โดย..บุญเลิศ ช้างใหญ่
“ไม่อยากคุยการเมือง คุยแล้วทะเลาะกัน เพราะความเห็นไม่ตรงกัน” เพื่อนคนหนึ่งบอก”
ในไลน์กลุ่ม มักจะมีข้อห้าม ไม่ให้สมาชิกเขียนวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการเมือง แม้การส่งข่าวสารจากสื่อต่างๆเข้ามาในไลน์ก็ยังไม่แคล้วสร้างความไม่พอใจให้กับอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย – นี่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่มิอาจปฏิเสธ
การเมืองจึงดูเป็นเรื่องปวดหัวสำหรับคนไทยจำนวนหนึ่ง
แม้ว่าการเมืองจะมีภาพเป็นยักษ์เป็นมารถูกวาดภาพให้กลายเป็นปีศาจร้าย แต่ทุกคน
ก็หนีการเมืองไม่พ้น ประชาชนจะสุขจะทุกข์ ก็อยู่ที่การเมืองทั้งสิ้น
เดือนแห่งการเลือกตั้งใกล้เข้ามา อีกไม่นานเกินรอก็จะถึงวันเปิดสมัครรับเลือกตั้ง
ซึ่งพรรคการเมืองจะส่งสมาชิกลงสมัครทั้งระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อ พร้อมประกาศรายชื่อผู้ ที่พรรคจะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่เกิน 3 รายชื่อ
ผลแห่งการกาบัตรเลือกตั้ง 1 คนเลือกได้ 1 เบอร์จะกำหนดทิศทางประเทศโดยมีรัฐบาลชุดใหม่เข้าบริหารราชการแผ่นดิน
ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งรับรองว่า สนุก ตื่นเต้น โลดโผน หวาดเสียว ระทึกใจมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา
กฏกติกาที่ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 250 คน มาจากการคัดเลือกโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ถูกวิเคราะห์วิจารณ์ว่าจะเอื้อต่อการกลับมาเป็นนายกฯอีกสมัยหนึ่งของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์… นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง
แต่อีกส่วนหนึ่งก็คือ เจตนารมณ์ของประชาชนที่จะแสดงออกผ่านกระบวนการเลือก ตั้งโดยพิจารณาจากการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ ผลคะแนนที่ปรากฏออกมาว่าแต่ละพรรคได้ส.ส.กี่ที่นั่ง พรรคไหนบ้างที่จะรวมกันให้ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง และนโยบายอย่างไรในการ บริหารประเทศ ซึ่งจะเป็นคำตอบในทางการเมืองที่อาจเป็นคนละเรื่องกับคำตอบในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนส.ว.เข้ามาเป็นส่วนประกอบของการคำนวณ
การหาเสียงของผู้นำพรรคการเมืองผ่านการปราศรัยหาเสียง การให้ข่าวผ่านสื่อพบ ว่า มีประเด็นสำคัญๆที่เกิดวิวาทะกันไม่เว้นแต่ละวัน เช่น
ตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนยากจนลง มีหนี้สินเพิ่มขึ้น รวยกระจุก จนกระจาย ตนส่วนใหญ่กระเป๋าแฟบจริงหรือไม่ ?
ตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมา ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นและปัญหายาเสพติดเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ ?
ตลอด 4 – 5 ปีที่ผ่านมา การปฏิรูปประเทศล้มเหลว จริงหรือไม่ ?
รัฐธรรมนูญ, ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี, แผนปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน, กฏหมายต่าง ๆ สมควรจะแก้ไขหรือไม่ ?
ประเด็นเหล่านี้ จะถูกนำเสนอจากพรรคต่างๆในช่วงหาเสียงที่จะมีกาเรปิดปราศัย,การรับเชิญไปขึ้นเวทีแสดงวิสัยทัศน์ที่จัดโดยองค์กร สถาบันต่างๆ, การให้สัมภาษณ์สื่อ, การจัดดีเบตโดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯและผู้นำพรรคมาประชันคารมกัน
ประชาชนจะได้พิจารณา วิเคราะห์เปรียบเทียบว่าจะเชื่อใคร แล้ว นำไปสู่การตัดสิน ใจว่า 1 เสียงของตนจะกาบัตรให้กับผู้สมัครรายใด สังกัดพรรคไหนและอยากให้ใครเป็นนายกฯ
เหมือนการแข่งขันกีฬาฟุตบอล หรือการประกวดลิเกที่ต้องมีกติกาแล้ววัดกันที่การยิงประดูและเสียงปรบมือของผู้ชม ใครแสดงได้ดี โดนใจชาวบ้านมากที่สุดก็จะได้รับการชูมือให้เป็นผู้ชนะ
การเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งครั้งนี้ มีประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยเป็นเดิมพันจึงเป็นเรื่องน่าสนุกและน่าตื่นเต้น ไม่ควรหวาดกลัวหรือเบื่อหน่าย รำคาญ
////////////////////////////////
Leave a Reply