ปลดพระสังฆาธิการ ปัญหาอำนาจนิยม : สงฆ์ต้องเร่งรื้อโครงสร้าง คนมีคุณภาพไม่อยากอยู่ต่อ??

 

    วันที่  8 ต.ค.64  เช้านี้ พระมหาสุดสาคร สุมุรยญาโณ  วัดพระศรีมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพระนักวิชาการ นักคิดนักเขียน ได้โพสต์เฟชบุ๊คผ่าน เพจส่วนตัวชื่อ  Sut Sut Sutsakhon  มีเนื้อหาว่า

     ปลดพระสังฆาธิการ ปัญหาอำนาจนิยม  เท่าที่ตรวจดูจากราชกิจจานุเบกษาเบกษา และแถลงการณ์คณะสงฆ์ ตั้งแต่สมัย ร.5 จนปัจจุบัน มีพระสังฆาธิการ ถูกปลด – ถอด ออกจากสมณศักดิ์ จากเจ้าคณะต่าง ไม่น้อยกว่า 30 -40 รูป   …หากพิจารณาทางหลักกฎหมายเป็นลักษณะอำนาจนิยม และหากดูแนวฎีกาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ยิ่งสะท้อนหลักอำนาจนิยมยิ่งนัก   …กรณีหนึ่งที่น่าศึกษาและควรแก่การพิจาราณายิ่ง คือ การให้สึก พระครูวัตตโสภณ (สิน)  เจ้าคณะแขวงปากเพรียว จังหวัดสระบุรี  ฐานความผิด  เพียงลงชื่อเดิมว่า นายสิน  มอบฉันทะในการทำสัญญาต่าง ๆ  เถรสมาคมเห็นพร้อมกันว่าสมควรให้สึกเสีย  ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา  ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว (ราชกิจจานุเบกษา  เล่ม 50 หน้า 1599  วันที่ 3 กันยายน  2476)    ..เชื่อหรือไม่ว่า ประกาศเรื่องพระภิกษุสามเณรแสดงภาวะไม่แน่นอน

    ว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ (พ.ศ. ๒๔๗๙)  ในปัจจุบันนี้ยังมีผลใช้บังครับอยู่  ดูคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3981/2533 คดีระหว่าง พระมหาไพโรจน์  ฐิตะปุญโญ หรือฐิตปุญโญ โจทก์  กับพระราชวิริยาภรณ์ จำเลย  วินิจฉัยว่า

    จำเลย (พระราชวิริยาภรณ์) สั่งลงโทษถอดถอนโจทก์ (พระมหาไพโรจน์) ออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส  ฐานลงชื่อเป็นนายแสดงภาวะไม่แน่นอนว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง โจทก์ยื่นคำร้องทุกข์ต่อเจ้าคณะภาค 3 โดยมิได้ผ่านจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งลงโทษโจทก์ ทั้งยื่นคำร้องทุกข์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลา 15 วัน นับแต่โจทก์ทราบคำสั่งลงโทษดังกล่าว เป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการร้องทุกข์ พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 ที่กำหนดว่าพระสังฆาธิการที่ถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษฐานละเมิดจริยา ถ้าเห็นว่าคำสั่งลงโทษนั้นไม่เป็นธรรมก็ให้ร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยให้ส่งคำร้องทุกข์นั้นผ่านผู้สั่งลงโทษภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งลงโทษ คำสั่งลงโทษโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นที่สุด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งนั้นได้อีก.

       การกระทำความผิด กับการต้องรับโทษ  มันไม่สมดุลกันเลย  พูดง่ายๆ ว่า ลงชื่อเป็นนายแสดงภาวะไม่แน่นอนว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์อันเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง  ต้องถึงกับถูกถอดออกจากตำแหน่ง หรือถูกให้สึก  มันก็เท่ากับประหารชีวิตพระเราทั้งเป็นเลย  มันถึงเวลาที่จักต้องรื้อระบบโครงสร้าง ตลอดทั้งการปกครองคณะสงฆ์เรา อย่างรีบด่วนสุด ๆ ไม่อย่างนั้น พังแน่ ๆ  เพราะระบบพระสงฆ์เรา มันไม่เอื้อให้คนที่มีคุณภาพอยากจะอยู่ต่อ  มีแต่จะลาสึกขาออกไปเรื่อย ๆ  แบบนี้ก็นับถอยหลังละ ฯ

 

Leave a Reply