งานเชิงรุก : เครือข่ายธรรมะห่มดอยบวชชาวเขา 45 รูป

วันที่ 6 มีนาคม 2565  พระ ดร.อรุณเมธี พุทธิภัทโท แก่นนำเครือข่ายพระสงฆ์ธรรมจาริก (ธรรมะห่มดอย) หลังจากทำวัตรสวดมนต์เช้าเสร็จ  ก็พานาคเดินจงกรมฝึกสติในยามเช้าในพื้นที่บริเวณณ  วัดพระธรรมจาริกแม่ระมีดหลวง  อำเภออมก๋อย  จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งบ่ายนี้มีกำหนดการอุปสมบทแก่นาคบนพื้นที่ราบสูงจำนวน 45 คน

 สำหรับโครงการพระธรรมจาริก เป็นโครงการริ่เริ่มโดย นายประสิทธิ ดิศวัฒน์ หัวหน้ากองสงเคราะห์ชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ในยุคนั้น ในคราวที่ท่านอุปสมบทในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แล้วไปปรึกษากับ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรท่านเห็นด้วย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา โครงการพระธรรมจาริกก่อกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2508 ก่อนยุคคอมมิวนิสต์เบ่งบาน และเป็นยุคที่ชาวเขาในบ้านเรานิยมปลูกฝิ่นพื่อเลี้ยงครอบครัว และทั้งไม่รู้จัก ใครคือประมุขของชาติ

โครงการพระธรรมจาริก ศูนย์กลางการบริหารภูมิภาคอยู่ที่วัดศรีโสดา จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนกลางบริหารหลักอยู่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มีพระเทพกิตติเวที เป็นประธานพระธรรมจาริก

 การดำเนินการของพระธรรมจาริกยุคแรก ๆ เป็นที่หวาดระแวงของชาวเขา เพราะคิดว่า “พระเป็นสาย” ให้กับทางราชการ การเป็นอยู่ก็อยู่ด้วยความยากลำบาก มีกระต๊อบหลังเล็ก ๆ และชาวเขาส่วนใหญ่ “นับถือผี” ยังไม่นับถือพุทธศาสนา ซ้ำบางพื้นที่มี “นักบวชต่างศาสนา” ไปเผยแผ่ศาสนาก่อนหน้านี้แล้ว พระธรรมจาริกหากวิเคราะห์ในแง่ของมิติทางการเมืองคือ “ผู้สร้างความมั่นคง” ให้ชาติไทยอย่างแท้จริง

 การดำเนินงานของพระธรรมจาริกตลอด 57 ปี จึงมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อสังคมไทย มิใช่แค่ชาวพุทธบ้านเราเท่านั่น แต่หากหมายถึง ต่อประเทศชาติด้วย พระธรรมจาริก มิได้รับเงินเดือน มิได้รับเบี้ยเลี้ยงยังชีพ มีแต่บาตรใบเดียว เดินขึ้นดอยท่ามกลาง “ความเสี่ยง” มากมายที่คอยอยู่เบื้องหน้า

ด้วยบทบาทที่สำคัญของพระธรรมจาริกที่มีต่อพระพุทธศาสนาและประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 14.30 น. ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีถวายทุนการศึกษาพระราชทานโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับโครงการฝึกอบรมพระธรรมจาริกทุนเล่าเรียนหลวงรุ่นที่ 2 ด้วยเช่นกัน

 

 

 

 

Leave a Reply