รายงานพิเศษ : บทบาท “มจร” กับงาน “วิสาขบูชาโลก” จากอดีตสู่อนาคต.!! นับแต่องค์การสหประชาชาติมีมติรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของชาวโลก เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2542 โดยเรียกวันสำคัญนั้นว่า The Day of Vesak โดยผู้ริเริ่มเสนอให้วันวิสาบูชา เป็นวันสากลของโลกหรือวันสำคัญของโลกเป็นอดีตทูตศรีลังกาชื่อ “ลักษมัน กทิรคามาร์ (Lakshman Kadirgamar” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา 34 ประเทศรับรอง จนสมัชชาองค์การสหประชาชาติให้การรับรองวันวิสาขบูชา ให้เป็นวันสำคัญ (Buddhist Holiday or Buddhist observance) ตั้งแต่บัดนั้น จนถึงบัดนี้ เหตุผลสำคัญที่ประชุมสหประชาชาติรับรองวันวิสาขบูชาให้เป็นวันสำคัญของโลกเนื่องจากเห็นว่า วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ทรงตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้มวลมนุษย์มีเมตตาธรรมและขันติธรรม ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคม อันเป็นแนวทางหรือเป้าหมายของ สหประชาชาติ อยู่แล้ว อีกเหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าคำสอนของพระองค์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ โดย ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ กิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติ หรือ “วันวิสาขบูชาโลก” สำหรับปีนี้ จัดขึ้น 2 ประเทศ คือ ประเทศเวียดนามระหว่างวันที่ 5 -8 พฤษภาคม 2568 และประเทศไทยจัดในวันที่ 10 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์ประชุมแห่งสหประชาชาติหรือ “UN” ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และพุทธมณฑล จ.นครปฐม บทบาทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ “มจร” เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ภายใต้การกำกับของ “มหาเถรสมาคม” และอีกสถานะหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ปัจจุบันการจัดการศึกษาในประเทศ ประกอบด้วย 11 วิทยาเขต 28 วิทยาลัยสงฆ์ 3 หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 5 แห่ง มีทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรอินเตอร์ ระดับชั้นปริญญาตรี-โท-เอก มีจำนวนทั้งสิ้น 20,346รูป/คน ประกอบด้วยนิสิตปริญญาตรีจำนวน 14,356 รูป/คน นิสิตปริญญาโท 3,748 รูป/คน นิสิตปริญญาเอก 2,242 รูป/คน (ข้อมูลปี 2566) ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีพระสงฆ์นานาชาติเดินทางมาศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ทั้งหลักสูตรอินเตอร์ และหลักสูตรภาษาไทยมากกว่า 2,200 รูป/คน จาก 27 ประเทศถือว่ามากเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย “มจร” จัดงาน “วันวิสาบูชาโลก” ในนาม มหาเถรสมาคม รัฐบาล และประเทศไทย ปีนี้นับเป็นปีที่ 20ซึ่งใน “เว็บไซต์” ของมหาวิทยาลัยระบุว่า การจัดงานวิสาขบูชาโลกนั้น “มหาวิทยาลัย” แห่งนี้เริ่มจัดมาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว โดยจัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2547 ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับมหาเถรสมาคม และรัฐบาลไทย เป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำชาวพุทธโลกว่าด้วยวันวิสาขบูชาโลก วันสำคัญสากลของโลก ณ หอประชุมพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ การประชุมครั้งนั้นเน้นส่งเสริมการศึกษา การปฏิบัติ การเผยแผ่ และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา รวมทั้งร่วมกันจัดการเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาทั้งที่ศูนย์ประชุมใหญ่และศูนย์ประจำภูมิภาค ในปีถัดมาคือ ปี 2548 ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาโลกอีกครั้ง และในปีนี้เองที่ประชุม “วันวิสาขบูชาโลก” อันประกอบด้วย พระสังฆราช ประมุขสงฆ์ นักปราชญ์ชาวพุทธจากทั่วโลก มีมติเอกฉันท์ให้ประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก” พร้อมกับขอให้มีการจัดตั้งสำนักงานใหญ่เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานอยู่ที่ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ขณะเดียวกัน ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เห็นโอกาสตรงนี้ จึงจัดตั้ง “วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ” หรือ “IBSC” จัดตั้ง “ศูนย์อาเซียน” และ “วิทยาลัยพระธรรมทูต” ขึ้น เพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก หากนับการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก 20 ครั้ง มีบรรดาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา รับเป็นเจ้าภาพจัดเพียงแค่ 5 ครั้ง คือ “ประเทศเวียดนาม” รับเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาโลก 4 ครั้ง ในปี 2551 , 2557 , 2562 และปีนี้ 2568 ส่วน “ประเทศศรีลังกา” รับเป็นเจ้าภาพจัดงาน 1 ครั้งในปี 2561 นอกนั้นประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานตลอดทั้ง 15 ครั้ง “พระพรหมบัณฑิต” กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะ ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก กล่าวไว้ว่า เหตุผลสำคัญที่พระสังฆราช ประมุขสงฆ์ รวมทั้งชาวพุทธนานาชาติ ยกให้ประเทศไทยเป็น “ศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก” เนื่องจาก หนึ่ง ประเทศไทยประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา สอง ประเทศไทยมีสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นพุทธมามกะ และ สาม ผู้นำของประเทศเป็นพุทธศาสนิกชน เหตุนั้น การจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ทุกประเทศจึงมีฉันทามติร่วมกันว่า หากปีไหนประเทศสมาชิกไม่พร้อม ขอให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ หรือ วิสาขบูชาโลกตลอดไป “วันวิสาขบูชาโลก” ตลอดระยะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดงาน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับ “มจร” เป็นที่รู้จักและ “ยอมรับ” จากทั่วโลก ทั้งจากคณะสงฆ์เถรวาท มหายานและวัชรยาน เนื่องจากการประชุมวันวิสาขบูชาโลกแต่ละครั้ง จะมีผู้นำประเทศ พระสังฆราช ประมุขสงฆ์ นักปราชญ์ ชาวพุทธนานาชาติ เดินทางมาพร้อมกับสื่อมวลชนที่เสนอข่าวไปทั่วโลก ทำให้ “ประเทศไทย” มีข่าวเชิงบวกออกไปสู่โลกกว้าง การจัดงาน “วันวิสาขบูชาโลก” จึงเป็นกิจกรรมสำคัญ ไม่เฉพาะต่อ “คณะสงฆ์” หรือ “มจร” เท่านั่น มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อภาพลักษณ์ประเทศไทย ต่อพระพุทธศาสนา และการท่องเที่ยว ทั้งยังทำให้รัฐบาล มหาเถรสมาคม และประชาชนชาวไทย ได้รับเกียรติและเป็นที่ยอมรับ จึงควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนต้องร่วมกันเป็นเจ้าภาพที่ดี ร่วมมือร่วมใจกัน จัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาโลก!! “เจ้าคุณประสาร” หรือ พระเทพวัชรสารบัณฑิต รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ปีนี้แม้งานหลักจะจัดที่ประเทศเวียดนาม แต่ “มจร” ก็มีส่วนสนับสนุนเกือบทุกมิติ โดยเฉพาะบุคลากรในการขับเคลื่อนงานล้วนเป็นคนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ งบประมาณ ทาง มจร ก็เข้าไปสนับสนุน เนื่องจากการริเริ่มงานนี้มา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยโดย “พระพรหมบัณฑิต” ขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดี และขณะเดียวกัน “พระพรหมวัชรธีราจารย์” อธิการบดีรูปปัจจุบัน ท่านเป็นเลขาธิการสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ซึ่งท่านได้ให้นโยบายไว้ว่า มจร สนับสนุนเต็มศักยภาพทั้งกำลังคนและงบประมาณในการจัดงานวิสาขบูชาโลก ไม่ให้ตกบกพร่อง กิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติหรือ “วันวิสาขบูชาโลก” ที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 5 -8 พฤษภาคม และในวันที่ 10 พฤษภาคม 2568 ถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั่น นับว่าเป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับชาวพุทธทั่วโลก เนื่องจากเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระศาสดาผู้ให้กำเนิดพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาที่มีคนนับถือทั่วโลกมากกว่า 700 ล้านคนถือว่าเป็นศาสนาที่มีคนศรัทธาอันดับ 4 ของโลก ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันศาสนาพุทธ ได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก ด้วยมีผู้นับถือในหลายประเทศ ศาสนาพุทธจึงเป็นศาสนาสากล สอดคล้องกับมติขององค์การสหประชาชาติ หรือ “UN” ที่รับรับรองให้วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญสากลของโลกเมื่อเดือนธันวาคมพุทธศักราช 2542 พร้อมกับกำหนดให้จัดกิจกรรมในวันดังกล่าว ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาของ UN ทั่วโลก. เหตุฉะนั้น ชาวพุทธในประเทศไทย นอกจากร่วมงานจัดเพื่อแสดงความ “กตัญญุกตเวที” ต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ควรใช้โอกาสนี้แสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จงภูมิใจและจงร่วมกันยกย่องและเชิดชูวันสำคัญของโลกนี้ด้วยเช่นกัน.. จำนวนผู้ชม : 1,454 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author น้อมถวายความอาลัย “พระราชวชิรมงคล” อุทัย มณี ส.ค. 06, 2021 วันที่ ๖ ส.ค. ๖๔ เมื่อคืนนี้เวลา ๒๓.๑๒ น. พระราชวชิรมงคล อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มอบพรปีใหม่ ” 3 อย่าทำ” และ “3 พึงทำ” อุทัย มณี ธ.ค. 31, 2021 วันเข้าพรรษามุ่งหน้าศึกษาพุทธธรรม อุทัย มณี ก.ค. 11, 2022 พระพุทธเจ้าออกแบบวันเข้าพรรษา ให้เป็นช่วงเวลาสำคัญ 3 เดือน… “พศวัจณ์” ประธานศาลอุทธรณ์รับเป็นอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตรสันติศึกษา “มจร” อุทัย มณี ก.ย. 28, 2022 วันที่ 28 กันยายน 2565 พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… ด่วน! “กมธ.ศาสนาฯสภาฯ” จ่อนิมนต์ 2 พส. แจงปมไลฟ์สดทะลุ 2 แสนหาจุดเหมาะสม อุทัย มณี ก.ย. 06, 2021 วันจันทร์ที่ 6 กันยายน 2564 นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล รองประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา… ผู้นำ ๕ ศาสนา เฝ้าถวายสักการะ สมเด็จพระสังฆราช เนื่องในวันคล้ายวันประสูติ อุทัย มณี มิ.ย. 14, 2023 วันพุธที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๖ วานนี้เวลา ๑๔.๐๐ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ… เปิดเบื้องหลังภาพ : งานประสาทปริญญา “มจร” อุทัย มณี ธ.ค. 13, 2023 การประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ… ปลัดมหาดไทยนำครูนักเรียนและปชช.บางกอกน้อย สดับพระธรรมเทศนา”อุภินนมัตถจรกถา” อุทัย มณี ส.ค. 19, 2022 ปลัดกระทรวงมหาดไทยนำข้าราชการครู นักเรียน และประชาชนในเขตบางกอกน้อย… ในหลวงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ผลิต “ปุ๋ยหมักปรับปรุงดิน” โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลฯ อุทัย มณี พ.ย. 30, 2021 วันที่ 30 พ.ย. 64 ณ วัดป่าศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี… Related Articles From the same category ปราศจากสติเสียแล้ว จะมีสันติได้อย่างไร ปราศจากสติเสียแล้ว จะมีสันติได้อย่างไร : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส… สัมผัสเสน่ห์ “วิถีถิ่น วิถีไทย” วธ. ร่วม 25 จังหวัด เปิดยิ่งใหญ่ มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคกลางและภาคตะวันออก “ดนตรี” สานศิลป์ 2 ถิ่นวัฒนธรรม วันที่ 10 มิถุนายน 2566 วานนี้ ณ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร อำเภอเมืองสุพรรณบุรี… เปิดพระวินัยปิฎก “ลงทัณฑกรรม”คืออะไร มส.ใช้ทำโทษเณรร่วมม็อบราษฏร เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 จากกรณี สามเณรสหรัฐ สุขคำหล้า หรือ… 68วันแล้ว! ดร.หลวงพ่อแดงตั้งโรงทานออกช่วยโยมสู้ภัยโควิด-19 เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 31 พฤษภาคม 2563 เพจพระครูพิศิษฏ์ประชานาถ… พระเป็นที่พึ่งของประชาชน?? “ผู้เขียน”วานนี้ได้รับข้อมูลอัพเดทเกิดเหตุการณ์โรงงานพลุระเบิดในพื้นที่หมู่…
Leave a Reply