ปลัด มท. กำชับบทบาทผู้ว่า ฯ ต้องเป็น “นายกรัฐมนตรีของพื้นที่” บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้ประชาชนอยู่ดีกินดี วันที่ 24 พ.ย. 66 เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมบุหงา ชั้น 3 โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน พระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนและติดตามนโยบายของรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย โดยมี ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวว่า “ผู้ว่าราชการจังหวัด” คือ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณในการดูแลประชาชน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ทำให้ประชาชนมีความอยู่ดี กินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ต้องเป็นข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งมั่นน้อมนำพระบรมราโชวาท พระราชดำรัส และแนวพระราชดำริ มาทำให้พี่น้องประชาชนทุกคนได้มีความผาสุก ขณะเดียวกันต้องทำหน้าที่ในฐานะ “นายกรัฐมนตรีของพื้นที่” ให้สมกับที่ท่านเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้คาดหวังและมองเห็นว่าพวกเราต้องเป็น “ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO” คือ การเป็นผู้นำของข้าราชการทั้งจังหวัด ดังที่ ท่านวิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย คนที่ 33 ได้ย้ำกับพวกเราอยู่เสมอว่า “ผู้ว่าฯ CEO คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ” ผู้เป็นหัวหน้าเบอร์หนึ่งของข้าราชการในพื้นที่ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ต้องรับผิดชอบงานนโยบายของรัฐบาลทุกเรื่อง ดังนั้น สิ่งที่เราต้องคำนึงอยู่เสมอ คือ “เราทุกคนต้องมีภาวะผู้นำและมีความรับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ต้องมีใครสั่ง” และนำงานทุกงานของทุกกระทรวงและทุกภาคส่วนมาทำโดยทันที ซึ่งกระบวนการทำงานแบบบูรณาการตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงถอดบทเรียนจากความสำเร็จของโครงการพระราชดำริ 4,741 โครงการ คือ การมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ 4 ขั้นตอน คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ ทั้งนี้ ในส่วนของการร่วมรับประโยชน์ของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ไม่ใช่ในรูปตัวเงินหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมใด ๆ แต่คือ “ความภาคภูมิใจ เกียรติยศ และชื่อเสียง” ซึ่งผู้ที่จะทำให้ทุกท่านได้รับสิ่งเหล่านี้ คือ “พี่น้องประชาชนในพื้นที่ที่ท่านรับผิดชอบ” “การทำงานแบบบูรณาการจะสำเร็จได้ต้องทำเป็นประจำและต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับจังหวัด เป็น “จังหวัดยั่งยืน” ซึ่งจังหวัดจะยั่งยืนได้ต้องมี อำเภอ ตำบล และจุดแตกหักสำคัญอยู่ที่ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ตามแนวพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนมหาดไทย ที่ต้องทำให้พี่น้องประชาชนมีความสุขที่ยั่งยืนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เริ่มต้นตั้งแต่ “การมีผู้นำจิตอาสาที่เข้มแข็ง” ทั้งทีมที่เป็นทางการ คือ ข้าราชการผู้รับผิดชอบประจำตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน คณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้บริหาร อปท. และทีมที่ไม่เป็นทางการ คือ ผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งทีมเหล่านี้จะเข้มแข็งได้ “ผู้ว่าราชการจังหวัดคือผู้นำการสร้างทีมที่เข้มแข็ง” โดยทำให้ทุกคนมีจิตสำนึกของการเป็นผู้นำแบบบูรณาการ เพราะเราไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ต้องอาศัยภาคีเครือข่าย ทั้งทีมที่เป็นทางการ และทีมจิตอาสา ไปทำให้คนในชุมชนเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มบ้าน ป๊อกบ้าน คุ้มบ้าน หย่อมบ้าน เพื่อพูดคุยปรึกษาหารือ มีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เช่น การจัดการประกวดหมู่บ้านสะอาด การจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อให้หมู่บ้านเกิดการแข่งขัน เกิดการรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมกันทำสิ่งที่ดี ยังผลทำให้ประชาชนมีความสุข บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย ที่กระทรวงมหาดไทยโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ได้มีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในการบรรลุเป้าหมาย” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้นำการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน โดยเร่งจัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการแก้ไขหนี้นอกระบบ” เปิดรับลงทะเบียนในทุกที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดต้อง “Take action” จัดประชุมคณะกรรมการฯ โดยทันที และเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความเอาจริงเอาจังและไม่ปล่อยปละละเลย เพื่อทำให้สังคมเกิดความตื่นตัวและรับทราบถึงความมุ่งมั่นของภาครัฐในการแก้ไขปัญหานี้ และการลงทะเบียนแก้ไขหนี้นอกระบบในครั้งนี้จะทำให้พวกเราสามารถรู้ได้ว่าใครเป็น “ลูกหนี้” และมีหนี้มูลค่าจำนวนเท่าไหร่ และอีกประการหนึ่งเราสามารถรู้ได้ว่าใครเป็น “เจ้าหนี้” เพื่อทุกภาคส่วนจะได้เข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ ทั้งนี้ ต้นทางสำคัญ คือ ต้องเข้าถึงข้อมูล โดยต้องช่วยกันสร้างการรับรู้ช่องทางการลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://debt.dopa.go.th หรือออนไซต์ได้ที่ทุกที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงมหาดไทยสามารถแก้ไขปัญหาหนี้ได้แล้วกว่า 500 ล้านบาท แต่ก็พบว่า ยังมีบางกรณีที่ยังเกิดปัญหาอยู่ ดังนั้น ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดเน้นย้ำฝ่ายปกครองได้บูรณาการการทำงานร่วมกับฝ่ายความมั่นคง สรรพากรอำเภอ และส่วนราชการทุกภาคส่วน ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนคู่ขนานไปด้วยกัน พร้อมทั้งเร่งตรวจสอบ Re X-Ray ข้อมูลปัญหาครัวเรือนแบบพุ่งเป้าให้ครบทั้ง 20 ล้านครัวเรือน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ม.ค. 2567 “ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดขับเคลื่อนนโยบายเน้นหนัก 10 ข้อ ของท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้สำเร็จบรรลุเป้าหมายเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ข้อที่ 2 น้ำดื่มสะอาด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน” ต้องทำให้ทุกครัวเรือนมีบ่อน้ำกินน้ำใช้ และมีแหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน เพื่อให้พี่น้องประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำที่เพียงพอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน และต้องย้ำเตือนตนเองและข้าราชการในจังหวัดให้ปฏิบัติตามแนวนโยบายเน้นหนักทั้ง 10 ข้ออย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพราะล้วนเป็นภารกิจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ของคนมหาดไทย ที่มุ่งสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เพื่อสร้างความสุขให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย และยังเป็นการย้ำเตือนหน้าที่ของพวกเราทุกคนในการ “แก้ไขในสิ่งที่เคยผิดพลาด” พัฒนาและปรับปรุงการทำงานโดยไม่ปล่อยปละละเลยประชาชนแม้แต่คนเดียว ทั้งนี้ การที่เราจะรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนได้ทำสิ่งที่ดีในชีวิตได้นั้น เราต้องเริ่มทำที่เราก่อน เราเป็นผู้นำต้องทำก่อน เช่น การปลูกผักสวนครัว ก็ต้องเริ่มตั้งแต่จวนผู้ว่าราชการจังหวัด บ้านพักข้าราชการ ศาลากลาง ที่ว่าการอำเภอ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม พร้อมทั้งติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา รวมถึงการส่งเสริมสมรรถภาพการทำงาน เพื่อให้ทุกจังหวัดได้มีทีมที่ดี มีหัวหน้าส่วนราชการที่ดี ทำหน้าที่เพื่อพี่น้องประชาชน และนโยบายสำคัญที่ท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ฝากความหวังไว้กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดในการธำรงไว้ซึ่งความภาคภูมิใจของการเป็นคนไทย คือ ต้องมุ่งหนุนเสริมการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ชาติ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ต้องทำให้ “เด็กไทยทุกคนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และมีศีลธรรม” โดยนำเอาวิชาประวัติศาสตร์มาประยุกต์เป็นกิจกรรมก่อนเลิกเรียนหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมของแต่ละสถานศึกษา โดยมีตัวอย่างที่ดีของจังหวัดตาก ซึ่งท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้นำการสร้าง “ครูผู้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์” มีหนังสือประวัติศาสตร์ชาติไทยฉบับสมบูรณ์ ให้ความรู้การเทิดทูนสถาบันหลักของชาติ ดังนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดต้องทำทุกวิถีทางเพื่อทำนุบำรุงรักษาสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนไทยทุกคนให้คงอยู่และถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อความภาคภูมิใจของคนในชาติและระลึกถึงความเสียสละของบรรพบุรุษชนคนไทย “โดยไม่ต้องรอคำสั่ง” นอกจากนี้ต้องช่วยกันส่งเสริมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ อาทิ วันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ตลอดจนวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญของสถาบันข้าราชการ และวันแห่งการระลึกถึงความภาคภูมิใจของคนในพื้นที่ เช่น วันสถาปนากระทรวงมหาดไทย วันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน วันคล้ายวันสถาปนากองอาสารักษาดินแดน (อส.) 10 กุมภาพันธ์ วันกำนันผู้ใหญ่บ้าน 10 สิงหาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันคล้ายวันสถาปนา อส. ที่จะมีขึ้นในปี 2567 อันเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้กรมการปกครองในฐานะฝ่ายอำนวยการกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน ได้เตรียมการจัดให้มีพิธีสวนสนามของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน โดยอัญเชิญธงชัยเฉลิมพลของ อส. เพื่อร่วมกันเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีเนื่องในโอกาสมหามงคลดังกล่าวฯ” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเน้นย้ำ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ กล่าวในช่วงท้ายว่า ขอขอบคุณผู้ว่าราชการจังหวัด และข้าราชการ ตลอดจนภาคีเครือข่ายทุกจังหวัดที่ได้ช่วยกันจัดกิจกรรมวันดินโลก ปี 2565 ที่ผ่านมา เพื่อช่วยกัน นำรางวัล “King Bhumibol World Soil Day Award” ที่เป็นรางวัลยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จัดโดยองค์การอาหารและเกษตร (FAO) กลับมายังประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะได้รับรางวัลหรือไม่ก็ตาม ต้องตระหนักและย้ำเตือนตนเองเสมอว่า ในปีนี้ 5 ธันวาคม 2566 ขอให้ทุกจังหวัดได้ร่วมกันขับเคลื่อนกิจกรรม “วันดินโลก” ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงตั้งแต่วันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2566 เพื่อร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการรักษาสิ่งแวดล้อม รักษาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อ “Change for Good” สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพี่น้องประชาชนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดร่วมกันขับเคลื่อนงานเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขในทุกมิติให้กับพี่น้องประชาชนอย่างเต็มกำลังความสามารถ ซึ่งแน่นอนว่าทุกท่านทำงานกันอย่างหนัก แต่เราต้องทำงานให้หนักขึ้นในทุกวัน ในทุกวินาที เพื่อร่วมกันจรรโลงสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นกับประเทศไทยกับโลกใบเดียวนี้ของเราที่กำลังเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย อย่างไม่ย่อท้อ เพราะพี่น้องประชาชนยังมีความยากลำบาก พวกเราซึ่งเป็น “ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยทุกคน” ต้องตระหนักถึงภาระหน้าที่ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เพื่อสนองพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทั้งการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การพึ่งพาตนเอง ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความรักความสามัคคี รู้รักษาประเพณีชุมชนของคนไทย รวมถึงการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ดินน้ำ ป่าไม้ ที่เป็นแหล่งกำเนิดอาหารของมนุษย์ ทำให้คนไทยทุกคนมีความสุขที่ยั่งยืน จำนวนผู้ชม : 16,189 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “สมปอง” วอน “ผมเป็นคนธรรมดาแล้ว ขออย่ายึดติดภาพความเป็นพระ” อุทัย มณี ม.ค. 23, 2022 วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม 2565 นายสมปอง นครไธสง อดีตพระมหาสมปอง… โปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พระราชาคณะจำนวน 3 รูป อุทัย มณี ก.ค. 22, 2020 มีคำประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 22 กรกฏาคม… จจ.สมุทรสงคราม นำคณะสงฆ์ดูงาน “โคก หนอง นา วังอ้อ โมเดล” จ.อุบลฯ อุทัย มณี ก.ย. 08, 2022 วันที่ 8 กันยายน 2565 วานนี้ พระภาวนาวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม… ดาบนั้น..คืนสนอง อุทัย มณี ส.ค. 08, 2022 ควันหลงจากการอภิปรายของ “มหานิยม” ว่าด้วยเรื่องศาสนาคงหนีไม่พ้นเรื่อง “ศาสนสมบัติกลาง” ย่านประตูน้ำที่มหานิยมแฉกลางสภาว่า “ส่อเอื้อประโยชน์บริษัทเอกชน” ซ้ำแย้มต่อว่ามี “ผู้หญิงเป็นนายหน้า” ทั้งทิ้งคำปริศนาต่อ… ตักบาตรพระสงฆ์ “วัดพระธรรมกายยืนหนึ่ง”ประชาชนเกือบ 20,000 คนร่วมตักบาตรพระสงฆ์ 10,000 รูป ฉลอง 192 ปี จังหวัดกาญจนบุรี อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2023 วันที่ 11 ธ.ค. 66 ร้อยโท ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี… จบข่าว “มส.” ตั้ง “หลวงพ่อบัวศรี -พระครูเล็ก” เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค9 อุทัย มณี ม.ค. 13, 2023 วันที่ 13 ม.ค.65 ในคราวประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม… เปิดประวัติ ผอ.พุทธฯ คนที่ 10 : รอพิสูจน์ฝีมือ?? อุทัย มณี ธ.ค. 28, 2021 วันที่ 28 ธันวาคม 2564 วันนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติแต่งตั้ง… บันทึกความจำช่วยน้ำท่วมรัฐมอญ “เผชิญชายถือปืนขอค้นกลางป่า” (1) อุทัย มณี ก.ย. 09, 2019 ผมเคยโพสไว้ในเฟชบุ๊คส่วนตัวว่า จะเล่าเรื่องไปช่วยน้ำท่วมรัฐมอญ… “วัดนิมมานรดี” แจ้งแม้ “เจ้าอาวาส” ลาออก แต่กิจกรรมวัดทุกอย่างปฎิบัติดังเดิม อุทัย มณี ส.ค. 31, 2024 วันที่ 31 สิงหาคม 2567 เพจ วัดนิมมานรดี พระอารามหลวง ประกาศ ความว่า … Related Articles From the same category “ปลัดมท.” ไขข้อสงสัยปมจ่ายเงินรายได้สะสม “ร.ร.ท้องถิ่น” ย้ำความเป็นอิสระ จนท.ยึดหลักธรรมาภิบาลเคร่งครัด "ปลัดมท." ย้ำความเป็นอิสระด้านการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนท้องถิ่น… พระธรรมโพธิมงคล รับมอบ “ทองคำ 157 บาท” จากผู้บริหาร -ดารานักแสดงช่อง 3 เพื่อหุ้มเม็ดน้ำค้างเจดีย์ภูเขาทอง วันที่ 12 พฤษภาคม 2567 ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระธรรมโพธิมงคล… ปลัดมหาดไทย ย้ำหลักการทำงานคนมหาดไทย ต้องน้อมนำพระราชดำริ “แก้ไขในสิ่งผิด” มุ่งมั่นตั้งใจ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” วันนี้ (27 มี.ค. 67) เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมราชบพิธ ชั้น 5 อาคารดำรงราชานุสรณ์… นายกฯแถลงการณ์ จัดสมพระเกียรติ ‘พระราชพิธีบรมราชาภิเษก’ เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 2 ม.ค.2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี… “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์-พระพรหมสิทธิ” ร่วมเจริญพระพุทธมนต์ถวายแด่ในหลวง ณ พระอุโบสถ์วัดพระแก้ว วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฏาคม 2567 เวลา 16.00 น. มหาเถรสมาคม ร่วมกับ รัฐบาล…
Leave a Reply