สีจีวรที่ดีที่สุดคือ “สีพุทธนิยม” ไม่ใช่สีพระราชนิยม อำมาตย์นิยม นายกนิยม วัดนิยม ฯล วันที่ 7 ก.ค. 65 เพชบุ๊คชื่อ Wattana Paññādīpo ซึ่งเป็นเฟชบุ๊คของ พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป,ป.ธ. ๙,ดร. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีพุทธโฆส ได้โพสต์เรื่องเรื่อง “สีจีวร” กำลังเป็นกระแสข่าวอยู่ในทุกวันนี้ความว่า ทุกวันนี้ ไม่รู้ว่าเป็นปัญหาอะไรนักหนา กับสีจีวรที่เป็นพุทธนิยม (พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้) ถ้าถามพระเถระมหาเถระทั้งหลาย ถึงสีพุทธนิยม เชื่อว่าไม่มีใครตอบได้ว่ามีสีอะไรบ้าง สีเหล่านั้นได้มาจากกรรมวิธีใด จากการนำดอกไม้ใบไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ มาสะกัดย้อมจีวร.. จึงเกิดความคิดเพียงแค่จะเอาใจพระราชา ลืมสิ้นพุทธบัญญัติ ที่มีมานับสองพันปี เรื่องนี้เป็นข่าวมาหลายครั้ง ถูกพระป่าต่อต้าน และเริ่มออกมาพูดถึง บังคับ ขอร้อง ให้ใช้สีเดียวกัน เพื่อเป็นเอกภาพ สวยงาม… นี่คือการทำลายคำสอน บทบัญญัติวินัย ทางศาสนา อย่างหนึ่ง ไม่ศึกษาให้เข้าใจ ไม่สนใจพุทธบัญญัติแต่ไปให้ความสำคัญกับ คำของผู้มีอำนาจ ยกย่องให้ความสำคัญอยู่เหนือคำสอนพระศาสดา พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป ถ้าจะพูดเรื่องนี้ ควรศึกษาให้รอบด้าน ถึงพุทธบัญญัติ ที่ทรงบัญญัติไว้ ให้พระภิกษุ อยู่อย่างสันโดษ แสวงหาปัจจัยตามที่จะได้ เป็นพื้นฐานของศีลสิกขา เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม จีวร ควรรู้ ๒ เรื่อง นี้ก่อน ๑. วัตถุที่นำมาใช้ทำผ้าจีวร ๖ ชนิด ๒. สีจีวรที่ทรงอนุญาต ข้ออนุญาต ผ้าที่ได้จาก ๖ ชนิดดังพระพุทธดำรัสให้พระอุปัชฌาย์สอนผู้ที่เพิ่งอุปสมบทเสร็จ ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของเพศนักบวชว่า ...ปํสุกูลจีวรํ นิสฺสาย ปพฺพชฺชา ตตฺถ เต ยาวชีวํ อุสฺสาโห กรณีโย ฯ อติเรกลาโภ โขมํ กปฺปาสิกํ โกเสยฺยํ กมฺพลํ สาณํ ภงฺคํ ฯ การบรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะ(ขวนขวาย)ในการหาผ้าบังสุกุล)นั้นจนตลอดชีวิต. อติเรกลาภ(สิ่งที่อนุญาตเพิ่มเติม) คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าปนกัน. จากข้อความนี้ มีลำดับความสำคัญของพระพุทธานุญาต สองระดับ ระดับแรก ให้แสวงหาผ้าบังสุกลมาทำเป็นจีวร ซึ่งการได้ผ้าบังสุกลที่เขาทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ ย่อมไม่สามารถกำหนดได้ว่า เป็นผ้าชนิดใด การได้ผ้ามาตามวิธีนี้ นับว่าเป็นช่องทางหลักของการเป็นนักบวช ส่วน ระดับที่สอง อดิเรกลาภ ถ้าไม่หาผ้าบังสุกุล ตามวิธีกำหนดดังกล่าว ก็สามารถ ทำจากเปลือกไม้ ทำจากฝ้าย ทำจากไหม ทำจากขนสัตว์ ทำจากป่าน หรือ เจือกันทุกอย่าง จากสองวิธีการดังกล่าวนี้ เป็นวิถีของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ที่มุ่งให้ดำรงชีพให้ง่ายที่สุด เรื่องอนุญาตให้ใช้คหบดีจีวร(รับผ้าที่โยมนำมาถวาย) พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใด ปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่เราสรรเสริญการยินดี ด้วยปัจจัยตามมีตามได้. (วินัยปิฎกมหาวรรค ๕/๑๓๕) เรื่องทรงอนุญาต ผ้า ๖ ชนิด พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวร ๖ ชนิด คือ ๑. โขมะ (ผ้าเปลือกไม้) ๒. กัปปาสิกะ (ผ้าฝ้าย) ๓. โกเสยยะ (ผ้าไหม) ๔. กัมพล (ผ้าขนสัตว์) ๕. สาณะ (ผ้าป่าน) ๖. ภังคะ (ผ้าที่ทำด้วยของผสมกัน)” (วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๓๓๙/๒๐๐ ฉบับมจร.) สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่ยินดีคหบดีจีวรนั้นพากันรังเกียจ ไม่ยินดีผ้าบังสุกุลด้วยคิดว่าพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตจีวรอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ใช่ ๒ อย่าง จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ยินดีคหบดีจีวรยินดีผ้าบังสุกุลได้ แต่เราสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรทั้งสองนั้น.(วินัยปิฎกมหาวรรค ๕/๑๓๙) ๒) สีจีวร พุทธนิยม ก่อนจะรู้ว่าจีวร มีสีอะไรบ้างที่ทรงอนุญาต ต้องเข้าใจเหตุผลของการให้เกิดสี ในยุคสมัยพุทธกาล กำหนดเรื่องการย้อม ได้มาจากวัตถุธรรมชาติ จากสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดสี จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมสีจีวรพระต่างกัน เพราะสิ่งที่นำมาย้อมต่างกัน และกรรมวิธีต่างกัน ขอให้อ่านไปตามลำดับจะได้ทราบเหตุผล พระพุทธเจ้า ทรงกำหนด วัตถุที่นำมาย้อม ไว้ดังนี้ สมัยนั้น พวกภิกษุใช้โคมัยบ้าง ดินแดงบ้าง ย้อมจีวร จีวรมีสีคล้ำ ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม ๖ ชนิด คือ๑) น้ำย้อมจากรากไม้๒) น้ำย้อมจากต้นไม้๓) น้ำย้อมจากเปลือกไม้๔) น้ำย้อมจากใบไม้ ๕) น้ำย้อมจากดอกไม้ และ ๖) น้ำย้อมจากผลไม้”(วิ.มหา.๕/๓๔๔/๒๐๙ ฉบับมจร.) สมัยต่อมาภิกษุทั้งหลายย้อมจีวรด้วยน้ำย้อมที่เย็น จีวรมีกลิ่นสาบ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตหม้อย้อมขนาดเล็กเพื่อต้มน้ำย้อม. น้ำย้อมล้นหม้อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกตะกร้อกันล้น สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าน้ำย้อมต้มสุกแล้ว หรือยังไม่สุก จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หยดหยาดน้ำลงในน้ำ หรือหลังเล็บ. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายยกหม้อน้ำย้อมลง ทำหม้อกลิ้งไป หม้อแตก ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตกระบวยตักน้ำย้อมอันเป็นภาชนะมีด้าม. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายไม่มีภาชนะสำหรับย้อม จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอ่างสำหรับย้อม หม้อสำหรับย้อม สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายขยำจีวรในถาดบ้าง ในบาตรบ้าง จีวรขาดปริ ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตรางสำหรับย้อม. สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายตากจีวรบนพื้นดิน จีวรเปื้อนฝุ่น ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเครื่องรองทำด้วยหญ้า. เครื่องรองทำด้วยหญ้าถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตราวจีวร สายระเดียง. ภิกษุทั้งหลายตากจีวรตอนกลาง น้ำย้อมหยดออกทั้งสองชาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผูกมุมจีวรไว้. มุมจีวรชำรุด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตด้ายผูกมุมจีวร. น้ำย้อมหยดออกชายเดียว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ย้อมจีวรพลิกกลับไปกลับมา แต่เมื่อหยาดน้ำยังหยดไม่ขาดสาย อย่าหลีกไป. สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้าเนื้อแข็ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จุ่มลงในน้ำ.สมัยต่อมา จีวรเป็นผ้ากระด้าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทุบด้วยฝ่ามือ. สีจีวรที่ห้ามใช้ มาถึงข้อบัญญัติสีจีวรที่ห้าม ขอยกพระไตรปิฎกบาลี เตน โข ปน สมเยน ฉพฺพคฺคิยา ภิกฺขู สพฺพนีลกานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพปีตกานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพโลหิตกานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพมญฺเชฏฺฐกานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพกณฺหานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพมหารงฺครตฺตานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ สพฺพมหานามรตฺตานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ อจฺฉินฺนทสานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ ทีฆทสานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ ปุปฺผทสานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ ผณทสานิ จีวรานิ ธาเรนฺติ กญฺจุกํ ธาเรนฺติ ติรีฏกํ ธาเรนฺติ เวฐนํ ธาเรนฺติ ฯ มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ ขียนฺติ วิปาเจนฺติ เสยฺยถาปิ คิหี กามโภคิโนติ ฯ คำแปลสมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ห่มจีวรสีเขียวล้วน…ห่มจีวรสีเหลืองล้วน …ห่มจีวรสีแดงล้วน …ห่มจีวรสีบานเย็นล้วน …ห่มจีวร สีดำล้วน …ห่มจีวรสีแสดล้วน …ห่มจีวรสีชมพูล้วน …ห่มจีวรที่ไม่ตัดชาย …ห่มจีวรมีชายยาว …ห่มจีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ …ห่มจีวรมีชายเป็นแผ่น …สวมเสื้อ … สวมหมวก … โพกศีรษะ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระ ศากยบุตรจึงใช้ผ้าโพกศีรษะเหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” (วินัยปิฎก มหาวรรค ๕/๓๗๒/๒๔๘ ฉบับ มจร.) จะเห็นได้ว่า พุทธบัญญัติ ทรงห้ามสีจีวรเหล่านี้ ล้วนเป็นสีสด ส่วนข้ออนุญาตเรื่องสี ไม่มีกำหนดว่าเป็นสีใด หมายความว่า สีที่อนุญาต ต้องไม่ใช่สีที่ทรงห้ามเหล่านี้และเป็นสีที่เกิดจากการนำ สิ่งที่อนุญาตให้ใช้เป็นเครื่องย้อม ๖ อย่าง ๑) น้ำย้อมจากรากไม้ ๒) น้ำย้อมจากต้นไม้ ๓) น้ำย้อมจากเปลือกไม้ ๔) น้ำย้อมจากใบไม้ ๕) น้ำย้อมจากดอกไม้ และ ๖) น้ำย้อมจากผลไม้” นี้มา ย้อมผ้า ดังนั้น สีจีวรที่เกิดขึ้น จึงมีความแตกต่างกัน แต่ต้องไม่ย้อมออกมาแล้ว เป็นสีที่ห้ามใช้ ดังนั้นการจะไปกำหนด ให้ใช้สีใดสีหนึ่ง จึงนับเป็นเรื่องที่ ไปเปลี่ยนแปลงข้อพุทธบัญญัติให้ผิดเพี้ยนไป เราชาวพุทธ ควรที่จะยึดถือวินัย พุทธบัญญัติมิใช่หรือ ถ้าหากยุคหนึ่ง ผู้มีอำนาจชอบสีนี้ บังคับให้พระต้องใช้สีนั้น และต่อมา ผู้มีอำนาจทางบ้านเมือง อยากให้พระใช้สีที่ตนชอบ ก็คงจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามใจผู้มีอำนาจ แล้วเราจะรักษาพระศาสนาไว้ได้อย่างไร ? จำนวนผู้ชม : 904 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author กอ.รมน.ปทุมธานีนำผู้นำชุมชนร่วมทำบุญเนื่องในวันสถาปนาไทยอาสาป้องกันชาติ อุทัย มณี มี.ค. 03, 2019 เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 3 มีนาคม 2562 ที่วัดบางเดื่อ ตำบลบางเดื่อ… “อธิบดี พช.-ผบ.นทพ.”ประสานชื่นชม“โคก หนอง นา” ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้ออุบลฯ อุทัย มณี พ.ค. 27, 2021 “อธิบดี พช.-ผบ.นทพ.”ประสานเสียงชื่นชม “โคก หนอง นา ศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์… โปรดเกล้า ฯ ตั้งสมณศักดิ์คณะสงฆ์ “อนัมนิกาย” จำนวน 9 รูป อุทัย มณี มิ.ย. 21, 2024 วันที่ 21 มิ.ย. 67 ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ… ผจก.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถวายความรู้เครือข่ายพระสงฆ์เฝ้าระวังสื่อชวนเชื่อทางศาสนา อุทัย มณี ก.ค. 31, 2020 วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 นายธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์… โปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่ อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2021 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมความว่า… เหลียวหลังแลหน้า “มหาจุฬาฯ” จาก “มหาวิทยาลัยเถื่อน” สู่ “มหาวิทยาลัยระดับโลก” อุทัย มณี ธ.ค. 05, 2021 บทความนี้เขียนเอาไว้ เนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีอายุครบ… คณะสงฆ์จังหวัดน่านร่วมกับกองทัพบกพาคนน่านกลับบ้าน อุทัย มณี ก.ค. 31, 2021 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 พระเมธีธรรมาจารย์ (เจ้าคุณประสาร)… กระทรวงมหาดไทย เผย เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้แล้ว 33,627 ราย สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ 21,978 ราย มูลหนี้ลดลง 899 ล้านบาท กำชับ ทุกจังหวัดเร่งรัดดำเนินการไกล่เกลี่ยให้ครบทุกกรณี อุทัย มณี มี.ค. 15, 2024 วันที่ 15 มี.ค. 67 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… “นายกสภา มมร” แต่งตั้งพระเทพวัชรเมธีเป็น “รองศาสตราจารย์” เป็นพระสงฆ์รูปแรกไม่ต้องใช้ตำราและงานวิจัยอ้างอิง อุทัย มณี ก.ค. 26, 2024 วันที่ 26 กรกฏาคม 2567 สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระสังฆราชส กลมหาสังฆปริณายก… Related Articles From the same category ‘ทักษิณ’แนะวิธีคิดแบบ’บิล เกตส์’ ยกคำพุทธทาสอกุศลมูลบังตาทำให้โง่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จัดรายการ… “พระมหาไพรวัลย์ – พระมหาสมปอง” รอด!! เจ้าอาวาสและเจ้าคณะปกครองฟันธง “มีประโยชน์มากกว่าเสีย” วันที่ 6 กันยายน 64 พระราชปัญญาสุธี (อุทัย ญาโณทโย) ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสร้อยทอง… ปลัด มท. เป็นประธานถอนเสาไฟฟ้าแรงสูงต้นสุดท้าย ปรับปรุงเป็นเคเบิลใต้ดินบริเวณสี่แยกวัดคูหาสวรรค์ จ.พิษณุโลก วันที่ 1 ก.พ. 67 เวลา 09.00 น. ที่บริเวณแยกวัดคูหาสวรรค์ ตำบลในเมือง… มติ มส.แต่งตั้งพระสังฆาธิการหลายตำแหน่ง โดยมี พระพรหมดิลก -พระพรหมสิทธิ ร่วมประชุม วันอังคารที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร… พช.จับมือ อีสท์ เวสท์ ซีด รับมอบ “ฟ้าทะลายโจร” สู้โรคโควิด-19 เตรียมแจกจ่ายทั่วประเทศ วันที่ 26 กันยายน 2564 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน…
Leave a Reply