เรื่องเล่าจากชายแดนใต้ “ดาหลาบารู สู่ความพอเพียง” ความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ ที่มีผลกระทบมาจากปัญหาความขัดแย้ง และการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง ทั้งรัฐบาลและท้องถิ่น ผนวกหน่วยงานภาครัฐกว่า 50 หน่วยงานลงไปแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ทุ่มเทงบประมาณลงไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน 4 แสนกว่าล้านบาท โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญมากที่สุดคือ ความยากจน การว่างงาน และการส่งเสริมอาชีพ การสร้างชุมชนและสังคมพึ่งตนเอง โดยมุ่งส่งเสริมสนับสนุนการรวมตัวกันของกลุ่มอาชีพ หรือวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมผู้ที่สามารถทำอาชีพได้แล้ว ให้ประสบความสำเร็จอย่างมั่นคง เพื่อเป็นแรงจูงใจ ดึงดูดคนอื่นให้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเอง และขยายสมาชิกกลุ่มต่อ ๆ ไป เป็นกลุ่มชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการขยายสมาชิกที่มี อุดมการณ์เดียวกันออกไปเป็นเครือข่าย เหมือนการแตกกอของ “ต้นดาหลา” อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ที่กระทรวงมหาดไทยได้คัดสรรจากอำเภอทั่วประเทศใน 4 ภูมิภาค 10 จังหวัด ซึ่งปัจจุบันกำลังจะพัฒนาไปสู่นายอำเภอทั้ง 878 อำเภอ เพื่อเป็น “ผู้นำ” เปรียบเสมือน “นายกรัฐมนตรีในพื้นที่” ในการส่งเสริมความร่วมมือภาคประชาชนให้ทำงานร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย ภายใต้โครงการ “อำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งประเด็นนี้ “อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์” อธิบดีกรมการปกครอง ในฐานะหน่วยปฏิบัติกล่าวว่า “ความปรารถนาอย่างแรงกล้าของกรมการพัฒนาชุมชน คือการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติ โดยยึดแนวทาง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ส่งเสริมให้ทุกชุมชนอยู่อย่างพอเพียง ครอบครัวอบอุ่น เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป..” อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่ถูกผนวกเข้าอยู่ในขอบข่ายเป็นอำเภอมีความรุนแรงในพื้นที่ แบ่งการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 67 หมู่บ้าน มีประชากรทั้งสิ้น 78,929 จำนวนครัวเรือน 22,714 ครัวเรือน คนนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 60 ศาสนาพุทธร้อยละ 40 กลายเป็น “สังคมพหุวัฒนธรรม” และประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง นาข้าว และผลไม้ รวมทั้งการประมง “ทีมข่าวพิเศษ” ก่อนลงพื้นที่ได้ประสานกับ “กรมการพัฒนาชุมชน” เพื่อขออนุเคราะห์ประสานพัฒนาการจังหวัดสงขลาและศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนยะลา เหตุผลที่ต้องขอความอนุเคราะห์เนื่องจากพื้นที่เป้าหมายที่จะไปตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พิเศษ เหมือนเมื่อครั้งก่อนหน้านี้ “ทีมข่าวพิเศษ” ลงไปยังอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นพื้นที่ “สีแดงเข้ม” ขอความอนุเคราะห์จาก “สุทธิพงษ์ จุลเจริญ” ปลัดกระทรวงมหาดไทย ช่วยแจ้งให้พัฒนาการจังหวัดยะลาอำนวยความสะดวกทีมงานด้วย ซึ่งทั้งสองครั้งคนของ “กรมการพัฒนาชุมชน” ในฐานะ “แม่งาน” ขับเคลื่อนงานมวลชนของกระทรวงมหาดไทย “ดูแล” ดีเยี่ยมทุกครั้ง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ชูสโลแกนอำเภอนำร่องว่า “โครงการดาหลาบารูสู่ความพอเพียง” ซึ่งในที่สุดได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทย ให้เป็นอำเภอนำร่องระดับ “ยอดเยี่ยม” แปลว่า “นายอำเภอ” และทีมงาน รวมทั้งภาคีเครือข่ายที่ร่วมกัน ผลักดันสร้างอำเภอให้อำเภอ “อยู่เย็น เป็นสุข” มีชุมชนหมู่บ้าน “สุขแบบยั่งยืน” ท่ามกลาง “สังคมพหุวัฒนธรรม” ท่ามกลางสถานการณ์ “ไม่ปกติ” แปลว่า “ไม่ธรรมดา” ทีมงานถาม “น้องอันวา” คนของกรมการพัฒนาชุมชนที่ “พัฒนาการจังหวัดสงขลา” ส่งมาให้ติดตามอำนวความสะดวก ซึ่งเป็น “คนมุสลิม” ว่า “ดาหลาบารู” คืออะไร น้องอันวา เล่าว่า “ดาหลา” คือ ดอกไม้ชนิดหนึ่งมีทั้งสีชมพูและสีขาว เป็นดอกไม้ประจำถิ่น ส่วนคำว่า “บารู” แปลว่า “ใหม่” สรุปความแล้วคำว่า “ดาหลาบารู” ก็คือ “กล้าคิด กล้าทำ กล้านำ กล้าเปลี่ยน” ตรงกับนโยบาย Change for good ของปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่นเอง “สิทธิชัย เทพภูษา” นายอำเภอเทพา จังหวัดยะลา ตอนที่ทีมงานไปพบเพิ่งกลับมาจากภารกิจที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนจังหวัดยโสธร บุคลิกภาพเป็นคนพูดคล่อง อารมณ์ดี ฉะฉานและเป็นกันเอง เมื่อทีมงานถามว่า รู้สึกอย่างไรบ้างได้รับคัดเลือกให้เป็นอำเภอนำร่อง “ระดับยอดเยี่ยม” นายอำเภอบอกว่าวันแรกที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยเข้ามา ได้ให้นิยามว่า “Change for good” คนในแผ่นดินไทย ต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อันนี้ดับแรกมันจะ Change for good ได้ “ผู้นำต้องทำก่อน” ผู้นำต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการทำงานเพื่อประชาชนก่อน โดยเฉพาะคนของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ยุคนี้ไม่ใช่ว่านายอำเภอสั่งได้ แต่ให้ไปพูดคุยร่วมกัน ครั้งแรกนี้นำภาคีเครือข่ายเข้าไปอบรม จุดสำคัญคือ นายอำเภอต้องเลือกภาคีเอง ก่อนเลือกก็ต้องกับภาคส่วนในอำเภอทั้ง พช. เกษตรอำเภอ ว่าด้านไหนจะเอาใคร ต้องหาคนที่ทำงานจริงและมีใจ มีความภาคภูมิใจที่ได้รับเป็นอำเภอนำร่องยอดเยี่ยม มันไม่ใช่รางวัลของตัวบุคคล แต่เป็นของคนทั้งอำเภอ ท่านปลัดกระทรวงมหาดไทย นำไปพูดให้คนอื่นได้รับรู้ เราก็ดีใจ “โครงการดาหลาบารู” นิยามของโครงการดาหลาบารู คือ ดอกดาหลา เป็นดอกไม้ทางใต้ มีสีแดงและเกาะเกี่ยวกันเหนี่ยวแน่น แสดงถึงความสามัคคี มันแตกหน่อและมีใบสีเขียวโอบอุ้ม และแข็งแรง ในพื้นที่แล้งหรือน้ำท่วม เปรียบเสมือน 7 ภาคีเครือข่ายจับมือกัน เกิดความสมัครสมานสามัคคีในการทำงาน เราใช้สัญลักษณ์นี้เป็น “ทีมงาน” ขับเคลื่อน ที่เราคิดร่วมกัน 4 กิจกรรม คือ หนึ่ง พัฒนาเครือข่ายดาหลาบารูสู่ความพอเพียง สอง ก้าวพ้นจนแจ๊ก ๆ สาม อุดรูรั่วด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ สี่ ร่วมกันประเมินผล “มวลความสุขของคนเทพา ผมในฐานะในอำเภอลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านเลย จัดให้มีการจิบน้ำชาทุกวันศุกร์ นายอำเภอต้องทำตัวให้ชาวบ้านเข้าถึง ผมจะมีวิชา “เขียนจากหัวใจให้นายอำเภอ” โดยผมจะไปคนเดียว ไม่ให้ข้าราชการตามไปด้วย ไปในหมู่บ้านนั่งล้อมวงคุยกัน แบบนี้จะทำให้รู้ถึงปัญหา ผมจะให้เขาเขียนอะไรก็ได้ให้นายอำเภอ โดยไม่ต้องลงชื่อ) สำหรับภาคีเครือข่ายตรงนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ไปอบรมมา 10 คนแล้วจบที่ 10 คน มันต้องกระจายเหมือนระบบลูกโซ่ ระบบเครือข่ายเราต้องเอาความรู้ที่เรียนมาจัดหาคนในหมู่บ้านละ 10 คน ที่จะมาทำงานให้เรา เราจะคัดเลือก เอามาอบรมที่วิทยาลัยชุมชน 2 วัน 1 คืน เจตนาคือต้องให้เข้าใจจุดประสงค์ของโครงการ และ ตั้งเป้าหมายร่วมกัน คนพวกนี้ต้องลงพื้นที่เข้าไปคุยกับชาวบ้าน ว่ามีปัญหาอะไร และต้องการอะไร หลังจากนั้นก็นำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และมาคุยกับทีมอำเภอ หัวใจสำคัญที่สุดของนายอำเภอคือ นายอำเภอต้องปรับทัศนคติ ให้สามารถเข้าถึงประชาชน ให้ชาวบ้านอยากเข้าหาเรา นายอำเภอต้องสร้างเอกลักษณ์ ต้องกำหนดคติพจน์ ของเราก็จะเป็น “เทพาไม่เทใคร” ต้องยึดกันเป็นทีม ต้องมีเสื้อทีม เพื่อให้รู้สึกได้ว่าเราคือทีมเดียวกัน สำหรับอำเภอเทพาหลังจากนี้เราจะทำโครงการ “หมู่บ้านยั่งยืน” และยังมีโครงการ “นวัตกรเยาวชน” คือโครงการลูกนายอำเภอ จะนำคนในหมู่บ้านละ 2 คนมาอบรมสร้างจิตสำนึกก่อน และให้เข้าไปในหมู่บ้านเพื่อคิดงาน และคนกลุ่มนี้จะต้องไปต่อในโครงการ “ดาหลาบารู” อาจจะเป็นพัฒนากรอำเภอ เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นนายอำเภอ สร้างทายาท..” เมื่อเราถามว่าเนื่องจากอำเภอเทพาเป็น “สังคมพหุวัฒนธรรม” นายอำเภอมีกิจกรรมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างไร นายอำเภอเทพา ผู้อารมณ์ดี ตอบว่า “การสร้างความรู้รักสามัคคีให้เกิดขึ้นใน อำเภอเทพา มันเป็นการใช้ชีวิตร่วมกันของคนทั้ง 2 ศาสนา ต้องมีเวทีกินน้ำชาที่โรงเรียนเอกชน โดยมีทั้ง 2 ศาสนา จะพบปะกันเดือนละ1 ครั้ง วันศุกร์ก็จะไปเยี่ยมมัสยิด ผมได้นำครูผู้สอนของโรงเรียนเอกชนมาฝึกอบรมเพื่อให้รู้วิธีการดูแลเด็กอย่างไร เพราะกลุ่มพวกนี้ไม่ได้ผ่านการอบรมของหลักสูตรมา เราก็มีงบประมาณในส่วนนี้ มีการแข่งขันกีฬา เพื่อสร้างกำลังใจให้เด็ก สร้างความสามัคคี ตอนเย็นก็มีเวทีไปไหนก็กินข้าวข้างทาง อาทิตย์ละ 1 – 2 ครั้ง นอกจากนี้ ไปส่วนตัวไปพบแกนนำชุมชนก็บ่อยครั้ง..” การพูดคุยกับนายอำเภอเทพา เป็นไปด้วยความสนุกสนานเนื่องจากเป็นคนคุยสนุก จริงใจ ก่อนจากกัน “ทีมงาน” ยังแซวท่านว่า หลังจากไปเป็น “ปลัดจังหวัด” แล้ว โครงการเหล่านี้นายอำเภอคนใหม่จะรับช่วงต่อไปอีกหรือไม่ ซึ่งท่านบอกว่า “ปลัดกระทรวง” จำหน้าท่านไม่ได้หรอก ช่วยถ่ายรูปส่งไปให้ปลัดกระทรวงดูหน่อย “ทีมงาน” จัดให้ตามคำขอ!! “อำเภอเทพา” ฤดูกาลนี้ส่วนใหญ่แม้จะเป็นฤดูแล้ง แต่เมื่อมองไปสองข้างทางดู “ร่มรื่น” เย็นตาสบายใจ ตอนที่ “เจ้าหน้าที่พัฒนาการอำเภอ” รวมทั้งปลัดอำเภออีก 2 ท่านพาลงพื้นที่พร้อมกับ “รถกันกระสุน” ทีมงานก็เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติและวิถีชีวิตที่สวยงาม สลับกับพูดคุยกับ “น้องอันวา” ที่รับอาสาเป็นพนักงานขับรถร่วมเดินทางไปพบกับ “เครือข่าย” ทีมดาหลาบารูสู่ความพอเพียง “ไพซอน หนิเร่”ผอ.โรงเรียนกระอาน ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งเป็นผู้หนึ่งใน “ทีมงาน” นายอำเภอในการแก้จนและสร้างสันติสุขในพื้นที่พาทีมงานชมแปลงโคก หนอง นา ที่กลายเป็น “ครัวชุมชน” หรือ “สวนสาธารณะ”ของหมู่บ้าน การทำกิจกรรมและการพุดคุยถือว่าเป็นหัวใจของชุมชนโดยเฉพาะแปลงโคก หนอง นา แปลงนี้ มันคือ วิถีชีวิตหล่อหลอมความเป็นไทยพุทธและมุสลิมทำกิจกรรมร่วมกัน มาจิบน้ำชา กินกาแฟด้วยกัน มีปัญหาอะไรมาพูดคุยกันตรงนี้ ปัญหามันก็จะคลี่คลาย ไม่ตกเป็นเหยื่อของขบวนการใด ๆ หรือ แม้กระทั้ง “สันติ ล่ากูด” ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา ก็เล่าว่า เรื่องกิจกรรมเป็นเรื่องสำคัญ หมู่บ้านนี้แม้จะมีคนมุสลิมประมาณ 95 % ชาวพุทธ 5 % แต่เราให้เกียรติซึ่งกันและกันเหมือนกับปู่ย่าตายายเราเคยทำ อย่างเช่นตนเองในฐานะผู้ใหญ่จะนิมนต์พระภิกษุมาร่วมให้ศีลให้พร ประกอบศาสนกิจให้กับลูกบ้านที่เป็นชาวพุทธเดือนละ 1 ครั้งในศาลาประชาคมหมู่บ้าน เวลาชาวพุทธมีงาน จะมีแม่ครัวคนมุสลิมไปช่วย หรือ งานมุสลิมก็มีคนพุทธมาร่วมด้วยช่วยกัน อย่างงาน “อาซูรอ” ก็จะเชิญคนพุทธมาร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ทุกอย่างมันต้องพูดคุยและผ่านกิจกรรม ความรู้รักสามัคคีมันจึงเกิดขึ้น.. ส่วน “สำรวม สังข์ไข่” อดีตข้าราชการครูวัยเกษียณปัจจุบันอายุ 68 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา กับกรมการพัฒนาชุมชน ขนาด 3 ไร่ บอกว่าตนเองมีลูก 2 คน จบหมดแล้ว ตอนเป็นครูก็สอนวิชาเกษตร วิชาสังคม เพราะพื้นฐานครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่แล้วหลังจากเกษียณอายุราชการแล้วจึงสมัครเข้าร่วมโครงการ โคก หนอง นา “ทำมาแล้ว 1 ปีครึ่ง โดยการชักชวนของพัฒนากรอำเภอ พื้นที่จำนวน 3 ไร่ ขุดบ่อได้ 2 บ่อ หลังจากขุดบ่อเสร็จแล้ว ทาง พช. ได้เข้ามาแนะนำให้ความรู้เรื่องแนวทางการปลูกต้นไม้ ตอนนี้ผลผลิตหลักๆที่มี กล้วยต่างๆ กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง และปลาเกือบทุกชนิด ปัจจุบันมีภาคีเครือข่ายมี 33 ครัวเรือน จะเจอกันทุก 15 วัน มาร่วมกัน “เอามื้อสามัคคี” โดยมี พช. เป็นแกนนำ ซึ่งรู้สึกภูมิใจมาก ทำแล้วสบายใจ ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะได้กินของปลอดสารพิษ มีเพื่อนช่วยให้ไม่เหงา ทั้งผมยังเป็นปราชญ์ชุมชนด้วย แปลงของผมเป็นศูนย์ให้เรียนรู้ให้คนมาดูงานแล้วประมาณ 300 กว่าคณะ เป็นภาคีเครือข่ายของนายอำเภอ ผมสมัครใจเข้าร่วม โดยถือว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่นบ้านเรา ปัญหาภาคใต้ไม่ว่าจะการแก้จนหรือปัญหาสังคม ต้องใช้แนวทางการพัฒนาของในหลวงรัชกาลที่ 9 เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา แล้วจะทำได้ทุกอย่าง เราปลูกต้นไม้เราต้องเข้าใจต้นไม้ จะให้เข้าใจคนก็ต้องพูดคุยและเอาใจเขาไม่ใส่ไว้ในหัวใจเรา การพัฒนามันจึงจะยั่งยืน” “ครูสำรวม” จัดอาหารกลางวันแบบพื้นบ้านให้ “ทีมข่าวพิเศษ” รับประทานอาหารกลางวันที่นี่ โดยมีคณะของ “พัฒนการจังหวัดสงขลา” มาร่วมด้วย ขณะที่ “พัฒนากรอำเภอ” มากระซิบว่า กินพอเป็นพิธีอย่าให้อิ่ม เพราะ “นายอำเภอเทพา” ได้จัดอาหารไว้ที่ร้านอาหารอีกแห่งหนึ่ง หลังจากรับประทานอาหารเรียบร้อยทั้ง 2 แห่ง คณะเราเดินทางไปพูดคุยกับ “กลุ่มสตรีทอผ้า” ซึ่งถือว่าเป็น “ไฮไลท์” ของอำเภอเทพาแห่งหนึ่งที่เป็น “กลุ่มสตรีทอผ้าบ้านล่องมุด” ที่ลุกขึ้นมาสร้างอาชีพโดยการพึ่งพาตนเอง โดยใช้วิธีธรรมชาติไม่ว่าจะเป็น ฝ้าย การย้อม สี และลวดลาย ล้วนหยิบจากธรรมชาติ ตอนที่ไปถึงเจอ “ป้าเที่ยง จิตมณี” พร้อมกับกลุ่มสตรีกำลังย้อมผ้าและร่วมกันทอผ้ากันอยู่ ซึ่ง “ป้าเที่ยง” บอกว่า ทำอาชีพนี้มาประมาณ 6 ปี เมื่อก่อนกรีดยางแต่พออายุมากขึ้นแล้วก็ทำไมไหว จึงต้องหาอาชีพเสริมจึงหันมาทอผ้า ภูมิปัญญานี้ได้มาจากบ้านเกิดที่จังหวัดปัตตานี สมัยก่อนพ่อแม่ทำนา ได้วิชาทอผ้ามาด้วยวิธีครูพักลักจำ แรกเริ่มทำกัน 3 คน ซื้อกี่ทอผ้ามาตัวนึง ออกทุนเอง ทำเองจนปัจจุบันนี้มีสมาชิกทั้งหมด 17 คน เป็นคนไทยพุทธทั้งหมดเลย ซึ่งที่ดินตรงนี้ได้รับการบริจาคจาก “ลุงกระจ่าง แก้วทอง” ให้สร้างเป็นโรงทอผ้ามาตั้งแต่ปี 2561 ในขณะที่ “สุนิตย์ แก้วทอง” สมาชิกลุ่มสตรีอีกท่านหนึ่งกล่าวเสริมว่า “ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุน ทั้งทางอำเภอ วิทยาลัยชุมชน พัฒนาชุมชน เทศบาล อบต. ตอนนี้ก็ทำผ้าแบบครบวงจร มีการปลูกฝ้ายเสริม เกษตรให้พันธุ์ฝ้ายมา ย้อมสีธรรมชาติที่ได้มาจากหมาก ยางพารา เปลือกลูกเนียง เปลือกมังคุด แกนยอ ทำมาจากสีธรรมชาติทั้งหมด และการทอผ้า รับทำตามออเดอร์ ซึ่งผ้าที่เป็นผลผลิตกลุ่มเราทำนี้ ภูมิใจมาก เนื่องจากได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ด้วย ซึ่งพระองค์ทรงตรัสให้คำแนะนำหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องใช้สีธรรมชาติและลายผ้า ตอนนี้กำลังหาทุนซื้อที่ดินเพิ่มอีก 1 ไร่ เพราะโรงทอตรงนี้คับแคบแออัด..” อำเภอนำร่อง “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ถือว่าเป็นผลงาน “ชิ้นโบว์แดง” ของกระทรวงมหาดไทยที่ดึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้ามาพัฒนาชุมชนหมู่บ้านผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เท่าที่คุยกับนายอำเภอและประชาชนในเขตพื้นที่ “สีแดงเข้ม” ทุกคนพูดตรงกันว่า “ภาวะผู้นำ” และ ความ “จริงใจ” ของนายอำเภอ ถือว่าเป็น “หัวใจสำคัญ” และนายอำเภอยุคใหม่ต้องเข้าไปนั่งอยู่ใน “หัวใจ” ชาวบ้านให้ได้ อย่านั่งทำงานอยู่แต่ในห้องที่ว่าการอำเภออย่างเดียว ต้องหมั่นขยันลงพื้นที่สร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้าน ทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้าน ไปนั่งคุย กินชากาแฟ ใช้ชีวิตติดดินแล้ว แล้วความไว้วางใจ ความเป็นกัลยาณมิตร ความรู้รักสามัคคี สันติสุขในชุมชนหมู่บ้าน ก็จะเกิดขึ้นมาเอง!!.. จำนวนผู้ชม : 295 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author พระใช้ดินสอเหล็ก เขียน(จาน)คัมภีร์ใบลาน สืบทอดภาษาล้านนา หนึ่งเดียวในพะเยา (มีคลิป) อุทัย มณี ม.ค. 16, 2019 วันที่ 15 มกราคม 2562 ผู้สื่อข่าวได้ติดตาม พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดพระธาตุโพธิ์งาม… สมัชชาสงฆ์ไทยในสิงคโปร์ ถวายปัจจัยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ สมทบทุนช่วยผู้ประสบอุทกภัย อุทัย มณี ก.ย. 18, 2019 วันที่ 18 ก.ย.2562 พระเทพสิทธิวิเทศ ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์… ‘บิ๊กตู่’ชวนสวดมนต์ข้ามปีนานาชาติ สักการะพระพุทธรูปสำคัญจาก13ปท. อุทัย มณี ธ.ค. 21, 2018 เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ… วัดวังไทรจัดงานทำบุญทอดกฐินสามัคคีปี 2564 เชิญร่วมบริจาคสร้างมณฑบสมเด็จองค์ปฐม อุทัย มณี ต.ค. 19, 2021 วัดมหาชัยวนาราม (วัดวังไทร) ต.วังไทร อ.ปากช่อง เตรียมจัดงานทำบุญทอดกฐินสามัคคี… กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 50 วัน พระราชทานศพ “เจ้าคุณเสน่ห์” อุทัย มณี พ.ค. 10, 2021 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล… ส่อง!! มจร ยุคเปลี่ยนผ่าน?? อุทัย มณี ม.ค. 12, 2019 เจ้าคุณ พระพรหมบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย… ป.ป.ช.ประกาศยึดทรัพย์ 56 ล้าน ‘อดีตบิ๊กสำนักพุทธฯ’พัวพันคดีเงินทอนวัดรวยผิดปกติ อุทัย มณี ม.ค. 11, 2023 วันที่ 11 ม.ค. 66 นายนิวัติไชย เกษมมงคล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ… หลวงปู่ทองวัดพระธาตุศรีจอมทองนำเจริญสติภาวนา งาน 132 ปีแห่งการสถาปนา ‘ม.สงฆ์ มจร’ อุทัย มณี ก.ย. 09, 2019 วันที่ 9 ก.ย.2562 พระเมธีธรรมาจารย์(เจ้าคุณประสาร) รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… ปลัด มท. เตรียมแนวทางการสนับสนุนการจัดการเลือก สว. ให้กับผู้ว่าฯ – นายอำเภอ ทั่วประเทศ ย้ำ ข้าราชการทุกระดับร่วมกันอำนวยความสะดวกจัดการเลือก สว. ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ และร่วมกับ กกต. จัดกิจกรรม Kick Off “20 กลุ่มอาชีพร่วมใจ ขับเคลื่อนประเทศไทยไปพร้อมกัน” อุทัย มณี พ.ค. 13, 2024 วันนี้ (13 พ.ค. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมในการสนับสนุนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา… Related Articles From the same category “มจร” จัดให้ดังคำขอ!! มอบทุนการศึกษาแก่ “คณะสงฆ์ภูฏาน” จำนวน 3 ทุน รวม 1.1 ล้านบาท วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๑๙ น. H.E. Mr.Kinzang Dorji, Ambassador Extraordinary… ชาวมอญร่วมใจยกเสาหงษ์หน้า “พระธาตุอินทร์แขวนจำลอง” ณ จังหวัดภูเก็ต วันที่ 23 ม.ค.65 กลุ่มพัฒนาศาสนาชาวมอญ ในจังหวัดภูเก็ตจัดพิธียกเสาหงส์… คาถาถวายพระพรชัยมงคลจาก “พระมหาเอื้อน” เนื่องในวันแม่แห่งชาติ วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๙… คณะสงฆ์จังหวัดอุบลฯร่วม พศ.อบรมพระนักเผยแผ่ ด้าน รอง จจ.อุบล ยกคุณสมบัติที่ดีของนักเผยแผ่ “อย่ายกตนข่มท่าน” วันนี้ 30 กันยายน 2567 คณะสงฆ์จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี… “สมเด็จพระสังฆราช” ทรงย้ำ “พระครู” หมายถึง ผู้ประเสริฐ ผู้มีความหนักแน่น ต้องมั่นคงด้วยศีลาจารวัตร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ…
Leave a Reply