เล่าเท่าที่จำได้ :จดหมายฉบับแรกจากรามัญนิกาย (2 ) 361 Viewsโดย..อุทัย มณี เมื่อวานนี้เล่าตอนแรกว่า กว่าจะเกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เซ็น MOU ร่วมกันระหว่างวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ต้องล้มลุกคลุกคลานมาประมาณ 5 ปี ความจริงหากใครอ่านภาษาอังกฤษได้ ผมได้เขียนไว้ในหนังสือที่ระลึกที่แจกในงานวันเซ็น MOU ด้วย แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่วันนี้ขอเสนอตอน 2 ต่อไป เพื่อเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์เล็ก ๆ น้อย อ่านเพื่อความบันเทิงผสมไปในตัวด้วย หลังจากคณะสงฆ์รามัญนิกายกลับประเทศไปแล้ว ข้าพเจ้าในฐานะผู้ประสานงานระหว่างทั้ง 2 ประเทศได้ขอคำปรึกษาหารือกับ พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บ่อยครั้ง สิ่งที่ท่านมักถามย้ำอยู่เสมอ ๆ คือ หลักสูตรที่คณะสงฆ์รามัญนิกายศึกษาอยู่นั่นมหาเถรสมาคมพม่ารับรองแล้วหรือไม่ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ที่ตั้งขึ้นมานั่นรัฐบาลพม่ารับรองแล้วหรือไม่ หากมีให้แปลหลักสูตรที่คณะสงฆ์รามัญนิกายเรียนเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งของเอกสารที่รัฐบาลพม่ารับรองสถานภาพของ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ เพื่อท่านจะได้เสนอผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามระบบต่อไป จนกระทั้งขอให้ทางข้าพเจ้าตั้งทีมงานทำงานขึ้นมาเพื่อดำเนินการเรื่องนี้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทั้งหมดสิ่งที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต้องการมากที่สุด คือ จดหมายขอความอนุเคราะห์ทั้ง 2 เรื่องตามที่สรุปร่วมกันไว้จากผู้บริหารของคณะสงฆ์รามัญนิกาย ข้าพเจ้าในฐานะผู้ประสานงานระหว่างคณะสงฆ์รามัญนิกาย มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทุกครั้งที่เจอ พระโสภณวชิราภรณ์ ท่านจะถามถึงจดหมายของความร่วมมือจากคณะสงฆ์รามัญนิกายเป็นประจำ….กว่าจะได้หนังสือจดหมายจากคณะสงฆ์รามัญนิกายล่วงเลยมาได้เกือบ 3 ปี คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 และต่อมาพระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็อนุมัติตามที่ รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสนอไปคือมอบให้ รองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ ดำเนินการและตั้งคณะกรรมการดูแลเรื่องนี้ หลังจากนั้นรองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศก็ดำเนินการส่งเข้าขบวนการของระบบของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สุดเรื่องนี้ก็เงียบหายไปแต่ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงมีปัญหาด้านเอกสารทั้งหนังสือรับรองการศึกษาพระปริยัติธรรมของคณะสงฆ์รามัญนิกายจากมหาเถรสมาคมพม่า และหนังสือรับรองการดำเนินการของ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ของคณะสงฆ์รามัญนิกาย ตามที่ท่านเจ้าคุณพระโสภณวชิราภรณ์ ร้องขอแต่ข้าพเจ้าไม่สามารถหามาให้ได้ หลังจากนั่นเรื่องจดหมายของความร่วมมือจากคณะสงฆ์รามัญนิกายก็เงียบหายไป ทราบแต่ว่าอยู่ที่ฝ่ายแผนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต่อมาเมื่อต้นปี 2561 ข้าพเจ้าได้และคณะ มูลนิธิรามัญรักษ์ ไปถวายผ้าไตรแด่พระคณาจารย์สอนบาลีช่วงสอบบาลีของคณะสงฆ์รามัญนิกายได้สอบถามเรื่องนี้จาก Ven.Silacara (หลวงพ่อวัดอุปโค,อดีตรองประธานคณะสงฆ์รามัญนิกายและอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ) ท่านกล่าวว่า ในประเทศเมียนมานี้ รัฐบาลเมียนมา ไม่เคยรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์ไหนเลยสักแห่ง แต่ยินดีให้คณะสงฆ์เปิดมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้ และท่านยังพูดแบบเล่น ๆ ว่า ในชีวิตของท่านไม่เคยคิดมาก่อนว่า มอญจะมีมหาวิทยาลัยเป็นของตัวเอง คณะสงฆ์มอญทำอะไรไม่เป็น บริหารจัดการไม่เป็น แต่หากเป็นสำนักเรียนบาลีของวัด ท่านถนัดเพราะทำมาทั้งชีวิต จึงฝากให้ข้าพเจ้าช่วยประสานให้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาช่วยสนับสนุนด้วยเพราะท่านอยากเห็นคณะสงฆ์รามัญนิกายมีมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นของตัวเองเหมือนคณะสงฆ์ไทย สุดท้ายความฝันของท่านก็ไม่เกิดขึ้นช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ จวบจนกระทั้งข้าพเจ้าและทีมงานมูลนิธิรามัญรักษ์ได้ไปเมืองเมาะละแหม่ง รัฐมอญอีกครั้ง เนื่องจากนำอาหารแห้งไปบริจาคให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม ข้าพเจ้าและ Ven. Ashin Poke Pha พระนิสิตมอญ ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ปรึกษาหารือเรื่องนี้กับVen.Khemasara (พระอาจารย์เขมา) ซึ่งเปรียบเสมือนผู้อำนวยการ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ อย่างจริงจังและขอให้ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ทำหนังสือขึ้นอีกฉบับหนึ่งเพื่อติดตามความคืบหน้า ท่านแจ้งว่าเรื่องนี้ขอให้ข้าพเจ้าและ Ven Ashin Poke Pha ไปปรึกษาอธิการบดีคนใหม่ คือ Ven. Silacara (พระอาจารย์ปาละ ) ด้วย เมื่อเราไปกราบนมัสการพระอาจารย์ปาละ ท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์เขมาเป็นคนร่างหนังสือ สุดท้ายหนังสือฉบับนั้นก็ยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากพระอาจารย์เขมา ต้องไปปฎิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศญี่ปุ่นและท่านกล่าวว่า หลังจากกลับมาจากประเทศญี่ปุ่นท่านจะแวะพักในประเทศไทย หากมีโอกาสขอให้ข้าพเจ้าพาไปพบ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ด้วย เมื่อพระอาจารย์เขมากลับมาจากประเทศญี่ปุ่นแวะเข้ามาพักในประเทศไทย ท่านติดต่อมาหาข้าพเจ้าเพื่อประสานงานขอเข้าพบ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในขณะนั้น และเมื่อข้าพเจ้าได้รับความเมตตาจากท่าน กำหนดวันเวลาให้เข้าพบที่ศาลาทรงไทย ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้แจ้งให้พระอาจารย์เขมาทราบ ท่านตอบกลับมาว่า ตอนนี้ท่านอยู่ด้วยกับพระอาจารย์แหมะ ผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ อยู่กับท่าน และให้ข้าพเจ้าคุยกับพระอาจารย์แหมะ เพื่อนิมนต์ไปด้วยกัน ท่านตอบรับตามวันและเวลาที่พระพรหมบัณฑิต กำหนดให้ไว้ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่าวันที่เข้าพบนั้น พระพรหมบัณฑิต เป็นวันเดือนอะไร แต่ทราบว่าช่วงนั้นใกล้เทศกาลเข้าพรรษาแล้ว ก่อนที่จะเข้าไปพบ พระพรหมบัณฑิต นั้น ข้าพเข้าได้ปรึกษากับพระอาจารย์แหมะกับพระอาจารย์เขมาว่า วันนี้จะขอความอนุเคราะห์จาก พระพรหมบัณฑิต 2 เรื่องด้วยกันคือ (1) ขอให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สนับสนุนและส่งเสริมการจัดโครงสร้าง การบริหารจัดการแบบมหาวิทยาลัยและจัดหลักสูตรการเรียนการสอนแก่ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ (2) ขอให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาบุคคลากรของ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ทั้งพระภิกษุและฆราวาส พร้อมกับอบรมและเรียนหลักสูตรระยะสั้น หลังจากข้าพเจ้าเสนอหัวข้อที่จะขอความอนุเคราะห์ทั้ง 2 ประเด็น ท่าทีพระอาจารย์แหมะท่านดูจะเกรงใจ และหวั่นวิตกถึงความไม่พร้อมของ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ แต่ข้าพเจ้าแจ้งกับท่านว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อพุทธศักราช 2430 ตั้งมาแล้ว 130 กว่าปี เพิ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบเมื่อปี 2540 นี้เอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เองก็ไม่พร้อมมาตั้งแต่ต้น และข้าพเจ้าเชื่อว่า “ พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่านเป็นพระนักปราชญ์ที่ทั่วโลกยอมรับ มีเมตตาสูง และด้วยประสบการณ์ของท่านที่บริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาตลอด 20 ปีท่านคงไม่มองเรื่องปลีกย่อยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ความพร้อมหรือความไม่พร้อมของ มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะเป็นเครื่องขัดขวางความเจริญและความรุ่งเรืองในการพัฒนาศักยภาพของพระภิกษุ-สามเณร เพราะไม่ว่าคณะสงฆ์นิกายใด ๆ ในโลกนี้ หากมีคุณภาพมีความสามารถนั่นหมายถึง พระพุทธศาสนาจะเจริญและมั่นคงในระยะยาวด้วย” เมื่อคณะเราเข้าไปกราบนมัสการ พระพรหมบัณฑิต ท่านถามความเป็นอยู่และการศึกษาของคณะสงฆ์รามัญนิกายด้วยความสนใจโดยทางคณะได้เตรียมภาพนิ่งอาคารต่าง ๆ ภายใน มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ให้ท่านดู โดยมีพระอาจารย์เขมา เป็นผู้บรรยายและตอบเป็นภาษาอังกฤษ พระพรหมบัณฑิต สนทนาด้วยความสนใจ เมตตาและชื่นชมคณะสงฆ์รามัญนิกาย ตะกะกุ้นแหม่ะ ที่ทำได้ขนาดนี้ พูดคุยเกือบ 2 ชั่วโมง เนื่องจากในวงสนทนาคุยกันด้วยภาษาอังกฤษข้าพเจ้าฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง และ พระพรหมบัณฑิต คงทราบว่าข้าพเจ้าฟังไม่ออก ก่อนจบท่านได้หันมาถามข้าพเจ้าว่า “ต้องการให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าไปช่วยอะไรบ้าง” ข้าพเจ้าแจ้งไปทั้ง 2 ประเด็นที่คุยกับพระอาจารย์แหมะกับพระอาจารย์เขมาก่อนหน้านี้แล้ว พระพรหมบัณฑิต ท่านเมตตาตอบรับและมอบหมายให้ วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ ( International Buddhist Studies College : IBSC ) เป็นผู้ประสานและดำเนินการต่อไป พร้อมกับฝาก มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ ว่า “อย่าทิ้งการศึกษาบาลีภาษามอญและวัฒนธรรมมอญ เพราะภาษาและวัฒนธรรม ประเพณีมอญ คือรากเหง้าฐานสำคัญของวัฒนธรรมหลายประเทศในภูมิภาคนี้” หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้ไปแจ้งให้กับ พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ ซึ่งเป็นบุคคลที่ข้าพเจ้าเคยร่วมมือกันหลายครั้งหลายวาระด้วยกัน ทั้งมีความเชื่อมั่นในความเก่ง ความเอาใจใส่ประเภท “ถึงลูกถึงคน” จับงานแล้วไม่เคยปล่อยเชื่อมือได้ โดยมีผลงานจากการจัดงาน “วิสาขบูชาโลก” เป็นเครื่องยืนยัน รวมทั้งคณะสงฆ์รามัญนิกาย มหาวิทยาลัยรามัญญะรัฎฐะ เคยส่งพระภิกษุ-ฆรวาสมาอบรมจำนวน 15 คน ท่านดูแลเอาใจใส่ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรตลอด 40 วันเป็นเครื่องยืนยัน ตอนหน้า..มีคำถามว่า “สิ่งที่อาจารย์อุทัยกำลังพยายามทำอยู่นี้ คณะสงฆ์มอญต้องการ หรืออาจารย์อุทัยต้องการ” ใครเป็นคนถาม แล้วผมจะตอบอย่างไร..โปรดติดตาม Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘ปิยบุตร’ เทศน์กัณฑ์ ‘อริยสัจ4’ ชี้รธน.60คือ’สมุทัย’ทำคนไทยทุกข์ อุทัย มณี ก.ย. 08, 2019 'ปิยบุตร' เทศน์กัณฑ์ 'อริยสัจ4' ชี้รธน.60คือ'สมุทัย'ทำคนไทยทุกข์… อานิสงส์สร้างศาลา! อำนาจเจริญน้ำท่วม2เมตร ชาวบ้านต้องหนีนอนวัด อุทัย มณี ก.ย. 03, 2019 อานิสงส์สร้างศาลา! อำนาจเจริญน้ำท่วม2เมตร ชาวบ้านต้องหนีนอนวัด ตั้งโรงครัวหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลกแจก… ‘อนุทิน-เนวิน’นำถวายเทียนพรรษา 1,155 วัดบุรีรัมย์ อุทัย มณี ก.ค. 08, 2019 วันที่ 8 ก.ค.2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายเนวิน… ‘วิษณุ’เบรค! กก.ยุทธศาสตร์ชาติ-กก.ปฏิรูปลาออก ยันไม่ต้องยื่นทรัพย์สิน อุทัย มณี พ.ย. 30, 2018 วันที่ 30 พ.ย.2561 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี… ‘มจร’เปิดรับบริจาคบูรณะอาคารพิษพายุ’ปาบึก’เครือข่ายชาวใต้ระดมทุน อุทัย มณี ม.ค. 06, 2019 'มจร'เปิดรับบริจาคบูรณะ อาคารพิษพายุ'ปาบึก' เครือข่ายองค์กรชาวใต้ฯ… พระศรีอาริย์แห่งสยามประเทศ หลวงปูเนียน วัดโยธินประดิษฐ์ จ.สมุทรปราการ อุทัย มณี ม.ค. 04, 2019 พระศรีอารยเมตไตรย (พระ-สี-อา-ระ-ยะ-เมด-ไต) ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า… ภัย….พระพุทธศาสนารุกคืบ วอนนักคิดวางแผนยุทธศาสตร์รับ? อุทัย มณี ส.ค. 21, 2019 จากการติดตามผลงานพระมหาเถระในอดีตมาอย่างน้อย 3-4 รูป จึงพอสรุปได้ว่า..ภัยของพระพุทธศาสนา… “ม.สงฆ์ มจร” มุ่งพัฒนา “MCU TV” ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกสื่อสารในยุคปัจจุบัน อุทัย มณี ต.ค. 24, 2019 "ม.สงฆ์ มจร" มุ่งพัฒนา "MCU TV" ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกสื่อสารในยุคปัจจุบัน กำหนดประชุมคณะกรรมการบิหาร… แจกฟรี!…”ท้าวเวสสุวรรณ” งานบุญทอดกฐิน หลวงพ่อณะโอ่งประจวบคีรีขันธ์ อุทัย มณี ต.ค. 25, 2019 แจกฟรี!..."ท้าวเวสสุวรรณ" งานบุญทอดกฐิน หลวงพ่อณะโอ่ง วันที่… Related Articles From the same category เหรียญพระปรางค์หลังเรียบชุดพิเศษ 16 เม.ย. 62 ร่วมบุญงานแห่พระรูป สมเด็จพระเจ้าตากสินชาววัดอรุณ ในการจัดสร้างเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ… สมเด็จพระสังฆราช เสด็จพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 16 ธ.ค.61 ที่วัดชินวรารามวรวิหาร (อารามหลวง)… “ราชกิจจาฯ”ประกาศ ม.44 ปลดล็อกพรรคการเมือง วันที่ 10 ธ.ค.61 เว็บไชต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่… ‘มจร วิทยาสงฆ์ปัตตานี’อบรมe-learningจัดเรียนสอนผ่านสื่อออนไลน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2561 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… ‘รองอธิการบดี มจร’แนะเทคนิคการเป็นศาสนพิธีกร วันที่ 6 ก.ย.2562 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ,รศ.ดร. รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร…
Leave a Reply