“ฉบับแรก” มจร ปลื้ม วารสาร JIBS ของ “มหาจุฬา”ขึ้นสู่ฐานนานาชาติ SCOPUS ยืนหยัดสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยนานาชาติ” วันที่ 17 ต.ค. 66 พระสุธีรัตนบัณฑิต คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับการขึ้น สู่ฐานวารสารข้อมูล SCOPUS นับว่าเป็นวารสารฉบับแรกของมหาจุฬาฯ และเป็นวารสารทางพระพุทธศาสนาฉบับแรกของไทยที่ได้รับการยอมรับในฐานวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่งตนเองในฐานะเป็นผู้หนึ่งที่ ริเริ่มทำตรงนี้ ภูมิใจอย่างยิ่ง ร่วมทั้งขอแสดงความยินดีกับสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ผลักดันวารสารทางวิชาการ Journal of International Buddhist Studies : JIBS จนได้รับการยอมรับจากวารสารระดับนานาชาติของ SCOPUS ซึ่ง SCOPUS เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการนานาชาติที่ทั่วโลกยอมรับ โดย SCOPUS มีฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ ครอบคลุมภาพรวมผลงานวิจัยทั่วโลกในเนื้อหาในลักษณะสหสาขาวิชา ทั้งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเป็นฐานข้อมูลการอ้างอิงและอ้างถึง (Citation Database) ให้ข้อมูลการอ้างอิงผลงานวิจัยและพัฒนา ใช้เป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งในการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยวิชาการ (Research Performance Assessment) พัฒนาและให้บริการโดยสำนักพิมพ์ Elsevier B.V. ประเทศเนเธอร์แลนด์ เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2547 โดย Scopus ให้บริการข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อในฐานข้อมูล จำนวนมากว่า 77 ล้านรายการ ครอบคลุมเอกสารและแหล่งข้อมูลประเภทต่างๆ ดังนี้ 1. วารสารที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว (Peer Reviewed Journals) มากกว่า 25,000 รายชื่อ (รวมทั้ง Open Access จำนวน 5,500 รายชื่อ) 2. รายงานการประชุม มากกว่า 9 ล้านรายการ 3. หนังสือ มากกว่า 2 แสนรายชื่อ 4. เอกสารสิทธิบัตร มากกว่า 40 ล้านรายการ จาก 5 สำนักงานสิทธิบัตร ได้แก่ World Intellectual Property Organization (WIPO), European Patent Office (EPO), US Patent Office (USPTO), Japanese Patent Office (JPO) และ UK Intellectual Property Office (IPO.GOV.UK) 5. สำนักพิมพ์ มากกว่า 5,000 แห่ง 6. ข้อมูลการอ้างอิง มากกว่า 1 พันล้านรายการ (ย้อนหลังถึงปี 1970) 7. ข้อมูลหน่วยงาน / สถาบัน มากกว่า 7,000 แห่ง 8. ข้อมูลผู้แต่ง / ผู้เขียนผลงาน มากกว่า 16 ล้านรายชื่อ พระสุธีรัตนบัณฑิต ได้กล่าวต่ออีกว่า สำหรับความเป็นมาของวารสารฉบับนี้ เกิดขึ้นโดยการดำริ พระพรหมบัณฑิต อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ให้มีการสัมมนาทางวิชาการพระพุทธศาสนาระดับนานานาชาติ ร่วมกับการจัดประชุมวิสาขบูชาโลกซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี 2543 จากนั้นให้มีการประชุมทางวิชาการเฉพาะกลุ่มนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น โดย พระพรหมบัณฑิต ได้มอบหมายให้ พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ในสมัยนั้น ได้จัดสัมมนาในรูปแบบ 3 ภาษา ได้แก่ ไทย บาลี และอังกฤษ หลังจากการสัมมนาก็ให้สรุปออกมาเป็นวารสาร โดยตั้งชื่อว่าวารสารว่า “Journal of International Buddhist Studies : JIBS” ซึ่งเริ่มได้รับการยอมรับจากนักวิชาการพระพุทธศาสนานาชาติ ในปี 2555 ตนเองดำรงตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ (ดำรงตำแหน่ง 2554-2565) ได้พัฒนาวารสารดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ให้มีการตีพิมพ์บทความเป็นภาษาอังกฤษ โดยอาศัยบทความจากการประชุมสัมมนาวิจัยนานาชาติตั้งแต่ครั้งที่ 1-12 ที่มีการประชุม ณ วิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ต่างๆ เช่น เชียงใหม่ (ครั้งที่ 6) น่าน (ครั้งที่ 7) เป็นต้น และได้รับบทความจากนักวิชาการทั่วโลกส่งบทความมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ ดังนั้น วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS จึงกลายเป็นวารสารภาษาอังกฤษฉบับแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ โดยมี พระสุธีรัตนบัณฑิต (สุทิตย์ อาภากโร) เป็นบรรณาธิการ และพระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ และเป็นผู้ดำเนินการพัฒนาวารหลัก (ขอชื่นชมพระมหาเกรียงศักดิ์ เป็นอย่างยิ่ง) ต่อมาวารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ได้รับการยอมรับขึ้นสู่ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย – TCI ระดับฐาน 2 และในปี 2565 ได้เชิญเข้าสู่ในโครงการ “การพัฒนาคุณภาพวารสารไทยเพื่อบรรจุในฐานข้อมูล Scopus (2023-2025)” ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย – TCI ซึ่งตอนนั้น วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ส่วนตัวได้โพสต์ข้อความว่า “Jibs : we believe we can fly วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ฯ ซึ่งเป็นวารสารฉบับภาษาอังกฤษฉบับแรกของมหาวิทยาลัยมหาจุฬา โดยมีผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เป็นบรรณาธิการ และพระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการ ดำเนินการมานับ 10 ปี โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 2 ของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พระพุทธศาสนา ปรัชญา ในปีนี้ ทางศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้มีหนังสือให้ทีมงานเข้ากิจกรรมการพัฒนาและยกระดับสู่การเป็นวารสารระดับนานาชาติ หรือ Scopus/ISI จึงเป็นความฝันเล็ก ๆ ของทีมงานโดยเฉพาะพระมหาเกรียงศักดิ์ ที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาวารสารฉบับนี้มาก และหวังว่า หากเราได้รับการพัฒนาที่สร้างสรรค์ หวังว่า เราจะเป็นวารสารในระดับนานาชาติหรืออยู่บนฐาน Scopus และ ISI สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ คิดและสร้างสรรค์เพื่อการวิจัยและการพัฒนาที่ยั่งยืน We believe We can fly : Jibs Jibs Jibs” ต่อมาในปี 2566 พระครูสุธีกิตติบัณฑิต ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์รูปใหม่ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับพระมหาเกรียงศักดิ์ อินฺทปญฺโญ จนได้รับการยอมรับดังกล่าว ซึ่งศูนย์ดัชนีอ้างอิงวารสารไทย หรือ TCI ได้โพสต์ข้อความว่า “วารสารวิชาการไทยลำดับที่ 5 ของโครงการ TCI-TSRI-Scopus Phase 2 (2023-2026) “Accepted by Scopus” ผมขอแสดงความยินดีกับวารสาร Journal of International Buddhist Studies ที่ได้รับการตอบรับ (accepted) เพื่อบรรจุในฐานข้อมูลนานาชาติ Scopus นะครับ โดยใช้เวลาในการประเมินเข้าสู่ฐานรวมทั้ง 12 วัน (โดยเราได้ submit เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 และได้รับการ accept ในวันที่ 15 ตุลาคม 2566) ผมขอขอบคุณและแสดงความยินดีกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. ชื่อวารสาร Journal of International Buddhist Studies E-ISSN: 2586-9620 2. ชื่อหัวหน้ากองบรรณาธิการ: พระครูสุธีกิตติบัณฑิต 3. เจ้าของวารสาร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 4. Thai Local Boards: อ.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ / รศ. ดร.ดำรงค์ อดุลยฤทธิกุล 5. หน่วยงานสนับสนุน: TCI / สกสว. ขอแสดงความยินดีด้วยครับ (อ.หนุ่ม ณรงค์ฤทธิ์)” การพัฒนาคุณภาพวารสารไทยของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย -TCI ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ได้จัดทำโครงการ “การพัฒนาคุณภาพวารสารไทยเพื่อบรรจุในฐานข้อมูล Scopus (2023-2025)” ที่ได้รับการตอบรับ (Accepted) เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus โดยส่งเสริมวารสารทางวิชาการชองมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยในรอบปีนี้ ได้ส่งเสริมให้วารสารไทยขึ้นสู่ฐานข้อมูลนานาชาติ Scopus จำนวน 5 วารสาร ได้แก่ 1. Asian Journal of Mycology ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยมี Dr.Thilini Chethana Kandawatte เป็นบรรณาธิการวารสาร ได้รับการตอบรับ (Accepted) เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 (Submitted : 26 มิถุนายน 2566) ใช้เวลาประเมินเข้าสู่ฐานทั้งสิ้น 18 วัน และมี ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ, ศ. ดร.ธีรภาพ เจริญวิริยะภาพ Local board ของโครงการฯ ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาวารสาร และให้ความกรุณาเขียน Positive Recommendations ให้กับวารสารระหว่างการประเมินของ Scopus Website : https://asianjournalofmycology.org/ 2. ASEAN Journal of Scientific and Technological Reports ของมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมี รศ. ดร.สมพงศ์ โอทอง เป็นบรรณาธิการวารสาร ได้รับการตอบรับ (Accepted) เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 (Submitted : 26 พฤษภาคม 2566) ใช้เวลาประเมินเข้าสู่ฐานทั้งสิ้น 57 วัน และมี ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ, รศ. ธีระศักดิ์ หมากผิน, Local board ของโครงการฯ ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาวารสาร และให้ความกรุณาเขียน Positive Recommendations ให้กับวารสารระหว่างการประเมินของ Scopus Website : https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/tsujournal 3. Journal of Multidisciplinary in Social Sciences ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมี ผศ. ดร.พนารัตน์ ศรีแสง เป็นบรรณาธิการวารสาร ได้รับการตอบรับ (Accepted) เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 (Submitted : 22 มิถุนายน 2566) ใช้เวลาประเมินเข้าสู่ฐานทั้งสิ้น 47 วัน และมี ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ, รศ. ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์, Local board ของโครงการฯ ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาวารสาร และให้ความกรุณาเขียน Positive Recommendations ให้กับวารสารระหว่างการประเมินของ Scopus Website : https://so03.tci-thaijo.org/index.php/sduhs 4. Journal of Research and Applications in Mechanical Engineering ของสมาคมวิศวกรเครื่องกลไทย (TSME) โดยมี ศ. ดร.สมิทธ์ เอี่ยมสอาด เป็นบรรณาธิการวารสาร ได้รับการตอบรับ (Accepted) เข้าสู่ฐานข้อมูล Scopus เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 (Submitted : 21 กันยายน 2566) ใช้เวลาประเมินเข้าสู่ฐานทั้งสิ้น 9 วัน และมี ศ. ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ, ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา, Local board ของโครงการฯ ได้ร่วมให้ข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาวารสาร และให้ความกรุณาเขียน Positive Recommendations ให้กับวารสารระหว่างการประเมินของ Scopus Website : https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jrame ที่มา https://www.facebook.com/TCI.Thai 5. ฉบับที่ 5 ก็คือ วารสาร Journal of International Buddhist Studies : JIBS ของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ได้เข้าสู่ฐานวารสารข้อมูล SCOPUS นับว่าเป็นวารสารฉบับแรกของมหาจุฬาฯ และเป็นวารสารทางพระพุทธศาสนาฉบับแรกของไทยที่ได้รับการยอมรับในฐานวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติของ SCOPUS จำนวนผู้ชม : 997 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระดำรัสถวายพระพร วันเฉลิมพระชนมพรรษา ‘ในหลวง ร.๑๐’ อุทัย มณี ก.ค. 27, 2020 วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เพจสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช… “ก.วัฒนธรรม” มอบสวจ. ทั่วประเทศ จัดทำคลิปวิดีโอและอินโฟกราฟิกต้านโควิด-19 : ทำดีมีรางวัล พร้อมนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะต่อ อุทัย มณี มิ.ย. 06, 2021 วันที่ 6 มิ.ย. 64 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า… “มหาเถรสมาคม”ต้องกอบกู้วิกฤติศรัทธา อุทัย มณี พ.ค. 10, 2021 โดย..“เปรียญสิบ” หลายวันมานี่นั่งคิด นอนคิด อยู่ในสวนต่างหวัด… พระพรหมบัณฑิต ประชุมกก.อำนวยการจัดพิธี เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกประจำปี 2566 อุทัย มณี ก.พ. 17, 2023 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 14.00 น. ที่อาคารสิริวัฒนภักดี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร… “พระลี้ภัย” บิณฑบาตโปรดชาวพุทธ “เมืองหลวงชเวรีน” อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2021 วันที่ 28 ธันวาคม 2564 เมื่อช่วงค่ำวันนี้ เฟชบุ๊ค Phra Panya Seesun หรือ… ‘อนุทิน-เนวิน’นำถวายเทียนพรรษา 1,155 วัดบุรีรัมย์ อุทัย มณี ก.ค. 08, 2019 วันที่ 8 ก.ค.2562 นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายเนวิน… “ดร.มหานิยม”สุดปลื้ม! วันที่ “พระพรหมดิลก” พ้นมลทินทุจริตเงินทอน ได้รับคืนสมณศักดิ์ อุทัย มณี มี.ค. 23, 2023 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ดร.นิยม เวชกามา ส.ส.สกลนคร เขต 2 พรรคเพื่อไทย… วธ.ขอเชิญชวนเที่ยวงานประเพณีบุญหลวง-การละเล่นผีตาโขนและหน้ากากนานาชาติ ยกขบวนผีตาโขนกว่า 3,000 ตัว อุทัย มณี มิ.ย. 29, 2022 วันที่ 29 มิ.ย. 65 นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม… “ส.ส.ฝ่ายค้าน” เอาด้วย! ลงชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.พุทธต่อสภาฯ 4 ฉบับรวด!! อุทัย มณี ก.พ. 05, 2022 วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 ส.ส.ดร.นิยม เวชกามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร… Related Articles From the same category “อนุชา”สั่งการ”พศ.” ทำหน้าที่นิมนต์พระสงฆ์เข้ารับถวาย การฉีดวัคซีนรพ.สงฆ์ วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2564 นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี… สาธุ! ทหารไทยศิษย์เก่าม.สงฆ์”มจร” นำทหารสหรัฐนั่งสมาธิทุกวัน เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 2563 ร.อ.สมญา มาลาศรี อนุศาสนาจารย์ทหารกองประจำการกองทัพบก… สำนักงานพุทธฯ..ประกาศรายชื่อวัดที่ได้รับเงินสนับสนุนปรับปรุงเมรุเผาศพทั่วประเทศวัดละ 1.5 ล้าน จำนวน 50 วัด เมื่อวานนี้ (18 ม.ค.64) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ประกาศรายชื่อวัดที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างปรับปรุงเตาเผาศพปลอดมลพิษประจำปีงบประมาณ… ไทย-มาเลเซีย ประชุมร่วม RBC แก้ปัญหาประสานความสัมพันธ์ เพื่อความมั่นคง ไทย-มาเลเซียอย่างยั่งยืน ▶️ วันนี้ เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมป่าตองรีสอร์ท อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค… ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เดินทางปฎิบัติศาสนกิจ “อิตาลี- ฝรั่งเศส” วันที่ 10 มิ.ย. 66 สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม…
Leave a Reply