วันที่ 28 พ.ย.2561 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา รองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการนี้มีผศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ประธานสมาพันธ์ชาวพุทธแห่งประเทศไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการร่วมด้วย
พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านประชาสัมพันธ์ฯ เปิดเผยว่า ช่วงแรกพระมหาหรรษาได้กล่าวการประชุมความว่า #กระแสการจัดค่ายคุณธรรมถือว่าโจทย์ที่สำคัญจะทำให้เรามาร่วมกันหาทางออก ถือว่าเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ทุกโรงเรียนของสพฐ.ต้องจัดขึ้น
“เรามาช่วยให้เกิดคุณค่าต่อเยาวชนและสังคมในปัจจุบันและอนาคต สังคมจึงมีความหวังกับพวกเราทุกท่านในการร่วมกับปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนา สิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ดีงามมิใช่เพื่อตนเองแต่เพื่อเยาวชนและลูกหลานของเรา เป็นการเอาธรรมของพระพุทธเจ้าไปส่งต่อให้ลูกหลาน ด้วย #สติศึกษา เป็นการพัฒนาสติให้เกิดขึ้นในรูปนาม เพราะฐานของการปฏิรูปคือ สติศึกษา ซึ่งจะออกแบบการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน (Mindfulness Based Learning: MBL) แต่ละช่วงชั้น สติจึงหมายถึงการอยู่กับปัจจุบัน สมาธิแปลว่าคิดเรื่องเดียว”
จึงมีการขับเคลื่อนด้วยรูปแบบ 5 คำ คือ “สติ เมตตา สุจริต เคารพ สัจจะ” สติเป็นการอยู่กับปัจจุบัน #เมตตาเป็นความรักเมตตาแผ่ไปในสัตว์ที่มีความสุขส่วนกรุณาแผ่ไปในสัตว์ที่มีทุกข์ สุจริตเป็นการไม่บกพร่องต่อหน้าที่ เคารพเป็นการอ่อนน้อมถ่อมตนเคาพความต่างวัฒนธรรมเคารพในความพหุวัฒนธรรม สัจจะเป็นการกตัญญูต่อตนเองบุคคลสถานที่ รวมถึงการสื่อสารระหว่างกันด้วยความจริง ไม่ใช้วาจาทำให้เกิดความเกลียดชัง ไม่ใช้ความรุนแรง โดยเราจะยึดสาระแกนกลางเป็นฐาน โดยใช้ MBL ในการขับเคลื่อน จึงต้องมีการพัฒนาหลักสูตรโดย #ไม่ได้รื้อหลักสูตร #ดำเนินใบไม้กำมือเดียว #เอาความต้องการเด็กเป็นที่ตั้ง #การเลือกธรรมะให้กับเด็กที่เหมาะสม จึงแสดงให้เห็นว่าที่ผ่านมาหลักสูตรเราเขียนไว้เราไปไม่ถึงปลายทางของหลักธรรมเพราะมีจำนวนมาก เราจึงต้องมีความชัดเจน
ดังนั้น เรากำลังจะเอาพระพุทธศาสนาไปแก้ปัญหาสังคม การจัดหลักสูตรต้อง #เอาชีวิตเด็กเป็นตั้ง เด็กประถมเป็นความกตัญญู ส่วนเด็กมัธยมเป็นปัญญาจึงใช้โยนิโสมนสิการ สิ่งที่สำคัญคือ #วิธีการสอนที่เหมาะสมในยุคปัจจุบัน จึงต้องนึกถึงใบไม้ในกำมือ
Leave a Reply