รายงานพิเศษ : ทิศทางการพัฒนา “มจร” ในภาวะ “วิกฤติ” สังคม-โลก !! การจัดมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาอันดับโลกเมื่อปีพุทธศักราช 2564 ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพุทธศาสนาของประเทศญี่ปุ่นชื่อ “Ryukoku (ริวโกกุ)” ครองอันดับหนึ่ง ส่วนมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาของประเทศไทยอย่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือ “มจร” ครองอันดับ 2 มหาวิทยาลัย Ryukoku เป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนา ที่มีวิสัยทัศน์และกำหนดพันธกิจไว้ยอดเยี่ยม ในการตอบสนองจิตวิญญาณการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ซึ่งปรากฏอยู่ในเว็ปไซต์ของมหาวิทยาลัยว่า “จิตวิญญาณแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัย Ryukoku คือจิตวิญญาณของพุทธศาสนาในดินแดนบริสุทธิ์ (Jodo Shinshu) หลักธรรมสองประการในหลักจิตห้าประการที่หล่อเลี้ยงการพัฒนามนุษย์ตามจิตวิญญาณนี้คือ จิตแห่ง “ความเสมอภาคที่เคารพต่อสิ่งมีชีวิตทั้งปวง” และ “จิตแห่งสันติภาพ” ที่มุ่งสู่การสนทนาและการอยู่ร่วมกันกับทุกคนเรานำเสนอ SDGs (เป้าหมายการพัฒนาที่ยั้งยืน) ทางพุทธศาสนาภายใต้แผนระยะยาวของเรา (แผนยุทธศาสตร์ริวโกกุ400) โดยมองไปข้างหน้าถึงวันครบรอบ 400 ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยของเราในปี 2582 และได้ทุ่มเทความพยายามเพื่อให้แน่ใจว่า..ไม่มีใครถูกทอดทิ้ง..” ในขณะที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือ “มจร” ซึ่งปัจจุบันเรามีวิทยาลัยสงฆ์ทั่วประเทศครอบคลุม 45 จังหวัด มีสถาบันสมทบอีก 5 ประเทศ มีนิสิตนานาชาติมาศึกษามากถึง 1,300 ท่าน จาก 28 ประเทศ อันนี้ยังไม่นับรวมกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อาทิ ไทใหญ่ มอญ กะเหรี่ยง ปะโอ เป็นต้น อีกจำนวนหนึ่ง เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมากถึง 227 หลักสูตร มีวิทยาลัยพระธรรมทูตและวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติด้วยได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่าเป็น “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” พร้อมทั้งได้กำหนดพันธกิจต่อว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ โดยคํานึงถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา โดยกระบวนการผลิตบัณฑิตจะบูรณาการร่วมกับพันธกิจด้านการวิจัยและพัฒนาด้านการบริการวิชาการและด้านทะนุบํารุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อผลิตบัณฑิตให้มีสติปัญญาและคุณธรรมตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย สติปัญญาและคุณธรรม หมายถึง ความรอบรู้วิชาการด้านพระพุทธศาสนา และสามารถนําไป ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมตามหลักอริยวัฑฒิ ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาและมีผลลัพธ์การ เรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา” และเนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะมีงานประสาทปริญญา ระหว่างวันที่ 8-11ธันวาคม 2565 นี้ ทีมงาน “Thebuddh” ได้ติดต่อขอสัมภาษณ์ พระราชวัชรสารบัณฑิต “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา เพื่อให้ทราบถึงทิศการก้าวต่อไปของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในขณะที่เรากำลังไปถึง “เจ้าคุณประสาร” กำลังนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ร่วมกิจกรรมจิตอาสา Big Cleaning เพื่อเตรียมความพร้อมในงานประสาทปริญญาประจำปีที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 8 -11 ธันวาคมนี้ “เจ้าคุณประสาร” หลังจากโบกลาการเข้าไปยุ่งกับ “การเมือง” หันมาทุ่มเทกับการศึกษาดูแล้วชีวิตมีความสุขมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันปีนี้ท่านต้องประสบกับ “การเปลี่ยนแปลงของชีวิต” ครั้งสำคัญ เนื่องจากโยม “บิดา-มารดา” ของท่านได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับมาด้วยโรคชรา แต่ในขณะเดียวกันก็มีเรื่องน่า “ยินดี” เข้ามาเช่นกันคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าคุณประสารที่ “พระราชวัชรสารบัณฑิต” “เจ้าคุณประสาร” ต้อนรับทีมงานด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเป็นกันเองตามสไตล์ “พระมวลชน” คือ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมาก ชวนเราเข้าไปคุยในห้องทำงานของท่าน ซึ่งภายในห้องมีแต่พระพุทธรูปและรูปพระเถระที่ท่านเคารพนับถือย่างเช่น “สมเด็จเกี่ยว” หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ เป็นต้น ท่านเปรยคำแรกที่นั่งคุยว่า ตอนนี้ “มจร” เรากำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่าน มีการนำ “พระหนุ่ม” พระนักวิชาการที่เก่ง ๆ ขึ้นมาเสริมทีมบริหารงาน มจร หลายรูป มันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งงานรับปริญญาปีนี้ทุกท่านทุ่มเทเต็มที่ ในขณะเดียวกัน “อาตมา” ในฐานะอยู่ตรงนี้มาก่อน ก็ช่วยประคับประคอง อำนวยความสะดวกในการทำงานของท่านเหล่านั้นเสมือนเป็น “พี่เลี้ยง” ให้ ทั้งหมดทั้งมวลก็เพื่อให้ มจร ขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ตามที่หลายฝ่ายฝากหวังเอาไว้ “ตอนนี้ มจร กำลังจะจัดทำแผนระยะยาว 10-15 ปี คือ เรามีแผนระยะสั้น 1 ปี ระยะกลาง 5 ปี แล้ว แต่แผนระยะยาวยังไม่มี คาดว่าต้นปีหน้า จะเริ่มรับฟังจากทุกภาคส่วน มจร ในฐานะมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รัฐบาลท่านมีแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เราก็ต้องมีแผนสอดคล้องกับนโยบายรัฐ สำหรับแผนระยะ 5 ปี คือ ตั้งแต่ปี 2566 -2570 เรามีเป้าหมาย พัฒนาไปสู่ “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ สร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” ซึ่ง พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีได้ให้คำจำกัดความของ “พุทธนวัตกรรม” มี 5 ประการคือ พัฒนากาย วาจา ใจ พัฒนาชุมชน พัฒนาอาชีพ ซึ่ง มจร จะตอบโจทย์ตรงนี้ และตรงนี้ก็สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGsของสหประชาชาติที่มี 17 เป้าหมาย มจร นำมา 3 ข้อ คือการศึกษาที่เท่าเทียม การลดความเหลื่อมล้ำ และการสร้างสังคมสงบสุข ไม่แตกแยก ซึ่งในทางปฏิบัติ เราทำอย่างไรจึงตระหนักรู้ว่าการเดินไปข้างหน้า จะต้องเดินตามข้อตกลง เป็นไปในหลักการและประเมินจากความรู้ความสามารถที่ทำมา ฉะนั้นต่อไปนี้แผนจะต้องเป็นตัวกกำหนดการก้าวย่างในทุกส่วนของมหาวิทยาลัย เป็นกรอบให้ปฏิบัติตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนที่วางกรอบเอาไว้ ในแผน 13 เป็นแผนที่รับฟังและกลั่นกรองมาจากประชาคมชาว มจร อย่างแท้จริง ประชาคมมีส่วนในการยกร่างและทำประชาพิจารณ์ก่อนเข้าสภามหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนี้ถือว่าเป็นแผนแม่บท ที่ทางวิทยาเขต ก็กำลังทำแผนพัฒนาของเขาเองให้สอดคล้องกับส่วนกลาง วิสัยทัศน์ไม่จำเป็นต้องเหมือนเราแต่ต้องสอดคล้องกันเพื่อส่งเสริม สนับสนุนกับแผนทางมหาวิทยาลัย..” “เจ้าคุณประสาร” กล่าวเพิ่มเติมอีกกว่า ตอนนี้ มจร ก็กำลังเจอวิกฤติอยู่ 2 อย่าง คือ วิกฤติด้านผู้เรียนคือจำนวนนิสิตที่ลดลง กำลังประสบปัญหาเรื่องศาสนทายาท และวิกฤติทางด้านคุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตออกไปสู่สังคม ประสบปัญหาเรื่องการแข่งขันกันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ หน่วยงานที่ของบประมาณจะได้น้อยลงทำให้ต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น “ในเรื่องของการสร้างเครือข่ายหรือการเชื่อมโยงกับนานาชาติอธิการบดีปัจจุบันท่านมีนโยบายให้สืบสานต่อยอดจากพระพรหมบัณฑิต ทั้งวิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ (IBSC) วิทยาลัยพระธรรมทูต การจัดงานวิสาขบูชาโลก จะเห็นได้ว่าไม่ขยับไปที่ไหนเนื่องจากอยากจะต่อยอดของพระพรหมบัณฑิต และมีนโยบายต่อว่าในระดับปริญญาตรีจะต้องเน้นนานาชาติให้มากยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่าในยุคนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการบริหารและคณบดี ไม่ใช่ว่าของเดิมไม่ดี แต่เมื่ออยู่นานเข้าก็ต้องเปลี่ยนคนรุ่นใหม่เข้ามาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้รุ่นน้องเติบโตในเส้นทางที่ควรจะเป็นในขณะที่คนเก่า รุ่นพี่ก็คอยเป็นพี่เลี้ยงต่อไป…” ทางด้าน ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. บรรจบ บรรณรุจิ ราชบัณฑิต ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพระพุทธศาสนาได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับบทบาทการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่า บทบาทของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในปัจจุบัน เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มุ่งสนองนโยบายของรัฐ ซึ่งงานก็เป็นแบบงานประจำ เพราะฉะนั้นอยากให้ มจร ปรับทิศทางกันใหม่ อย่างน้อย 3 เรื่อง คือ หนึ่ง ด้านความรู้ มจร เน้นทางด้านพุทธศาสนา ที่มีทั้งใช้ได้และพอใช้ได้ ซึ่งความรู้พื้นฐานอยู่ที่พระไตรปิฎก ตรงนี้ มจร ต้องผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพคือแสดงความเป็นเลิศได้ สอง ด้านความคิด ที่ต้องมีทั้งในกรอบและนอกกรอบ เรื่องนอกกรอบความรู้พื้นฐานมันต้องมาจากในกรอบ คือจากพระธรรมวินัย สรุปง่าย ๆ คือ ณ วันนี้บ้านเมืองของเรามีปัญหาเยอะ ทั้งในด้านศีลธรรม และเรื่องต่าง ๆ ที่ ส่งผลกระทบไปถึงผู้คนในเรื่องการทำมาหากินและการดำเนินชีวิต มองดูแล้วเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรมทั้งนั้นเลยในบ้าน มีผลให้ทำในสิ่งผิดกฎหมาย และส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตทุกด้าน มจร ไม่เคยเสนอแนวคิดที่จะสะท้อนปัญหาไปถึงสังคม มจร ไม่เคยแสดงบทบาทที่ชัดเจน เช่น ความสับสนในธรรมวินัย ที่เกิดขึ้นหลายอย่างในสังคม ต้องรอคำชี้แนะ ต้องการความรู้ความถูกต้อง แต่ว่า มจร ที่เป็นองค์กรหลักไม่เคยสนใจปัญหานี้ และไม่เคยให้ความกระจ่างในสังคม จะไปบอกว่าเพราะอยู่ในกำกับของรัฐ ทำให้ไม่มีอิสระ ทำให้ไม่มีเสรีภาพทางความคิด อันนี้ไม่ใช่ เรื่องแบบนี้มันอยู่ที่ความรู้ ความรับผิดชอบและความกล้ามากกว่า มหาวิทยาลัยของรัฐในแง่ของกฎหมาย เขาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่าอะไรถูก ผิด ข้อสำคัญคือให้ไปถึงผู้ที่รับผิดชอบ และประการที่ สาม คืออยากเห็น มจร ของเราผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนาให้มาก ซึ่งตรงนี้ทำอยู่แล้ว แต่ยังไม่ดีพอ ต้องเน้นสิ่งที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกให้มาก มีความรู้ไม่พอ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกันด้วยกัน ต้องตระหนักเรื่องนี้ให้มาก โลกมันเปลี่ยน ปัจจุบันสังคมไทยและโลก เปลี่ยนไปมากมาย ไม่เหมือนยุคเมื่อ 20 -30 ปีที่แล้ว โลกประสบกับภาวะวิกฤติหลายด้าน ทั้งเรื่องความยากจน ความขัดแย้ง ความเหลือมล้ำ ตรงนี้ “มจร” และพระสงฆ์เราต้องเข้ามามีบทบาท และรวมถึงการผลิตบัณฑิตต้องให้มีความกล้าที่จะเสนอความคิดเห็นต่อสังคม มจร ต้องมีเวที ต้องฝึกเรื่องพวกนี้ แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่พูดมาฐานเราต้องแข็งคือ ความรู้ด้านพระพุทธศาสนา ตรงนี้เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยต้องทำ “ทีมงาน” ได้ติดต่อ พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจนิสิต เพื่อติดต่อขอสัมภาษณ์พระนิสิต ซึ่งท่านได้อนุเคราะห์ด้วยดี เราได้พบกับ “สามเณรก้องเกียรติ แซ่ลิ้ม” ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่คณะสังคมศาสตร์ ปี 2 สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เล่าว่า จบ ม.6 มาจากจังหวัดสกลนคร แล้วจึงมาศึกษาต่อที่นี้ ตอนจบก็สอบติดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่อยากบวช เพราะไม่อยากวุ่นวายอะไรมาก จึงค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตว่า พระบวชแล้วเรียนอะไรบ้าง ค้นเจอ มจร คือสถาบันระดับอุดมศึกษาของคณะสงฆ์ มีความเชื่อมั่นว่า มจร คือมหาวิทยาลัยที่ตอบโจทย์ทางการศึกษา ซึ่งได้จากข้อมูลที่ค้นคว้าในอินเทอเน็ต จึงได้ตัดสินใจมาเรียนที่นี่ ตอนที่มาเรียนใหม่ ๆ ได้เปิดความคิดและมุมมองใหม่ ๆ เมื่อก่อนคิดว่าพระสงฆ์ได้เรียนแต่บาลี เรียนแต่นักธรรม แต่เมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมนี้ทำให้สะท้อนว่า พระพุทธศาสนาก็มีการจัดการศึกษาที่มีความล้ำสมัยเหมือนกัน สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไปประกอบอาชีพได้ “มจร เรา มีปรัชญาที่ว่า จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบนการบูรณาการสมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม ในฐานะที่เรียนวิชามนุษย์และสังคม เป็นวิชาข้อสอบกลางและอาตมาได้คะแนนสูงสุด อยากเห็นการพัฒนา มจร การศึกษามีส่วนสำคัญ และบุคลากร ต้องพัฒนาให้มีคุณภาพ ศักยภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ควรมีการเพิ่มทักษะการสอบให้มีการเข้ากับยุคสมัยมากกว่านี้ จริงอยู่ว่าพระเราอาจมีการท่องจำกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปมีการบันทึกจดเรียบเรียงขึ้นมา เราต้องคิดว่า มหาวิทยาลัยของเราเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ เราต้องจัดการ การศึกษาด้านพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ฉะนั้นแล้วรัฐประศาสนศาสตร์ก็ควรจะเป็นแบบเชิงพุทธ เพื่อให้ผู้เรียน หลังจากสำเร็จการศึกษาไปแล้วอาจจะออกไปครองเพศฆราวาสก็สามารถนำหลักของพระพุทธศาสนาที่เราได้ศึกษาไปต่อยอดและทำงานในองค์กรได้ นอกจากนั้นด้านการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ทั่วถึงมากกว่านี้ ให้บุคคลภากนอกมาศึกษาให้ทั่วถึง ทุกวันนี้ถ้าไปถามในวงการสงฆ์ก็จะรู้จักเรา แต่ว่าข้างนอกเขาไม่รู้ว่า มหาวิทยาลัยสงฆ์เปิดสอน มีฆราวาสมาเรียนได้ด้วย เราควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้รับทราบกัน ในฐานะอาตมาเข้ามาศึกษาแล้ว บอกได้เลยว่าการเรียบเรียงตำราการสอนดีมาก มจร เรามีอาจารย์ที่ครบเครื่องเรื่ององค์ความรู้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้บุคคลภายนอกเข้ามามีการศึกษากับเรา ไม่ใช่เน้นแต่พระสงฆ์อย่างเดียว ยังมีคนไม่รู้อีกมาก อาจจะต้องมีการแนะแนวตามโรงเรียนให้เชิญชวนมาเรียน เราต้องเปิดโอกาสทางการศึกษา ต้องอาศัยพุทธบริษัท 4 ในการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนา” ทางด้าน พระมหาอโณทัย สุเมโธ พระนิสิตปริญญาเอก คณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับขับเคลื่อน มจร ว่า เข้ามาศึกษาที่ มจร ตั้งแต่ปี 2559 มองว่าพัฒนาการของ มจร ขึ้นอยู่กับ อธิการบดี อยู่ที่ “คาแรคเตอร์” แต่ละรูป เพราะผู้บริหารแต่ละท่านก็จะมีแนวทางการทำงานที่แตกต่างกัน อย่างเมื่อปี 2559 อธิการบดีรูปก่อน “พระพรหมบัณฑิต” ท่านก็จะนำประชาคม มจร เข้าไปสู่สายตานานาชาติ เห็นได้จากงานวิสาขบูชาโลก ท่านจะมีสายสัมพันธ์กับต่างชาติมาก ส่วน “พระธรรมวัชรบัณฑิต” อธิการบดีปัจจุบัน จะเน้นทางด้าน วิปัสสนา ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่สีเขียว สร้างจิตอาสา ตอนนี้ก็เริ่มมีการขับเคลื่อนเรื่องวิทยาลัยพระธรรมทูต เมื่อถามต่อว่าอยากเห็นทิศทางการพัฒนา มจร เป็นอย่างไรบ้าง ท่านตอบว่า “หนึ่ง เชิญชวนคณะสงฆ์ให้มาเรียนเยอะ ๆ ควบคู่ไปกับการเปิดขยายสาขาที่ต่างประเทศ ให้คู่ขนานกันไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ สอง อยากให้พัฒนาหลักสูตรที่สามารถนำไปช่วยชาวบ้านได้ ช่วยพัฒนาสังคมได้ ถึงจะเป็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็ตาม แต่ก็ประยุกต์ให้ชาวบ้านใช้ได้ อย่างหลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็เป็นหลักธรรมะ คือทุกคนต้องมีความพอเพียง สันโดษ เรามีตู้พระไตรปิฎกเต็มไปหมดเลย แต่ชาวบ้านศึกษาอย่างเข้าใจ และสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขที่แท้จริง หาได้น้อย แม้แต่พระนิสิตที่ไปปฏิบัติศาสนกิจต้องไปปฏิบัติอย่างจริงจัง และ สาม อยากเห็น มจร มีภาคีเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยด้านนอกบ้าง เช่น มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มมร) และองค์กรการศึกษาของต่างประเทศให้มากกว่านี้ เพราะ มจร เราเป็นองค์กรที่มีขนาดใหญ่ เป็นองค์กรเบอร์หนึ่งของประเทศไทยด้านพระพุทธศาสนา เราสามารถก้าวไปสู่เวทีโลกได้ เมื่อได้ไปต่างประเทศก็เท่ากับเป็นการประชาสัมพันธ์ไปในตัวด้วย เราไม่ต้องสร้างแบรนด์อะไรเลย ทำให้เหมือนกันมหายาน เขาทำ MOU ทั่วไปหมดเลย..” มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีวิทยาลัยสงฆ์ครอบคลุมเกือบทุกจังหวัด เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ชาวพุทธไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้นที่ต้องการมาเรียน แม้แต่นานาชาติก็ต้องการมาแสวงหาความรู้จากมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้ ปัญหาท้าทายอย่างยิ่งใหญ่สำหรับคณะสงฆ์ไทยและคณะผู้บริหารก็คือว่า ทำให้อย่างไรมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงเป็นที่พึ่งให้กับสังคม ประเทศชาติและมนุษยชาติได้ในภาวะที่โลกกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเกือบทุกด้าน.. จำนวนผู้ชม : 502 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ในหลวงโปรดเกล้า ฯ ตั้งสมณศักดิ์ “พระราชวชิราภินันท์” อุทัย มณี ก.ย. 05, 2022 วันที่ 5 กันยายน 2565 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ… “ผอ.สันติศึกษา มจร” เล็งตั้งธนาคาร “เมล็ดพันธุ์-ที่ดินทำกิน” สู้ภัยโควิด อุทัย มณี ม.ค. 10, 2021 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… ชาวมหาดไทย จับมือภาคีเครือข่าย ร่วมใจเฉลิมพระเกียรติ ฯ ปลูกป่าสน 100,000 กล้า ฟื้นคืนป่าต้นน้ำ สนองพระราชดำริ “คนอยู่กับป่า” สู่ความยั่งยืน อุทัย มณี ก.ค. 31, 2023 วันที่ 31 ก.ค. 66 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปางนำ”ปลูกผักสวนครัว เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” อุทัย มณี พ.ค. 21, 2020 เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2563 พระครูอนุศาสก์วรธรรม เจ้าคณะอำเภอเมืองลำปาง… สมเด็จพระสังฆราชตั้งพระพรหมบัณฑิต กก.สภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ”มจร” อุทัย มณี ก.พ. 22, 2021 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์… จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดพิธีมอบเงิน “ขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน” อุทัย มณี ส.ค. 30, 2021 วันที่ 30 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี… ‘วิชา มหาคุณ’ : ‘หมู่บ้านช่อสะอาด’กับโจทย์ท้าทาย‘กรุงเทพฯ’ ความเป็นชุมชนล่มสลาย อุทัย มณี ก.ค. 06, 2019 "ศ.พิเศษ วิชา" เผยทิศทางดำเนินงานมูลนิธิฯ จัดตั้ง "หมู่บ้านช่อสะอาด"… สาส์น “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” เนื่องในวันเด็กปี’ 67 อุทัย มณี ม.ค. 08, 2024 วันที่ 8 มกราคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก วัดญาณเวศกวัน ได้เผยแพร่ สาส์นจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์… “พรรคเสมอภาค” หนุนเครือข่ายชาวพุทธร่วมป้องกันการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาทุกรูปแบบ อุทัย มณี ส.ค. 18, 2022 วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2565 นางรฎาวัญ(ลดาวัลลิ์) วงศ์ศรีวงศ์… Related Articles From the same category พัฒนาการชุมชนร้อยเอ็ดจัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคีปลูกสมุนไพรต้านภัย covid-19″เฉลิมพระเกียรติ “สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง” วันพุธที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 น. นายสุทัศน์ ชัยเทพ นายอำเภอเชียงขวัญ… โปรดเกล้า ฯ “องคมนตรี” เป็นผู้แทนพระองค์ในพระราชพิธีจารึกหิรัญบัฏรองสมเด็จจำนวน 5 รูป วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 วานนี้ ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม… “ผอ.สันติศึกษา มจร” เล็งตั้งธนาคาร “เมล็ดพันธุ์-ที่ดินทำกิน” สู้ภัยโควิด เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2564 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา… โรงทานตามพระดำริ”สมเด็จพระสังฆราช”สู้ภัยโควิด-19 วันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2563 ตามสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช… ว่อนเน็ต!! คำสั่งปลด!!!ไวยาวัจกรวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร วันที่ 4 ก.พ. 67 พระธรรมวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม…
Leave a Reply