“โคก หนอง นา อารยเกษตร คือคำตอบ “ความมั่นคงแห่งชีวิต” วันที่ 6 ตุลาคม 2567 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 16.00 น. วานนี้ (5 ต.ค. 67) ตนในฐานะผู้เคยดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมด้วย ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.เอสพีซีจี ได้เดินทางไปเยี่ยมชมความสำเร็จและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนโครงการโคก หนอง นา อารยเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 แปลงนายบุญธรรม จันทะนะ เลขที่ 36 หมู่ที่ 5 บ้านหนองหอยทุ่ง ต.ธาตุพนมเหนือ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมี นางสาวพันสี คุณธรรม รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดนครพนม นายศิริชัย ธนะอุตร พัฒนาการอำเภอธาตุพนม นายบุญธรรม จันทะนะ เจ้าของแปลง และภาคีเครือข่ายโคก หนอง นา จ.นครพนม ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า โครงการโคก หนอง นา อารยเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เป็นตัวอย่างของการเสริมสร้างสิ่งที่ดีในชีวิตพี่น้องประชาชน เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “ความยั่งยืน” อันเกิดจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ที่มีมากกว่า 40 ทฤษฎี และโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีกว่า 4,741 โครงการมาปฏิบัติ อันเป็นการสนองพระราชปณิธาน “สืบสาน รักษา ต่อยอด” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงถือเป็นการปฏิบัติบูชาที่เป็นรูปธรรม และก่อให้เกิดผลต่อไปอย่างยั่งยืน อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา อารยเกษตร ซึ่งพี่บุญธรรม เจ้าของแปลงได้เล่าให้พวกเราฟังว่า ทำให้มีรายได้ 300-500 บาทต่อวัน และสามารถลดรายจ่ายค่าอาหารวันละ 300-400 บาท มีกินมีใช้ในพื้นที่ของตนเอง นอกจากนี้ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาประยุกต์สู่อารยเกษตร หรือที่เราเรียกชื่อเล่นแต่เดิมว่าโคก หนอง นา ที่เป็นการเรียกตามการปรับปรุงพื้นที่ให้มีหนอง ขุดสระ ขุดหนอง ขุดคลองไส้ไก่ นำดินมาทำเป็นโคก เป็นที่ดอน เป็นที่ลุ่มสำหรับปลูกพืช 5 ระดับ สูง กลาง ต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 อย่าง ประกอบด้วย 1 ไม้กินได้ 2 ไม้ทำที่อยู่อาศัย 3 ไม้ใช้สอย เกิดประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ทำให้ร่มเย็น เป็นสุข รวมทั้งปฏิบัติตามทฤษฎีบันได 9 ขั้น คือ ขั้นที่ 1-4 พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ขั้นที่ 5 คือทำบุญ ขั้นที่ 6 คือทำทาน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงการทำทานด้วยกล้าไม้ ขั้นที่ 7-9 การรู้จักเก็บรักษา และการรวมกลุ่มเครือข่ายเพื่อค้าขายผลผลิต “อารยะเกษตร” ซึ่งมีความหมายว่า “อารยะ” แปลว่า สวยงาม “เกษตร” แปลว่า แผ่นดิน “อารยเกษตร” จึงหมายความรวมว่า แผ่นดินที่สวยงามอุดมสมบูรณ์ โดยการที่เราจะทำให้แผ่นดิน และพื้นที่แห่งนี้อุดมสมบูรณ์ได้ เราต้องน้อมนำสิ่งที่พระองค์ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ด้วยการนำมาทำให้ดีกว่าเก่าโดยไม่ทิ้งรากฐานหรือทฤษฎีที่เป็นฐานโคก หนอง นา บวกกับวัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นศรีสะเกษที่เป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม ดังพระราชดำรัส “อารยเกษตร” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ความตอนหนึ่งว่า “…โคก หนอง นา นอกจากเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม แล้วยังเป็นศิลปะ เป็นแบบฝึกหัดที่ดี ในการที่จะรวมเกษตรที่หลากหลายให้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน รักษาความหลากหลาย แต่ความหลากหลายนั้นก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โคกหนองนา ความหมายดีอยู่แล้ว ก็คือเกษตรเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน และชีวิตของพวกเรา เพราะว่าประเทศของเรานี้ไม่หนีเรื่องการเกษตรคือปากท้อง และเป็นชีวิตของเราตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานมา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณมามากมายในเรื่องของเกษตร ในเรื่องของการพัฒนา อันนี้ก็เป็นการรวม หรือแสดงตัวอย่าง และเป็นตัวอย่างที่ใช้งานได้จริง ๆ นำไปใช้ได้ ไม่ใช่เป็นโมเดลที่แสดงไว้ในตู้ อยู่คงที่ แต่เป็นโมเดลที่ใช้งานได้จริง ๆ นำไปใช้ได้อย่างอ่อนตัว อย่างใช้งานได้จริง ๆ แล้วก็หลากหลายได้…” และที่เป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่พวกเราคนไทยไปยิ่งกว่านั้น คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้แค่ทรงแนะนำด้วยการพระราชทานพระราชดำรัสเท่านั้น แต่พระองค์ยังพระราชทานภาพฝีพระหัตถ์ “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจของคนในชาติ และทรงลงมือทำด้วยพระองค์เองในบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทั้งโคก หนอง นา อารยเกษตร รวมถึงทรงปลูกผัก ปลูกกล้วย และทรงนำผลผลิตพระราชทานแจกจ่ายให้ข้าราชบริพาร นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การขับเคลื่อนโครงการโคก หนอง นา อารยเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 แปลงนายบุญธรรม จันทะนะ เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์ให้พื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แห่งความมั่นคงด้านทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กับการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร โดยน้อมนำหลักการทรงงานตามศาสตร์พระราชา คือ ภาคีเครือข่าย หรือ “บวร” ได้แก่ บ้าน วัด ราชการ รวมไปถึงหลัก 4 ร. คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ จึงขอฝากชาวโคก หนอง นา มุ่งมั่นขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างในการขยายเครือข่ายและมีความเป็น “จิตอาสา” ขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนสังคมให้กว้างขวางออกไป เพื่อทำให้ผืนแผ่นดินไทยเป็นสุวรรณภูมิอู่ข้าว อู่น้ำ ที่เลี้ยงดูผู้คน และทำให้คนไทย ทำให้ประเทศไทย และโลกใบเดียวนี้ มีกิน มีใช้ มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไปอย่างยั่งยืน “วันนี้ ตน และ ดร.วันดี มีความมุ่งมั่นตั้งใจไปเยี่ยมแปลงของพี่บุญธรรม ในฐานะจิตอาสาภาคประชาชน และไปให้กำลังใจครอบครัวพี่บุญธรรมซึ่งเป็นครัวเรือนต้นแบบของนครพนมได้มีกำลังใจในการทำอย่างต่อเนื่องควบคู่กับการขยายผลให้เพื่อนบ้านและผู้สนใจ เพื่อจะได้มีสิ่งที่ดีในชีวิต นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนเฉกเช่นพี่บุญธรรม” นายสุทธิพงษ์ กล่าวเน้นย้ำในช่วงท้าย ด้านนายบุญธรรม จันทะนะ เปิดเผยถึงการเป็นสมาชิกเครือข่ายโคก หนอง นา อารยเกษตร ซึ่งตนได้สมัครเข้าร่วมโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยได้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 5 วัน และร่วมออกแบบพื้นที่ จำนวน 3 ไร่ ขุดปรับพื้นที่ตามแบบมาตรฐานกรมการพัฒนาชุมชน โดยใช้แบบมาตรฐาน สัดส่วน 1:3 ดินเหนียว ปริมาตรดินขุด 4,000 ลูกบาศก์เมตร บ่อน้ำ 2 บ่อ ขนาด 1,200 ลูกบาศก์เมตร ความลึก 8 เมตร ทำให้เก็บกักน้ำได้ตลอดทั้งปี และมีคลองไส้ไก่ สำหรับกระจายความชุ่มชื้นขึ้นเชื่อมทั้ง 2 บ่อ “จุดมุ่งหมายที่ตนนำพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ เพราะต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ำเพื่อใช้ใช้ในการทำการเกษตร และเป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว และที่สำคัญ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักทฤษฎีใหม่ในพื้นที่ให้ผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นเด็กนักเรียน นักศึกษามหาวิทยาลัยนครพนม และพี่น้องประชาชน สามารถเข้ามาศึกษาดูงานในพื้นที่ได้ โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์เรียนรู้ เช่น ฐานเรียนรู้คันนาทองทำ ฐานคนรักษ์ป่า การทำปุ๋ยหมักแห้งชาม น้ำชาม การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำแชนวิชปลา การห่มดิน การตอนกิ่งพันธุ์ฝรั่ง การเพาะพันธุ์ผักสวนครัวเพื่อแจกจ่าย เป็นต้น” นายบุญธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อตนได้ขุดปรับแล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ได้ทำการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อปลูกพืชผัก เช่น ผักสวนครัว มะพร้าว กล้วย ฝรั่ง แค น้อยหน่า เป็นต้น ส่วนในบ่อได้เลี้ยงปลากลด ปลาเผาะ ทั้ง 2 บ่อ และปรับพื้นที่ในการทำนา ปลูกข้าว ควบคู่กับคันนาทองคำ ส่งผลให้ปัจจุบันตนมีรายได้ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 200-300 บาท ซึ่งในปี พ.ศ. 2567 มีคณะศึกษาษาดูงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 7 คณะ ๆ ละ 40 – 90 คน รวมประมาณ 700 คน / จำนวนผู้ชม : 773 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เสียงจากสงฆ์ธรรมยุต : ผู้ทรงศีลทรงธรรมไม่ควรถูกกระทำเยี่ยงคนธรรมดา อุทัย มณี เม.ย. 18, 2022 วันที่ 18 เมษายน 65 เฟชบุ๊คชื่อ “Sophonthamudom” หรือ พระครูโสภณธรรมอุดม… ควันหลง..”คืนสู่เหย้า” ชาว มจร อุทัย มณี ก.พ. 23, 2024 “ผู้เขียน” เป็นศิษย์เก่า รุ่นที่ 46 คณะสังคมศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ… “คณะพยาบาลศาสตร์ มธ.”ใฝ่ธรรม! นิมนต์พระอาจารย์สันติศึกษา”มจร” ปัจฉิมนิเทศนักศึกษา อุทัย มณี มิ.ย. 30, 2021 "คณะพยาบาลศาสตร์ มธ."ใฝ่ธรรม! นิมนต์พระอาจารย์สันติศึกษา"มจร"… “มจร” ไอเดียบรรเจิดคิดต่อยอด “อบรมพระธรรทูตนานาชาติ” รุ่นแรก หลังประสบความสำเร็จการอบรม “ธรรมทูตคฤหัสถ์” อุทัย มณี ก.พ. 04, 2025 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 วานนี้ เวลา 16.15 น. พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน… กรณี “พระสิ้นคิด” คณะธรรมยุตจังหวัดอุบล ฯ ส่อเค้าวุ่น “ทนายกองกองทัพธรรม” เตรียมยื่นหนังถือถึง “สมเด็จพระสังฆราช” อุทัย มณี พ.ค. 22, 2023 วันที่ 22 พ.ค. 66 ณ วัดช่องเม็กธรรมาราม ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร… ศรัทธาล้น! ทอดกฐินสามัคคีวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ “ม.สงฆ์ มจร” อุทัย มณี ต.ค. 27, 2019 ศรัทธาล้น! ทอดกฐินสามัคคีวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ "ม.สงฆ์ มจร"… วธ. คัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาประจำปี พ.ศ. 2566 เข้ารับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร อุทัย มณี ม.ค. 31, 2023 วธ. คัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี พ.ศ. 2566… เจ้าคณะนางรองดูงานสถานบริบาลสุขภาวะวิถีพุทธอุตรดิดถ์ เตรียมจัดตั้งสถานบริบาลพระสงฆ์อาพาธบุรีรัมย์ อุทัย มณี พ.ย. 05, 2022 วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 พระครูปริยัติภัทรคุณ (พธ.บ.มจรรุ่น 36) เจ้าคณะอำเภอนางรอง… ปิดฉากแล้ว!ธรรมยาตราธรรมกายปีที่ 8 พุทธศาสนิกชนต้อนรับเนืองแน่น อุทัย มณี ม.ค. 31, 2020 ปลื้มใจปิดท้ายธรรมยาตราฯปีที่ 8 พุทธศาสนิกชนเนืองแน่นถวายการต้อนรับ… Related Articles From the same category “ชวน”นำทำบุญรัฐสภาเกียกกายเนื่องในวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2562 เวลา 08.30น. ที่ห้องประชุม 402-403 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา… “อธิการบดี มมร” รับการถวายสักการะและกระทำสามีจิกรรมจาก “พระนิสิตมอญ มจร” วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระเดชพระคุณ… รวมพลังสร้างบุญ สมเด็จวัดไตรมิตร-อาจารย์อิฎฐ์ปลุกเสก เหรียญดีพิธีขลังท้าวเวสสุวรรณ ” เจ้าสัวโคตรล่ำซำ” "ท้าวเวสสุวรรณ" ถือว่าเป็นเทพที่กำลังมาแรงที่สุดในยุคนี้… ดาบนั้น..คืนสนอง ควันหลงจากการอภิปรายของ “มหานิยม” ว่าด้วยเรื่องศาสนาคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ศาสนสมบัติกลาง” ย่านประตูน้ำที่มหานิยมแฉกลางสภาว่า “ส่อเอื้อประโยชน์บริษัทเอกชน” ซ้ำแย้มต่อว่ามี “ผู้หญิงเป็นนายหน้า” ทั้งทิ้งคำปริศนาต่อ… “มจร” ประกาศรายชื่อ “ธรรมทูตคฤหัสถ์” รุ่น 1 จำนวน 209 คน วันที่ 26 ธันวาคม 2567 พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ…
Leave a Reply