น้ำพระทัย “สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ ยกระดับหัตถศิลป์ถิ่นอีสาน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564ที่ผ่านมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน เข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ วังศุโขทัย สืบเนื่องจาก สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้เสด็จไปทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ในงานสืบสานอนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา OTOP ณ หอประชุมจามจุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ 14 – 15 พฤศจิกายน 2563 โดย กรมการพัฒนาชุมชน ร่วมกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ นำกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ จำนวน 42 ราย ใน 20 จังหวัดทั่วทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ กลุ่มชุมชนภูไทดำ กลุ่มไหมสมเด็จ กลุ่มสตรีทอผ้าไหมแพรวาบ้านโพน จากจังหวัดกาฬสินธุ์ , กลุ่มทอผ้าไหมแต้มหมี่บ้านหัวฝาย กลุ่มหัตถกรรมคุ้มสุขโข จากจังหวัดขอนแก่น , กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง จากจังหวัดชัยภูมิ , ฅญา บาติก ฉัตรทองไหมไทย จากจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงผ้าย้อมครามธรรมชาติสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดสกลนคร ที่ปัจจุบันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับเงิน และทอง จากจังหวัดสุรินทร์, อุบลราชธานี และงานจักสาน จากจังหวัดยโสธร ร่วมจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในโครงการดังกล่าว ทรงมีพระปฏิสันถารกับผู้ประกอบการ ที่เฝ้ารับเสด็จฯ และมีพระวินิจฉัยแนะแนวทางการพัฒนากรรมวิธี คุณภาพ ลวดลาย เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่ผู้ผลิตผู้ ประกอบการ OTOP จำนวน 23 กลุ่ม ด้วยทรงเล็งเห็นถึงการอนุรักษ์หัตถศิลป์อันล้ำค่า ที่สะท้อนถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ควบคู่ไปกับการยกระดับสู่สากล เดิมในวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 พระองค์ทรงมีกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรและกลุ่มสมาชิก OTOP ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เคยพระราชทานคำแนะนำและแรงบันดาลใจ อันเป็นดังการบ้านที่ท้าทายฝีมือไว้ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP เพื่อนำพาผลิตภัณฑ์ ไปยังทิศทางแห่งคุณภาพ และมาตรฐาน แต่เนื่องจากปัญหาของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ที่ยังคงแพร่กระจายในหลายพื้นที่ จึงเลื่อนการเสด็จพระราชดำเนินดังกล่าวออกไป ด้วยพระเมตตา ทรงทอดพระเนตรเห็นถึงความตั้งใจจริงของทุกคน ทุกกลุ่ม ที่ได้ทำผลงานถวายผ่านกรมการพัฒนาชุมชน จึงโปรดให้นำผลงานที่ได้รับการพัฒนาตามพระวินิจฉัยมาให้ทรงตรวจและให้คำแนะนำ ณ พระตำหนัก วังศุโขทัย โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และ ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์และประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ได้ถวายรายงานผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตถกรรมชุมชน ที่ได้รับการพัฒนาโดยน้อมนำตามพระวินิจฉัยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา จำนวน 23 ชิ้นงาน จาก 16 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ ผ้าไหมแพรวา กลุ่มชุมชนภูไทดำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มได้รับสนองตามพระราชวินิจฉัย พัฒนาลวดลายเป็น “ลายช่อใหม่” และ “ลายเคอไต่ไม้” ต่อยอดจากแพรวาดั้งเดิม ผ้าไหมบาติกเขียนมือ กลุ่มฅญาบาติก จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการต่อยอดประยุกต์เป็นผ้าไหมบาติกเขียนมือ “ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เกิดจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้เยาวชนให้ชุมชนได้ฝึกทักษะ ผ้าไหมพิมพ์ลายประยุกต์ ฉัตรทองไหมไทย จังหวัดนครราชสีมา มีการยกระดับ พัฒนา ผลิตภัณฑ์ โดยน้อมนำลายผ้าพระราชทาน “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ประยุกต์ลงบนผืนผ้าไหม จนได้รับการยอมรับ ชื่นชมถึงความแปลกใหม่ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมหลายเท่า ผ้าหมักโคลนย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มทอผ้าบ้านสะง้อ จังหวัดบึงกาฬ ได้รับสนองตามพระราชวินิจฉัยปรับปรุงใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านภาพลักษณ์ พัฒนาตราผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย ด้านการจัดร้านให้มีรูปแบบ เรื่องราวที่เข้ากับผลิตภัณฑ์ จัดแสดงวัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมเพื่อให้ผู้บริโภครู้จักความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ และด้านผลิตภัณฑ์ มีการเพิ่มเส้นใยธรรมชาติ รวมถึงปรับการเดินเส้นตัดเย็บให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และขณะนี้อยู่ระหว่างการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดทางออนไลน์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ผ้าไหมมัดย้อมซ่อนมัดหมี่ กลุ่มผ้าครามเมืองพุท จังหวัดบุรีรัมย์ ทรงมีพระวินิจฉัยว่าการวางเฉดสีแต่มีความเข้ม ส่งผลให้ลายมัดหมี่ที่เป็นลวดลายหลักบนผืนผ้าไม่คมชัด และขาดจุดเด่น ทางกลุ่มจึงได้พัฒนาเลือกผ้ามัดหมี่ที่มีลวดลายคมชัด และมัดย้อมด้วยโทนสีที่มีความสว่าง และใช้เฉดสีที่ตัดกันกับผ้าลวดลายเดิม เพื่อให้ลวดลายเดิมคมชัดยิ่งขึ้น ผ้าไหมมัดหมี่ประยุกต์ ลวดลายแฟชั่น กลุ่มผ้าตุ้มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทรงชื่นชมว่าสวยงามเป็นผลิตภัณฑ์แนวแฟชั่น และทรงให้คำแนะนำควรฟอกย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทางกลุ่มจึงได้พัฒนาการย้อมสีด้วยเปลือกไม้ธรรมชาติ ได้แก่ ต้นประดู่ และต้นไม้พื้นถิ่นอื่น ๆ ที่ให้สีติดทนนานยิ่งขึ้น ผ้าไหมยกทอง กลุ่มเฮือนผ้าเฮือนแพร จังหวัดมหาสารคาม ทรงพระวินิจฉัยแนะให้ใช้เส้นเงิน/ทอง ที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย แทนเส้นเงิน/ทองที่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีคุณภาพดีกว่า ทางกลุ่มได้พัฒนาตามพระราชวินิจฉัย โดยทอมือด้วยไหมไทยพันธุ์พื้นบ้าน ย้อมด้วยสีธรรมชาติ และใช้เส้นเงิน/ทอง ที่นำเข้าจากประเทศอินเดีย ผ้าหมี่ขิดสะกิดล้วง ย้อมสีธรรมชาติ กลุ่มฝ้ายแกมไหม จังหวัดอุดรธานี ทรงพระวินิจฉัยแนะให้ใช้สีธรรมชาติในการย้อม ให้มีเฉดสีสันมากกว่าเดิม ทางกลุ่มจึงได้สร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าใช้เส้นใยฝ้ายแกมไหม ย้อมสีธรรมชาติโดยใช้ใบกระถินและขมิ้นเพิ่มความเข้มให้สีผ้า เข็มขัดเงิน กลุ่มดาเครื่องเงิน และตอกลาย โดย นางณัฎฐา ธนุนาจารย์ จังหวัดสุรินทร์ ทรงพระวินิจฉัยให้ทำเข็มขัดที่สามารถเปลี่ยนได้หลายๆ หัว ซึ่งนอกจากความงดงามแล้ว ยังเกิดความหลากหลายในการใช้งาน ทั้ง 2 กลุ่มได้ปรับปรุงพัฒนาผลิตพัฒนาเข็มขัดเงินให้สามารถแยกส่วนประกอบระหว่างหัวและสายเข็มขัด จึงเป็นการสร้างเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่า เพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ผลงานที่ได้นำขึ้นถวายให้ทรงมีพระวินิจฉัย ในครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงให้ความสนพระทัย ทอดพระเนตรโดยละเอียดทุกผลงาน ด้วยพระปรีชาญาณในด้านศิลปะ การออกแบบ และเข้าพระทัยถึงทิศทางและความเป็นไปของวงการแฟชั่น ทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาต่อยอดที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านคุณภาพของสี โทนสี คุณภาพเส้นใย และเทรนด์ที่จะสามารถโดดเด่นอยู่ในแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ในอนาคต รวมถึงวัสดุที่เลือกใช้ ลวดลาย และเทคนิคการทอผ้าแบบต่างๆ แก่ประธานสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เพื่อนำไปอธิบายขยายผลสู่ทุกกลุ่มให้สามารถสร้างสรรค์คุณค่า คุณภาพ และความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตามพระประสงค์ต่อไป กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ได้พระราชทานลายผ้า ชื่อลาย “ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ”ตามพระดำริ “ผ้าไทย ใส่ให้สนุก” จากการเสด็จไปทอดพระเนตรผลิตภัณฑ์ด้านผ้าและงานหัตถกรรม 3 ภูมิภาค ผ่านอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ และพระราชทานพระอนุญาตให้กลุ่มทอผ้าทุกกลุ่ม ทุกเทคนิค สามารถนำไปใช้ทอผ้า ผลิตผ้า เป็นต้นแบบและพัฒนาต่อยอดตามวิถีอัตลักษณ์ประจำถิ่น ปลุกกระแสความนิยมในผ้าไทย จนได้รับเสียงชื่นชมอย่างกว้างขวางจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าทอมือของกลุ่มอาชีพภูมิปัญญาจากท้องถิ่น จากทั่วทุกภูมิภาค 76 จังหวัด มีการนำลายผ้า ไปต่อยอดจำนวน 1,042 กลุ่ม จำนวนสมาชิกกลุ่ม 10,168 คน ก่อเกิดรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน เพิ่มยอดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าไทย ถึงกว่า 39,544,290 บาท (ข้อมูล ณ เมษายน 2564) เพื่อสนองในพระกรุณาธิคุณ และการต่อยอดการพัฒนาผ้าลายพระราชทาน กรมการพัฒนาชุมชน ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมภูมิปัญญาและพัฒนาศักยภาพผ้าไทย โดยร่วมบูรณาการกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย ขับเคลื่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านผ้าไทย (Coaching) ให้กับกลุ่มช่างฝีมือ ช่างทอ ทั้ง 4 ภาค และการจัดการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย รวมทั้งสร้างศิลปินช่างทอผ้ารุ่นใหม่ โดยในระดับภาค ผู้สนใจสามารถสมัครและส่งผลงานเข้าประกวดได้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เพื่อเข้าสู่กระบวนการประกวดระดับภาค ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 7 – 26 มิถุนายน 2564 สำหรับผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในระดับภูมิภาค จะเข้าสู่การประกวดในระดับประเทศ ในระหว่างวันที่ 27 – 29 กรกฎาคม 2564 โดย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดระดับประเทศ และทุก ๆ ผลงานที่ได้รับการรังสรรค์อย่างประณีตเหล่านี้ จะถูกนำจัดแสดงในนิทรรศการ “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ในงาน “ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมี” ณ ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ในเดือนสิงหาคมนี้ อีกด้วย เพื่อเป็นเกียรติประวัติแห่งความภาคภูมิใจ และขวัญกำลังใจแก่ผู้ประกวดที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดินต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการประกวดฯ ทางเว็บไซต์กรมการพัฒนาชุมชน www.cdd.go.th ทาง Facebook แฟนเพจ “กรมการพัฒนาชุมชน” และ Facebook แฟนเพจ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” หรือหมายเลข 02 -141- 6179 รวมถึงสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอทั่วประเทศ จำนวนผู้ชม : 230 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เจ้าคุณประสารมอง บทบาทพระธรรมทูตไทยในสหรัฐ หลัง”ไบเดน”คว้าชัย อุทัย มณี พ.ย. 08, 2020 วันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… วัดยานนาวาเป็นสะพานบุญจัดอาหาร 700 ชุด แบบเดลิเวอรี่ถึง 2 ชุมชนสาทรสู้ภัยโควิด-19 อุทัย มณี เม.ย. 24, 2020 วัดยานนาวาเป็นสะพานบุญเชื่อมประสานทานบดีร่วมมอบอาหารส่งต่อกำลังใจ… คืบหน้าไกล่เกลี่ยหนี้!! ปลัดมหาดไทย เผยไกล่เกลี่ยแล้ว 25,816 ราย หนี้ลดลง 1,018 ล้านบาท อุทัย มณี มี.ค. 30, 2024 วันที่ 30 มี.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… มติ มส.ทำบัตรประชาชนสำหรับ “พระมหา” ใช้คำนำหน้าได้!! ด้าน “กรมปกครอง” ระบุ ให้นำประกาศนียบัตรมาแสดงด้วย อุทัย มณี ธ.ค. 21, 2023 วันที่ 21 ธันวาคม 2566 วันนี้ในกลุ่มไลน์ชาวพุทธและเพจชาวพุทธได้มีแชร์มติมหาเถรสมาคมที่… สืบสานงาน’สมเด็จพระพุทธชินวงศ์’ เร่งคลอดสัททานุกรมพระไตรปิฏก อุทัย มณี มิ.ย. 30, 2019 วันที่ 30 มิ.ย.2562 พระเทพสุวรรณเมธี (สุชาติ กิตฺติปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม… เรื่องเล่าครอบครัวชาว “โคก หนอง นา” (ตอน 3) อุทัย มณี เม.ย. 27, 2021 การเดินทางทัวร์อีสานภายใต้การสนับสนุนของกรมการพัฒนาชุมชนของผู้เขียน… อาจารย์ “มจร” เผย “หลักสูตรบาลีคณะสงฆ์ไทย” เรียนพระไตรปิฏกแค่ 149 หน้าจาก 27,289 หน้า อุทัย มณี มี.ค. 31, 2024 วันที่ 31 มี.ค. 67 พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป, ป.ธ.9, ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตร… ปลัด มท. เปิดอบรม “หลักสูตร P-CAST” เน้นย้ำ “สามัคคีคือพลัง ทำงานเป็นทีม บูรณาการ 7 ภาคีเครือข่ายร่วมสร้างสรรค์พัฒนาสังคมไทย ด้าน “เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี” เข้าร่วมอบรมด้วย อุทัย มณี พ.ค. 22, 2023 วันที่ 22 พ.ค. 66 เวลา 13.00 น. ที่ห้องประชุม War room ชั้น 2 ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย… แบรนด์ “สติ”! กาแฟที่คนไทยควรดื่มและเสื้อควรใส่ขณะนี้ อุทัย มณี ต.ค. 22, 2020 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 เพจองค์ม่อน ธรรมะอารมณ์ดี ได้โพสต์ข้อความว่า… Related Articles From the same category ปลัดเก่ง – คณะสงฆ์และชาวราชบุรี ร่วมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ฯ ตั้งเป้าครัวเรือนละ 1 ต้น วันนี้ (22 ก.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง… “มจร วส.พ่อขุนผาเมือง”ทำอาหารมอบจุดคัดกรองโควิด-19 วันที่ 24 เม.ย.2563 บุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)… “ปฏิบัติการป่าช้าแตก” Kick Off จัดระเบียบสังคม ต้อนรับ 1 พ.ย. 66 ตามนโยบาย มท.1 บุกจับ ”เลอเนิร์ฟผับ” กลางเมืองเชียงใหม่ วันที่ 1 พ.ย. 66 เวลา 00.30 น. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง… ดีเดย์พรุ่งนี้ ! พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรมมีผลบังคับใช้แล้ว หลังจากเมื่อเร็ว ๆ นี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับรองร่างพระราชบัญญัติพระปริยัติธรรมด้วยมติเป็นเอกฉันท์แล้ว… ‘วัดวังใหญ่’ เฮ!! กรมบังคับคดี ถอนการยึดตามคำร้องของโจทก์แล้ว วันที่ 9 พ.ย. 64 นางทัศนีย์ เปาอินทร์ รองอธิบดี รักษาราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดี…
Leave a Reply