พช.ศรีสะเกษ เดินหน้าสืบสานอนุรักษ์ผ้าไทย ชูผ้าอัตลักษณ์เบญจศรี “ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ” ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน วันที่ 14 ตุลาคม 2564 นายชัยยงค์ ผ่องใส ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การนำของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายวัฒนา พุฒิชาติ ได้น้อมนำแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรราชธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และจากพระราชประสงค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงอยากเห็นคนไทยอยู่ดีกินดีจากอาชีพเสริมด้วยการทอผ้า “วันนี้ ผ้าไหมไทยมิได้ช่วยสร้างรายได้ให้ชาวบ้านเท่านั้น หากโลกยังให้การยอมรับผ้าไทย โดยเฉพาะผ้าไหมไทยซึ่งเป็นผ้าอันดับหนึ่งของโลก” จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีเครือข่ายทังภาครัฐและเอกชน ได้น้อมนำและดำเนินการ สืบสาน รักษา ต่อยอด มาขับเคลื่อน ผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมมีการทอผ้าลายลูกแก้วย้อมจากผลมะเกลือ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการย้อมดั้งเดิมของชาวอีสานใต้ ได้ผ้าสีดำขลับ มีข้อจำกัดคือไม่หลากหลายในการใช้สวมใส่ เนื่องจากเป็นสีดำ และ เป็นผ้าหน้าแคบ ไม่สะดวกต่อการแปรรูปเป็นเสื้อผ้า โดยได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น การขับเคลื่อนผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ และ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัดศรีสะเกษ : ยกระดับสินค้าการเกษตร การค้า และการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานและแข่งขันได้ และจังหวัดศรีสะเกษ ได้กำหนดให้วาระผ้าทอมือ “ธานีผ้าศรี…แส่ว” เป็น 1 ใน 10 ของวาระจังหวัด ที่จะขับเคลื่อนในปี 2564 จัดตั้ง คอนเซบต์/MOTTO เพื่อง่ายต่อสื่อสาร สร้างความเข้าใจ สร้างกระแสการรับรู้ ได้แก่ “ศรีสะเกษธานี ผ้าศรี …แส่ว” ภายใต้แบรนด์ “ผ้าทอเบญจศรี” โดยนำคำว่า “ศรี” ซึ่งเป็นคำแรกของจังหวัดศรีสะเกษ มาเป็นคำแรกของชื่อเรียกผ้าแต่ละประเภทผ้า 5 ชนิด ประกอบด้วย ผ้าศรีลาวา ผ้าศรีกุลา ผ้าศรีมะดัน ผ้าศรีลำดวน และผ้าศรีมะเกลือ เพิ่มมูลค่าด้วยการ “แส่ว” เป็นอัตลักษณ์และภูมิปัญญาของชาวจังหวัดศรีสะเกษ มีลวดลายสวยงาม หลากหลาย ได้แก่ ลายหางสิงห์ ลายตีนตะขาบ ลายขามดแดง อันเป็นลายดั้งเดิมที่ใช้ประโยชน์ ในการเก็บชายผ้าไม่ให้หลุดลุ่ยหรือต่อผ้าสองชิ้นให้เป็นชิ้นเดียวกัน ผสมผสานกับลายประยุกต์ เช่น ลายเชิงเทียน ลายดอกไม้ เพื่อใช้ประดับ ให้เสื้อผ้ามีความวิจิตรสวยงาม จากการขับเคลื่อนผ้าอัตลักษณ์ศรีสะเกษ “ธานีผ้าศรี……แส่ว” ทำให้เกิดการบูรณาการทำงานของภาครัฐและภาคเอกชน ประชาชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน นำอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ มาต่อยอด สร้างคุณค่า สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดให้เกิดอาชีพ สร้างรายได้ให้กับภูมิปัญญาด้านการทอผ้าและผลิตผ้าพื้นเมืองที่มาจากหมู่บ้านและชุมชน และลดความเหลื่อมทางสังคม ผู้ด้วยโอกาส เยาวชน สตรี ผู้สูงวัย และกลุ่มเปาะบาง ได้มีอาชีพจากการทอผ้า เกิดพลังเครือข่ายผ้าทออัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ อันเป็นการสืบสานมรดก ทางวัฒนธรรมอันดีงามของจังหวัดศรีสะเกษ การพัฒนาผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ อัตลักษณ์ศรีสะเกษ เป็นการขับเคลื่อนงานตามวิสัยทัศน์ กรมการพัฒนาชุมชน ที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง ชุมชนพึ่งตนเองได้ จังหวัดศรีสะเกษมีอัตลักษณ์ที่สำคัญในหลายๆด้านที่เป็นที่รู้จัก เช่น ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ รสเลิศ ไก่ย่างไม้มะดันชวนชิมที่มีชื่อเสียงโด่งดัง พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ที่สามารถปลูกข้าวหอมมะลิที่มีกลิ่นหอม และ มีต้นลำดวนที่เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด โดยนำเอาอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ มาต่อยอดสร้างคุณค่าสร้างมูลค่าเพิ่มต่อยอดให้เกิดอาชีพเกิดสัมมาชีพชุมชน เป็นผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ 5 ชนิด ตามพื้นที่แหล่งวัตถุดิบ ได้แก่ ผ้าศรีลาวา ในพื้นที่ดินภูเขาไฟ ผ้าศรีกุลา ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าศรีลำดวน ในพื้นที่ที่มีต้นลำดวน ผ้าศรีมะดัน ในแถบลุ่มน้ำที่ใช้ประโยชน์ไม้มะดัน ผ้าศรีมะเกลือ มาต่อยอดให้เกิดสินค้า OTOP ที่ทำได้ตลอดปีไม่มีฤดูกาล สร้างรายได้แก่กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP และประชาชนชุมชนจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจฐานรากชุมชนเข้มแข็งได้อย่างแท้จริง เพิ่มมูลค่าด้วยการแส่ว มีผู้ประโยชน์ ดังนี้ 1. เกิดผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ จาก 1 ชนิด เพิ่มเป็น 5 ชนิด เรียกว่า “ผ้าเบญจศรี” จำนวน 1,458 กลุ่มผู้ประกอบการ 2. รายได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าและเครื่องแต่งกาย มียอดจำหน่าย ณ วันที่ 28 กันยายน 2564 จำนวน 1,190,689,026 บาทและข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ของจังหวัดศรีสะเกษเพิ่มสูงขึ้นเป็นอันดับ 2 และรายได้ของประชากรเฉลี่ยต่อคนสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ) 3. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ความยากจนและพัฒนาคุณชีวิตผู้มีรายได้น้อย กลุ่มเปราะบาง (นักโทษหญิงในเรือนจำ) โดยงบประมาณจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จำนวน 131 กลุ่ม สมาชิก 5,755 คน 4. โครงการร้อยดวงใจจากภูมิปัญญา สู่ผืนผ้าชาวศรีสะเกษ ในงานฉลองครบรอบ 238 ปีจากข้อมูลพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ มีการซื้อเสื้อผ้าอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ 22,238 คน เป็นเงิน 16,677,500 บาท และการมีส่วนร่วมของกลุ่มทอผ้า โดยต่อผืนผ้าพื้นเมือง ผ้าเบญจศรี มีความยาวจำนวน 283 เมตร จาก 22 อำเภอ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ 5. การถ่ายทอดบทเรียนไปสู่สาธารณะเพื่อพัฒนาการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และ 6. การได้รับมาตรฐาน นายชัยยงค์ ผ่องใส รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในการจัดกิจกรรมรณรงค์สวมใส่ผ้าไทยตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ให้มีการสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน โดยจังหวัดศรีสะเกษ ได้ใช้กลยุทธ์การขับเคลื่อนวาระผ้าทอในการจัดกิจกรรมนุ่งผ้าไทยใส่บาตร ทำความดีวิถีพอเพียง ที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกวัน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายอีกทาง ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษได้ขับเคลื่อนวาระผ้าอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดกิจกรรมเปิดตลาดโบราณ “ลานออดหลอด ซอดศรีเกษ” ณ ศูนย์โอทอปศรีสะเกษเป็นประจำทุกเดือน การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า “มหกรรม OTOP ของดี๊เมืองศรีเกษ” ภายใต้โครงการ จัดแสดงและจำหน่าย OTOP กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 โครงการการค้าการลงทุนกลุ่มจังหวัดเชื่อมโยงอาเชียน ประจำปี ณ ลานอะควาเรียม เซ็นทรัลพลาซ่าอุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษได้มีแคมเปญ “หน้าร้านมีขาย ออนไลน์มีส่ง” เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการ OTOP ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 เพื่อสร้างค่านิยมและการตระหนักรับรู้รักษามรดกและอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของไทย และอนุรักษ์ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาผ้าไทยเพื่อเป็นสินค้าเศรษฐกิจเชิงโครงสร้างอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากสร้างรายได้กระจายสู่ชุมชน สำหรัดท่านที่สนใจผ้าพื้นถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ และสินค้า OTOP ประเภทอื่นๆ สามารถเยี่ยมชมได้ที่เว็บไชต์ https://sisaket.cdd.go.th จำนวนผู้ชม : 444 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “พช.-สภาสตรีฯ”บรรเทาทุกข์โควิด-19 เติมสุขเมืองร้อยเอ็ด อุทัย มณี มิ.ย. 20, 2020 พช.จับมือสภาสตรีฯเยือน จ.ร้อยเอ็ด เดินหน้ามอบถุงยังชีพบรรเทาทุกข์… อนุกมธ.พุทธสภาฯเปิดมิติใหม่! ไหว้พระเจริญจิตภาวนาก่อนประชุม อุทัย มณี ก.พ. 03, 2021 อนุกมธ.พุทธสภาฯเปิดมิติใหม่! ไหว้พระเจริญจิตภาวนาก่อนประชุม… ยุค ๔.๐ ยุคพี่มหาเปิดตัว ‘พรรคมหาเปรียญ’ สู่สังคมไทย? อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2018 @ ผมว่ายุคนี้เป็นยุคที่บรรดาพี่มหาทั้งหลายของผมเริ่มออกจากมุมอับของสังคมที่เคยแอบๆอยู่ก็มทยอยๆออกมาแสดงตังเปิดตัวกันเป็นจำนวนมาก… “วัดสระเกศ ฯ” ตั้ง “พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส” เป็น “ไวยาวัจกร” คนใหม่!! อุทัย มณี ต.ค. 03, 2024 วันที่ 3 ตุลาคม 2567 วานนี้ เวลา 16.00 น .พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ… คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย เฝ้าสักการะ “สมเด็จพระสังฆราช อุทัย มณี มิ.ย. 22, 2023 วัน ที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๖ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ… “เจ้าคุณหรรษา” ตอบคำถาม “พระช่วยน้ำท่วม” เหมาะสมหรือไม่?? อุทัย มณี ก.ย. 19, 2024 วันที่ 19 กันยายน 2567 หลังจากมีการเสนอข่าวว่า การที่พระออกมาช่วยเหลือชาวบ้านน้ำท่วม… นักวิจัยพุทธศาสตร์’มจร’และนักวิทยาศาสตร์ม.แม่ฟ้าหลวงจับมือประเมินคลื่นไฟฟ้าสมอง อุทัย มณี ส.ค. 31, 2019 วันที่ 31 สิงหาคม 2562 พระปลัดสรวิชญ์ อภิปญฺโญ,ผศ.ดร. หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว… “ผู้ว่าคนดี” คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี พร้อมใจร่วมบำเพ็ญกุศล อุทิศส่วนกุศลแก่ “อดีตผู้ว่าปทุมธานี” อุทัย มณี มิ.ย. 27, 2023 วันที่ 27 มิ.ย.66 เวลา 15:00 น. คณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย… มจร ปลื้มรัฐบาลพม่าถวายสมณศักดิ์ “อัครมหาบัณฑิต” แด่สองผู้บริหาร อุทัย มณี ม.ค. 04, 2020 วันนี้มีรายงานว่ารัฐบาลและคณะสงฆ์พม่าได้ประกาศรายชื่อพระภิกษุและบุคคลผู้สมควรถวายสมณศักดิ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ… Related Articles From the same category คุยกับนักปรัชญา: เหตุใดข้อเสนอเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาศาสนา จึง ‘ร้าย’ มากกว่าดี เมื่อเราพูดถึงปัญหาสังคม เรามักจะพูดกันว่า ถ้าคนดีแล้วสังคมก็จะดีด้วย… “สมเด็จธงชัย ” อำนวยพร ปีใหม่ ๒๕๖๕ เนื่องในโอกาสปีใหม่ ๒๕๖๕ นี้ ขออำนวยพรให้ทุกท่านปราศจากทุกข์… พระพรหมเสนาบดี -คณะสงฆ์สมุทรสาคร ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กำลังใจผู้ประสบภัยเพลิงไหม้ “ชุมชนริมน้ำร้อยปีวัดหลักสี่ราษฎร์สโมสร บ้านแพ้ว” วันที่ 7 มีนาคม 67 หลังจากเมื่อเช้าตรู่วันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา … เรื่องเล่าชาว โคก หนอง นา แห่งเมืองร้อยเกาะ – ขุนเขาเสียบหมอก “กุ้ยหลินเมืองไทย” จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น… “กองทุนสื่อ”จับมือ กมธ.ศาสนาฯวุฒิสภา สมาคมแห่งสถาบันพระปกเกล้า ร่วมผลิตสื่อส่งเสริมคุณธรรม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์…
Leave a Reply