มหาจุฬาฯ ถัง (ไม่) แตก!! แต่ต้อง “สังคายนา” ?? ฉับพลัน!! ที่เว๊บไซต์ข่าว “thebuddh” เสนอข่าวเรื่อง “การลดค่าเงินประจำตำแหน่งตำแหน่งบริหารและตำแหน่งวิชาการ” ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) สู่หมู่กว้าง ฉับพลัน!! หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเสนอเข่าวว่า ร.ร.เอกชน อ่วมเลิกจ้างครูกว่า 2 หมื่นคน ลดเงินเดือน 50% จ่อปิดตัวกว่า 1,000 แห่ง นึกถึงเหตุการณ์ที่กำลังเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ทันที ความจริงเรื่องนี้มีที่มาที่ไปก็คือว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยดำเนินการชงเรื่องโดย พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เจ้าของบริษัทที่ต้องบริหารจัดการเงิน มาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2564 แล้ว โดยเรื่องนี้ผ่านมติคณะกรรมการการเงินและทรัพย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ถัดจากนั้น พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เซ็น เห็นชอบ เสนออธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และวันที่ 27 พฤษาภาคม 2564 พระเทพวัชรบัณฑิต (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) อธิการบดี ลงนามให้เสนอ กบม.และ กก.ดำเนินการ และสภามหาวิทยาลัยอนุมัตเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 นายกสภาลงนามคำประกาศวันที่ 26 สิงหาคม 2564 เหตุผลหลักในการปรับลดเงินประจำตำแหน่งของ คณะกรรมการการเงินและทรัพย์ของมหาวิทยาลัย ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า “ในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ปรับลดรายการค่าตอบแทนตำแหน่งทางวิชาการให้กับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยลงร้อยละ 50 ทั้งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตร์ และศาสตราจารย์ แต่มหาวิทยาลัยได้จ่ายค่าตอบแทนในตำแหน่งวิชาการดังกล่าว อัตราเต็มจำนวนตามประกาศมหาวิทยาลัย โดยใช้งบประมาณรายได้ของมหาวิทยาลัยจ่ายมาสมทบในการจ่ายเต็มเติม ผนวกกับปัจจุบันมหาวิทยาลัยประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด -19 มหาวิทยาลัยจึงมีรายได้ไม่เพียงพอในการจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวจึงยกเลิก “คำประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเรื่องบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งบริหารและตำแหน่งวิชาการ ปี 2550” และขออนุมัติจ่ายเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ เท่าที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล” ส่งผลให้ตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ 237 ท่าน รองศาสตราจารย์ 67 ท่านและศาสตราจารย์อีก 2 ท่าน สะเทือน ยิ่งตอนหลังตามมติสภามหาวิทยาลัยมีตำแหน่งวิชาชีพชำนาญการ ธุรการและบริหารทั่วไป โดนตัดกันถ้วนหน้า ตำแหน่งวิชาการหลังปี 2550 ทำไมมันผุดมากมายขนาดนี้ส่วนหนึ่งเพราะอะไร คงเป็นเรื่องของคณาจารย์ในมหาจุฬา ฯ รู้อยู่แก่ใจ ?? ผู้เขียนพยายามสอบถามข้อมูลจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พอได้ข้อมูลว่า การตัดเงินประจำตำแหน่งแบบนี้ หากเป็นราชการมันจะลดและตัดไม่ได้ แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีสถานะพิเศษ ทุกอย่างมันจึงขึ้นอยู่กับ “สภามหาวิทยาลัย” ตัดสินใจ และโดยทั่วไปอาจารย์ที่จบปริญญาเอก รายได้ประจำจะได้ 3 ทาง คือ เงินเดือน+เงินประจำตำแหน่งฝ่ายบริหาร +เงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ เฉลี่ย 40,000 +11,900+11,200 บาท รวมแล้ว 60,000 ขึ้น อันนี้ไม่นับรวมสอนพิเศษ วันเสาร์- วันอาทิตย์ คุมวิทยานิพนธ์ เบี้ยประชุมอีกต่างหาก.. ลองไปค้นดูงบจัดสรรที่มหาวิทยาลัยได้รับมาจากรัฐบาลย้อนหลัง 5 ปี ปีนี้ได้รับลดจากปีที่แล้วประมาณ 50 ล้านบาท ก็ไม่ถึงกับมาก ไม่ถึงกับขั้น “ถังแตก” เพียงแต่ที่ผ่านมาเราอยู่กันแบบ “คนมีอันจะกิน” เท่านั้น เรื่องนี้ผู้เขียนไม่มั่นใจว่า คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ในมหาจุฬา ฯ ได้รับแบบนี้หรือไม่ แต่แรง “กระเพื่อม” จากเหตุการณ์ลดค่าตำแทน มีหรือไม่ ต้องยอมรับความจริงว่า “มี” ยิ่งมีคนส่งการคุยกันในไลน์ของระดับคณาจารย์ มี “ผู้บริหารรูปหนึ่ง” พูดทำนองยุให้คณาจารย์ “ฟ้อง” ผู้บริหาร ผู้เขียนคิดว่า “ไม่ถูกต้อง” การแนะนำแบบนี้ “ขาดวุฒิภาวะ” ในฐานะตนเองก็เป็นส่วนหนึ่งของคณะบริหารมีส่วน “ต้องรับผิด” ตอนนี้หลายองค์กร หลายบริษัท ปรับตัว รับกับสถานการณ์กันทั้งนั้น บางบริษัทปลด ลดคน บางองค์กร ลดเงินเดือน เงินเวลามาทำงาน ทุกองค์กรปรับตัวเพื่อให้สถาบันเดินหน้าต่อไปได้ทั้งนั้น ยุคโควิดนี้มีคน 2 กลุ่มที่อยู่รอดปลอดภัยเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” อยู่แบบไม่ต้องห่วงว่าจะอดข้าว จะไม่มีค่าเติมน้ำมันรถ คือ คนที่มีเงินประจำที่เป็นข้าราชการหรือกึ่ง ๆ ข้าราชการที่ได้รับงบจากสรรจากรัฐบาล และอีกกลุ่มหนึ่ง คือ เกษตรกร มีแค่นี้จริง ๆ ในทัศนะของผู้เขียน หากจะเสนอแนะ เพื่อให้ มหาวิทยาลัย เดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคงและยืนยาว คือต้อง “สังคายนาระบบการจัดเก็บและรายได้” เข้ามหาวิทยาลัย ให้ชัดและโปร่งใส “ลดความเห็นแต่ตัวและเอื้อประโยชน์แก่พรรคพวกลง” อาทิ เช่น หนึ่ง โรงพิมพ์มหาจุฬา ฯ ต้องคายนาใหม่ ยึดมาให้เป็นของมหาวิทยาลัยจริง ๆ และจริงหรือไม่ มีใครคนใดหรือกระกูลใดตระกูลหนึ่ง ครองมายาวนานกว่า 20 ปี หรือ แม้กระทั้งบรรดาคนจะมาเป็นบอร์ดบริหารต้องคัดกรองว่า มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่ ผู้เขียนเคยมีประสบการณ์การติดต่อขอพิมพ์ซองผ้าป่ากับผู้บริหารคนหนึ่ง (ตามเบอร์ที่ติดไว้ด้านล่างตึกอธิการบดี) ได้รับแจ้งว่า หากต้องการเร็วพิมพ์ที่โรงพิมพ์ผมก็ได้!! และ จริงหรือไม่ หน่วยงานรัฐอย่างสรรพกรฟ้องร้องเรียกคืนภาษี ย้อนหลังจากโรงพิมพ์ 30 กว่าล้านบาท สอง อาคาร 92 ตึกปัญญานันทะภิกษุ ยกเลิกสัมปทานให้ กลับมาเป็นของมหาวิทยาลัยโดยมหาวิทยาลัยบริหารจัดการเองได้หรือไม่?? และจริงหรือไม่ สัมปทานปีละแค่ 1 ล้านบาทเอง ซ้ำงบการซ่อมแซมก็เป็นภาระให้กับมหาวิทยาลัย สาม มหาจุฬาบรรณาคาร จริงหรือไม่ มีคนสัมปทานไป ปีละแค่ 1 ล้านบาทเอง หรือปล่อยให้มีบุคคลคณะบุคคล ติดสินใจได้โดยไม่ผ่าน สภามหาวิทยาลัย ควรยกเลิกการสัมปทาน ได้หรือไม่?? สี่ บรรดาร้านกาแฟ -ร้านค้าปลีก -ร้านซ่อมมือถือ-ขายมือถือ- ร้านค้าที่อยู่ภายใต้ตึกหอพักนิสิต มีการจัดเก็บค่าเช่าหรือสัมปทานอย่างไร โปร่งใสหรือไม่ หรือต่างคนต่างทำ ห้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ทั้งหน้าอาคาร 92 และร้านอาหารที่สร้างใหม่ มีการเก็บเงินเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร หก สถาบันภาษา มีการเก็บเงิน ส่งเงินเข้าส่วนกลางหรือไม่อย่างไร ส่งแบบไหน?? เจ็ด หลักสูตรต่าง ๆที่เปิดทั้งในระดับปริญญาโท -ปริญญาเอก ที่มีคำครหาว่า กลายเป็นที่พักกลายเป็นสถานที่ เสือนอนกิน ของคนบางคน บางกลุ่ม มีการจัดเก็บเข้ามหาวิทยาลัยอย่างไร เพราะอย่างลืมการเปิดหลักสูตรในแบรนด์ชื่อมหาวิทยาลัย,อาคารสถานที่มหาวิทยาลัย,น้ำไฟมหาวิทยาลัย จริงเท็จไม่ทราบ รายได้หลักสูตรเหล่านี้ส่งเข้ามหาวิทยาลัยแค่ 15-20% ของรายได้ ซ้ำมหาวิทยาลัยเป็นหนี้หลักสูตรต่าง ๆ เหล่านี้อีก ในขณะที่หลักสูตรตามคณะต่าง ๆ เหล่านี้ติดตั้งแอร์ เปิดไฟ มีการควบคุมหรือไม่ เพราะปีหนึ่งมหาวิทยาลัยเสียค่าไฟประมาณ 25 ล้านบาทในขณะที่รัฐจัดสรรค่าไฟมาให้แค่ประมาณ 6-7 ล้านบาท เอาเปรียบมหาวิทยาลัยเกินไปไหม?? อันนี้รวมถึงวิทยาเขตต่าง ๆ ที่เปิดหลักสูตรกันเป็นล่ำเป็นสันโดยมี “คนส่วนกลาง” บางกลุ่มบางคนไปเป็น “ไม้กันหมา” อยู่ที่นั่น มีการส่งรายได้เข้าส่วนกลางบ้างหรือไม่ ส่งอย่างไร?? หรือ แปด แม้กระทั้ง วัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการเรื่องทรัพย์สิน เรื่องกิจกรรม รายได้ต่าง ๆ อย่างไร ทั้งหมด..ต้องพูดความจริง ต้องเอาให้ชัด อย่าได้เกรงอกเกรงใจ ให้กลายเป็น “ภาระ” ให้กับมหาวิทยาลัยหรือผู้บริหารรุ่นหลัง อันนี้ไม่พูดถึงการก่อสร้าง การจัดซื้อจัดจ้าง ๆ ที่มีข่าวลือเยอะแยะไปหมด ประเภทบอกเล่าว่า “จ่ายครบ จบที่เดียว” แต่ผู้เขียนไม่เชื่อว่า เรื่องนี้จะเป็นเรื่องจริง ส่วนคำพูดคำที่ว่า กองแผน ได้งบจัดสรรมาแล้ว บริหารจัดการเอง ตัดสินใจเอง โดยไม่เรียกหน่วยงานต้นสังกัดมาสอบถามหรือมาให้ข้อมูล อันนั้นเป็นเรื่องภายในที่องค์กรต้องคุยกันเอง หรือคำว่า “กองแผนหาเงินไม่เป็น ใช้เงินเป็นอย่างเดียว” หรือแม้กระทั้งมีคำพูดลอย ๆ ว่า “มจร” มีหนี้ติดค้างจากผู้บริหารชุดเก่าเป็นจำนวนมาก การปรับคนโยกย้ายเอื้อต่อญาติพี่น้อง อันนี้ผู้เขียนก็ไม่อาจทราบได้ว่า จริงหรือเท็จ เพราะเป็นเรื่อง “ภายใน” ที่เขียนมานี้เป็นส่วนหนึ่งที่คนนอกแบบผู้เขียน มองเห็นและต้องการให้ คณาจารย์และศิษย์เก่าและรุ่นใหม่ “ควรสังคายนา” และ “ปรับปรุง” และ “เร่งแก้ไข” เพื่อหารายได้ให้องค์กร เพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเพื่อความเจริญก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย และสุดท้ายเรื่องสิทธิผลประโยชน์ต่าง ๆ หากมันจัดเก็บได้ “เต็มเม็ดเต็มหน่วย” ไม่หล่นรายทาง มันก็จะไม่ “ย้อนกลับมาทำลายสิทธิสวัสดิการ” ของคนภายในองค์กร ดังที่กำลังจะเกิดขึ้นภายในเดือนหน้านี้ ผู้เขียน “กราบขออภัย” คณาจารย์และเพื่อน ๆ ล่วงหน้า ที่ต้องเขียนสะท้อนจากมุมมองคนนอกในฐานะศิษย์เก่ามองเข้าไปตรง ๆ แบบนี้ ซึ่งคิดว่าพวกเราทุกคนรักสถาบันแห่งนี้คงไม่แตกต่างกัน คำถามก็คือว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พวกเราจะร่วมกันเสียสละผลประโยชน์ส่วนตน ร่วมกันหาทางออก ร่วมกันแก้ไข เพื่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้เดินหน้าต่อไปได้ ในฐานะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่นานาชาติยกย่องให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก และทุกคนรู้ดีกว่าหากพวกเราไม่มีสถาบันแห่งนี้คง “ไม่มีที่ยืน” ในสังคมดั่งทุกวันนี้แน่ และทุกคนที่จบจากสถาบันแห่งนี้ล้วนมาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันคือ..คนด้อยโอกาสทางสังคมและด้อยโอกาสทางการศึกษาแทบทั้งสิ้น..!! ขอศิษย์พี่ ศิษย์น้องอย่าโปรดทำลายมหาวิทยาลัยของเราและอย่าทำลายซึ่งกันและกัน..ถึงเวลามุ่งแก้ปัญหาและเดินหน้าไปด้วยกัน!! จำนวนผู้ชม : 873 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ผู้ว่าฯพะเยามอบแรงงานจังหวัด – ผนึกกำลังหน่วยงานลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากโควิด -19 มีงานทำ มีชีวิตดีขึ้น อุทัย มณี พ.ค. 25, 2020 สำนักงานแรงงานจังหวัดพะเยา แทคทีม หน่วยงานในสังกัด… พ่อเมืองลำปาง ขับเคลื่อนโครงการ “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” อย่างต่อเนื่อง อุทัย มณี ก.ย. 15, 2023 วันที่ 15 ก.ย. 66 วานนี้ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง… ปลัด มท. ปลื้มยอดจำหน่าย “โอทอปไทย สู้ภัยโควิด-19” เมืองทองธานี ทะลุกว่า 500 ล้านบาท สมหวังพลิกฟื้นเศรษฐกิจฐานราก นำรายได้กลับสู่ชุมชน อุทัย มณี ธ.ค. 26, 2021 วันที่ 26 ธ.ค. 64 เวลา 18:15 น. ที่ชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม… แห่เปลี่ยนชื่อเป็น’ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์’ นวัตกรรมกลยุทธการเมืองไทย4.0 อุทัย มณี ก.พ. 04, 2019 วันแรกของการสมัคร ส.ส.ทั่วประเทศ บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก… “ครบรอบ 8 ปี” มหกรรมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คึกคักขนผลงานเด่นมาจัดแสดงเพียบ!! อุทัย มณี มี.ค. 24, 2023 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2566 กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์… ชวนทำบุญใหญ่! “สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ โพธิปักขิยธรรม เหนือก้อนเมฆ สูงที่สุดในไทย” ภูทับเบิก อุทัย มณี ก.ย. 30, 2022 ชวนคนไทยร่วมงานบุญใหญ่ “สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ โพธิปักขิยธรรม… มส.แต่งตั้ง “พระสังฆาธิการ” หลายตำแหน่ง อุทัย มณี เม.ย. 11, 2024 วันพุธ ที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร… สิ้น!’ดร.แหลมทอง ศิลปานนท์’อดีตวิศวกรองค์การนาซาอุปถัมภ์วัดไทยในแอลเอ อุทัย มณี ธ.ค. 01, 2018 วันที่ 1 ธ.ค.2561 พระเมธีธรรมาจารย์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพผู้ประสบภัย “น้ำท่วม” จ.หนองคาย อุทัย มณี ก.ย. 19, 2024 วันที่ 19 กันยายน 2567 ณ วัดโพธิ์ชัย พระอารามหลวง ตำบลในเมือง… Related Articles From the same category กกต.เคาะแล้ว! 24มี.ค.เป็นวันเลือกตั้ง วันที่ 23 ม.ค.2562 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่… ร.10 โปรดเกล้า ฯ อัญเชิญดอกไม้และจตุปัจจัยไทยธรรมถวายสมเด็จพระสังฆราช วันพุธ ที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๒ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ… ปล่อยตัวแล้ว! อดีตพระพรหมดิลก-พระเลขาฯ เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง… พระกำแพงเพชรลงทะเบียนเราชนะ! หลังไม่ได้รับการเยียวยาโควิดจากรัฐ วันที่ 24 ก.พ. 2564 เพจ Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า “จาก ‘เราไม่ทิ้งกัน’… พระ ม.สงฆ์ มจร”ระบุ สมาธิไร้เชื้อชาติ ไร้ศาสนา ไร้พรมแดนใครก็ฝึกได้ วันที่ 20 พ.ค.2563 ตามที่มีการเผยแพร่ภาพสตรีมุสลิมชาวจอร์แดนสอนสมาธิโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนศาสนาทางสื่อออไนลน์…
Leave a Reply