“ดร.มหานิยม” สายตรงพระธรรมทูตไทยในเยอรมนี พบลำบากจากวิกฤติ”โควิด-สงครามรัสเซียยูเครน” หวังดันตั้งธนาคารพุทธช่วย

วันที่ 19 ก.ย. 2565 เวลา 11.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่วัด Rheinland เมือง Deutchland ประเทศเยอรมนี ดร.ณพลเดชมณีลังกา เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย และอนุกรรมาธิการพิจารณาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆ สภาผู้แทนราษฎร เดินทางจากสนามบินแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ได้เข้าพบกับพระมหาวิวัติ ฌาเนสโก ป.ธ.9 เจ้าอาวาสวัดไทย เพื่อหารือรับฟังปัญหาอุปสรรคการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในพื้นที่ประเทศเยอรมนี รวมทั้งสหภาพยุโรป

พร้อมกันนี้ ดร.ณพลเดช ได้ประสานกับ ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย รองประธานคณะกรรมาธิการดำเนินการพิจารณางบประมาณเพื่อการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา ซึ่งดร.นิยม ได้ต่อโทรศัพท์สายตรงเพื่อรับฟังปัญหาพระสงฆ์ในภูมิภาคยุโรป โดยได้ระบุว่า จากที่ได้รับฟังปัญหา ขณะนี้อุปสรรคหลังจากที่โควิด19 ที่ผ่านมาพระสงฆ์ไทยในยุโรป ก็อยู่กันยากลำบากมากขึ้น ด้วยญาติโยมต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจพร้อมกันทำให้การทำบุญลดน้อยลงเรียกได้ว่าหลังชนฝากันเลยทีเดียว แต่ซ้ำร้ายที่ประเทศไทยเราไม่รู้เลยคือ “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” สร้างวิกฤติการณ์น้ำมัน ก๊าซ อาหาร

“ต้องยอมรับว่าแพงขึ้นเป็นเงาตามด้วย เพราะยุโรปนำเข้าวัตถุดิบจากรัสเซียเป็นอันมากโดยเฉพาะวัตถุดิบกลุ่มพลังงาน ทำให้เศรษฐกิจฝืดเคือง อย่างไรก็ตามหลายวัดในยุโรป ที่ได้จัดซื้อวัดยังเป็นหนี้เป็นสินกันอยู่มาก เนื่องจากราคาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1-5 ล้านยูโร พูดง่ายๆว่าราคาถูกสุดที่ซื้อเพื่อสร้างวัดต้องเตรียมเงินขั้นต่ำถึง 40 ล้านบาทเพื่อเผยแผ่ศาสนาและสร้างศีลธรรมให้คนไทยในต่างแดน

แน่นอนวัดก็ต้องรวมตัวกันซื้อวัดลงขันกันบ้างรวมทอดผ้าป่ากฐินบ้าง กว่าจะได้วัดสักแห่งเลือดตาแทบกระเด็น แต่รัฐบาลบ้านเราไม่รู้เลย บางครั้งโชคดีก็มีเศรษฐีที่มีทีมฟุตบอลที่นี่ร่วมทำบุญวัดละ 1 แสนปอนด์ สำหรับวัดใดที่จะซื้อ น่าเสียดายเศรษฐีคนนั้นเสียชีวิตไปแล้วด้วยเหตุการณ์เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตก อย่างไรก็ตามพระต้องเสียดอกเบี้ยให้กับธนาคารในต่างประเทศในระดับ 5-7 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า ถ้ากู้เงิน 5 ล้านยูโร หากคิดดอกเบี้ยที่ 5% จะต้องเสียดอกถึง 250,000 ยูโร/ปี หรือ ดอกปีละ 9 ล้านบาทต่อวัด ที่ต้องเสียให้ธนาคารต่างชาติ

อย่างไรก็ดีหากคิดในทางกลับกันหากเรามีธนาคารพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยจะสามารถลดดอกเบี้ยลง 1-2$ เม็ดเงินเหล่านี้ก็จะกลับมาสู่เมืองไทย ได้ผลดีทั้งการเผยแผ่ศาสนา เงินทองก็ไม่ต้องไหลออก”

ด้าน ดร.ณพลเดช กล่าวเพิ่มเติมเรื่องอุปสรรคปัญหาเรื่องพาสปอร์ต ที่พระภิกษุจะได้เพียง 5 ปี เป็นอุปสรรคในการเดินทาง ในประเด็นนี้ตนเคยสอบถามไปในชั้นกรรมาธิการ ซึ่งได้คำตอบว่าพระภิกษุควรกลับมารายงานผล อย่างไรก็ตามการเป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่ศาสนา ในประเทศอื่นๆ ก็ให้วีซ่า 10 ปีซึ่งตนขออาสาไปหารือกับพระผู้ใหญ่อีกครั้งเพื่อผลักดันให้พาสปอร์ต สามารถขยายอายุได้เป็น 10 ปีเหมือนดังประชาชนทั่วไปต่างได้สิทธินี้

Leave a Reply