อย่าให้ “สมณศักดิ์-ตำแหน่ง” กดทับ “อายุพรรษา”

 ช่วงหลายปีมานี้เคยได้ยินคำพูดหนามาบ้างว่า เดี่ยวนี้พระภิกษุที่จบ “มหาเปรียญสูง”  จบทางโลกระดับ “ด็อกเตอร์” หรือบางรูปมีสมณศักดิ์เช่นเป็น “เจ้าคุณ”  เป็น “เจ้าคณะปกครอง” เวลาเจอพระมีอายุตามต่างจังหวัด หรือเจ้าอาวาสมีพรรษามากกว่า  ไม่ค่อยให้เกียรติท่าน โดยยึดถือเอา..ความรู้และพัดยศ ตำแหน่งทางปกครอง เป็นตัวตั้งในการวัดว่า ใครควรกราบใครก่อนหรือใครควรไหว้ใครก่อน หรือแม้กระทั้งเวลาจัดงาน ใครนั่งบนอาสนะใครเรียงลำดับก่อนใคร??

“เปรียญสิบ” บวชมานานยุคก่อนเวลาพระท่านเจอกัน หากไม่รู้จักกัน ท่านจะถามอายุพรรษาก่อนว่า บวชมาแล้วกี่พรรษา หรือหากบวชปีเดียวกันก็ถามถึงวันและเดือนที่บวช..เพื่อกราบแสดงความเครารพแล้วเชิญให้นั่งบน “อาสนะ” ที่สูงกว่า

อันนี้คือธรรมเนียมและจารีตสิ่งดีงามที่คณะสงฆ์ท่านแสดงความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน นับตามลำดับ อาวุโส ภันเต..

สถาบันสงฆ์หล่อหล่อมวัตรปฎิบัติกฎระเบียบการเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์มาจาก..สถาบันพระมหากษัตริย์ สืบเนื่องจาก “พระสมณโคดม” มีรากเหง้ามาจากหน่อเนื้อกษัตริย์ เหตุนั้นวัตรปฎิบัติของสังคมสงฆ์ทั้งมวล ส่วนใหญ่ล้วนมาจาก..สถาบันกษัตริย์

เหตุนั้นพระภิกษุสงฆ์จึงภูมิใจว่า ตนเองแม้มาจาก “ชนชั้นไพร่” แต่เวลาเข้ามาอยู่ภายใต้ร่มเงาศาสนาของ “สมณโดดม” พวกท่านคือ ส่วนหนึ่งของผู้สืบเชื้อวัตรปฎิบัติแบบกษัตริย์ ต้องละทิ้ง “สันดาน” เดิมออกไปเสีย

ใน เสขิยวัตร”  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา และจะต้องปฎิบัติในหมวดนี้ พระพุทธองค์วางกฎระเบียบไว้ทั้งเรื่อง การปฏิบัติต่อชุมชน โภชนปฏิสังยุต ว่าด้วยการฉันอาหาร  ต้องฉันอย่างไร ช้อนกระทบกันได้หรือไม่ คุยในระหว่างฉันได้หรือไม่ แม้กระทั้งเรื่องการ แสดงธรรม ก็ทรงกำหนดไว้ว่า พระภิกษุสงฆ์ต้องวางตัวอย่างไร เทศนาตลกเฮฮา ได้หรือไม่  ส่วนในหมดปกิณณกะ

เช่น ภิกษุจะไม่ยืนถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ, ภิกษุจะไม่ยืนดื่มน้ำ เป็นต้น อันนี้คือ วัตรของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา…

“เปรียญสิบ” ยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเนื่องจากมีภาพปรากฎของพระคุณเจ้าระดับ “สมเด็จพระราชาคณะ”  จำนวน 2 รูปคือ “สมเด็จสมชาย”  สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทร์ และ “สมเด็จธงชัย”  สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก แสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน กราบและนั่งคุกเข่าอยู่กับพระภิกษุที่มีอายุพรรษามากกว่า โดย ไม่ยึดสมณศักดิ์ เป็นที่ตั้ง ไม่ยึดหัวโขนตำแหน่งทางปกครองเป็นสรณะ เหมือนที่พระรุ่นใหม่บางรูปปฎิบัติเกร่อทั่วไปอยู่ ณ ตอนนี้

ความจริง..สมณศักดิ์ใช้สำหรับงานพระราชพิธี เฉพาะงานหลวงเท่านั่น งานทั่วไปมิได้ใช้แต่อย่างไร คณะสงฆ์เริ่มตั้งแต่ “มหาเถรสมาคม” ต้องยึดหลักธรรมเนียมปฎิบัตินี้ไว้ให้มั่นคง

ไม่อย่างนั่น..หลักพระธรรมวินัยที่ปฎิบัติสืบเนื่องกันมานับพันปีจะ “ล่มสลาย” เด็กจะไม่เคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะไม่ให้เกียรติเด็ก เพราะไร้หลัก  การที่ “เจ้าคุณประคุณสมเด็จ” ทั้ง 2 รูป ปฎิบัตินั่นดี และเป็นไปโดยชอบแล้ว และขอให้ปฎิบัติแบบนี้ตลอดไปเพื่อเป็นเยี่ยงอย่างให้กับอนุชนรุ่นหลัง

“เปรียญสิบ” มักพูดอยู่เสมอว่า พระภิกษุสงฆ์ท่านก็คือ มนุษย์เหมือนเรา มีโลภ โกรธ หลง เหมือนปุถุชนทั่วไป เพียงแต่ท่านสละชีวิตแบบโลก..หันไปใช้ชีวิตเพื่อลดละเลิกหรือบรรเทา โลภะ โทสะ โมหะ ลงให้เบาบางลงไป.. ความแตกต่างชีวิตพระสงฆ์กับชาวบ้าน.วัดกันตรงนี้

การที่มี “พระภิกษุ” บางรูป หลงอยู่ใน ยศถาบรรดาศักดิ์ก็ดี หลงอยู่ในความรู้ที่จบระดับสูงก็ดี หรือหลงอยู่ในตำแหน่งทางปกครองก็ดี  อันนั่น มิใช่วิสัยแห่ง “สมณเพศ”

บางรูปหลงในพัดยศ หลงในใบมหาเปรียญใบปริญญาหลงอยู่ในตำแหน่งปกครองไม่พอ ยังใช้ชีวิตเหมือนชาวบ้านทั่วไป ชาวบ้านมีไอโฟนรุ่นล่าสุดตัวเองก็อยากมีบ้าง ชาวบ้านมีรถดี ๆ  มีคนขับก็อยากมีบ้าง ชาวบ้านมีห้องสวย ๆ หรู ๆ   ก็อยากอยู่แบบชาวบ้าน เพราะมันสบายทั้งกายและใจ

พระรูปแบบนี้บวชได้แต่กาย..ใจได้หาบวชไม่!!

จิตใจยังหนาแน่นไปด้วยความโลภ ยังมีอารมณ์โกรธรุนแรง หรือ หลง สะสมแต่ความร่ำรวย เสวยสุข เยี่ยงชาวบ้าน พระคุณรูปนั่นก็สวนทางกับ คำสอนของพระพุทธองค์

มิได้เป็น “เนื้อนาบุญ” อย่างแท้จริง  ชาวพุทธหากทำบุญ ถวายทาน กับพระภิกษุประเภทนี้..อาจได้บุญน้อยกว่า “คนอนาถา” ที่ยากไร้เร่ร่อนอยู่ตามถนนหรือบ้านพักคนชรา คนไร้ที่พึ่ง!!

สาระสำคัญวันนี้คือยกย่อง “สมเด็จสมชาย – สมเด็จธงชัย”  ที่เป็นแบบอย่างที่ดี ในการแสดงความเคารพพระภิกษุผู้มีอายุพรรษามากกว่า..ส่วนเรื่องอื่น ๆ Case by case..

Leave a Reply