โจทย์ใหญ่คณะสงฆ์ไทย-สังคมโลก : คนเปลี่ยนไปไม่นับถือศาสนาเพิ่มขึ้น

            ปัจจุบันสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง คนรุ่นใหม่ วัยทำงานไม่มีเวลาเข้าวัด ฟังธรรม ระบบการศึกษาและวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันมอง “ศาสนาเป็นสิ่งไม่จำเป็นต่อชีวิต” โดยเฉพาะตัวแทนศาสนาอย่าง ศาสนสถาน พระสงฆ์ และพิธีกรรม

            คนยุคใหม่ให้ความสำคัญกับ “ความเสมอภาค” ทางสังคมมากขึ้น ให้ความสำคัญกับ คนด้อยโอกาส” มากยิ่งขึ้น บุคลากรทางศาสนาถูกมองว่า “เอาเปรียบสังคม” นำเอาความเชื่อที่พิสูจน์ไม่ได้ “มาแสวงหาผลประโยชน์”

            คนไม่นับถือศาสนาเพิ่มขึ้น เป็นโจทย์ใหญ่ของคณะสงฆ์ไทย คนไม่ให้คุณค่าของความเป็นพระภิกษุในสังคมเพิ่มขึ้นเป็นสิ่งท้าทายของคณะสงฆ์

            สำหรับประเทศไทย คนไม่นับถือศาสนาและพระภิกษุเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย คนไม่เชื่อสิ่งที่พระท่านพูดและเทศน์ รวมทั้งหลักความเชื่อทางพุทธศาสนาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับอิทธิปาฎิหาริย์   วิธีสอน วิธีสื่อสารกับประชาชนเดิม ๆ ของพระภิกษุคนยุคใหม่มองว่าเข้าไม่ถึงตัวพวกเขา และที่สำคัญโลกปัจจุบันคนต้องการรู้หลักศาสนาจริง ๆ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นปฐมภูมิอย่าง พระไตรปิฎก ง่ายมากขึ้น

เราไปลองสำรวจประเทศที่มีประชากรไม่นับถือศาสนามากที่สุด

1.จีน จำนวน 682 ล้านคน (ประชากรจีนมีประมาณ 1,400 ล้านคน)

            ถือได้ว่าครึ่งหนึ่งของประชากรจีนไม่นับถือศาสนาหรือไม่ระบุชัดว่านับถือศาสนาใด ๆ เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ซึ่งตามหลักการคอมมิวนิสต์มองว่าศาสนาคือยาเสพติด ในจีนจึงมีทั้งคนที่ไม่มีศาสนา ไม่นับถือศาสนาจริง ๆ เพราะระบบสังคม และที่นับถือศาสนาแต่ระบุให้แจ้งชัดหรือประกาศตัวชัดเจนไม่ได้ เช่น ผู้ที่นับถือลัทธิฝ่าหลุนกงซึ่งมีอยู่แต่ไม่สามารถเขียนระบุชัดเจนได้ เพราะรัฐบาลจีนถือว่าลัทธินี้เป็นภัยคุกคามต่อระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นคนไม่มีศาสนาจำนวนมาก

2 .ญี่ปุ่น จำนวน 72 ล้านคน ( ประชากรญี่ปุ่นมี 124 ล้านคน)

ญี่ปุ่นดั้งเดิมนับถือศาสนาชินโต จนการเข้ามาของศาสนาพุทธก็มีการนับถือปะปนกันทั้งพุทธทั้งชิ้นโต แต่ในยุคที่โชกุนปกครองต้องการยกศาสนาชินโตเป็นศาสนาประจำชาติ และลดบทบาทของพระสงฆ์เพราะเหตุผลทางการเมือง โดยการบังคับพระสงฆ์ที่อยู่ในเมืองให้แต่งงาน เพราะไม่ต้องการให้มีบาทบาททางด้านจิตใจ แต่ให้มีบทบาทด้านการประกอบพิธีเพียงอย่างเดียว ศาสนาจึงถูกลดทอนความแข็งแกร่งลง มีการปราปรามและขับไล่ผู้นับถือศาสนาคริสต์ เพื่อจะให้เหลือเพียงชินโตเพียงอย่างเดียว มีการปิดวัด ปิดโบสถ์ทั้งประเทศเพราะถือว่าเป็นศาสนาต่างชาติ เมื่อสิ้นสงครามโลกทั้งจักรวรรดิและรัฐศาสนาของญี่ปุ่นก็เป็นอันต้องสิ้นสุดไปด้วย ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นรัฐที่ไม่ได้ส่งเสริมความเชื่อใดเป็นพิเศษแต่ให้ความเท่าเทียมกับทุกศาสนาและความเชื่อในประเทศญี่ปุ่นปัจจุบัน ศาสนาจึงไม่ใช่ความเชื่อที่ยึดถือกันจริงจัง แต่เป็นเพียงพิธีกรรมในสังคมเป็นจารีตประเพณีเท่านั้น คนญี่ปุ่นจึงเป็นกลุ่มคนที่เกิดแบบชินโต แต่งงานแบบคริสต์ ตายแบบพุทธ”

3.สหรัฐอเมริกา จำนวน 51 ล้านคน (ประชากรสหรัฐมีประมาณ 332 ล้านคน)

      เนื่องจากมีศาสนาที่หลากหลายนิกายและความเชื่อที่ขัดแย้งกัน จนในที่สุดก็เกิดมีกลุ่มคนที่ไม่นับถือศาสนาขึ้นมาและประกาศตัวชัดเจน

     มีข้อสงสัยว่ากลุ่มคนที่ไร้ศาสนานั้น เวลาแต่งาน เวลาเสียชีวิตไป มีการจัดพิธีการกันอย่างไร เพราะการประกอบพิธีต้องมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยส่วนใหญ่แล้วคนไร้ศาสนาจะไม่ได้สนใจพิธีกรรมอะไรเป็นพิเศษ ในการแต่งงานก็มักจะจัดโดยยินยอมรับพิธีการตามคู่สมรส ส่วนการจัดการงานศพนั้น ถ้าไม่ได้ระบุอะไรเป็นการเฉพาะ ญาติพี่น้องก็จัดการพิธีตามศาสนาของทางญาติพี่น้อง หรือจัดการตามความต้องการหรือสั่งเสียไว้ก่อนตายของผู้ตายซึ่มีการระบุไว้ชัดเจนอาจจะเป็นวาจาหรือลายลักษณ์อักษร มีทั้งการบริจาคร่างกายให้แก่บุคคลอื่น การบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ตลอดจนเผาหรือฝังไว้ในที่ที่ผู้ตายกำหนด

       องค์กรพิว เปิดเผยผลสำรวจ จำนวนคนไม่นับถือศาสนาทั่วโลกมีมากถึง 1,100 ล้านคน มากที่สุด คือ ประเทศจีน 700 ล้านคน โดยกลุ่มคนไม่มีศาสนาทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ในช่วง100 ปีที่ผ่าน โดยเฉพาะประเทศคอมมิวนิสต์ ส่วนไทยเพิ่มถึงร้อยละ 20 สาเหตุเกิดจากประชาชนมีการศึกษาสูงขึ้น จากความผิดหวังกับบุคคลทางศาสนา

       โดยกลุ่มคนไม่มีศาสนา กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่นับถือศาสนาพุทธ เนื่องจากเห็นคนในครอบครัวงมงายในพิธีกรรม ความเชื่อ ตั้งแต่เด็ก ทำให้แทบจะไม่เข้าวัดหรือสวดมนต์อีกเลย

         กลุ่มคนไม่มีศาสนา กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก นับวันจะเพิ่มมากขึ้น เพียงค้นหาคำว่า “กลุ่มคนไม่มีศาสนา” ในอินเทอร์เน็ต ก็จะพบว่าคนไทยตั้งกระทู้ในพันธุ์ทิพย์ ถามถึงจุดเปลี่ยนของคนที่ปฎิเสธการนับถือศาสนาจำนวนมาก หลายความเห็นระบุว่า ศาสนาไม่จำเป็นกับชีวิต ทำให้คนงมงาย และยังมีกลุ่มคนไม่มีศาสนาจำนวนไม่น้อย ตั้งกลุ่มเฟชบุ๊กไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น นับเป็นเทรนด์ใหม่ของกระแสโลก

สถิติเป็นรายประเทศทั่วโลก

ประเทศ ร้อยละของผู้ที่กล่าวว่าตนไม่มีศาสนา แหล่งข้อมูล
เอสโตเนีย 75.7% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
อาเซอร์ไบจาน 74% Gallup WorldView (2008)[4][5]
แอลเบเนีย 60%-75% US Department of State – International Religious Freedom Report 2007[6]
“Instantanés d’Albaníe, un autre regard sur les Balkans”, 2005[7]
Various publications[8]
สาธารณรัฐประชาชนจีน 59-71% Various publications[9]
สวีเดน 46%-85% Zuckerman, Phil. “Atheism: Contemporary Rates and Patterns”, chapter in The Cambridge Companion to Atheism, ed. by Michael Martin, Cambridge University Press: Cambridge, UK (2005)
เช็กเกีย 55% Various publications[10]
ญี่ปุ่น 51.8% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
รัสเซีย 48.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เบลารุส 47.8% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เวียดนาม 46.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เนเธอร์แลนด์ 44.0% Social and Cultural Planning Office[11]
ฟินแลนด์ 28%-60% Zuckerman, Phil. “Atheism: Contemporary Rates and Patterns”, chapter in The Cambridge Companion to Atheism, ed. by Michael Martin, Cambridge University Press: Cambridge, UK (2005)
ฮังการี 42.6% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ยูเครน 42.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
อิสราเอล 41.0% Zuckerman, Phil. “Atheism: Contemporary Rates and Patterns”, chapter in The Cambridge Companion to Atheism, ed. by Michael Martin, Cambridge University Press: Cambridge, UK (2005) [12]
ลัตเวีย 40.6% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เกาหลีใต้ 36.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เบลเยี่ยม 35.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
นิวซีแลนด์ 34.7% (of the 87.3% who answered an optional question) Statistics New Zealand (2006 census) [13]
ชิลี 33.8% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ลักเซมเบิร์ก 29.9% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
สโลวีเนีย 29.9% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ฝรั่งเศส 27.2% (23.9% of women, 30.6% of men) INSEE (2004 survey) [14]
เวเนซุเอลา 27.0% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
สโลวะเกีย 23.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เม็กซิโก 20.5% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ลิทัวเนีย 19.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เดนมาร์ก 19% Eurobarometer (2005) [15]
ออสเตรเลีย 18.7% (of the 88.8% who answered an optional question). 29.9% including no answer/inadequately described Australian Bureau of Statistics (2006 census) [16]
อิตาลี 17.8% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
สเปน 17% Centre of Sociological Investigations (2005) [17]
แคนาดา 16.2% Canada 2001 Census[18]
อาร์เจนตินา 16.0% Gallup-Argentina poll, April 2001[19]
สหราชอาณาจักร 15.5% indicated no religion. (23.2% including no answer) United Kingdom 2001 Census.
แอฟริกาใต้ 15.1% Statistics South Africa Census 2001[20]
สหรัฐ 15.0% (of the 94.6% who answered an optional question, out of a sample of 50,281 households in the 48 contiguous states21% of the United States Military, 32% if including unknown/refused/no answer) American Religious Identification Survey (2001), as reported by US Census Bureau[21] America’s Military Population (Population Reference Bureau) [22]
โครเอเชีย 13.2% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ออสเตรีย 12.2% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
โปรตุเกส 11.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
เปอร์โตริโก 11.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
บัลแกเรีย 11.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ไอซ์แลนด์ 11% Eurobarometer Poll (2005) [15]
ฟิลิปปินส์ 10.9% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
บราซิล 7.4% National Demografic Census in 2000, conducted by the IBGE[23]
อินเดีย 6.6% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
โปแลนด์ 6% Public Opinion Research Centre (2007) [24]
เซอร์เบียและมอนเตเนโกร 5.8% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ไอร์แลนด์ 4.5% Central Statistics Office Ireland Census 2006[25]
เปรู 4.7% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
กรีซ 4.0% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ตุรกี 2.5% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
โรมาเนีย 2.4% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
แทนซาเนีย 1.7% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
มอลตา 1.3% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
อิหร่าน 1.1% (Atheism and Agnosticism are illegal[26]) Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ยูกันดา 1.1% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ไนจีเรีย 0.7% Dentsu Communication Institute Inc, Japan Research Center (2006) [3]
ไทย 0.27% จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ มีประชากรไทยที่ระบุว่าไม่มีศาสนา 0.27% และไม่ทราบหรือไม่ตอบ 0.36%[27]
บังกลาเทศ 0.1%

 

ขอบคุณข้อมูล :https://news.thaipbs.or.th/https://th.wikipedia.org/wiki/http://www.ictsilpakorn.com/

Leave a Reply