อธิการบดี “มจร” รู้หรือไม่?? หลังจากรู้ว่า คณะสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ “สตง.”เข้าไปสุ่มตรวจการจัดการงบประมาณแผ่นดิน และการบริหารทรัพย์สินในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พบว่า มีข้อพิรุธผิดสังเกตประมาณ 23 จุด ในฐานะศิษย์เก่า “ละอายใจ” ยิ่งนัก เพราะ “มจร” ในแง่หนึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตรับใช้พระพุทธศาสนาและสังคม แต่ในอีกภาพหนึ่งเป็น “สถานบันการศึกษาของคณะสงฆ์” และ ผู้บริหาร เป็น พระภิกษุ และ ผู้เคยผ่านการบวชเรียนกล่อมเกลาให้เป็น “คนดีของแผ่นดิน” แล้วทั้งสิ้น คนที่ผ่านการบวชเรียน ย่อมมีมโนจิตสำนึก ความโปร่งใส ยึดธรรมาภิบาล และ ความ “สุจริต” เป็นที่ตั้ง ย่อม “ต้องเหนือ” กว่าคนไม่เคยผ่านการบวชเรียน ซึ่งคุณลักษณะนี้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ได้ “ผู้เขียน” คิดหนักว่าจะเขียนดีหรือไม่ เพราะ หนึ่ง รับปากกับผู้บริหารระดับสูงที่นับถือท่านหนึ่งว่า..จะไม่ขอพูดถึงกรณี สตง.ตรวจพบข้อพิรุธทั้ง 23 เรื่องนี้ สอง ผู้บริหารส่วนใหญ่ทั้งเป็นพระภิกษุและฆราวาส ล้วนเป็นอาจารย์สอนผู้เขียนหรือไม่ก็รู้จักกันดีเว้น “อธิการบดีและรองอธิการบดี” บางท่านที่ไม่คุ้นเคย แต่สุดท้าย..ตัดสินใจเขียน เพราะเคยส่งสัญญาณเตือนหลายครั้งแล้วว่า มจร มีปัญหาการจัดการเรื่องเงินและทรัพย์สินและซ้ำปล่อยให้ “ผู้ก่อเหตุ” กลุ่มเดิม ๆ คนเดิม ๆ ซึ่งหากนับประชาคมชาว มจร ที่มีประมาณ 3,000 รูป/คน มีคนไม่กี่คนเท่านั้นที่มีพฤติกรรมส่อว่า “ไม่เป็นแบบอย่างที่ดี” ให้กับอนุชนรุ่นหลัง โดยที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง และหากปล่อยไว้ระยะยาว มจร จะเสียหาย โดยเฉพาะ “โรงพิมพ์ มจร” ที่ถือว่าเป็น “รัฐวิสาหกิจ” ของ มจร ครั้งหนึ่งเคยมีข่าวว่า “สรรพากร” ฟ้องศาลให้จ่ายภาษีรายได้ย้อนหลังมากกว่า 32 ล้าน จริงหรือไม่?? ล่าสุด สตง.ตรวจเจออีกว่า โรงพิมพ์ มจร มีการไปจ้างพิมพ์หน่วยงานนอก ซึ่ง สตง.ระบุว่าผิดระเบียบจ้างช่วง ตรวจพบแล้ว 34 ล้านบาท เรื่องนี้ทำให้รัฐและ มจร เสียหายและเสียรายได้ และตรวจเจอเพิ่มเติมอีกกว่าไม่เคยส่งผลประกอบการหรืองบดุลมาตั้งแต่ปี 63 แล้ว อันนี้ “อธิการบดี” รู้หรือไม่ สาเหตุที่ฟ้องเพราะมีข่าวว่า สรรพากร และ สตง.เขาไม่เชื่อว่าโรงพิมพ์ มจร เป็นของ มจร จริง?? ถามตรง ๆ ถึงอธิการบดี “พระธรรมวัชรบัณฑิต” พระคุณเจ้ารู้เรื่องนี้หรือไม่ ในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ หากเกิดความไม่ชอบมาพากลแล้วไม่สะสาง ถือว่าละเว้นตามมาตรา 157 ใช่หรือไม่?? ถามตรง ๆ ถึงอธิการบดี พระธรรมวัชรบัณฑิต บอร์ดบริหารโรงพิมพ์ ที่ตั้งไว้จะครบ 4 ปีแล้ว เคยรับรู้และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในโรงพิมพ์ มจร หรือ รายงานให้พระคุณเจ้าทราบบ้างหรือไม่ ถามตรง ๆ ถึงอธิการบดี พระธรรมวัชรบัณฑิต จริงหรือไม่ มีเสียงลือหึ่งว่า ผู้บริหารบางคนในโรงพิมพ์ “รับงานแล้วส่งต่อ” จนเป็นที่มา สตง.ระบุว่า จ้างช่วงไม่ชอบด้วยระเบียบการใช้เงิน โรงพิมพ์ มจร เป็นเพียงแค่ 1 จุดจาก 23 จุดที่ สตง.มาสุ่มตรวจแล้วเจอ “แจ็คพอต” ความจริงตรวจเจออีกว่า “กองทุนเงินหมุนเวียน” วิทยาเขตในภาคอีกสานแห่งหนึ่ง นำเงินหมุนเวียนในการตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ 10 ล้านไปให้คณะสงฆ์ยืม แต่มีสัญญายืมตั้งแต่ปี 2562-2564 โดยจะเริ่มใช้หนี้ปี 2565 เป็นต้นไปปีละ 1 ล้าน ถามอธิการบดีว่า ตรงนี้ทำได้หรือไม่?? จริงหรือไม่ มีบุคลากรบางคนยืมเงินแล้วลาออกไม่เงินคืนก็มี และจริงหรือไม่ มีการเปิดบัญชีโดยไม่ใช้ชื่อมหาวิทยาลัย หรือแม้กระทั้งการตรวจรับพัสดุและครุภัณฑ์ก็ไม่มีการจัดทำทะเบียนควบคุม สตง.เขาก็ตรวจเจอ!! ไหนบอกว่า “เจ้าหน้าที่พัสดุ” มจร เก่ง แม่นกฎระเบียบ ซื่อตรง แล้วปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้ “อธิการบดี” ต้องตั้งคณะกรรมการคนนอกเข้าไปสอบสวน ก่อนจะถึงมือ ปปท.หรือ ปปช. ความจริง !! อยากจะเขียนเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีด้วย ว่าสอดคล้องกับธรรมาภิบาลตามคำประกาศของ อว. หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ฉบับใหม่ หรือไม่ เพราะมีคนบอกว่า “ขัด” และเมื่อไปพลิกดู แนวปฎิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ของ อว.ที่ลงประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2564 และ ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัยว่าด้วยสรรหาอธิการบดีพ.ศ.2541คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีคนใหม่ “รำคาญ” ที่จะเขียนถึง แค่ “รองเจ้าอาวาส” เลือก “เจ้าอาวาส” โดยไม่มีลูกวัดหรือกรรมการวัดเข้ามามีส่วนร่วม สุดท้ายผลลัพธ์คงเหมือนเดิม เว้น..เจ้าอาวาสไม่อยากเป็นต่อ!! เพราะเบื่อ “ลูกวัด” ทะเลาะกัน เรื่องธรรมาภิบาล มจร ทั้งเรื่องจุดบกพร่องที่ สตง.และสรรพากร สุ่มตรวจเจอ และฟ้องเรียกร้องค่าเสียหาย หรือเรื่องการแต่งตั้ง “คณะกรรมการสรรหาอธิการบดี” ในฐานะมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ใหญ่อันดับหนึ่งของประเทศไทยที่มีเป้าหมายเป็น “มหาวิทยาลัยสงฆ์ระดับโลก” พวกเราในฐานะศิษย์เก่า มจร.ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จบจากสถาบันการศึกษาที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาเอาไว้ ภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เรามีแบบอย่างอาจารย์ที่ดี ไม่แสวงหาผลประโยชน์ใด ๆ จากสถาบันแห่งนี้ดังเช่น ดร.จำนงค์ ทองประเสริฐ มจร สอนพวกเราให้ “ยึดมั่นในความถูกต้อง” มจร สอนให้พวกเรา ซื่อสัตย์สุจริต และการกล้าพูดความจริง เพื่อเป็นแบบอย่างและแสงสว่างให้กับ “สังคม” ที่นับวัน “มืดบอด” ลงทุกวัน การติติงด้วย “กัลยาณมิตร” แบบลูกศิษย์กับอาจารย์ แบบ “พี่กับน้อง” ควรมีและเกิดขึ้นในสังคม “มหาจุฬา ฯ” เฉกเช่นเดียวกันนี้การเขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะแบบนี้ หากผิดพลาดประการใดศิษย์ยินดีน้อมล้างหูฟังและ กราบขออภัย หากทำให้ผู้บริหารบางคนไม่สบายใจ โดยเฉพาะอธิการบดีและหน่วยงานที่ระบุไว้ในบทความนี้ หากข้อมูลที่ได้รับ “ไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด” “ผู้เขียน” ทราบดีว่า หากไม่มีมหาจุฬา ฯ พวกเราหลายคนไม่มีที่ยืนในสังคมดังทุกวันนี้ ไม่ได้มีความคิด “อกตัญญู” ไม่สำนึกบุญคุณสถาบันหรืออาจารย์ที่อบรมเรามาใด ๆ ทั้งสิ้น มีเป้าหมายเดียวในการเขียนในครั้งนี้ก็คือ เพื่อปกป้องผลประโยชน์มหาจุฬา ฯ อันเป็นที่รักยิ่งของพวกเราทุกคน.. จำนวนผู้ชม : 597 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ปิดฉากวิสาขะเวียดนามยิ่งใหญ่ ปฏิญญาฮานามยก ‘เอไอ’ ตัวช่วยแผ่พุทธ พระพรหมบัณฑิตเล็งมอบ มจร พัฒนาช่วยงานคณะสงฆ์ อุทัย มณี พ.ค. 15, 2019 ปิดฉากเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก… ลูกผู้ชายตัวจริง “ชาดา” พร้อมชน “กลุ่มอิทธิพล” วัดบางคลาน หาก “พระร้องขอ” อุทัย มณี ก.ย. 23, 2023 วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 10.30 น. นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย… ในหลวงทรงทำ”โคกหนองนา” ในพื้นที่ “พระที่นั่งวิมานเมฆ – พระราชวังดุสิต” อุทัย มณี เม.ย. 07, 2021 "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ ทรงประคองเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์… “เจ้าคุณเสียดายแดด” นำเสนอ “พุทธอารยเกษตร” งานกิจกรรม Sustainability Expo 2023 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติฯ อุทัย มณี ต.ค. 08, 2023 วันที่ 8 ต.ค. 66 พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… พศ.ตั้งคณะทำงานของบกลางเป็นค่าตอบแทนให้เจ้าหน้าที่การศึกษาพระปริยัติธรรม อุทัย มณี ธ.ค. 15, 2022 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ตามที่คณะอนุกรรมาธิการกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนา… ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดีย? อุทัย มณี ก.พ. 10, 2019 กลายเป็นอีกหนึ่งกระแสข่าว เมื่ออินเดียขอคณะสงฆ์ไทยช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในรัฐมหาราษฎร์… “Biggle big band”เนเธอร์แลนด์จัดคอนเสิร์ตหาทุนเป็นเงินเดือนครูโรงเรียนศรีแสงธรรม อุทัย มณี ก.พ. 05, 2020 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 เพจพระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม… พระชี้แนะเรื่องกล้วยๆไม่กล้วย หากชีวิตหวังพึ่งพาแต่คนอื่น อุทัย มณี ก.พ. 17, 2021 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… 2 บัณฑิตศิษย์เก่าโรงเรียนเสียดายแดด กราบ “พระปัญญาวชิรโมลี” หลังรับปริญญา อุทัย มณี ธ.ค. 17, 2022 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2565 เฟซบุ๊ก "พระปัญญาวชิรโมลี นพพร" เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม… Related Articles From the same category เปิดใจพระภิกษุเหยื่อไฟใต้ ในขณะที่ ทหาร-ประชาชนรอบค่ายปิเหล็ง ร่วมทำบุญ 2 ศาสนาในวาระ 19 ปีปล้นปืน วันพุธที่ 4 ม.ค.66 "สำนักข่าวอิศรา" ได้รายงานว่า ที่กองพันทหารราบที่… เปิดระเบียบใหม่ถอดด้าม โครงการ “วัด ประชารัฐ สร้างสุข” วานนี้ “ผู้เขียน” ได้มีโอกาสไปร่วมงานสัมมนาการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด… “ชาดา” หารือ สส.สตูล-ศอ.บต. ถกนำร่องผลักดันศูนย์อิสลามจังหวัดสตูล เพิ่มพื้นที่ประกอบศาสนกิจ วันนี้ 8 พฤศจิกายน 2566 ที่กระทรวงมหาดไทย นายชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย… บวชทิพย์! “เจ้าคุณว.”มองร.ร.ไทยไม่ชอบเด็กถาม ส่งผลย้ายไปอยู่ประเทศที่มีที่ยืนในสังคม มูลนิธิโพธิปัญญาร่วมกับมูลนิธิพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ… เปิดใจครั้งแรก คุยการเมือง การศาสนา : ดร. เสถียร วิพรมหา ⇒ ใครเป็นคนชวนให้เข้าสู่ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี …
Leave a Reply