ปลัดมหาดไทยนำภาคีเครือข่ายชาวสุรินทร์ เปิดป้าย “โครงการารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ” วันนี้ (9 มิ.ย. 67) เวลา 11.30 น. ที่บ้านตะเคียน หมู่ที่ 14 ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดป้ายโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตรตามแนวพระราชดำริ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และตรวจเยี่ยมศูนย์เรียนรู้ต้นแบบการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจังหวัดสุรินทร์ “ไหมพันล้านแก้จนคนสุรินทร์” โดยมี นายประภาส ศรีจันทร์เวียง นายวสันต์ ชิงชนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายศิริพันธ์ ศรีกงพลี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นางวาสินี แสนทอง นางแสงดาว ศรีจันทร์เวียง นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์และรองประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุรินทร์ นายคมกริช ชินชนะ ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นายดุษฎี เจริญลาภ ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายกิตติ สัตย์ซื่อ ปลัดจังหวัดสุรินทร์ นางสาวสุปราณี มหาพัฒนไทย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสุรินทร์ นายกิติชัย เกตุวงษา ท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ นายธนโชติ เกษตรสิงห์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสุรินทร์ นายโสภณ ยอดพรหม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่ โดยได้รับเมตตาจาก พระครูสิริจันทประสุต รองเจ้าคณะอำเภอเมืองสุรินทร์ พระครูสุวัฒนธรรมวงศ์ พระเถรานุเถระ ร่วมให้การต้อนรับ โดย นายคำพูน ไชยโยธา ปลัดอำเภอประจำตำบลสวาย นายวิโรจน์ กองสนั่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวาย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน พี่น้องประชาชน คณะครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกเมือง รวมกว่า 300 คน ร่วมให้การต้อนรับ โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พบปะพี่น้องประชาชนผู้มาให้การต้อนรับ และรับฟังบรรยายนิทรรศการโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยะเกษตรตามแนวพระราชดำริ บ้านตะเคียนหมู่ที่ 14 ตำบลสวายอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และเป็นประธานเปิดแพรคลุมป้ายโครงการฯ และร่วมปลูกต้นกันเกรา หรือชื่อภาษาถิ่นสุรินทร์ เรียกว่า “ปกาสตราว” ต้นคราม และต้นหม่อน ทั้งปล่อยปลาบริเวณหนองน้ำในโครงการฯ และเยี่ยมชมนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านโคกเมือง นิทรรศการ อพ.สธ. ตำบลสวาย นิทรรศการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตลาดไหมใต้ถุนเรือน นายสุทธิพงษ์ กล่าวว่า ขอชื่นชมยินดีกับพี่น้องประชาชนชาวบ้านตะเคียน ตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต ด้วยการเป็นผู้ร่วมคิด ร่วมพูดคุย ร่วมลงมือทำ กับพวกเราชาวกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อทุกรูป เมตตาเป็นหลักชัยในการให้พรและหนุนเสริม การสร้างเสริมสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้นในพื้นที่ อันแสดงถึงพลัง “บวร” อันประกอบด้วย บ้าน วัด โรงเรียน และราชการ ด้วยการนำที่สาธารณะ ที่ของทางราชการ มาทำให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยน้อมนำพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานผ่านพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ให้แก่ข้าราชบริพารในพระองค์ ความว่า “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อันเป็นสิ่งที่ขอให้พี่น้องประชาชนทุกคนได้พินิจพิจารณาว่า สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานมานั้น ด้วยเพราะพระองค์ทรงมีความห่วงใยพสกนิกรของพระองค์ท่าน นั่นคือ คนไทยทุกคน ด้วยการ “แก้ไขในสิ่งผิด” เพื่อเป้าหมายสำคัญ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข” โดยเรื่องใหญ่ คือ พระองค์ท่านทรงเชิญชวนให้พวกเราขบคิดว่า สิ่งดี ๆ ต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษของเรายังมีอะไรคงเหลืออยู่บ้าง หรือสิ่งใดที่บัดนี้คนในสังคมเลิกถือปฏิบัติไปแล้ว โดยสิ่งหนึ่ง คือ “นิสัยคนไทย” คือ มีความรัก ความเมตตา ความกรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นมิตรกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก มีจิตใจที่เอื้ออาทรกันอย่างล้นเปี่ยมบริบูรณ์มากในหมู่บ้านตะเคียนของพวกเรา แต่ถ้าเป็นเมืองใหญ่ ๆ ปัจจุบันแทบไม่เหลือ บ้านใกล้เรือนเคียงไม่รู้จักกัน อยู่ในซอยเดียวกันก็ไม่รู้จักกัน ไม่เคยคุยกัน เหล่านี้คือ “สิ่งผิด” ที่เราต้องช่วยกันแก้ไข และถ้าดีอยู่แล้ว ก็ต้องช่วยกันขยายผลสิ่งที่ดี ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชน “พื้นที่บ้านตะเคียนแห่งนี้ เป็นพื้นที่ตัวอย่างของการเสริมสร้างสิ่งที่ดีในชีวิตพี่น้องประชาชน เพราะมีสิ่งที่เรียกว่า “ความยั่งยืน” อันเกิดจากการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาขับเคลื่อน อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรักปลูกผักกินเอง” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สอดแทรกอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา อารยเกษตร ซึ่งจะทำให้พวกเราสามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส มีกินมีใช้ ในพื้นที่ของเราเอง โดยนำหลักการ “ขาดทุนคือกำไร” ขาดทุนที่ต้องเหนื่อยยากทำมาหากินในพื้นที่ แต่เป็นกำไรของชีวิต เพราะเราสามารถมีกินมีใช้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในพื้นที่ของเรา โดยไม่ต้องไปเลือกซื้อเลือกหาหรือหยิบยืมจากผู้อื่น นอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงด้านเครื่องนุ่งห่ม สอดคล้องกับนโยบายของท่านผู้ว่าฯ พิจิตร บุญทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ที่ท่านได้ Kick Off “โครงการไหมพันล้านแก้จนคนสุรินทร์” สะท้อนความหมายว่า ทำให้มีรายได้เยอะ ๆ เป็นหลักพันล้าน ด้วยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการส่งเสริมให้พวกเราปลูกต้นหม่อนเยอะ ๆ ช่วยกันเลี้ยงไหมมาก ๆ และถ่ายทอดภูมิปัญญาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมไปสู่ลูกหลาน รวมทั้งสมาชิกลูกหลานในตำบลไม่ทอดทิ้งภูมิปัญญาการสาวไหม การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และมีการปลูกพืชให้สี เพื่อใช้สีธรรมชาติในการย้อมผ้า ไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังร่างกาย” นายสุทธิพงษ์ กล่าวในช่วงต้น นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอรรถาธิบายคำว่า “อารยเกษตร” คือ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาประยุกต์สู่อารยเกษตร หรือที่เราเรียกชื่อเล่นแต่เดิมว่าโคก หนอง นา อันเป็นการเรียกตามการปรับปรุงพื้นที่ให้มีหนอง ขุดสระ ขุดหนอง ขุดคลองไส้ไก่ นำดินมาทำเป็นโคก เป็นที่ดอน เป็นที่ลุ่มสำหรับปลูกพืช 5 ระดับ สูง กลาง ต่ำ เตี้ย เรี่ยดิน ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ป่า 3 อย่าง ประกอบด้วย 1 ไม้กินได้ 2 ไม้ทำที่อยู่อาศัย 3 ไม้ใช้สอย เกิดประโยชน์อย่างที่ 4 คือ ทำให้ร่มเย็น เป็นสุข รวมทั้งปฏิบัติตามทฤษฎีบันได 9 ขั้น คือ ขั้นที่ 1-4 พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น ขั้นที่ 5 คือทำบุญ ขั้นที่ 6 คือทำทาน ซึ่งสามารถทำได้ด้วยวิธีต่าง ๆ รวมถึงการทำทานด้วยกล้าไม้ ขั้นที่ 7-9 การรู้จักเก็บรักษา การรวมกลุ่มเครือข่ายเพื่อค้าขายผลผลิต ทั้งนี้ คำว่า “อารยะ” แปลว่า สวยงาม “เกษตร” แปลว่า แผ่นดิน “อารยเกษตร” จึงหมายความว่า แผ่นดินที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์ การที่จะทำให้แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ได้ เราต้องน้อมนำสิ่งที่พระองค์ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ด้วยการนำมาทำให้ดีกว่าเก่าโดยไม่ทิ้งรากฐานหรือทฤษฎีที่เป็นฐาน โคกหนองนาบวกกับวัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต ความเป็นไทย ดังพระราชดำรัส “อารยเกษตร” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2564 ความตอนหนึ่งว่า “โคก หนอง นา นอกจากเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ทางด้านเกษตรกรรม แล้วยังเป็นศิลปะ เป็นแบบฝึกหัดที่ดี ในการที่จะรวมเกษตรที่หลากหลายให้มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในเวลาเดียวกัน รักษาความหลากหลาย แต่ความหลากหลายนั้นก็เกื้อกูลซึ่งกันและกัน โคกหนองนา ความหมายดีอยู่แล้ว ก็คือเกษตรเพื่อความอุดมสมบูรณ์ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน และชีวิตของพวกเรา เพราะว่าประเทศของเรานี้ไม่หนีเรื่องการเกษตรคือปากท้อง และเป็นชีวิตของเราตามพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานมา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณมามากมายในเรื่องของเกษตร ในเรื่องของการพัฒนา อันนี้ก็เป็นการรวม หรือแสดงตัวอย่าง และเป็นตัวอย่างที่ใช้งานได้จริงๆ นำไปใช้ได้ ไม่ใช่เป็นโมเดลที่แสดงไว้ในตู้ อยู่คงที่ แต่เป็นโมเดลที่ใช้งานได้จริง ๆ นำไปใช้ได้อย่างอ่อนตัว อย่างใช้งานได้จริง ๆ แล้วก็หลากหลายได้…ดังนั้นโคก หนอง นา จึงเป็นการเสริมพื้นที่นี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น พวกเราทุกคน ก็ถือว่า สืบสาน ต่อยอด คือ ความต่อเนื่อง และการรู้ความเป็นมา การพัฒนา สืบสาน ต่อยอดให้ดียิ่งขึ้น แล้วก็ต้องรักษาประเพณี รักษาที่มาที่ไปของประเทศไทยไว้…” ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานเป็นครั้งแรกให้กับกรมราชทัณฑ์ ในชื่อ โครงการโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ต้องขังได้รับการเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต ทักษะการประกอบอาชีพ และเมื่อพ้นโทษก็จะสามารถมีทักษะในการใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่ของตนเอง ทำให้ที่ดินเกิดสิ่งที่เรียกว่าคุณค่า อันจะส่งผลให้ชีวิตของพวกเขามีคุณค่า และไม่กลับไปกระทำผิดอีก ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราทุกคน ก็จะมีความสุขไปด้วย นายสุทธิพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันเฉลิมฉลองและเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงมหาดไทยมุ่งมั่นในการน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาขยายผลให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ ภายใต้การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอในฐานะนายกรัฐมนตรีของพื้นที่ ที่ต้องเป็นผู้นำการบูรณาการภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ ภายใต้ชื่อ ทีมจังหวัด ทีมอำเภอ ทีมตำบล ทีมหมู่บ้านบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ด้วยการ “บูรณาการสรรพกำลัง” ทั้งคนและงบประมาณ และ “บูรณาการงาน” ทำ 1 ต้องได้มากกว่า 2 เช่น ทำเป็นที่พักผ่อน ทำเป็นศูนย์เรียนรู้ ให้ความรู้ต้นไม้ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มแปรรูป โดยมีตัวอย่างที่สำคัญที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพระราชดำริล่าสุด คือ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร เพื่อเป็นแก้มลิงเก็บน้ำ หน้าฝนไม่ให้น้ำท่วม หน้าแล้งมีน้ำใช้ โดยรอบบึงสีไฟก็มีการทำเส้นทางจักรยาน และออกกำลังกายรูปแบบต่าง ๆ “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ แห่งนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะมอบเป็นของขวัญให้กับพี่น้องประชาชน วันนี้ชื่นใจว่า เราจะได้ทำเป็นศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทำเป็นสวนสมุนไพร และมีการปลูกผักสวนครัวสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เราจะมีปลูกหม่อน ที่กักเก็บน้ำ เพื่อทำให้พี่น้องประชาชน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในที่ดินของตนเอง ทำให้มีที่อยู่อาศัย มีที่ทำมาหากินที่สวยงาม เพิ่มพูนจากการมีความมั่นคงด้านอาหารการครองชีพ เป็นเหมือนรีสอร์ทที่ทำให้จิตใจเบิกบาน ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ “การปฏิบัติบูชา” ด้วยการทำความดี ทำให้เกิดสิ่งที่ดี เพื่อประโยชน์สุขเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ด้วยการสนองแนวพระราชดำริที่พระองค์ทรงปรารถนาที่จะให้พวกเราทุกคนช่วยกันแก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งมั่นทำให้ “ประชาชนมีความสุข หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ประเทศชาติของเรามีความมั่นคง” อย่างยั่งยืน จำนวนผู้ชม : 808 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author อธิบดี พช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม “โคก หนอง นา” อำเภอคลองหลวง ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต อุทัย มณี ส.ค. 29, 2021 เมื่อวันที่ 28 ส.ค. 64 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน… “ป.ธ.9” แจง!! “การบรรลุธรรม” และความเป็นพระอนาคามี 5 ประเภท? อุทัย มณี เม.ย. 26, 2024 วันที่ 26 เม.ย. 67 นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา… ที่มา “มหาเถรสมาคม” ตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์ . อุทัย มณี ส.ค. 01, 2023 ปลายปีนี้หากไม่ผิดพลาดประการใด คณะสงฆ์คงจักได้ "กรรมการมหาเถรสมาคม"… เรื่อง: ลำดับสมณศักดิ์พระสงฆ์ไทย อุทัย มณี ต.ค. 28, 2023 พระสงฆ์ไทยอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์องค์ศาสนูปถัมภ์… มหาดไทยระดมพล ถกแนวคิด “ผู้ว่าฯ CEO” เพื่อขับเคลื่อนงาน “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” อุทัย มณี ก.ย. 26, 2023 วันนี้ 26 ก.ย. 66 เวลา 09.00 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย… ปลัดกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่ติดตามแก้จน สำรวจพบ 3.5 ล้านครัวเรือนไทยยากจนตามนิยาม “ทุกปัญหาความเดือดร้อนคือ ความยากจน” อุทัย มณี พ.ค. 21, 2022 วันนี้ 21 พ.ค. 65 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมพระมงคลมิ่งเมือง ชั้น… เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง (SEDZ) “จังหวัดเพชรบุรณ์” ปัง!! มีคนสมัคร 232 ราย พื้นที่ 727 ไร่ อุทัย มณี ธ.ค. 02, 2021 วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา นางสาวมนทิรา เข็มทอง พัฒนาการจังหวัดเพชรบูรณ์… “อธิการบดี มจร” เปิดสัมมนาพระไตรปิฎกศึกษา หวังเป็นฐานพัฒนาชุมชนสังคมยุคปัญญาประดิษฐ์ อุทัย มณี ก.ย. 12, 2022 เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๕ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา… “ปลัดเก่ง” พบผู้ว่าฯ 20 จังหวัดภาคอีสาน ย้ำจงเป็น “ราชสีห์ผู้ภักดีของแผ่นดิน” อุทัย มณี มี.ค. 28, 2024 วันที่ 28 มี.ค. 67เวลา 15.00 น. ที่ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทพนครและอัลวาเรซ… Related Articles From the same category ปลัดกระทรวงมหาดไทยนำข้าราชการวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ ร.6เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต วันที่ 25 พ.ย. 65 เวลา 08.00 น. ณ พระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว… สสส.หนุนคณะสงฆ์บุรีรัมย์ จัดตั้งกองบุญ เพื่อสุขภาพพระสงฆ์ คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะสงฆ์ตำบลบ้านแวง ซึ่งได้รับคัดเลือกให้พื้นที่นำร่องระดับตำบล… “วิชา”ยกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ช่วยสร้างสังคมไทยสันติสุขช่วงโควิดระบาดหนัก "วิชา"ยกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างสังคมไทยสันติสุขช่วงโควิดระบาดหนัก… เจ้าคณะเขตฯประชุมติดตามการเตรียมความพร้อมจัดงานมหกรรมราษฎร์บูรณะศีลบวร วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565 พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ, ดร. เจ้าอาวาสวัดสารอด… หลักสูตรสันติศึกษา “มจร” เตรียมดึงพลังบวร ปั้น WAT Next ยกระดับการพัฒนาวัดตอบโจทย์สังคมเมือง หลักสูตรสันติศึกษา "มจร" เตรียมดึงพลังบวร ปั้น WAT Next ให้เป็น…
Leave a Reply