วันที่ 5 ต.ค. 64 วานนี้เวลา 13.00 น. ณ แปลงครัวเรือนต้นแบบ นางกาญจนา โมเรือง บ้านห้วยลาน ม.7 ต.น้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เดินทางลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ณ แปลงนางกาญจนา โมเรือง บ้านห้วยลาน หมู่ที่ 7 ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก โดยมีนายชาครินทร์ อินอิ่มวรปราชญ์ นายอำเภอหล่มสัก กล่าวรายงาน และนางกาญจนา โมเรือง เจ้าของแปลง รายงานผลการดำเนินงาน นอกจากนี้ รองอธิบดีฯ พช. ได้ให้เกียรติร่วมกิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ปลูกฟ้าทะลายโจร และทำแซนวิช ปลา ในการนี้นางสาวมนทิรา เข็มทอง พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยผู้อำนวยการกลุ่มงาน พัฒนาการอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอหล่มสัก นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ผู้นำชุมชนตำบลน้ำชุน ครัวเรือนพัฒนาพื้นที่ต้นแบบตำบลน้ำชุน (HLM) ร่วมกิจกรรม
ในการนี้ นายนิวัติ น้อยผาง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้มอบแนวทางการดำเนินงานให้กับผู้ร่วมกิจกรรมว่า “ทฤษฎีบันได 9 ขั้น” สู่ความพอเพียงนั้น เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน คือความพอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า คือ บุญ : การทำบุญทำทาน ทาน : มีเหลือกินเหลือใช้จึงแบ่งปัน เก็บรักษา : โดยใช้ภูมิปัญญาในการเก็บรักษา ขาย : ทำให้เกิดความมั่งคั่ง ข่าย : สร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อน นอกจากนี้ในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนนั้น จะต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมโดยอาศัย “ขื่อบ้านแปเมือง” คือผู้นำทางธรรมชาติ และผู้นำตามตำแหน่ง ซึ่งเป็นกลไกหลักสำคัญในการเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนให้บรรลุเป้าหมายและมีประสิทธิภาพ
สำหรับภารกิจวันนี้ ได้เยี่ยมชม ณ แปลงครัวเรือนต้นแบบ นางจุรีพร คำพล ม.8 ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ โดยมีนายภาคภูมิ ภูมี นายอำเภอเขาค้อ กล่าวรายงาน นอกจากนี้ รองอธิบดีฯ พช. ได้ให้เกียรติร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ทำหลุมพอเพียงต้นโควิด ทำปุ๋ยโบกาฉิ ทำแซนวิชปลา/ปล่อยปลา และฐานเรียนรู้กลุ่มสัมมาชีพของตำบลแคมป์สน (ไข่เค็มใบเตย, กระชาย(ขาว)ผง, น้ำสลัด, สลัดโรล, ไข่ครกนกะทา)
รองอธิบดีฯ พช. ได้มอบนโยบายการทำงานให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า “การต่อยอดผลิตภัณฑ์โดยใช้หลัก “ว ท น” วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” เป็นการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าทำให้สามารถควบคุมปริมาณในตลาด สามารถต่อรองราคาให้มีมูลค่ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การลงทุนระหว่างราชการกับเจ้าของแปลงนั้น ควรเป็นในลักษณะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน
สำหรับจังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ดำเนินการโคก หนอง นา ทั้งสิ้น 11 อำเภอ 107 ตำบล 619 หมู่บ้านจำนวน 1,073 แปลง ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ 195 แปลง ขนาด 3 ไร่ 874 แปลง และขนาด 15 ไร่อีก 4 แปลง..
Leave a Reply