“หลวงพ่อพยอม”ร่วมเสวนา 3 ศาสนา “ลากหลายคือความสวยงาม”

ยกวาทกรรมเด็ดหลวงพ่อพุทธทาส”รักผู้อื่นคือหัวใจของทุกศาสนา” มุ่งลดความสุดโต่ง เสริมสร้างความรักความเมตตาต่อกัน

วันที่ 6 มีนาคม 2563 เวลา 17.45 น. ที่ลาน Outdoor โซน B Central World สมาคมนักธุรกิจการค้าไทยมุสลิม จัดงาน WORLD HALAL FEST 2020 มีการดเสวนา 3 ศาสนา ในหัวข้อ”ความหลากหลายคือความสวยงาม” โดยมีผู้แทนจาก 3 ศาสนาร่วมเป็นวิทยากรประกอบด้วย ศาสนาพุทธคือ พระพิศาลธรรมวาที หรือพระพยอม กลฺยาโณ เจ้าวาสวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี ศาสนาอิสลาม ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข และศาสนาคริสต์ มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ดำเนินรายการโดยนายต่วนอิสกันดาร์ ตาโต๊ะมูลียอ

นายต่วนอิสกันดาร์ได้นำเข้าประเด็นความสำคัญในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างศาสนาและผู้คนในสังคมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคุณธรรมสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะจรรโลงสังคม ไม่ว่าจะเป็นทางการค้า การศึกษา หรือด้านต่างๆที่จะพาสังคมไปข้างหน้าด้วยกันเราจึงได้จัดในเรื่องของเวทีเสวนาโดยเชิญผู้นำทั้ง 3 ศาสนา ในประเทศไทยเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือว่าการสานเสวนาในการที่จะสร้างชาติด้วยกัน ในเรื่องของความเข้าใจกันมากขึ้น ตั้งหัวข้อว่า ความหลากหลายคือความสวยงาม และขออนุญาตทำความเข้าใจกับชาวมุสลิมที่เข้าร่วมรับฟังหากเราจะเรียกพระสงฆ์ เราเรียกพระคุณเจ้าได้ สามารถใช้คำศัพท์ที่ใช้เรียกว่านมัสการพระคุณเจ้าได้ เพื่อเป็นความเข้าใจ หรือจะเชิญพระคุณเจ้า ก็จะใช้คำว่านิมนต์พระคุณเจ้าได้ ก็เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง สำหรับการใช้ศัพท์ในการเรียกของพระสงฆ์ที่เคารพของพุทธศาสนิกชน และอีกประการหนึ่งคือ การคำศัพท์ที่ใช้เรียกผู้นำศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่เป็นบาทหลวงว่าคุณพ่อ และเรียกผู้ปกครองคุณพ่ออีกทีว่ามุขนายก ประเด็นศาสนาคริสต์

ในการเสวนาครั้งนี้แก่นของการเสวนา คือ เราจะใช้ความแตกต่างในคุณธรรมทั้ง 3 ศาสนา อย่างไรที่จะทำให้สังคมบ้านเมือง ประเทศไทยของเรา เกิดก้าวหน้าในการพัฒนา ในประเด็นเกี่ยวกับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเผยแพร่ไปได้เร็ว มีเรื่องของข้อมูลที่บิดเบือน ข้อมูลที่ยุยงให้คนไทยด้วยกันมีความรู้สึกหวาดระแวงไม่ไว้ใจต่อกัน ทาง มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ (ศาสนาคริสต์) ได้กล่าวว่า สื่อก็ออกมาจากใจ อยู่ที่ใจของคน ถ้าใจคนดี สื่อออกมาก็ดี เป็นความจริงถ้าใจอิจฉา ใจโลภ ใจโกรธ ใจพยาบาท สื่อที่ออกมาก็ไม่ดี เราจะไปห้ามเขาไม่ได้เพราะขึ้นอยู่กับว่าเราจะต้องเป็นผู้กรองที่ดี ฟังอย่างมีสติว่าสิ่งที่เขาพูดออกมามันจริงมากน้อยแค่ไหนเราต้องไตร่ตรอง ว่าสื่อทุกวันมันมากเป็นขยะเยอะเราไม่สามารถจะไปเอาทุกอย่างมาแล้วก็มาไว้ในตัวเราเราก็ต้องรู้จักเลือก รู้จักวินิจฉัยนั้นสำคัญ

“แต่ก็น่าเห็นใจว่าก็มีบางคนเขาตั้งใจแบบนั้นจริงๆ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของเขา ซึ่งไม่เป็นผลประโยชน์ของส่วนรวม มันไม่ได้สร้างสันติ ไม่ได้สร้างความยุติธรรม เราก็ต้องมีสติให้ดีเราก็ต้องรู้จักเลือก ทุกคนสามารถเป็นสื่อได้มีกล้องตัวเดียวก็ถ่ายแล้วแชร์ไปโดยไม่มีคำอธิบาย ตรงนี้เป็นดาบ 2 คม คนที่ใจกว้างก็จะเข้าใจในอีกแบบหนึ่ง คนใจแคบก็จะเข้าใจในอีกแบบหนึ่ง” ผู้แทนจากศาสนาคริสต์ กล่าวและว่า

สำหรับวันนี้การที่เรามานั่งรวมกัน 3 ศาสนา เป็นส่วนหนึ่งที่สังคมไทยอยากจะเห็น หน้าที่ของเราคือจะต้องสร้างชาติ สร้างสันติสุข เพราะนี่คือเรื่องใหญ่ เราจะแก้ปัญหาด้วยกัน ภารกิจของเราก็คือ เราเป็นคนไทย เราเป็นมนุษยชาติ เราเป็นคนที่มีศาสนาในการที่จะกล่อมเกลา อันนี้คือหน้าที่ เรื่องของความแตกต่าง คือเรื่องทางธรรมชาติ มันไม่จำเป็นต้องขัดแย้ง มันเป็นความสวยงาม เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราก็คือเอาความดีมาร่วมกันอะไรที่เราจะร่วมมือทำได้ทำเลย ให้ความร่วมมือกันสนทนากันให้มากขึ้น

มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า การสร้างเวทีเล็กๆอย่างนี้แล้วก็พยายามถ่ายทอดออกไปคือสิ่งที่สำคัญอยากจะสนับสนุนวิธีการนี้แล้วก็ทำให้เหมือนๆกัน หลักธรรมของศาสนาคริสต์มีวิธีการป้องกันความเกลียดอย่างไร ความเกลียดชังก็เป็นบาปที่เราจะต้องขจัดออกไป เพราะขัดต่อบทบัญญัติของพระเป็นเจ้า และก็ผิดต่อบทบัญญัติของพันธสัญญาใหม่ และก็พันธสัญญาเดิม ซึ่งรวมเป็นคัมภีร์ไบเบิ้ลซึ่งพระเยซูคริสตเจ้าทรงบอกว่า จงรักพระเป็นเจ้าของเจ้าสุดจิต สุดใจ สุดวิญญาณของเจ้า และจงรักผู้อื่นเหมือนรักตนเอง และนี่คือสรุปคำสอนของประกาศกและคำสอนบัญญัติทั้งหมด ถ้าเราทำตรงนี้ไม่ได้เราก็ผิดอุดมการณ์ต่อศาสนา

“หากศาสนาพุทธสร้างความเมตตาปราณีไม่ได้ก็ผิดคำสอนหลัก ศาสนาอิสลามสร้างสันติไม่ได้ ก็ผิดต่อคำสอนหลัก เพราะนี่คือแก่นที่สรุปเอาไว้แล้วถ้าเราจะเข้าใจศาสนาใดในโลกนั้นเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราปล่อยไว้ สร้างอคติไว้ สร้างความกลัวไว้ มันเป็นบาปคาใจ ตัวเองก็เสวยกรรมแรกที่เราไม่มีความสุข แล้วก็ไปทำร้ายคนอื่น ทำให้คนอื่นก็ไม่มีความสุขด้วย” มุขนายกยอแซฟ ชูศักดิ์ กล่าวและว่า

คำสอนนี้จึงถูกเน้นย้ำ ทางภาคปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม เพราะว่ารักพระเจ้านั้นไม่มีรูปธรรม จับต้องไม่ได้ รักเพื่อนพี่น้องคือพระฉายาลักษณ์ของพระเจ้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่กำลังลำบาก พระเจ้าไม่ได้บอกให้รักชาวคริสต์ แต่ให้รักเพื่อนมนุษย์ทุกคน การเทศน์สอนของผู้นำศาสนาจึงมีความสำคัญในการชี้นำสัตบุรุษทั้งหลายให้ประพฤติดี ประพฤติชอบ อย่าไปสอน อย่าไปยุยง ให้คนใจแคบ ใจดำ บทบาทของผู้นำศาสนาในยุคปัจจุบันเป็นโลกที่มนุษย์ ผูกพันอยู่ด้วยกันมาก ถ้าทุกคนใจแคบ มันไม่ได้ช่วยอะไรให้มันดีขึ้น นี่คือสิ่งที่สำคัญศาสนาจะอยู่ได้เมื่อผู้นำศาสนาเข้าใจอย่างแท้จริงว่าศาสนาของตนสอนอะไรนี่คืออัตลักษณ์ของเราที่เราเป็นแล้วคนอื่นก็เข้าใจ ศาสนาบอกว่าสอนความรักอย่างไรให้คนเข้าใจ รักแท้จริงคือต้องเสียสละ ต้องช่วยคนที่กำลังยากลำบาก เหมือนกับที่พระเยซูคริสตเจ้าได้กระทำ ถ้าทำอย่างนี้พระเป็นเจ้าบอกว่าเราเป็นศาสนิกชนที่แท้จริง

ประเด็นของศาสนาพุทธในส่วนประเด็นของศาสนาพุทธในมุมมอง โดยปกติแต่ก่อนพี่น้องชาวไทยพุทธ และพี่น้องชาวมุสลิมก่อร่างสร้างตัวและสร้างประวัติศาสตร์ร่วมกันมาแต่หลังๆเริ่มหวาดระแวงซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะในโลกของออนไลน์ที่อาจจะมีคำเชิญชวนที่แบ่งเขาแบ่งเรารู้สึกว่าความเป็นมุสลิมเป็นส่วนเกินของชาติและอีกทางหนึ่งคือมุสลิมสุดโต่งก็มองว่าพี่น้องชาวไทยพุทธก็เป็นส่วนเกินที่พวกเขาไม่ปรารถนาต้องการ อยากฟังมุมมองนักพัฒนาของท่านว่า ท่านมองเรื่องนี้อย่างไร?

พระพยอม กลฺยาโณ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้สอนว่า เกลียดชังเป็นตัวเสนียดจัญไร คิดให้อภัยในใจเยือกเย็นมีสุขเพราะหมดเกลียด ถ้ามีเกลียดก็จะหมดสุข ถ้าอยู่ด้วยความเกลียดก็จะหมดสุขเลย รู้สึกไม่มีความสบายใจ เพราะฉะนั้นเขาจึงบอกรักกันไว้กันเถิดเป็นคนไทย จะเป็นชาติศาสนาอะไรเมื่อมาอยู่ในแผ่นดินนี้จะมาทะเลาะขัดแย้งกันทำไม และบรรดาผู้ที่เกลียดชังมนุษย์ด้วยเหตุที่ว่าเขานับถือศาสนาที่ไม่เหมือนตัวเองในทางศาสนาพุทธถือว่าเป็นบาปไหม? คำตอบ คำว่าโกรธใคร เกลียดใครอาตมาใช้คำว่า โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ถ้าเกลียดเลวว่า นึกถึงวาทกรรมเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาส คือ รักผู้อื่นคือหัวใจของทุกศาสนา วันนี้อยากให้ข้อคิดต่อทุกศาสนา ในเรื่องผิดพลาดอยู่นิหนึ่ง คือฮาร์ดคอร์ และการงมงายต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ศาสนาไม่สอนให้เราไปอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเจ้าจะช่วยเราต่อเมื่อเราต้องช่วยพระเจ้าด้วย เราต้องช่วยตัวเองด้วย อันนี้เป็นเรื่องที่ทุกศาสนาควรจะตรวจสอบ ถึงเชื่อต้องเรียนรู้ให้ชัดเจน ว่าคืออะไร ไม่อย่างนั้นเราก็จะงมงาน เราก็จะมาทะเลาะในเรื่องที่งมงาย

ประเด็นศาสนาอิสลาม ในกรณีมุสลิมสุดโต่งที่มองเห็นว่าบรรดาศาสนาอื่นเป็นศัตรูก็ดี หรือว่าเป็นผู้ที่หลงผิดก็ดีอยากทราบมุมมองของท่าน ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข(ศาสนาอิสลาม) ว่าท่านมองเรื่องนี้อย่างไร ประการที่ 2 ท่านจะคาดหวังกับพี่น้องชาวคริสต์และก็พี่น้องชาวพุทธว่าเราควรที่จะทำความเข้าใจอย่างไรดีกับมุสลิมสุดโต่งเหล่านี้ คำตอบคือ ปัญหาเรื่องความสุดโต่ง ได้เริ่มใช้หลายในปัจจุบัน เป็นคำที่สร้างความรู้สึกค่อนข้างจะอึดอัดในเรื่องของการงานทางศาสนาดังนั้นเราจึงพยายามที่จะพูดถึงทางสายกลางที่ไม่สุดโต่งและก็ไม่หย่อนยานอะไรที่มันมีดุลยภาพ มันก็คือบทความและวิถีของศาสนาที่สอนเรื่องนี้มาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ หรือศาสนาอิสลาม

ในส่วนที่เรากำลังจะพูดถึงความสุดโต่งที่มันเกิดขึ้นภายในพี่น้องมุสลิมเองสาเหตุหลักที่ผมพยายามจะวิเคราะห์ คือ มุสลิมเรามักจะมีใจที่แคบไม่ปล่อย นี่คือสิ่งที่ต้องยอมรับมันมาจากคำสอนอะไรก็แล้วแต่ แต่เป็นคำสอนที่สอนให้เรารู้สึกว่า เราไม่สามารถที่จะยอมรับต่างศาสนิกในเรื่องสังคมและทุกสิ่ง เราก็คือตัวเรายกตัวเองให้มีอัตราที่สูงมากๆจนกระทั่งมันไปทำลายความสัมพันธ์ที่เราควรที่จะมี เมื่อใจเราไม่เปิดใจเราปิดมันไปขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับปรัชญาคำสอนของศาสนาอิสลาม แค่ปรัชญาคำสอนเดียวที่เราเข้าใจในคัมภีร์อัลกุละอานที่ว่า เราส่งท่านนะบีมาเพื่อเป็นความเมตตา แนวคิดเรื่องของความเมตตา หรือเมตตาธรรม ในศาสนาคริสต์ ในศาสนาพุทธ พูดเยอะมาก ในศาสนาอิสลามถือว่าเป็นจิตนารมย์หลักของอิสลามเลยก็ว่าได้ว่าอิสลามนั้นจะต้องปรากฏประจำในการรับรู้ในสายตาในความเข้าใจของผู้คนทั้งหลายนั้น

“ในภาพของความเมตตา ไม่ใช่ของความน่าเกลียดน่ากลัว หรือในภาพของความไม่น่าคบหรือใจแคบ ผมคิดว่า ความสุดโต่งของพี่น้องมุสลิมเรามันเกิดขึ้นจากการที่เราใจแคบเราไม่ได้เข้าใจแนวคิดหรือปรัชญาคำสอนอัลกุลอ่านที่ยิ่งใหญ่มากที่ต้องการจะบอกว่าอิสลามนั้นพระเจ้าได้มอบกับมูฮัมหมัดเพื่อที่จะมาสอนพวกเรานั้นให้เป็นความเมตตาและไม่ใช่เป็นความเมตตาแก่แค่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด ชาวอาหรับ หรือชาวอิหร่านแต่อย่างใด แต่ชาวอิหร่านใช้เราะฮ์มะตัล ลิล อาลามีน คือโลกทั้งผอง ก็หมายความว่า เป็นความเมตตาที่เป็นข้อคลุมจักรวาลไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืช หรือสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย จะต้องได้รับสิ่งที่เป็น เราะฮ์มะตัล ลิล อาลามีน” ผศ.ดร.อับดุลเลาะ กล่าวและว่า

ตรงนี้ก็ถือว่าเรามีความจำเป็นที่จะทบทวนในวิถีของการดำเนินชีวิตของมุสลิมเราว่า ณ วันนี้ที่เราถูกมองจากพี่น้องต่างศาสนิกว่าเราเป็นคนใจแคบหรือไม่ เราเป็นคนที่ไม่เปิด ผมคิดว่าการไม่เปิดของเรา ทำให้ไปสร้างความอึดอัดในการที่จะปฏิสัมพันธ์กับผู้คนต่างๆไม่ว่าจะเป็นด้วยเรื่องอัตลักษณ์ การที่มุสลิมมีอัตลักษณ์ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปปิดกั้นในการที่เราจะมอบความรัก ความเห็นใจหรือความเอ็นดูเมตตาจากผู้อื่น มุสลิมมะผู้หญิงมุสลิมแต่งกายอย่างหนึ่ง ทานอาหารอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปทำงานกับร่วมอื่นไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์คนอื่นไม่ได้ไม่ใช่แบบนั้น แต่อัตลักษณ์ก็คืออัตลักษณ์ ศาสนาก็ต้องมีเรื่องของอัตลักษณ์เข้ามากำหนดอยู่ นี่คือประเด็นที่คิดว่าศาสนิกสัมพันธ์

“ณ วันนี้เราต้องการที่จะให้ทุกศาสนาได้มาทำความเข้าใจ ให้ได้เรียนรู้จริงๆว่าคำสอนของอิสลามเป็นคำสอนที่ต้องการให้คนมีใจเปิด หากไม่เปิดก็จะเกิดปัญหาอย่างทุกวันนี้ ปัญหาของความศรัทธา อิสลามให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ มุสลิมต้องทบทวนเรื่องนี้อย่างมาก ทำอย่างไรที่จะให้กระแสความเกลียดอิสลาม ความเกลียดมุสลิมซึ่งมันมาจากข้างนอกด้วย และก็ที่เกิดขึ้นมันได้รับการทำความเข้าใจจากการอธิบายที่ถูกต้อง พระเจ้าได้สร้างความหลากหลาย ให้เราได้เห็นถึงความงดงาม เราสามารถที่จะมองความงดงามเหล่านี้ไปสู่ความงดงามของผู้คนของวิถีชีวิตของคนที่หลากหลายด้วย หมายความว่า เราจะต้องมองความหลากหลายต่างๆเหล่านี้ในด้านที่เป็นบวก ในด้านที่เป็นการสร้างความเข้าใจ” ผศ.ดร.อับดุลเลาะ กล่าวและว่า

และก็การที่เราจะต้องมีมิตรไมตรีต่อคนเหล่านั้น เพราะฉะนั้นเราก็จะเห็นได้ว่าดอกไม้ สีเขียว สีเหลือ สีแดง ดอกต่างๆเหล่านั้นเขาไม่ได้มีความรู้สึก ดอกสีแดงไม่มีความรู้สึกว่าดอกสีขาวที่อยู่ข้างๆนั้นมาคุกคามเข้า หรือมาทำให้เขาเสียหายต่างคนก็ต่างรักษาความเป็นอัตลักษณ์ ความเป็นดอกไม้ เมื่ออยู่มาอยู่ด้วยกันก็มีความสวยงาม เพราะฉะนั้นการที่มุสลิมร่วมสมาคมกับพี่น้องชาวพุทธ พี่น้องชาวคริสต์ ก็ไม้ได้หมายความว่ามีการคุกคามเกิดขึ้นในความเชื่อของแต่ละคน ดังเช่นการไปสร้างมัสยิด ณ ที่หนึ่งกลายเป็นว่าเหมือนกับไปคุกคามพี่น้องต่างศาสนิกในจังหวัดนั้นหรือในประเทศนั้นทั้งหมด ซึ่งมันไม่ใช่

ผศ.ดร.อับดุลเลาะ กล่าวต่อว่า การสร้างมัสยิดก็คือการสร้างศาสนสถานเพื่อให้คนทำความดี การที่เรามีวัดเพิ่มขึ้น มีมัสยิดเพิ่มขึ้น มีโบสถ์เพิ่มขึ้น สิ่งที่เพิ่มขึ้นคือสื่อของการทำความดี และในเรื่องของความไม่ไว้กันของศาสนา ถ้าเกิดว่าเราสามารถที่จะเริ่มต้นได้อย่างง่ายที่สุด อยากจะฝากไว้ คือ สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความไม่ปกติในการยึดมั่นในศาสนาเกิดจากเรื่องของใจ เป็นหลัก เพราะฉะนั้นการไม่ไว้วางใจกันมันเกิดจากการที่อย่างศาสนาพุทธคือการมีอัตตา คือ มีความเห็นแก่ตัวที่สูงเกินเข้าไปทำลายสิทธิเสรีภาพ ทำลายความดีงามของผู้อื่นเป็นสิ่งที่อันตราย

“ทำอย่างไรที่จะทำให้สังคมเกิดความไว้วางใจต่อกัน คือ ต้องมองพี่น้องต่างศาสนิกในมุมมองใหม่ว่าเขาเป็นมิตรของเรา เขาเป็นเพื่อนของเรา ไม่ใช่มองว่าเขาเป็นศัตรูของเรา แม้ว่าในรายละเอียดของศาสนาจะมีเรื่องของความงมงายจ่างๆ ซึ่งมันก็มีในทุกๆศาสนา มีมาก มีน้อย ไม่ใช่เรื่องของแก่นแท้ของศาสนา ถ้าหากว่าเราไม่ใช้ทฤษฎีเหมารวมมันจะทำให้เรามองพี่น้องต่างศาสนิกในแง่ลบซึ่งจริงๆแล้วไม่ถูกต้องเพราะว่าภาพของเขามันไม่จำเป็นตัวแทนของศาสนา แต่เป็นเรื่องของบุคคล ซึ่งสามารถที่จะแยกแยะได้ ก็จะทำให้เราเข้าใจในเรื่องของคำสอนของศาสนาก็ลดของความอคติ แยกแยะ รู้ทันว่าไม่เหมารวม และก็ไม่กล่าวร้ายเขา”ผศ.ดร.อับดุลเลาะ กล่าว

Cr.Varintorn Hema

Leave a Reply