บรรณาธิการวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์”มจร” ออกแถลงการณ์แจงค่าตีพิมพ์บทความและงานวิจัย

เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ,ผศ.ดร. บรรณาธิการวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้ออกแถลงการณ์ วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร เรื่อง ค่าตีพิมพ์บทความ และงานวิจัยวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ความว่า

อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มจร กองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความ (Peer Review) ด้านสันติศึกษา การบริหารจัดการ ความขัดแย้ง พหุวัฒนธรรม ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวความว่า

“#คำสั่งมหาจุฬา
#นักวิชาการภายในภายนอก
#แต่งตั้งกองบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ
#วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์เพื่อกลั่นกรองบทความทางวิชาการ

พระราชปริยัติกวี ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อนุมัติลงนามแต่งตั้งกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรองบทความ (Peer Review) ด้านสันติศึกษา การบริหารจัดการ ความขัดแย้ง พหุวัฒนธรรม รวมถึงด้านอื่นๆ ประกอบด้วย ด้านศิลปะศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ด้านการศึกษาการพัฒนามนุษย์ ด้านภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม ด้านมนุษยศาสตร์ วรรณคดี ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต จิตวิทยา การสื่อสาร ด้านสังคมศาสตร์ การเมือง การปกครอง การบริหารจัดการสังคมสิ่งแวดล้อม โดยลงคำสั่งวันที่ ๒๘ เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ คำสั่งที่ ๑๕๑๗ /๒๕๖๓

โดยมีหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย ๑) เพื่อบริหารจัดการวารสารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ๒) เพื่อพิจารณา ประเมิน คุณภาพ และความเหมาะสมของบทความวิจัยและบทความวิชาการ ๓)ให้ข้อเสนอแนะในการปรับแก้ไขบทความวิจัยและบทความวิชาการ ๔)ให้คำแนะนำเชิงวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงวารสาร บทความวิจัยและบทความวิชาการให้มีคุณภาพ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งถือว่าได้ผ่านการพิจารณามาเป็นอย่างดีในการกำกับบทความ ซึ่งบทความที่ดี คือ #บทความที่ลงมือเขียนเดี๋ยวนี้ นิยามบทความเป็นงานเขียนประเภทร้อยแก้วซึ่งผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด หรือ ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง โดยแบ่งออกเป็น ๒ บทความใหญ่ๆ คือ ๑) #บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่องจากงานวิจัยหรือสกัดมาจากงานวิจัย ๒) #บทความวิชาการ (Academic Article) ถือว่าเป็นงานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อสารองค์ความรู้ของตน งานเขียนเกี่ยวกับข้อค้นพบใหม่ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ การเขียนสิ่งที่ตกผลึกจากแนวคิดของผู้เขียนที่มีการศึกษาค้นคว้าและอ้างอิงสนับสนุนอย่างเป็นระบบ เช่น ประมวลผลการวิจัย แนวคิด หลักการ หรือ รูปแบบ

องค์ประกอบของการเขียนบทความจึงต้องประกอบด้วย ๑)ผู้เขียน ๒)สิ่งที่จะเขียน ๓)ผู้อ่าน โดยผู้เขียนจะต้องมีศักยภาพและความพร้อมเป็น #ปัจจัยภายใน คือ ปัญญา เวลา แรงขับกระตุ้น สมาธิ ส่วน #ปัจจัยภายนอก คือ บรรยากาศทางวิชาการ ภาระงาน ปัจจัยทางการเงิน และแหล่งบุคคลที่จะช่วยเหลือสนับสนุน เกณฑ์มาตรฐานการเขียนบทความจะต้องเป็นเรื่องใหม่ (Originality) เปิดประเด็นองค์ความรู้ใหม่ มีความแปลกใหม่ ทันสมัย น่าสนใจ ทักษะการเขียนบทความวิจัยและบทความวิชาการจากกองบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ ของหลักสูตรสันติศึกษา มหาจุฬา ซึ่งบทความเป็นการตกผลึกทางความคิดจากงานวิจัยที่เราได้ลงมือทำในระดับปริญญาดุษฏีนิพนธ์ งานเขียนจึงเป็นเครื่องมือวัดศักยภาพของนิสิตปริญญาโทและนิสิตปริญญาเอกให้มีคุณภาพ เพราะปริญญาโทเอกมีการวัดกันที่งานเขียนมิใช่งานพูดจึงต้องปรับ Mindset ในการเขียน ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาเคยกล่าวว่า การทำดุษฏีนิพนธ์ในระดับปริญญาเอกต้องเริ่มต้นด้วย Mindsetภายในของตนเองก่อน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น ๒ แบบคือ #มิจฉาทิฐิmindset และ #สัมมาทิฐิ mindset ขยายความคำว่า มิจฉา mindset หมายถึง ไม่กล้าที่จะเขียน ติดกับดักตนเอง ทำไม่ได้ ไม่ทราบว่าจะเขียนอะไรเขียนอย่างไร ความจริงเรียนในระดับปริญญาเอก ทุกคนมีศักยภาพเเต่ไม่กล้าขายความคิดของตนเอง เราต้องทราบความคิด ต้องคิดว่าไม่มีใครรู้ดีเท่าเรา สัมมาทิฐิ mindset เราต้องเปิดความคิดของสมองเรา ฝึกเขียนลงเฟชบุ๊คของตนเอง ฝึกเขียนบ่อยๆ จะทำให้เราตกผลึก ทุกคนมี mindsetบวกแต่เราต้องมี Mindfulness จะทำเกิดปัญญา ใครที่ชอบเจริญสติจะทำให้เกิดปัญญา เราทุกคนมีmindset อยู่แล้วแต่ไม่สามารถถอดออกมาได้ เราต้องฝึกการดึง mindset ของตนเองออกมาให้ได้

ดังนั้น จึงขอกราบขอบพระคุณในความเมตตาพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ ผศ.ดร. บรรณาธิการ และ พระมหาปิยะนัฐ ปิยรตโน พระสมพร ปสนฺโน ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ ในการขับเคลื่อนบทความให้มีคุณภาพ โดยวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร เก็บค่าธรรมเนียมบทความ ๕,๖๐๐ (ห้าพันหกร้อยบาทถ้วน) บาทต่อ ๑ บทความเท่านั้น”

Leave a Reply