คณะสงฆ์จังหวัดน่าน ประชุมกับ ปลัด มท. ร่วมขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน-หมู่บ้านคุณธรรม” วันนี้ 14 พ.ย. 66 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุมพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดน่าน อ.เมืองน่าน จ.น่าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) หมู่บ้านคุณธรรมร่วมกับ 7 ภาคีเครือข่าย โดยนายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย นายวราพงษ์ เกียรตินิยมรุ่ง นายช่างใหญ่ กรมที่ดิน นายสุเมธ มีนาภา รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง นายชูชีพ พงษ์ไชย นายวรงค์ แสงเมือง รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน พร้อมด้วยผู้บริหารกรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม โดยได้รับเมตตาจากพระชยานันทมุนี, รศ.ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง พระครูสิรินันทวิทย์ เจ้าคณะอำเภอเมืองน่าน พระครูสุจิณนันทกิจ เจ้าคณะอำเภอสันติสุข ร่วมประชุม โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ 15 อำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม พระชยานันทมุนี, รศ.ดร. รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน กล่าวสัมโมทนียกถาในช่วงต้นว่า การบริหารกิจการคณะสงฆ์ร่วมกับภาคราชการเพื่อเกื้อหนุนค้ำจุนให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เป็นภาระหน้าที่ของพระสังฆาธิการทุกระดับชั้นที่จะต้องดำเนินการ 6 ด้าน + 1 คือ 1. ด้านการปกครอง 2. ด้านการศึกษา 3. ด้านการเผยแผ่ 4. ด้านการศึกษาสงเคราะห์ 5. ด้านการสาธารณสงเคราะห์ 6. ด้านการสาธารณูปการ และการพัฒนาอนุพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา โดยมี “ไตรสิกขา” เป็นธรรมะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สำเร็จ 3 ขั้นตอน 1) อธิศีลสิกขา (ศีล) 2) อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) และ 3) อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา) การคิดวิเคราะห์ รอบคอบตัดสินใจ พินิจพิเคราะห์เรื่องทั้งหลาย เป็นหลักการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ รู้จักสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบหาสาเหตุของสิ่งทั้งหลาย นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จังหวัดน่านได้รับเมตตาจากคณะสงฆ์เป็นหลักชัยในการร่วมเป็นภาคีเครือข่ายเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นผู้มีจิตใจอยากจะช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยม เป็น “ครู คลัง ช่าง หมอ” และชีวิตของพวกเราทุกคนก็ผูกพันกับพระสงฆ์มาโดยตลอด ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อันเป็นเจตนารมณ์ที่สำคัญของกระทรวงมหาดไทยและคณะสงฆ์ ได้แก่ MOU บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม MOU โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยได้รับเมตตาจากเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม และ MOU ขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 เป็นหลักชัย ร่วมกับผู้นำศาสนาทุกศาสนา ทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ในศีลในธรรมของศาสนาที่นับถือ นั่นคือการตั้งมั่นอยู่ในความดี อันมีเป้าหมายเดียวกันคือ “การบำบัดทุกข์ บำรุงสุขประชาชน” และต้องทำให้พี่น้องประชาชนมีความเข้มแข็ง สามารถดูแลตนเองและครอบครัว และดูแลสังคม ให้มีความอุดมสมบูรณ์พูนสุขโดยถ้วนหน้ากัน “กระทรวงมหาดไทยได้รับพระราชทานพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา น้อมนำพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน” ซึ่งได้พระราชทานผ่านหนังสือ “Sustainable City” และทรงมีพระดำรัสว่า “หน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยคือการทำให้ทุกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านยั่งยืน” โดยกระทรวงมหาดไทยได้น้อมนำแนวทางด้วยการอาศัย 4 กระบวนการสำคัญ คือ การร่วมพูดคุย การร่วมคิด การร่วมทำ และการร่วมรับประโยชน์ ตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระองค์ท่านได้พระราชทานแนวทางความสำเร็จอย่างยั่งยืน ที่ถอดบทเรียนมาจากโครงการพระราชดำริ 4,741 โครงการ ผ่านระบบคุ้มบ้าน ป๊อกบ้าน หรือหย่อมบ้าน โดยมีนายอำเภอเป็นแม่ทัพรบกับความยากจน และหนุนเสริมการ Change for Good ให้กับพี่น้องประชาชน บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน อันสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแนวคิดการขับเคลื่อนหมู่บ้านรักษาศีล 5 หรือหมู่บ้านศีลธรรมทั่วประเทศ เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้คือเรื่องเดียวกัน ทั้งหมู่บ้านศีลธรรมและหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับด้านความมั่นคง ทั้งการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปัญหาคนไม่มีข้าวกิน มีส้วมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีผู้ป่วยติดเตียงหรือมีผู้สูงอายุแล้วไม่มีเงินในการดูแล ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ต้องได้รับการแก้ไขและทำให้เป็นหมู่บ้านยั่งยืนให้ได้ เพราะจุดสำคัญหรือจุดแตกหัก อยู่ที่ “หัวใจ” ที่เราต้องมีความเป็นผู้นำ มีการสร้างทีมในการทำงาน โดยที่ไม่ใช่นายอำเภอตะลุยไปทุกหมู่บ้าน แต่นายอำเภอต้องไปอำนวยการแก้ไขปัญหาของพี่น้องประชาชน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จังหวัดน่านถือเป็นจังหวัดตัวอย่างที่สำคัญในการมีคณะสงฆ์เป็นหลักชัย นำภาคราชการและภาคีเครือข่ายลงพื้นที่แก้ไขปัญหาให้กับประชาชน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงต้น ด้านนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้กรมการปกครองได้ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทั่วประเทศ ยกระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนด้วยการขับเคลื่อน “โครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ให้ครบทั้ง 75,086 หมู่บ้านทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ด้วยการต่อยอดแนวทางตามตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs) 8 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านที่อยู่อาศัย 2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร 3) ด้านความสะอาด 4) ด้านความสามัคคี 5) ด้านความร่วมมือ 6) ด้านการปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ 7) ด้านความมั่นคงปลอดภัย 8) ด้านการมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค เพื่อให้ทุกกรม ทุกรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ทุกจังหวัด อำเภอ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนสนับสนุนทรัพยากรและองคาพยพต่าง ๆ ให้กับท่านผู้ว่าราชการจังหวัด และท่านนายอำเภอ สามารถขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายประชาชนทุกคนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ซึ่งเชื่อมโยงกับหมู่บ้านรักษาศีล 5 หรือหมู่บ้านศีลธรรม ที่กำลังขับเคลื่อนในขณะนี้ จากนั้น อธิบดี รองอธิบดี ผู้บริหาร และผู้ร่วมประชุม ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนงานประเด็นต่าง ๆ อาทิเช่น การน้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” และ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” การขับเคลื่อนโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุก การพัฒนาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ให้เป็น landmark ของจังหวัด การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล การจัดทำผังภูมิสังคมเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชน เป็นต้น นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า ขอให้พวกเราได้น้อมนำแนวทางการดำรงตนเฉกเช่นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะ “ชีวิตคนไม่ยืนยาว” พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพ 80 ปี โดยตลอดเวลาภายหลังทรงตรัสรู้ ก็ได้ทรงประทานคำสอน แนวทางการใช้ชีวิต และทรงมี “ทีมงาน” คือ “ปัญจวัคคีย์” และ “พระอรหันตสาวก 1,250 รูป” จาริกเผยแผ่หลักธรรมคำสอน ซึ่งแม้ระยะเวลา 2,566 ปีล่วงมาแล้ว ก็ยังคงได้รับการถ่ายทอดสอนสั่ง ซึ่งเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่แน่นอน คือ อายุเฉลี่ยคนเราไม่ยืนยาวถึง 100 ปี ดังนั้น เราต้องมี Passion ต้องมีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมจังหวัด เพื่อนร่วมประเทศ เพื่อนร่วมโลกของเราให้มีความสุข ให้พ้นทุกข์ ดังปณิธานมหาดไทยที่ว่า “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ด้วยความรู้ ความสามารถ และพึงระลึกถึงเป้าหมายที่พวกเราเข้ามาเป็นข้าราชการ มาเป็นผู้นำท้องที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออะไร “เพราะเราอยากช่วยเหลือชาวบ้าน ชุมชน จังหวัด ประเทศชาติ” พร้อมทั้งต้องเสาะแสวงหาว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ดีสำหรับชาวบ้าน ด้วยการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิต ทั้งด้านกายภาพ คือ ปัจจัย 4 ที่จะทำให้คนมีชีวิตอยู่ได้ อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ทั้งเรื่องจิตใจ คุณธรรม น้ำใจ ความเสียสละ ความมีเหตุมีผล ยึดหลักทางสายกลาง พอประมาณ และเป็น “ผู้นำต้องทำก่อน” ทั้งในชีวิตส่วนตัว ทั้งในการไปพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน นอกจากนี้ “ต้องสร้างทีมงาน” ตามหลัก “บวร” ทั้งทีมจังหวัด ทีมอำเภอ ทำให้ “ทีมงาน” ทั้งที่เป็นทางการ คือ ทีมตามกฎหมาย เช่น คณะกรมการจังหวัด คณะกรรมการชุดต่าง ๆ คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภา ฯลฯ ที่ต้องได้รับการยอมรับจากผู้นำว่ามีความสำคัญ เพื่อจะได้เกิดกระบวนการร่วมคิด ร่วมพูดคุย ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์ อย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นประจำ และเราต้องสร้างทีมเพิ่มขึ้น คือ ทีมที่ไม่เป็นทางการ คือ ทีมจิตอาสาจาก 7 ภาคีเครือข่าย เพราะจุดแตกหักในการทำงานทุกเรื่องราวอยู่ที่ “หมู่บ้าน” นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันนี้ (14 พ.ย. 66) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวถึงแนวคิดการหนุนเสริมให้การจัดการศึกษาสามารถเป็นหลักในการสร้างชาติ สร้างสังคมไทยให้เข้มแข็ง โดยเสนอให้เด็กต้องเรียนรู้อย่างน้อย 3 วิชาแกนหลักในชีวิต คือ 1) วิชาประวัติศาสตร์ ทั้งประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เพื่อให้คนรู้รากเหง้าของตนเอง บ่มเพาะให้เกิดความภาคภูมิใจ รักความเป็นไทย หวงแหนในสิ่งที่บรรพชนให้ไว้เป็นมรดกทางปัญญา รักษา สืบสาน ต่อยอด ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ประเทศชาติวอดวายเพราะคนในชาติแตกความสามัคคี 2) วิชาหน้าที่พลเมือง ต้องเรียนรู้หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ รวมถึงหน้าที่ของการเป็นลูก การเป็นนักเรียน ฯลฯ ซึ่งเมื่อรู้หน้าที่ ก็จะมีความรับผิดชอบตามมา และ 3) วิชาศีลธรรม (จริยธรรม) เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นคนดีและการเป็นหนึ่งเดียวกัน “น่านจะดีได้ น่านต้องหนึ่งเดียว น่านจะหนึ่งเดียวได้ ต้องมีผู้นำที่ใจถึงพึ่งได้ กล้าพูดคุยกับผู้นำระดับรองลงไป ผู้นำระดับจังหวัดต้องกล้าคุยกับผู้นำระดับอำเภอ ผู้นำระดับอำเภอต้องกล้าคุยกับผู้นำระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน และความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ เราต้องลงมือทำทันที ต้อง Action now เพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งที่ดี การ Change for Good เกิดมรรคผลต่อพี่น้องประชาชน จุดแตกหักอยู่ที่ “หมู่บ้าน” และ “หัวใจผู้นำ” ที่ต้องมีการสร้าง “ทีมงาน” ที่เข้มแข็ง เพื่อช่วยกันทำให้พี่น้องชาวน่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขอย่างยั่งยืน” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้าย จำนวนผู้ชม : 877 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “พระพรหมบัณฑิต” จับมือผู้แทนนักวิชาการไทย ลงนามสัญญาแปลพระไตรปิฏกฉบับบาลี เป็นภาษาอังกฤษเวอร์ชั่นสุดทันสมัย อุทัย มณี ก.ย. 20, 2023 วันที่ 20 กันยายน 2566 พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. (ป.ธ.9,ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์,… “อนุชา”เผย”บิ๊กตู่”หวังใช้วิธีเจริญพระพุทธมนต์ เยียวยาสภาพจิตใจคนไทยสู้ภัยโควิด อุทัย มณี พ.ค. 11, 2021 สมเด็จพระสังฆราชนำคณะสงฆ์และประชาชนทั่วประเทศ ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์… “ณพลเดช” งงผู้ใหญ่บ้านมอบโฉนดเป็นที่ น.ส.ล. เผยสามารถสร้างวัดได้ อุทัย มณี เม.ย. 18, 2024 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 เวลา 11.00 น. ที่วัดป่าสักเหนือ อ.พาน เชียงราย… รายชื่อพระภิกษุ-สามเณรที่สอบได้ “เปรียญธรรม 8 – 9 ประโยค” อุทัย มณี เม.ย. 05, 2021 เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ (5 เม.ย.64 ) ที่ศาลาอบรมสงฆ์ วัดสามพระยาวรวิหาร… ปลัดมหาดไทยทอดผ้าป่าสมทบทุน “มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ” เพื่อสืบสานพระบรมราโชวาทในหลวงรัชกาลที่ 9 อุทัย มณี มิ.ย. 20, 2023 วันที่ 20 มิ.ย. 66 เวลา 14.00 น. ที่ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร… ก.วัฒนธรรมยกทัพบุก The People Show ททบ.5 จัดเต็มไฮไลท์เด็ด ชวนเที่ยวงานฉลองกรุง ฯ เที่ยววัด ชมวัง แต่งไทยไป ชม ชิม แชะกัน อุทัย มณี เม.ย. 22, 2023 งานใต้ร่มพระบารมี 241 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่… “มศว”จัดสัมมนานาชาติวันสันติภาพโลก นิมนต์เจ้าคุณสวีเดนร่วมงาน อุทัย มณี ม.ค. 15, 2020 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ.2563 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับ บริษัทมติชน… อดีตพระพรหมสิทธิ นำคณะพระอาจารย์จีนวิเทศศาสนานุวัตร (หมิงยี่) เจ้าอาวาสวัดฟูไฮ่ฉาน ประเทศสิงคโปร์ เยี่ยมชม เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ อุทัย มณี ก.ย. 10, 2022 วันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2565 เวลา 14.00 น. อดีตพระพรหมสิทธิ (พระธงชัย… ภาพประวัติศสตร์หลวงพ่อคูณบริจาคสรีรสังขารม.ขอนแก่น อุทัย มณี ม.ค. 20, 2019 ภาพประวัติศสตร์หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ในวันบริจาคศพให้คณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น… Related Articles From the same category กิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น เชิญธงตราสัญลักษณ์ฯ ครบ 28 วัน รวมธง 720 ผืน ลำดับต่อไปร่วมริ้วขบวนเชิญคนโทน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์เข้าสู่ “วัดพระเชตุพน” ก่อนนำทูลเกล้า ฯ วันนี้ (28 มิ.ย. 67) นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า… สมเด็จพระมหาธีราจารย์เป็นประธานพิธีมุทิตาสักการะ ป.ธ.9 มอบโล่เกียรติยศ และทุนการศึกษาแด่สำนักเรียนบาลีดีเด่นทั่วประเทศ เนื่องในวันสมาธิโลก ณ วัดพระธรรมกาย วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย… พลัง “บวร” มหานครโคก หนอง นา ปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่อุบลราชธานี วันที่ 6 ตุลาคม 2565 เวลา 10.00 น. นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี… รายงานพิเศษ : เยือน “ถิ่นไทยนักปราชญ์” ยลจังหวัดผู้ให้กำเนิดคำว่า “โคก หนอง นา” เคยได้ยิน “พี่เก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… “มูลนิธิต่อต้านการทุจริต-มจร” สร้างพระช่อสะอาดรุ่น2 เสริมสุจริตวัฒนธรรมชุมชนและสังคมไทย มูลนิธิต่อต้านการทุจริตจับมือมหาจุฬาฯ ผนึกกำลังพัฒนาพระสงฆ์ช่อสะอาด…
Leave a Reply