นานาทัศนะ : บทบาทมหาจุฬา ฯ กับงานวิชาการสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยระดับโลก” งานประสาทปริญญาประจำปีของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยผ่านพ้นไปแล้วด้วยความเรียบร้อย สมกับความเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาระดับโลก เนื่องจากมีนานาชาติ ประมุขสงฆ์ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา รวมทั้งปราชญ์จากหลายประเทศเดินทางมาร่วมงานอย่างคับคั่ง ซึ่งปีนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีผู้สำเร็จการศึกษาทั้งพระสังฆาธิการ ภิกษุ สามเณร และคฤหัสถ์ ทุกระดับชั้น จำนวนทั้งสิ้น 4,628 รูป/คน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีพันธกิจหลัก 4 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัยและพัฒนาส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากดำเนินงานตามพันธกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามนโยบายแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และยกย่องประกาศเกียรติคุณพระมหาเถรานุเถระ ภิกษุณี และอุบาสกอุบาสิกา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ และเข็มเกียรติคุณ เพื่อเป็นการประกาศสดุดีเกียรติคุณยกย่องเชิดชูในงานพิธีประสาทปริญญาของมหาวิทยาลัย ในปีนี้ สภามหาวิทยาลัย จึงได้อนุมัติให้มีการมอบถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จำนวน 74 รูป/คน เข็มเกียรติคุณ 43 รูป/คน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และคฤหัสถ์ โดยปัจจุบัน การจัดการศึกษาในประเทศประกอบด้วย 11 วิทยาเขต 28 วิทยาลัยสงฆ์ 3 หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบในต่างประเทศอีก 5 แห่ง มีทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรอินเตอร์ ระดับชั้นปริญญาตรี-โท-เอก มีจำนวนทั้งสิ้น 20,346รูป/คน ประกอบด้วยนิสิตปริญญาตรีจำนวน 14,356 รูป/คน นิสิตปริญญาโท 3,748 รูป/คนนิสิตปริญญาเอก 2,242 รูป/คน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีพระสงฆ์นานาชาติเดินทางมาศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี-โท-เอก ทั้งหลักสูตรอินเตอร์ และหลักสูตรภาษาไทยมากกว่า 1,300 รูป/คนจาก 28 ประเทศถือว่า มากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก ในแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระยะที่ 13 คือ พ.ศ.2566-2570 ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “มหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่และสร้างพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม” ซึ่งได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ว่า จัดการศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีปัญญาและคุณธรรม โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา บูรณาการในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีสติปัญญาและคุณธรรม เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มที่ 4 ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนดไว้ว่า เป็น “กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา” และวิสัยทัศน์ดังกล่าวก็เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของแผนพัฒนาการศึกษาชาติ ที่ให้การศึกษาเป็น “เครื่องมือและกลไกสำคัญ” ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีความเป็นพลเมือง มีทักษะความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะ ในการปฎิบัติงาน และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข ประกอบด้วย ทีมข่าว “Thebuddh” ได้สอบถามพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ได้ตอบว่า ในแผนของมหาวิทยาลัยระยะที่ 13 ที่ระบุว่า ต้องการจัดการศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีสติปัญญาและคุณธรรมนั่น เป็นหน้าที่ของฝ่ายวิชาการโดยตรง ที่กำกับดูแลและผลิตหลักสูตรให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์นี้ ซึ่งมีเป้าประสงค์ 4 เป้าประสงค์ 16 ตัวชี้วัด และ 11 กลยุทธ์ เป้าประสงค์ 4 เป้าหมาย คือ หนึ่ง ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะทางสติปัญญาและคุณธรรม โดยมีตัวชี้วัดที่เกิดจาก หนึ่ง จำนวนนิสิตที่ประสบความสำเร็จที่ได้รับการยกย่อง มีชื่อเสียง หรือได้รับรางวัลทั้งในระดับชาติและนานาชาติ สอง มหาวิทยาลัยของเราเอง ก็จะกำหนดเป็นคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะทางสติปัญญาและคุณธรรม ตรงนี้เรามีการประเมินทั้งในขณะกำลังเรียนและหลังจากจบการศึกษาแล้ว สาม ระดับความพึงใจของผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และตัวชี้วัดที่สี่ คือ การประเมินบัณฑิต มีองค์ความรู้ โดยประยุกต์ใช้กับหลักพุทธธรรมได้หรือไม่ ซึ่งภายใต้เป้าหมายและตัวชี้วัดนี้ ทาง มจร ของเราได้กำหนดกลยุทธไว้ว่า จะต้องส่งเสริมนิสิตมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมกับเครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ให้ส่วนงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย จัดการศึกษา ดำเนินการพัฒนาบัณฑิตให้เกิดมีสติปัญญาและคุณธรรม “ส่วนอีก 3 เป้าหมายนั่น ที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์นี้ก็คือ มหาวิทยาลัยต้องจัดการหลักสูตรมีการบูรณาการหลักพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ สอง ต้องพัฒนาคณาจารย์ให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และสามารถบูรณาการพุทธนวัตกรรมกับกระบวนการเรียนรู้อย่างเหมาะสม และต้องพัฒนาทรัพยากรทางการศึกษาและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ซึ่งทั้ง 3 เป้าหมายนี้ก็มีตัวชี้วัด กลยุทธ์ เช่นเดียวกับเป้าหมายที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่ อว.จัดให้เราอยู่ในกลุ่มที่ 4 คือ กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา ซึ่งสอดคล้องกับพระราชปณิธาน ของสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงสถาปนาเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ สิ่งที่เราทำอยู่วันนี้และในอนาคตสอดคล้องกับพระราชปณิธานนี้ วันนี้เป็นเครื่องยืนยันได้ ทั้งผลการผลิตบัณฑิตภายในประเทศและนานาชาติ.” ในปีการศึกษา2565 สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการรวบรวมสถิตินิสิตต่างประเทศที่กำลังศึกษาอยู่ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งจากส่วนกลาง, วิทยาเขต,วิทยาลัยสงฆ์, หน่วยวิทยบริการ และสถาบันสมทบภายในประเทศ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1383 รูป/คน จาก 25 ประเทศ ซึ่งถือว่าน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยระดับต้น ๆ ของประเทศไทยที่มีนักศึกษาต่างชาติจากหลายประเทศที่เดินทางเข้ามาศึกษาต่อในประเทศ อันนี้ไม่นับรวม นักศึกษาจีน ที่ทะลักเข้ามาเรียนต่อในประเทศไทยที่ตอนนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี และมีมหาวิทยาลัยเอกชนบางแห่งถูกแทคโอเวอร์ไปแล้วก็มี พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ได้พูดถึงบทบาทมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับงานวิชาการเพื่อก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาระดับโลกว่าสรุปใจความสำคัญ 2 ประเด็นว่า “บทบาท มจร ในเวทีสงฆ์นานาชาติ มีวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ เพื่อสนองงานและรับใช้คณะสงฆ์ ภายใต้บทบาท มจร เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีทางการทูต ส่งเสริมและพัฒนาพระพุทธศาสนา บนฐานของพระธรรมวินัย การศึกษาแนวพุทธ และวิปัสสนากรรมฐาน ส่งเสริมและให้การสนับสนุน นิสิต นานาชาติ ให้ศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนา และศาสตร์สมัยใหม่ บนฐานของพระวินัย และ ในขณะเดียวกัน ทาง มจร ก็จัดหาทุนการศึกษาให้นิสิตนานาชาติ ตามความเหมาะสม รวมทั้ง สร้างเครือข่ายกับองค์กรพุทธนานาชาติเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกศิษย์นานาชาติ มจร ได้เจริญสัมพันธไมตรีดีงามต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนา ร่วมกัน อันนี้บทบาทของ มจร ที่พยายามทำให้เกิดผลเป็นที่ประจักษ์อยู่ในขณะนี้..” ผศ.ดร.ปัญญา คล้ายเดช อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ ระบุว่า ด้วยกรอบวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยว่า เป็น มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาที่สร้างพุทธนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม เรื่องนี้ “มจร” ควรปรับตัวเอง จากยุคอนาล็อก สู่ยุคดิจิตัล โดยใช้นวัตกรรมเชิงพุทธมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน อย่างน้อยคิดว่าสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องทำและขับเคลื่อน 5 ประเด็นด้วยกันคือ 1. การพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรเชิงพุทธนวัตกรรม โดยปรับโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย ใช้คนให้น้อยลงเพิ่มนวัตกรรมให้มากขึ้น 2. พัฒนาพุทธนวัตกรรมในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรม และความรู้ เพิ่มวิชชา เพิ่มคุณภาพ เพิ่มคุณธรรม ให้กับประชาชนและสังคม 3. ควรพัฒนางานวิจัยเชิงพุทธนวัตกรรม สร้างคุณค่า สร้างมูลค่า พัฒนาจิตใจประชาชนและสังคมได้เป็นรูปธรรม 4. มจร จะต้องเป็นองค์กรนำ ในการเป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการเชิงพุทธนวัตกรรม นำวิชชา ความรู้ ศีลธรรมและจริยธรรม เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างทั่วถึง และประเด็นสุดท้ายคือการพัฒนาพุทธนวัตกรรมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้วยการสร้างคุณค่าที่เหมาะสมด้านศิลปะวัฒนธรรมให้กับคนในสังคม ด้วยหลักธรรมและหลักการทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องและถูกทำนองครองธรรม “คิดว่าประเด็นทั้ง 5 ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาจงกรณราชวิทยาลัย ผู้บริหารจะต้องทำ เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ในการที่จะนำพามหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยด้านพระพุทธศาสนาที่สร้างพุทธนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคม รวมทั้งเรื่อง หลักธรรมาภิบาลและปรับโครงสร้างองค์กร อันนี้ มจร ก็พึงคำนึงให้มาก เนื่องจากเรามีภาพลักษณ์เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในขณะที่การสร้างผลงานทางด้านวิชาการให้เป็นที่ยอมรับอันนี้แน่นอนว่า มจร ต้องส่งเสริมงบวิจัยให้คณาจารย์ให้เพียงพอ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่กำหนดเอาไว้ และก็เดินไปตามเป้าหมายที่วางหลักกลยุทธ์และการประเมินไว้แล้ว คิดว่าผลผลิตคือ บัณฑิตก็พวกเขาก็จะได้ตามที่มหาวิทยาลัยต้องการและสถาบันของพวกเรา คือ มจร ก็จะเป็นที่พึ่งของคณะสงฆ์ สังคมได้อย่างแน่นอน ส่วนจะก้าวไปสู่ระดับนานาชาติได้นั่น อย่างน้อย มจร ต้องดำเนินการ 5 ประเด็นหลักคือ หนึ่ง ต้องมีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ สอง ต้องผลิตตำราเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค สาม ทุกวิทยาเขต ควรมีอาจารย์ที่สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ สื่อสารรู้เรื่อง สี่ ต้องส่งเสริมให้คณาจารย์มีช่องทางเผยแพร่บทความวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ และประการสุดท้ายก็คือ มจร ของเรา ต้องมีศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายการภาษาอังกฤษ หากเราดำเนินการเริ่มจาก 5-4-3-2-1 ไปตามลำดับ โดยส่วนตัวคิดว่า ความเป็นมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาโลก คงไม่ไกลเกินฝัน “ ในขณะที่ Ven.Suriya Mon ผู้สำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ Ph.D. จากรัฐมอญ ประเทศเมียนมา ที่เข้ารับประทานปริญญาบัตรปีนี้ เผยว่า รู้สึกภูมิใจที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มาเรียนที่นี้ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี จนจบปริญญาเอก สถาบันแห่งนี้ นอกจากหล่อหลอมด้านวิชาการความรู้แล้ว ยังได้หล่อหลอมเรื่องการทำงานเพื่อตอบสนองงานให้กับคณะสงฆ์ด้วย คณะสงฆ์นานาชาติที่มาเรียนที่นี้ ไม่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนอย่างเดียว ฝ่ายต่างประเทศก็ดี ฝ่ายกิจการนิสิต หรือคณะต่าง ๆ ก็ดี ฝึกงานให้รู้งานตลอด อาจารย์ที่นี่เป็นมิตรที่ดีมาก บุคลากรก็เอาใจใส่นักศึกษาต่างชาติเป็นอย่างดี ทั้งเรื่องหอพัก ทั้งเรื่องอาหาร หรือแม้กระทั้งเรื่องการต่อวีซ่า อยากให้ มจร รักษาคุณภาพและความเป็นการเองแบบนี้ตลอดไป ตอนนี้ภูมิใจมากที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาระดับโลกแบบนี้ และรวมทั้งต้องขอบคุณผู้บริหารคณะมนุษย์หลังจบแล้วได้รับให้เป็นอาจารย์พิเศษด้วย ตรงนี้ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่มหาวิทยาลัยมอบให้กับพวกเรา ทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ เสียงสะท้อนจากทั้งในระดับผู้บริหาร คณาจารย์ และนิสิต ที่ต้องการเห็นภาพอนาคตของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่จะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลกนั่น “มหาจุฬา ฯ” กำลังทำอะไร และทำอะไรอยู่ พร้อมทั้งบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้เอง อยากเห็นอะไร รวมทั้งพระนิสิตนานาชาติจบแล้วเขาได้อะไรจากมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยด้านพระพุทธศาสนาระดับโลกแห่งนี้!! จำนวนผู้ชม : 3,481 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author นักธุรกิจมอญจากพม่ารุกไทย “ขอเชื่อมสัมพันธ์เศรษฐกิจไทย-มอญ” อุทัย มณี ม.ค. 07, 2019 เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา นายพญาซ้าน บุตรชายรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลุ่มชาติพันธุ์ประเทศเมียนมาร์… มือมืด “ปลดป้าย” ต้านพระครูเล็กออกแล้ว!! อุทัย มณี พ.ย. 15, 2021 วันที่ 15 พ.ย. 64 จากกรณีมหาเถรสมาคม มีคำสั่งแต่งตั้งพระสังฆาธิการ … เรื่องเล่าชาว โคก หนอง นา แห่งเมืองร้อยเกาะ – ขุนเขาเสียบหมอก “กุ้ยหลินเมืองไทย” อุทัย มณี ก.ย. 18, 2021 จังหวัดสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น… “สมเด็จธีร์” พบประธานาธิบดีฝรั่งเศส ถกสันติภาพโลก พร้อมขอสนับสนุนวัดพระเชตุพน กรุงปารีส อุทัย มณี พ.ย. 11, 2023 วันที่ ๙ พฤศจิกายน๒๕๖๖ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม… สมเด็จพระสังฆราชประทานไฟพระฤกษ์ สวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย-ทั่วโลก ต้อนรับศักราชใหม่ 2567 อุทัย มณี ธ.ค. 19, 2023 วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 13.00 น. ณ พระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม… พระไม่ทิ้งโยม !! อุทัย มณี เม.ย. 01, 2022 วันที่ 1 เมษายน 65 หลังจากมีการเผยแพร่คลิปเด็กหญิงคนหนึ่ง… เครือข่ายชาวพุทธ “ยื่นอุทธรณ์” สำนักนายกฯ ขอข้อมูลข่าวสารปลด 3 จจ. อุทัย มณี พ.ย. 26, 2021 วันที่ 26 พ.ย. 64 นายธีระ ปัดชาเขียว ผู้แทนเครือข่ายชาวพุทธปกป้องพระพุทธศาสนา… พระพรหมดิลก ร่วมอนุโมทนาพิธี คืนสมณศักดิ์ พระอรรถกิจโสภณวัดสามพระยา หลังประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา อุทัย มณี พ.ค. 07, 2023 “พระพรหมดิลก” ร่วมอนุโมทนาพิธี พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์… ผู้แทนมูลนิธิธรรมกายร่วมประชุมกับมุขมนตรีและคณะรัฐบาลมัณฑะเลย์ทำบุญตักบาตรประจำปี อุทัย มณี ส.ค. 07, 2019 เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2562 ที่ผ่านมา ผู้แทนมูลนิธิธรรมกายประกอบด้วยสัทธัมมะโชติกะธะชะ… Related Articles From the same category ในหลวง – พระราชินี ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลฉลองพระชนมายุ 8 รอบ สมเด็จพระสังฆราช วันที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 17.21 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ… ครั้งแรกของโลก! ไทยเตรียมแปลพระไตรปิฏกฉบับบาลีเป็นภาษาอังกฤษครบ 45 เล่ม วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2564 พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.9, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,… “สีจีวร” เรื่อง “ธรรมดา” ที่ไม่ธรรมดาในสังคมสงฆ์ “สีจีวร” ของพระสงฆ์ กำลังถูกจับตามอง ใน “มุมวงแคบ”… 26ม.ค.วันชาติอินเดียจัดขบวนแห่ชื่นชมพระพุทธศาสนา วันที่ 26 มกราคมของทุกปี คือวันชาติของอินเดีย หรือที่เรียกว่า… เพิ่งยกระดับ! รพ.สนามวัดสุทธิรับผู้ป่วยสีเขียวเตียงเต็มแล้ว 3 รายสาหัส เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังกรุงเทพมหานคร…
Leave a Reply