Post navigation
Posted in:
Leave a Reply