ปีใหม่.. 1 มกราคมมาจากไหน นายจงเจริญ ส้มเกิด นักศึกษาชั้นปีที่ 3 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เทศกาลวันขึ้น “ปีใหม่” เป็นเทศกาลที่ผู้คนต่างเฉลิมฉลองให้กับศักราชใหม่ที่กำลังเริ่มต้นขึ้น พร้อมทั้งยังตั้งความหวังว่า “ขอให้ปีที่กำลังจะถึงมีแต่สิ่งดีๆ” ความหวัง ความฝัน ความสำเร็จ หลายๆเหล่านี้จะเริ่มต้นขึ้นในปีใหม่ของแต่ละปี ซึ่งหากทำความเข้าใจนั้น เราจะทราบว่าเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ของทั่วโลกนั้น มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่น้อยกว่าสี่พันปี เทศกาลปีใหม่นั้นโดยส่วนใหญ่เริ่มต้นในวันที่ 31 ธันวา(วันส่งท้ายปีเก่า) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในปฏิทิน Gregorian จนถึงเริ่มต้นในช่วงเช้าของวันที่ 1 เดือนมกราคม(วันขึ้นปีใหม่) เริ่มแรกของการเฉลิมฉลองปีใหม่ เทศกาลงานเฉลิมฉลองวันปีใหม่ที่ถูกบันทึกไว้ให้เป็นเกียติยศนั้น สามารถย้อนกลับไปได้ถึงสมัยบาบิโลนโบราณราวๆ 4,000 ที่แล้ว ซึ่งสำหรับชาวบาบิโลน หรือ Babylonians จะดูดวงจันทร์ดวงแรกที่ขึ้นบนท้องฟ้าในยามราตรีที่ตามหลังวสันตวิษุวัต(จุดราตรีเสมอภาคที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึงในราววันที่ ๒๑ มีนาคม (vernal equinox) จะทำให้เวลากลางวัน และกลางคืนเท่ากันทั่วโลก เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ, คู่กับ ศารทวิษุวัต) โดยในช่วงปลายเดือนมีนาคมเมื่อแสงแดดกับความมืดมีความเท่ากันเกิดขึ้นบนท้องฟ้า ชาวบาบิโลนจะนับว่าวันนั้นคือการเริ่มต้นปีใหม่ ซึ่งในขณะเดียวชาวบาบิโลนจะทำเครื่องหมายทางศาสนาขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Akitu (มาจากคำ Sumerian สำหรับข้าวบาร์เลย์ซึ่งถูกตัดในฤดูใบไม้ผลิ) โดยเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละวันซึ่งรวมแล้วมีจะมีการประกอบพิธีกรรมดังกล่าว 11 วัน นอกจากจะเฉลิมฉลองปีใหม่แล้ว พิธี Atikut ยังเป็นการฉลองชัยชนะของเหล่าเทพแห่งท้องฟ้าของชาวบาบิโลน ซึ่งเทพเหล่านั้นยังมีความหมายถึงกษัตริย์ของชาวบาบิโลนในการปกครอง ตลอดยุคโบราณอารยธรรมทั่วโลกนั้นล้วนพัฒนารูปแบบของปฏิทินของตน ซึ่งในการออกแบบเหล่าล้วนแต่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนมากการทำปฏิทินวันแรกของปีจะเกี่ยวข้องกับเรื่องทางการเกษตรหรือเรื่องทางด้านดาราศาสตร์ อาทิ ในอียิปต์การเริ่มต้นปีจะนับด้วยเหตุการณ์น้ำท่วมประจำปี ซึ่งน้ำที่ท่วมจะท่วมจากแม่น้ำไนล์ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวยังสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนหมู่ดาวซิเรียสบนท้องฟ้าหรือวันแรกของปีใหม่ตามแบบจีนนั้น มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับดวงจันทร์ใหม่ ซึ่งนับเป็นดวงที่สองหลังจากดวงจันทร์ในฤดูหนาวรู้หรือไม่?ในการจัดวางปฏิทินโรมันกับดวงอาทิตย์ จูเลียสซีซาร์ต้องเพิ่มวันอีก 90 วันพิเศษ ซึ่งในปี 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อจูเลียสซีซาร์แนะนำปฏิทินรูปแบบใหม่ของเขา 1 มกราคม มาจากไหน? ในแรกเริ่มนั้นปฏิทินโรมันตอนต้นจะมีการใส่เดือนเข้าไปด้วยกัน 10 เดือนและมี 304 วัน โดยการเริ่มต้นปีใหม่แต่ละปีในปฏิทินโรมันนั้นจะเริ่มต้นจากการเกิดวสันตวิษุวัต ซึ่ง ประเพณีปีใหม่นั้นถูกประกอบสร้างโดย Romulus (ผู้ก่อตั้งกรุงโรมในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งกษัตริย์องค์ต่อมานาม Numa Pompilius ได้ทรงเพิ่มเดือนอีกสองเดือนเข้าไปในปฏิทินนั้นก็คือเดือน Januarius และ Februarius แปลไทยคือ มกราคมกับกุมภาพันธ์ ตลอดหลายศตวรรษผ่านมาปฏิทินเริ่มไม่สอดคล้องกับทางดาราศาสตร์หรือการขึ้นของดวงอาทิตย์และใน 46 ปีก่อนคริสตกาลนั้น จักรพรรดิจูเลียสซีซาร์ ทรงตัดสินพระทัยแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องดังกล่าว โดยทรงปรึกษากับนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียง โดยกลุ่มนักคิดเหล่านั้นได้แนะนำพระองค์ให้ใช้ปฏิทินจูเลียน ซึ่งมีความคล้ายกับปฏิทินเกรโกเรียนที่มีความสมัย โดยประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งการปฎิรูปการใช้ปฏิทินดังกล่าว ซีซาร์จึงก่อตั้งวันที่ 1 มกราคมเป็นวันแรกของปี ซึ่งส่วนหนึ่งการก่อตั้งวันดังกล่าวในเดือนดังกล่าวก็เพื่อเป็นเกียรติแก่ชื่อของเดือนคือ Janus ซึ่งยังเป็นเทพเจ้าแห่งการเริ่มต้นของความเชื่อชาวโรมัน เทะองค์ดังกล่าวจะมีลักษณะเด่นคือ มีสองใบหน้าซึ่งสะท้อนความหมายถึงการมองโลกในอนาคตและโลกในอดีต ทั้งนี้ชาวโรมันจะเฉลิมฉลองเทศกาลดังกล่าวด้วยการถวายเครื่องบูชาแก่เทพ Janus ซึ่งจะฉลองโดยการแลกเปลี่ยนของขวัญกันและตกบ้านให้สวยงามต้อนรับเทศกาลขึ้นปีใหม่ โดยในยุโรปยุคกลางผู้นำชาวคริสเตียนเปลี่ยนวันที่ 1 มกราคมเป็นวันแรกของปีชั่วคราว เพราะมีวันที่สำคัญทางศาสนาเพิ่มมากขึ้น อาทิ วันคริตส์มาส (วันครบรอบวันเกิดของพระเยซู)และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่สิบสามสถาปนาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ในปี 1582 ด้วยเหตุนี้เองวันขึ้นปีใหม่จึงเป็นวันที่ 1 มกราคมของทุกปีเพราะทุกประเทศจะใช้ตามรูปแบบสากล ในประเทศไทยก็เช่นกันได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากแต่เดิมชาวไทยถือว่า วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งนับเหมันตฤดูเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเชื่อในคติพราหมณ์ คือ ถือเอาวัน ข้ึน 1 คํ่า เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ ต่อมาประเทศไทยได้รับแนวคิดความเป็นสากลเข้ามา ทางราชการจึง ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงวันข้ึนปีใหม่ เนื่องจากมีพระบรมราชโองการให้ตรา “พระราชบัญญัติปีประดิทิน พุทธศักราช 2483” ซึ่งมี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ************************** จำนวนผู้ชม : 539 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ประธานสงฆ์เถรวาทจีน “เยี่ยมชม” วัดอรุณราชวราราม อุทัย มณี ม.ค. 30, 2025 วันที่ 30 มกราคม 2568 พระพรหมวัชรเมธี เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราคม… มส.ประกาศระเบียบใหม่ว่าด้วยการเพิ่มตำแหน่ง “รองเจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะจังหวัด” อุทัย มณี มี.ค. 03, 2022 วันที่ 3 มี.ค. 65 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์… จับตา!! ผู้จัดการวิสาหกิจ มจร เลือดใหม่!! แก้วิกฤติปัญหาได้หรือไม่?? อุทัย มณี พ.ย. 08, 2024 และแล้วผู้บริหาร “มจร” ก็ได้ฤกษ์คลอด “ผู้จัดการ” รัฐวิสาหกิจ… ตามเก็บ!! อุทัย มณี ม.ค. 10, 2022 หากผู้อ่านติดตามบทความ “ริ้วผ้าเหลือง” มาต่อเนื่อง คงพอรู้บ้างว่า “เปรียญสิบ” ทำงานอยู่ชนิดหนึ่ง … การปฏิบัติธรรมของนิสิต ม.มจร.คือโอกาสของ “การทำความดี เพื่อสร้างความสุขให้กับชีวิต” ? อุทัย มณี ธ.ค. 18, 2018 @ ช่วงนี้ที่มหาวิทยาลัยของผม โดยเฉพาะคณะพุทธศาสตร์มีการเข้าปฏิบัติธรรมกันที่อาคาร… “บ้านเซี๊ยะ-บ้านโป่ง (สันขี้เหล็ก)”หมู่บ้านจัดการขยะรีไซเคิล 3R สู่การสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชน อุทัย มณี ก.ย. 27, 2021 โครงการวิจัยนวัตกรรมการสร้างสรรค์งานศิลปะชุมชนจากขยะรีไซเคิลเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพิ่มรายได้โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ… ชาวกาฬสินธุ์มีมติฟ้อง ว่าที่เจ้าคณะจังหวัด ที่มส.ตั้งแทนเจ้าคุณบัวศรี อุทัย มณี ต.ค. 12, 2021 ชาวกาฬสินธุ์ร้อง"กมธ.กฎหมายสภาฯ สอบปมปลดเจ้าคณะจังวัดแถมฟ้องว่าที่เจ้าคณะที่มส.ตั้งแทน… ปลัดเก่ง ถวายความรู้ “พระนวกะ” ย้ำศึกษาหนังสือ “นวโกวาท” ให้ถ่องแท้มีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตมาก? อุทัย มณี ก.ค. 26, 2024 วันนี้ (26 ก.ค. 67) เวลา 12.00 น. ที่ห้องประชุม War room ชั้น 2 อาคารศาลาว่าการกกระทรวงมหาดไทย… ในหลวงโปรดเกล้าฯ ตั้งสมณศักดิ์พระภิกษุจำนวน 5 รูป “พระอาจารย์ต้น” เป็น “พระราชญาณวัชรชิโนภาส” อุทัย มณี ต.ค. 21, 2024 วันที่ 21ตุลาคม 2567 ราชกิจจนุเบกษา ลงประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์… Related Articles From the same category จับตา “กองทุนวัดช่วยวัด” หลังเปลี่ยนมือจากวัดปากน้ำสู่ “วัดราชบพิธ” วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เมื่อวานนี้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมนัดแรก… ท้าวเวสสุวรรณ “กันภัยรุ่นแรก” วัดระฆังโฆสิตาราม กทม. เนื่องด้วยทาง กลุ่มชมรมพระเครื่องทั่วไทย มีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างวัตถุมงคล… โยมใส่บาตรหน้ากาก ช่วยพระเณรเมืองกรุงผจญธุลีภัย วันที่ 31 ม.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระภิกษุ สามเณร ที่จำอยู่ตามวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร… สมเด็จพระพุฒาจารย์พร้อมไฟเขียว พาสปอร์ตพระ 10 ปี ตามกระทรวงต่างประเทศให้สิทธิ์ ปชช. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 ที่วัดไตรมิตรวิทยารามฯ นายเพชรวรรต… “ปลัดมท.” เผยเล็งบรรจุวิชาพลเมืองและศีลธรรม ร.ร.สังกัดมหาดไทยแล้ว เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17.00 น. ที่อาคารรัฐสภา สัปปายะสภาสถาน…
Leave a Reply