รู้ไว้ใช่ว่า..นิตยภัตพิเศษในรัชกาลก่อน : สองวัดสองจังหวัด มีวัดสองวัดในประเทศไทยที่พิเศษสุด ๆ ที่พระมหากษัตริย์ไทย ทรงพระราชทานนิตยภัตให้เป็นกรณีพิเศษ วัดสองวัดประวัติความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงพระราชทานนิตยภัตให้เป็นกรณีพิเศษ น่าสนใจเป็นอย่างไรยิ่ง 1. วัดชนะสงคราม วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา ต่อมายกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470 พระปริตรามัญ โบราณประเพณีเก่าแก่ของไทยประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ และมีความหมายยิ่ง ต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง หากแต่ไม่ค่อยได้มีผู้ใดรู้จักเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพิธีที่ปฏิบัติกัน เฉพาะในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง และเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์เท่านั้น พิธีนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อพระราชกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นพิธีที่สวดเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้าฯ ถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับจัดเป็นน้ำสรงพระพักตร์ และน้ำโสรจสรง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อประพรมพระที่นั่งองค์สำคัญ ในเขตพระราชฐานชั้นใน นอกจากนี้ พิธีดังกล่าว ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือ จะนิมนต์เฉพาะพระสงฆ์มอญเข้ามาสวดบทสวดพระปริตรมอญเท่านั้น ความสำคัญของพิธีสวดพระปริตรรามัญ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังนั้น ปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “ในพระราชนิเวศน์เวียงวัง ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามแบบแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญ ได้สวดพระปริตรตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำสรงพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัฏรอบขอบ ในจังหวัดพระราชมหามณเฑียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณ พระสงฆ์อื่น ๆ แม้นมีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณ คือ เรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญ หรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยามนต์ดล เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากก็ดี ก็ไม่มีราชบัญญัติ ที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนมาสวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์เลย เหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชะรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างหนึ่งแต่โบราณรัชกาล เป็นมหัศจรรย์อยู่อย่างไรแน่แท้ เพราะว่าปกติธรรมดาคนชาวภาษาใด ประเทศใด ก็ย่อมนับถือพระสงฆ์และแพทย์หมอต่าง ๆ ตามประเทศ ตามภาษาของตัว ในการสวดและการบุญต่าง ๆ แลการปริตรรักษาตนรักษาไข้ แต่การซึ่งมีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียว ประจำสวดปริตรอย่างรามัญ ในพระราชวังนี้ จะมีความยืนยันมา ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุการต่อมาเป็นแน่นอนก็ไม่มี ” อนึ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกล คือเสด็จไปการสงคราม หรือแทรกโพนช้างในแผ่นดินก่อน ๆ พระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรนี้ ก็ต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้ง เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดตองปุให้ตามเสด็จขึ้นไปตั้งอารามชื่อวัดตองปุ อยู่สวดพระปริตรถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตรนี้ ย่อมเป็นที่เห็นว่ามีอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายต่าง ๆ ได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ดำรงสิริ รัตนราไชยสวริยาธิปัตย์ เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ก็ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์ประปริตรที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้นิพนธ์อธิบายเพิ่มเติม ถึงราชประเพณีดังกล่าวในหนังสือ “ตำนานพระปริต” โดยแสดงให้เห็นว่า แม้ปกติจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งพระครูปริตไทย 4 รูป และพระครูปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ในงานพระราชพิธีโดยทั่วไปแล้วนั้น แต่สำหรับพิธีสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเฉพาะพระครูปริตมอญเท่านั้นเข้ามาสวดทุกวัน ดังความว่า “แต่การสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษก พระราชาคณะไทยรูป 1 มอญรูป 1 กับพระครูพระปริต 8 รูปนั้นสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติพระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ที่หอศาสตราคม ทุกวัน น้ำมนตร์พระปริตนั้น ส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตร์และโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งในบาตร 2 ใบให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 รูป เข้าไปเดินประพรมด้วยกำหญ้าคาที่ในพระราชวังเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ ” เมื่อมีการสวดพระปริตรเป็นพิธีหลวง จึงได้ทรงแต่งตั้งพระครูพระปริตรประจำพระราชวัง สำหรับการสวดพระปริตร และสวดพระพุทธมนต์สำหรับทำน้ำมนต์ และสำหรับเสกทรายโดยเฉพาะ โดยมีพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ 4 รูป ซึ่งแต่เดิมจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในคณะรามัญนิกาย เช่น วัดบวรมงคล วัดราชคฤห์ วัดชนะสงคราม เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลง เป็นพระสงฆ์มอญจากวัดชนะสงครามเพียงอารามเดียว ทั้งนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากการจัดเวรหมุนเวียนพระแต่ละแห่งเกิดความไม่ สะดวก หรือเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพระที่สวดพระปริตรรามัญหลบภัยสงครามไปอยู่ตามวัดในต่างจังหวัด จะเหลืออยู่ก็แต่ที่วัดชนะสงคราม จึงได้สวดวัดเดียวนับแต่นั้นมา ปัจจุบัน พระสงฆ์มอญมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย สืบเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แม้แต่ในวัดชนะสงคราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่พระสงฆ์มอญ มีบทบาทโดยตรงกับราชประเพณีสำคัญดังกล่าว ก็กำลังประสบสภาพการณ์เช่นเดียวกัน… ส่วนอีกวัดคือที่ได้รับพระราชทานนิตยภัตพิเศษ คือ 2. วัดจุฑาทิศธรรมสภารามวรวิหาร ตั้งอยู่ส่วนหัวและเชิงเขาของเกาะสีชัง ( เขาคยาศิระ) บริเวณที่เทียบเรือเทววงค์ ตำบล ท่าเทววงษ์ อำเภอ เกาะสีชัง ชลบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี หลังจากมีถนนอัษฎางค์แล้ว ชาวบ้านได้ย้ายบ้านเรือไปตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมทางเหนือของเกาะทำให้ชาวบ้านอยู่ไกลจากวัดเกาะสีชัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาอารามขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกีนรติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิรกและ เพื่อชาวบ้านจะได้ทำบุญตักบาตรสะดวก พระราชทานนามว่า” วัดจุฑาทิศธรรมสภาราม” เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๔๓๕ ปัจจุบันมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ประเภท วรมหาวิหาร มีพระอุโบสถ หอระฆัง พระพุทธบาทจำลอง และพระประธานปางมารวัชัย ที่งดงาม ประวัติวัวัดจุฑาทิศธรรมสภารามสภารามวรวิหาร อยู่เหนือท่าภานุรังษี เป็นพระอารามหลวง เดิมวัดนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) สร้างขึ้นที่แหลม ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุโทรเลขเดียวนี้ ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จมาประทับที่แถบนั้น วัดนี้จึงขยับไปตั้งอยู่ ณ วัดอัษฎางคนิมิตรบัดนี้ แต่ก็ไม่สะดวกอีก เพราะเป็นในเขตพระราชฐาน จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ย้ายมาตั้ง ณ ท่าภานุรังษี พร้อมทั้งมีหน้าที่ดูแลรักษารอยพระพุทธบาทบนไหล่เขาคะยาสิระด้วย วัดนี้เดิมไม่มีอุโบสถเป็นหลักฐาน เมื่อปี พ.ศ. 2477 มีพระบรมราชานุญาตให้พระครูสุทธิรัตน์ วัดกลางจังหวัดสมุทรปราการ ไปเป็นเจ้าอาวาส พระครูสุทธิรัตน์ได้พยายามสถาปนาอุโบสถขึ้นจนสำเร็จ พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระแบบสุขโขทัย หน้าตักกว้าง 97 เซนติเมตร สูงสุดยอด 1.25 เมตร ********************** ข้อมูลวิกิพีเดีย. Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ผู้ว่าฯสุราษฎร์ธานียก “โคก หนอง นา บ้านสวนป่าดอนสัก” ต้นแบบศูนย์เรียนรู้ทฤษฎีใหม่ อุทัย มณี ต.ค. 08, 2022 ผู้ว่าฯสุราษฎร์ ชื่นชม อำเภอดอนสัก น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า… “มจร”จัดงานวันสถาปนาครบ 134 ปี ผลักดันปัญญา(ประดิษฐ์)และคุณธรรมนำสังคม อุทัย มณี ก.ย. 12, 2021 วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2564 พระเมธีธรรมาจารย์,ดร. หรือเจ้าคุณประสาร… “ก้อง ห้วยไร่”ถวายเพลเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ตน่าน “ก้อง ห้วยไร่”พาคณะเข้าวัดทำบุญถวายเพลเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ตน่าน ตามโครงการของวัด “หนึ่งพันบาทเลี้ยงพระเณรได้ทั้งโรงเรียน” วันที่ 29 ต.ค.2562 ที่วัดภูเก็ต อำเภอปัว จังหวัดน่าน “ก้อง ห้วยไร่” นักร้องลูกทุ่งดังเจ้าของผลงานเพลงดัง “ไสว่าสิบ่ถิ่มกัน” และคณะไปทำบุญเลี้ยงเพลสามเณรโรงเรียนวัดภูเก็ต ตามโครงการของวัด “หนึ่งพันบาทเลี้ยงพระเณรได้ทั้งโรงเรียน” ซึ่งมีพระภิกษุ สามเณรอาศัยอยู่ในวัดเพื่อศึกษาเล่าเรียนทั้งนักธรรม บาลีและแผนกสามัญ อุทัย มณี ต.ค. 29, 2019 "ก้อง ห้วยไร่"พาคณะเข้าวัดทำบุญถวายเพลเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ตน่าน… ตั้ง”เจ้าคุณประสาร “คุมวัดพระธาตุดอยสุเทพUSA อุทัย มณี ม.ค. 21, 2020 เช้าวันนี้ (21 ม.ค.63 ) ณ วัดศรีโสดา พระอารามหลวง… “มส.” ประกาศให้ “วัดไทยทั้งในและต่างประเทศ” ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล แด่ “สมเด็จเจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ” อุทัย มณี ธ.ค. 15, 2022 วันที่ 15 ธ.ค. 65 ตามที่สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์ลงวันที่… เชื่อฝีมือ!พระธรรมราชานุวัตรส่งพระเณรอบรมบาลีก่อนสอบ ป.ธ.8-9 กับพ.อ.พิเศษชรินทร์ อุทัย มณี พ.ย. 20, 2020 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 เฟซบุ๊ก ชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ ของพ.อ. พิเศษ… “หลวงพ่อเมือง” พระชื่อดังคณะธรรมยุต ระทึก!! ศาลสงฆ์ชั้นต้นนัดฟังคำวินิจฉัยข้อกล่าวหา “เสพเมถุน” หลังยื้อมาหลายปี อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2022 วันที่ 29 มิ.ย. 65 พระเทพดิลก เจ้าคณะภาค 9 (ธรรมยุต) หัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น… เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นทิศตะวันตก อุทัย มณี พ.ย. 22, 2018 พระอาทิตย์ ขึ้นทิศตะวันตก พระอาทิตย์ปกติ ย่อมขึ้นทางทิศตะวันออก… แกะรอย ‘กรานกฐิน’ ตามแนววินิจฉัยในอรรถกถาพระวินัย ช่วยยุติความเห็นต่างในสังคมไทยได้ อุทัย มณี ต.ค. 27, 2022 โดย..ศาสตราจารย์พิเศษ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต เกริ่นนำ… Related Articles From the same category น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ “ปลัดเก่ง” ลงชายแดนใต้ เปิดงาน “”วันท้องถิ่นไทย” ด้วยความจงรักภักดี วันที่ 18 มี.ค. 66 เวลา 08:10 น. ที่พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว… นิติธรรมที่แท้จริง ต้องค้ำจุนประชาธิปไตย วันนี้ (1 กรกฎาคม 2563) ณ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งวัฒนะ… “มหาจุฬาฯ”สัมมนาร่วมกับ ป.ป.ช. วันแรกเน้นใช้หลัก “บวร” เสริมพลังการมีส่วนร่วมต่อต้านทุจริต วันที่ 24 สิงหาดม พ.ศ.2564 เวลา 12.00 น. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… ย้อนรอย’นิโคลีน พิชาภา’ขึ้นดอยอมก๋อย สร้างร.ร.หนุนทีมงานธรรมะห่มดอย วันพฤหัสบดีที่ 21ธันวาคม 2561 เฟซบุ๊ก พระดร.อรุณเมธี พุทธิภัทโท… มมร ร่วมกับ ป.ป.ช. ขับเคลื่อนความร่วมมือทางศาสนา ‘ต่อต้านการทุจริต’ วันที่ 14 กันยายน 2564 พระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร…
Leave a Reply