เบื้องหลังภาพงานประสาทปริญญา “มจร” ช่วงนี้หากใครเดินทางผ่านไปมาหรือมีภารกิจที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะเห็นภาพ “ซุ้มประตู” ทางเข้าโดดเด่นสวยงามแปลกหูแปลกตา ไม่เหมือนกับงานประสาทปริญญาทุกครั้งที่ผ่านมา แต่ภาพลักษณะซุ้มประตูทางเข้าแบบนี้ คุ้นตาคล้ายคลึงกับงานวิสาขบูชาโลก “ผู้เขียน” ก่อนลงรายละเอียดจะเล่าเรื่องเบื้องหลังภาพกิจกรรมตั้งแต่ประตูทางเข้า “มจร” จนถึงหอประชุมใหญ่อาคารมวก.48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอยุธยา จะไล่เรียงทีละจุดว่าใครเป็น “คีย์แมน” ออกแบบ ใครเป็นตัวขับเคลื่อน และเหตุผลแต่ละจุดมีอรรถาธิบายไว้อย่างไร ทำไมต้องเป็นแบบนั้น “ผู้เขียน” ขออธิบายคำว่า “ประสาท” กับ “ประทาน” สักนิด เนื่องจาก “มจร” ใช้งานมอบปริญญาว่า “ประสาท” ส่วน “มมร” หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยใช้คำว่า “ประทาน” แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์เหมือนกัน และประธานที่ไปมอบใบปริญญาให้ส่วนใหญ่ก็คือ “สมเด็จพระสังฆราช” เฉกเช่นเดียวกัน คำว่า “ประสาท” พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน อรรถาธิบายว่าหมายถึง ส่วนของร่างกาย มีลักษณะคล้ายเส้นใย มีหน้าที่นำคำสั่งและความรู้สึกไปสู่หรือออกจากสมองหรืออวัยวะส่วนอื่นของร่างกายหรืออีกความหมายหนึ่ง คือ ยินดีให้, โปรดให้, เช่น ประสาทปริญญา ประสาทพร ส่วนคำว่า “ประทาน” หมายถึง ให้ มอบให้ ใช้สำหรับเจ้านาย หรือ เชื้อพระวงศ์ ความแตกต่างมีแค่นี้ “ผู้เขียน” ได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์งานประชุมพิธีประสาทปริญญาของคณะกรรมการงานพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลายครั้งด้วยกันทั้ง “วงเล็ก -วงใหญ่” จึงทำให้ทราบว่า อย่างน้อย “มจร” ตั้งคณะกรรรมการดูแลงานประสาทปริญญาครั้งนี้ประมาณ 12 ฝ่าย ทั้งฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายจราจร ฝ่ายสวัสดิการ สัมมนาวิชาการ หรือแม้กระทั่งฝ่ายซ้อมรับปริญญา “พระพรหมวัชรธีราจารย์” อธิการบดี มจร แม้มาดดูจะเป็นคน “นิ่งขรึม” แต่เรื่องงานหลายครั้ง จะจี้และเดินไปดูเอง สัมผัสด้วยตนเอง จึงไม่แปลกที่บางคราวเห็น “พระพรหมวัชรธีราจร์” เดินมือไขว้หลัง วนดูงาน ดุ่ม ๆ รูปเดียว เห็นอะไรผิดปกติ หรือต้องปรับปรุงอะไร สั่งการตรงถึง “อธิการน้อย” ซึ่งเป็นฝ่ายเลขานุการ คือ “พระเทพวัชรสารบัณฑิต” หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มจร หรือ บางคราว “เร่งด่วน” สไตล์ “พระพรหมวัชรธีราจารย์” คือ สั่งตรง ฝ่ายปฎิบัติงาน “ผู้เขียน”ขอเล่าเรื่องการประชุมวงเล็กว่าด้วยการออกแบบจัดสถานที่เพื่อให้สมเกียรติความเป็นมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่สถาปนาโดยองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือองค์รัชกาลที่ 5 เริ่มตั้งแต่ “ซุ้มประตู” ซึ่งปัจจุบันได้ติดตั้งโดดเด่นงามสง่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “เจ้าคุณประสาร” ได้ให้นโยบาย “ธีม” การจัดจัดงานว่าอยากเห็น “ซุ้มประตู” ให้ดูอลังการ เพราะเป็นด่านแรก แต่ก็คงความเป็น “มจร” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ไว้ พร้อมกับขอให้มี “ลายพระหัตถ์” ขององค์รัชกาลที่ 5 ที่ว่า “พระที่นั่งอมรพิมานมณี วันที่ 22 กันยายน รศ.115 ถึงหม่อมเจ้าประภากรที่นี่จะสร้างขึ้นสำหรับส่วนมหานิกาย จะใช้ชื่อว่า มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาไลย แต่ในเวลานี้ จะไม่มีใครเรียกด้วยยาวเกินไปฤาเกรงใจก็ให้เรียกสั้น ๆว่า ราชวิทยาไลย..” พร้อมกับกำชับว่าขอให้ “ซุ้มประตู” ดังกล่าวนี้ติดตั้งก่อนงาน 10 -15 วัน เพื่อให้คนสัญจรไปมาจะได้รับรู้ และประชาสัมพันธ์งานไปในตัว พร้อมทั้งกำชับต่ออีกว่า “พระบรมฉายาลักษณ์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านหน้าให้เปลี่ยนด้วย และพยายามใช้ “งบประมาณ” ให้คุ้มค่า ใช้งบประมาณแล้วให้เหลือของเพื่อใช้งานต่อครั้งหน้าด้วย.. “พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี ป.ธ.9” คณบดีคณะครุศาสตร์ ในฐานะผู้อำนวยการฝ่ายแผนและนโยบาย จึงรับลูก “ออกแบบ” ทั้งธีมสีเป็น “สีชมพู” ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย รูปแบบ “ซุ้มประตู” พร้อมให้มี “ลายพระหัตถ์” ติดไว้ที่ซุ้มประตู ให้ผู้คนผ่านเข้าออกได้เห็น และเวลากลางคืนขอให้ตบแต่งด้วยไฟประดับ เพื่อให้บุคคลภายนอกเห็น ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานประสาทปริญญาของ มจร ไปในตัวด้วย “พระบรมฉายาลักษณ์” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านหน้าประตูทางเข้า มจร “เจ้าคุณประสาร” ขอให้เปลี่ยน พร้อมประดับตบแต่งด้วยดอกไม้สีเหลืองผสมดอกไม้สีชมพู ประดับตบแต่งให้สมพระเกียรติพระองค์ท่าน “พระมหาบัณฑิต ปณฺฑิตเมธี ป.ธ.9” คงติดใจ “ธงราว” คราวจัดงานกิจกรรมวันวิสาขบูชาโลกครั้งที่ผ่านมา ซึ่งตอนจัดงานวิสาขบูชาโลกมี ธง 6 ชนิด คราวนี้เหลือเพียง 4 ชนิด คือ ธงชาติ ศาสนา ธงสมเด็จพระสังฆราช และ มจร ติดยาวจนถึงอาคารหอประชุมใหญ่ มวก. โดยมีป้าย “ธงญี่ปุ่น” ประดับตามข้างทาง “ผู้เขียน” ขออธิบายคำว่า “ธงญี่ปุ่น” คำว่าธงญี่ปุ่น มิได้หมายความว่าเอาธงชาติญี่ปุ่นมาติดตั้ง แต่ลักษณะมันคือ เป็นขาตั้งยาว ๆ แล้วติดตั้งธงประจำงานนี้แหละ ผู้เขียนได้ยินครั้งแรก คิดอยู่ว่า “ญี่ปุ่น” มาเกี่ยวข้องอะไร ตอนหลังฟัง “เจ้าคุณประสาร” อธิบายจึง “ฉลาด” ขึ้น จุด “Landmark” หรือ “จุดเช็คอิน” สำหรับงานนี้อยู่ที่หน้า “อาคาร มวก.” ริมสระน้ำ ทุกปีที่นี่คือจุด “ถ่ายรูป” สำหรับผู้รับปริญญาและแขกที่มาเยือน ปีนี้ “ผู้บริหาร” มจร จัดเต็ม จ้างบริษัทนำ “จอLED” ขนาดใหญ่มา เปลี่ยนตัวอักษรได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แม้กระทั่งชื่อ “ผู้รับปริญญา” ก็สามารถเปลี่ยนได้ ผู้คนสามารถไปยืนถ่ายรูปได้ประมาณ 10 -15 คน สำหรับ กลาง “สระน้ำ” ทุกปีจะมี “บอลลูน” พร้อมมีคำว่า “ MCU” เดิมที่ประชุมอยาก “ประหยัดงบ” ไม่ขอมี แต่ล่าสุด “ผู้บริหาร” บอกว่าขอให้มีเหมือนเดิม พร้อมเพิ่มเติมคือ “น้ำพุ” ประตูทางขึ้นอาคาร มวก.48 พรรษา ยังคงธีมสีชมพู สีประจำมหาวิทยาลัยเหมือนเดิม ที่เพิ่มเติมคือขอให้มีธงประจำสมเด็จพระสังฆราชและธงตรา มจร พร้อมกับทางเข้าให้มี “ลายพระหัตถ์” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเหมือนเดิมเพื่อย้ำเตือนสติชาว “มจร” ว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ “สถาปนา” โดยใคร ก่อนเข้าห้องประชุมใหญ่ที่บรรจุคนได้ประมาณ 5,000 คน หลายคนอยากได้ “จอถ่ายภาพAI” เหมือนกับงานวิสาขบูชาโลก แต่ “งบประมาณ”ไม่พอ เนื่องจาก “จอถ่ายภาพ” เท่าที่สอบถามบริษัทจัดงานราคาเป็นแสนบาท จึง “ถอย” คงไว้เพียงชื่องานประสาทปริญญาประจำปี 2567 สำหรับภายในหอประชุมใหญ่ “เจ้าคุณประสาร-พระมหาบัณฑิต” ให้ประดับพองามโดยเลียนแบบจากงานประสาทปริญญาที่ผ่านมา ๆ เพียงแต่ป้ายชื่อ “มจร” ขอให้เปลี่ยนใหม่แบบถาวรและมั่นคง ตามความต้องการของเจ้าคุณประสารที่ว่า จัดงานขอให้มีของเหลือเพื่องานต่อไปบ้าง ดอกไม้ผสมดอกไม้จริงและพลาสติก “ธีม” เดิมเป็น “สีชมพู” แต่ตอนหลังเปลี่ยนเน้น “สีเหลือง” เป็นหลัก เพื่อให้สอดคล้องกับปีมหามงคลเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา สำหรับหน้าเวทีมีรูป “ช้างคู่ชูพระเกี้ยว” ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ช้างคู่หมายถึงสัญลักษณ์ของประเทศไทยและความเป็นไทย ส่วน “นกพิราบขาว” สื่อถึงความเป็นสากลและ “สันติภาพ” อันหมายถึง ภาวะสันติและสงบสุข สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ มจร ที่วางไว้ว่าเป็น “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” ปีนี้ “แตกต่าง” จากปีก่อนนอกจากที่กล่าวมาแล้วก็มี “ห้องรับรอง” ผู้ได้รับดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์และเข็มเกียรติคุณทั้งภายในประเทศและนานาชาติ อันนี้เป็นความต้องการของ “พระพรหมวัชรธีราจารย์” อธิการบดี ซึ่งท่านปรารภถึงว่า เวลาผู้บริหาร มจร ไปเยือนต่างประเทศ ประเทศนั้น ๆ รับรองด้วยความสมเกียรติและจัดสถานที่ให้อย่างดี แต่ทุกปีงานประสาทปริญญา “มจร” ไม่มีห้องรับรองให้อยู่กันตามมีตามเกิด ไม่มีห้องพักผ่อน ปีนี้จึงขอให้ฝ่าย “เลขานุการ” จัดสถานที่ให้ โดยเป็นห้องรับรองใต้อาคาร มวก. ด้านล่างขนาดใหญ่บรรจุคนได้ประมาณ 200 -300 คน พร้อมจัดให้มี “ห้องแต่งตัว” และน้ำปานะ น้ำดื่ม เสร็จสรรพ “ผู้เขียน” เก็บมาเขียนมาเล่าอันนี้เฉพาะการจัดสถานที่บางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลายคณะหลายฝ่ายที่ยังไม่ได้มาเล่า หากมีเวลาเดียวไปสำรวจไปดูแล้วมาเล่าต่อ สำหรับงานประสาทปริญญาของ “มจร” ถือว่าเป็นงานสำคัญที่ทุกฝ่ายต้อง “ร่วมมือร่วมใจ” ช่วยกัน อย่างที่เกริ่นไว้ว่า “อธิการบดี” รูปปัจจุบันท่านจะเดินสำรวจงานเอง ตรงไหนบกพร่อง ตรงไหนติดขัด สั่งการตรง ทุกรูปทุกท่านช่วยกันเต็มที่ บางรูปอาจไม่มีข่าวหรือไม่เห็นตัว แต่นั่นเพราะท่านได้รับบทบาทให้ทำงานด้านอื่น ๆ และวันงานทุกปีจะเห็น “ดร.สุรพล สุยะพรหม” รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป มาเดินโบกรถเข้าออก สั่งการเอง ตากแดดหน้าดำคร่ำเครียด เพราะวันงานทุกปีจะมีพระสงฆ์ทั้งไทยและนานาชาติรวมทั้งประชาชน มาร่วมงาน 1-2 หมื่น รูป/คน รถนับหมื่นคัน ในปีการศึกษา 2567 นี้ มีนิสิตสำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น 4,602 รูป/คน จำแนกเป็นปริญญาตรี 2,921 รูป/คน ปริญญาโท 1025 รูป/คน และปริญญาเอก 512 รูป /คน ประกาศนียบัตรอภิธรรม 144 รูป/คน ใน 4,602 รูป/คนนี้ แยกเป็นบรรพชิต 2,129 รูป และคฤหัสถ์ 2,473 คน ในขณะที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทั้งภายในประเทศและนานาชาติมีจำนวน 91 ท่าน มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 4 ท่าน และเข็มเกียรติคุณอีก 48 ท่าน รวมเป็น 143 รูป/คน สำหรับ “มจร” หรือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์สังกัดฝ่าย “มหานิกาย” ที่เคยได้รับการจัดอันดับจากองค์กรต่างประเทศให้อยู่ในอันดับที่ 29 จาก 123 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศไทย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มี พระพรหมวชิราธิบดี ดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัย พระพรหมบัณฑิต ดำรงตำแหน่ง อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และมี “พระพรหมวัชรธีราจารย์” ดำรงตำแหน่งอธิการบดี จัดการศึกษาแบ่งออกเป็น 5 คณะ ประกอบด้วย บัณฑิตวิทยาลัย คณะพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2566 มี 11 วิทยาเขต 30 วิทยาลัย 1 โครงการขยายห้องเรียน และ 1 หน่วยวิทยบริการ นอกจากนี้ ยังมีสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง มีจำนวนทั้งหมด 293 หลักสูตร โดยจำแนกเป็น ปริญญาตรี 170 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร ปริญญาโท 78 หลักสูตร ปริญญาเอก 43 หลักสูตร มีอาจารย์ทั้งหมด 1,351 รูป/คน จำแนกเป็นปริญญาโท 493 รูป/คน ปริญญาเอก 805 รูป/คน และมีตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 473 รูป/คน จำแนกเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ 348 รูป/คน รองศาสตราจารย์ 117 รูป/คน และศาสตราจารย์ 8 รูป/คน ผลิตผลงานวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่ 1,276 เรื่อง มีนิสิตทั้งสิ้น 19,704 รูป/คน จำแนกเป็น ปริญญาตรี 14,246 รูป/คน ปริญญาโท 3,427 รูป/คน ปริญญาเอก 2,031 รูป/คน ในปี 2567 มีนิสิตนานาชาติจำนวน 2,333รูป/คน จาก 27 ประเทศ ประเทศที่มาเรียน “มจร” 4 อันดับเรียงจากมากไปหาน้อย คือ เมียนมา จำนวน 1,514 รูป/คน,ลาว 237 รูป/คน,เวียดนาม 167 รูป/คนและจีน มี 154 รูปคน การจัดงาน “ประสาทปริญญา” ประจำปี 2567 นี้จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม 2567 นี้ ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ได้ชื่อว่ามีสีสันที่สุดของงานรับปริญญาในประเทศไทย เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ โดยธรรมชาติของคณะสงฆ์ เวลาได้รับ “สมณศักดิ์” หรือ “ปริญญาบัตร” แบบนี้ จะมีญาติโยม ลูกศิษย์ เดินทางมาร่วมงาน มาร่วมแสดงความยินดี บางรูปหลายคันรถบัส และภายในงานก็จะมีการแสดงสีสันของชาติพันธุ์ต่าง ๆ รวมทั้งซุ้มของวิทยาเขตและซุ้มของพระนิสิตนานาชาติด้วย ส่วนอาหารมีฟรีตลอด 24 ชั่วโมง!! จำนวนผู้ชม : 351 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author จังหวัดกาญจนบุรี จับมือเครือข่ายโคก หนอง นา พนมทวน ชวนน้องพัฒนากร ร่วมกิจกรรมวันดินโลก อุทัย มณี ธ.ค. 06, 2022 จังหวัดกาญจนบุรี จับมือเครือข่ายโคก หนอง นา พนมทวน ชวนน้องพัฒนากร… พระอุบาลีคุณูปมาจารย์นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งล้านนา อุทัย มณี ก.ค. 01, 2019 วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… มท.1 ขึ้นเหนือปูพรม 15 จังหวัดภาคเหนือ ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนเดินหน้า “แก้ปัญหาความยากจน” ส่วน “ปลัดเก่ง” ขอจังหวัดดึงคณะสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมตาม MOU ที่ลงนามร่วมกันไว้ อุทัย มณี ก.พ. 28, 2022 วันที่ 28 ก.พ. 65) เวลา 09:00 น. ที่โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่… สมเด็จพระสังฆราชประทานกำลังใจ พระภิกษุสงฆ์ในพื้นที่ชายแดนใต้ อุทัย มณี ธ.ค. 15, 2022 วันที่ 15 ธันวาคม 2565 เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ได้โพสต์ข้อความว่า… “วัดเขาบันไดอิฐ” โดเมล!! แก้ไขที่ดินวัดทั่วประเทศ อุทัย มณี ก.ย. 20, 2022 วันที่ 20 ก.ย. 65 วานนี้ คณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม… “ตู้ปันสุข”โดนฉก! “เจ้าคุณ ว.วชิรเมธี”แต่งกวีนิพนธ์ ให้กำลังใจคนตั้งทำดีอย่าถอดใจ อุทัย มณี พ.ค. 12, 2020 วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เพจพระเมธีวชิโรดม - ว.วชิรเมธี ได้โพสต์ข้อความว่า… ปลัดมท.นำคณะสงฆ์ -คณะบุคคล มอบเงิน 4 ล้านกว่าบาท เพื่อสมทบ “ทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย” อุทัย มณี เม.ย. 30, 2024 วันนี้ (30 เม.ย. 67) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 1 ทำเนียบองคมนตรี… คณะผู้แทนทูตลาวเข้าพบอธิการบดี”มจร” ปรึกษาร่วมมือจัดการศึกษาสงฆ์ อุทัย มณี ต.ค. 04, 2019 คณะผู้แทนทูตลาวเข้าพบอธิการบดี"มจร" ปรึกษาร่วมมือจัดการศึกษาสงฆ์… เริ่มแล้ว “อบรมบาลีก่อนสอบวัดอรุณฯ” ปีที่ 18 อุทัย มณี ธ.ค. 16, 2020 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 63 ที่ผ่านมา พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม… Related Articles From the same category “นักวิชาการพุทธคนดัง” ถาม “รมต.แจ๋น” พระติดคุกฟรี รัฐจะเยียวยาอย่างไ? วันที่ 29 ม.ค. 67 นายจตุรงค์ จงอาษา นักวิชาการอิสระด้านพระพุทธศาสนา… เจ้าคุณ “โคก หนอง นา” ร่วมปลูกธรรม ปลูกต้นไม้ ให้กำลังใจสานพลังด้วยหลัก “บวร” วันที่ 9 สิงหาคม 2565 วานนี้ พระพิพัฒน์วชิโรภาส ผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์… สะเทือนใจ!! ภาพถีบ “พระปีนเสา” คาผ้าเหลือง “ผู้เขียน” เห็นภาพ พระครูปลัดธีรธนัชณฤทธา เมตตฺตธมฺโม หรือที่รู้จักกันในชื่อ… สมเด็จพระสังฆราชประทานปริญญาบัตรบัณฑิต’มจร’ประจำปี 2562 จำนวน 4,569 รูป/คน วันที่ 25 พฤษภาคม 2562 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)… มจร+ มมร + สช จับมือ ภาคีเครือข่ายผนึกกำลังเยี่ยวยาผู้ประสบภัยจากโควิด-19 "มจร มมร คณะสงฆ์ ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ สช.,สสส., สปสช.และสธ.…
Leave a Reply