เมื่อเร็ว ๆ นี้ พระเทพเวที รักษาการเจ้าคณะภาค 6 ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการด้านศาสนศึกษา มหาเถรสมาคม และกรรมการร่างกฎหมายลูกพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรมพุทธศักราช 2562 ที่ประกาศใช้แล้วนั้น
ได้ส่งคำอธิบายเรื่อง “ตำแหน่งและอัตรากำลัง” ของสำนักเรียนและสำนักศาสนศึกษา ตาม พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562 ที่ตอนนี้ได้ออกกฎหมายลูกและกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีรายละเอียดดังนี้
…อันเนื่องมาจาก พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม 2562 การดำเนินการเกี่ยวกับพ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม 2562 งวดเข้ามาทุกขณะ ซึ่งจะประกาศใช้งบประมาณตามกฏหมาย ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่จะถึงนี้
มีปัญหาที่หลายท่านอยากทราบในเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงสร้างตำแหน่งและอัตรากำลัง” ว่าแต่ละสำนักเรียน/ สำนักศาสนศึกษา มีตำแหน่งอะไรบ้าง.มีอัตรากำลังเท่าไหร่..วันนี้ขอสรุปการกำหนดตำแหน่งและอัตรากำลัง เพื่อให้เห็นภาพ ถือว่าเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าสำนักเรียน/ สำนักศาสนศึกษา เป็นการเบื้องต้นดังนี้
1.เจ้าสำนักเรียน /เจ้าสำนักศาสนศึกษา จำนวน 1 อัตรา
2.ผู้ช่วยเจ้าสำนักเรียน /ผู้ช่วยเจ้าสำนักศาสนศึกษา จำนวน…..อัตรา
3.เลขานุการเจ้าสำนักเรียน/เลขานุการเจ้าสำนักศาสนศึกษาจำนวน..อัตรา
4.อาจารย์ใหญ่สำนักเรียน/อาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษา………จำนวน 1 อัตรา
5.รองอาจารย์ใหญ่สำนักเรียน/รองอาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษา จำนวน….อัตรา
6.ครูสอนพระปริยัติธรรม (สอนนักธรรม/บาลี/วิชาสามัญเพิ่มเติม (ตามมาตรา 21) แต่ละแผนกจำนวน…..อัตรา
7.นักวิชาการศาสนา (เจ้าหน้าที่บรรณารักษ์/แนะแนว/เทคโนโลยีสารสนเทศ/ทะเบียนและวัดผล/ผู้บริหารงานทั่วไป/ผู้ปฏิบัติหน้าที่อื่น) ตำแหน่งละ …….. อัตรา
8.นิติกร (ประจำสำนักเรียน/ประจำสำนักศาสนศึกษา) จำนวน ……. อัตรา
@ สำนักเรียนกับสำนักศาสนศึกษาต่างกันอย่างไร และการจัดตั้งเอากฎระเบียบอะไรมาวัด
..สำหรับวัดไหนจัดเป็นรูปแบบสำนักเรียนหรือวัดไหนจัดเป็นรูปแบบสำนักศาสนศึกษาก็ขอได้พิจารณาแยกแยะกำหนดเอาเองการจัดตั้งสถานศึกษา ณ ขณะนี้ ยังอนุโลมให้ดำเนินการตามระเบียบมหาเถรสมาคมด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลีปี 2555 ก่อนที่จะมีข้อบังคับ/ระเบียบ/หรือประกาศใหม่ออกมาโดยคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม ตามหน้าที่และอำนาจให้ไว้ใน มาตรา 12(8)
“ สำหรับนักเรียนตามมาตรา 21 ของพ.ร.บ.พระปริยัติธรรม 2562 กำหนดไว้ว่า หากรูปใดสอบได้ น.ธ .เอก + สามัญเพิ่มเติม ถือได้ ม.3 หรือสอบได้ ป.ธ. 3 + สามัญเพิ่มเติม ได้ ม.6 และหากมาบวชตอนอายุย่าง 16 ไปแล้ว จบ น.ธ.เอก ปรับได้ ม.3 เลย หรือสอบจบ ป.ธ.3 ก็ถือว่าได้ไปเลย ม.6..”
@เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงอัตราค่าตอบแทนหรือเงินเดือนตามโครงสร้างนี้
“…เรื่องค่าตอบแทนหรือเงินเดือนแต่ละตำแหน่ง กำหนดเอาไว้เท่าไรนั้น เราก็เสนอไปตามความต้องการที่เราคิดว่าเหมาะสมส่วนภาครัฐจะตอบสนองหรือไม่ความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบภายหลัง” พระเทพเวที กล่าวทิ้งท้าย
************************
Leave a Reply