“ผู้เขียน” ได้รับการอำนวยความสะดวกจาก “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้านที่ทำแปลง “โคก หนอง นา” ทั่วประเทศมาแล้วประมาณ 7-8 รอบ ๆ ละไม่ต่ำกว่า 10 จังหวัด การลงพื้นที่แต่ละครั้งน อกจากพูดคุยกับชาวบ้านแล้ว จะแวะไปดูชุมชนของพระมหาเถระต่าง ๆ ที่พอรู้จักกัน บางครั้งก็ไปค้างแรมที่วัดบ้านเกิด หรือศูนย์ปฎิบัติธรรมของท่านเหล่านี้ แล้วแต่โอกาส ขณะเดียวกันก็ไปดูสิ่งที่พระคุณเจ้าเหล่านี้ ไปพัฒนาบ้านเกิดของท่าน หากพูดตรงไปตรงมา ท่านเหล่านี้ได้ดีแล้ว “ไม่ลืมตน” ซึ่งหมายถึงถิ่นที่เคยเหยียบย่ำ เคยอยู่ เคยวิ่งเล่น ที่สังคมไทยยุคหนึ่ง เราพยายามรณรงค์กันว่าขอให้ “จิตสำนึกรักบ้านเกิด” มีความกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดินที่เคยอยู่อาศัย
“ผู้เขียน” ยอมรับว่า การจะพูดถึงสุดยอดพระภิกษุที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิดเป็นสิ่งที่“ตัดสินใจ” ลำบากมาก เพราะพระภิกษุที่รู้จักมีมาก และหลายรูปแม้ตัวจะอยู่เมืองกรุง แต่ “หัวใจ” ยังอยู่ที่บ้านเกิด เช่น “เจ้าคุณหรรษา” พระเมธีวัชรบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น กรุงเทพมหานคร ผู้เขียนเคยไปบ้านเกิดท่าน ณ บ้านท่าคอยนาง อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ อย่างน้อย 2 ครั้ง ท่านก็ไปสร้างไปพัฒนาวัดบ้านเกิดของท่าน ทั้งสร้างศาลาปฎิบัติธรรมชายและหญิง หอประชุมขนาดใหญ่ ไปสร้างอาชีพทำแปลง “โคก หนอง นา” บ้านเกิดของท่านแม้แต่ “เจ้าคุณสมบัติ” พระมงคลวชิรากร วัดพระเชตุพน ฯ คนศรีสะเกษเฉกเช่นเดียวกันกับ “เจ้าคุณหรรษา” ก็ไปพัฒนาบ้านเกิดสร้างอาชีพ สร้างงานให้กับคนในชุมชน “พระมหาอดิศักดิ์ อภิปญฺโญ” เจ้าอาวาสวัดบรมสถล หรือ “วัดดอนยานนาวา” รูปนี้ก็มีจิตสำนึกรักบ้านเกิดกลับไป “สร้างโบสถ์” สร้างศูนย์ปฎิบัติธรรมบ้านเกิดจังหวัดสกลนคร หรือแม้กระทั้ง “พระมหาชุมพร” พระวชิรรัตนาภรณ์ เลขานุการวัดอรุณราชวราราม ตอนหลัง ๆ มานี้ก็เห็นกลับไปพัฒนาบ้านเกิด ณ จ.มหาสารคาม และรวมอีกหลายรูปที่ผู้เขียนไม่รู้จัก หรือ ที่รู้จัก แต่ที่ไม่เขียนถึง สาเหตุอันเดียวคือ.. ข้อมูลไม่มี
บทบาทพระสงฆ์กับบ้านเกิดหรือสังคมไทย ในอดีตพระคือ แกนนำของหมู่บ้าน อย่างน้อยทำหน้าที่ 3 ประการ คือ หนึ่ง เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านทั้งเรื่องขจัดความขัดแย้ง การให้การศึกษา หรือแม้กระทั้งที่พึ่งอื่น ๆ สอง เป็นตัวกลางในการประสานงานระหว่างภาครัฐและชาวบ้าน และ สาม เป็นแกนนำหลักในการพัฒนาหมู่บ้านทั้งเรื่องถนน สะพาน ไฟฟ้า เป็นต้น
“ผู้เขียน” มักอ้างแบบอย่างของ “พระอุปัชฌาย์” อยู่เสมอ ๆ คือ “หลวงพ่อลำใย” พระมงคลสิทธิคุณ วัดทุ่งลาดหญ้า อ.เมือง จ.กาญจนบุรีว่า ท่านเป็นแบบอย่างของ “พระเกจิ” และ “พระนักพัฒนา” ท่านสร้างทั้งโรงเรียน สถานีอนามัย ถนน สะพาน บ้านพักคนชรา หรือแม้กระทั้งหอสมุด ได้เงินมาไม่เคยสะสมเป็น “สะพานบุญ” ให้กับชาวพุทธอย่างแท้จริง
พระคุณเจ้า 5 รูปที่ผู้เขียนนำมาแบบเป็นอย่าง ยกย่องให้เป็นสุดยอดของพระภิกษุ ผู้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด เพราะผู้เขียนเคยลงพื้นที่ไปดู ไปนอน ไปเก็บข้อมูลกับชาวบ้านในชุมชนนั่น ๆ มาแล้ว ซึ่ง 5 รูปประกอบด้วยพระภิกษุ ดังต่อไปนี้
1.พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต
พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต หรือ “พระครูต้น” ช่วยเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ในแวดวงชาวพุทธอาจไม่ค่อยรู้จัก แต่ในแวดวงชาว โคก หนอง นา หรือคน “กระทรวงมหาดไทย” รู้จักกันดี เพราะทำงานเคียงคู่กับ “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ มาต่อเนื่อง และมีความใกล้ชิดกันดี
“ผู้เขียน” กับพระครูต้น ไม่ได้รู้จักการเป็นส่วนตัว รู้จักเพราะผ่าน “ปลัดเก่ง” ซึ่งล่าสุดผู้เขียนลงพื้นที่ “บ้านเกิด” พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต ณ บ้านวังงิ้ว อ.ดงเจริญ จ.พิจิตร โดยมี “พี่อาร์ต” เพื่อนรุ่นพี่ของพระครูต้นพาไปดูแปลง โคก หนอง นา ที่พระครูต้นทำไว้เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับชุมชน นอกจากนี้ “ไกด์กิตติมศักดิ์” ยังได้พาชมโรงเรียนวังงิ้วพิทยาคมที่ “พระครูต้น” เคยเรียน ซึ่งท่านไปสร้าง “ร้านกาแฟ” เพื่อให้นักเรียนฝึกอาชีพ มีรายได้ พร้อมทั้งเรือน สหกรณ์ ของโรงเรียน ด้วย เจอ “เจ้าหน้าที่” ของโรงเรียนบอกว่า “พระครูต้น” นอกจากสร้างร้านกาแฟ พร้อมอุปกรณ์ มอบให้โรงเรียนแล้ว ท่านยังเมตตามอบ “ทุนการศึกษาฟรี” ให้นักเรียนจำนวน 10 ทุน ส่งเรียนจนจบปริญญาตรีด้วย นอกจากนี้ที่ รพ.สต.ตำบลวังงิ้วใต้ “พระครูต้น” ก็ปรับปรุงอาคารทำเป็นห้อง “ทันตกรรม” มีหมอประจำ พร้อมอุปกรณ์ทันตกรรมด้วยเช่นกัน
แต่ที่ยิ่งใหญ่กว่าคือ “อุโบสถ” วัดที่พระครูต้นเคยบวชเรียน เคยอยู่ ท่านสร้างอุโบสถไว้สวยงาม เท่าที่ทราบสิ้นงบประมาณไปประมาณ 30 ล้านบาท ความจริง “พระครูต้น” หรือ พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต สร้างไว้กับ “บ้านเกิด” ของท่าน มีมากกว่านี้ทั้งเรื่อง สร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ ช่วยเหลือศูนย์ผู้สูงอายุ ให้ทุนการศึกษาเด็กโรงเรียนใกล้เคียงอื่น ๆ
นอกจากนี้ “ผลงาน” ของพระครูต้น “ยังมี” อีกมากทั้ง “ทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง” ที่วัดบางหลวงหัวป่า จ.ปทุมธานี ตอนนี้พัฒนาไปแล้วมีมูลค่านับร้อยล้านบาท หรือแม้กระทั้งนำที่ดินวัดระฆัง ฯ จังหวัดนครนายกจำนวน 150 ไร่ ให้กระทรวงมหาดไทยทำเป็น “ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต ตามแนวทางพุทธอารยเกษตร สู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน”
เหตุนั่น “พระครูต้น” หรือ พระครูสุภัทรธรรมโฆษิต จึงเป็นพระรูปหนึ่งที่ควรยกย่องว่าเป็นสุดยอดของพระภิกษุผู้มีจิตสำนักรักบ้านเกิด
2.พระราชมหาเจติยาภิบาล
“เจ้าคุณต่อศักดิ์” หรือ พระราชมหาเจติยาภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์ และประธานศูนย์ปฎิบัติธรรมวัดพระธาตุชัยภูมิ เรา “สนิทกัน” เนื่องจากเป็น “ศิษย์” วัดอรุณราชวรารามด้วยกัน “เจ้าคุณต่อศักดิ์” เป็นพระนักพัฒนามาแต่ไหน แต่ไรแล้ว อยู่ที่ไหนพัฒนาที่นั้น เป็นคน..อยู่นิ่งไม่เป็น
“ผู้เขียน” เคยไปพักที่ศูนย์ปฎิบัติธรรม “พระธาตุชัยภูมิ” บ้านเกิดของท่าน ตั้งอยู่บนเนินเขา กลายเป็น “สถานที่ท่องเที่ยว” ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับชุมชนของท่านมิใช่น้อย นอกจากนี้ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” ยังชวนไปดูแปลง โคก หนอง นา ลูกศิษย์จากประเทศอังกฤษมาทำไว้ โดยให้ญาติดูแล และทราบว่าตอนนี้ท่านกำลังทำแปลงโคก หนอง นา ขนาดใหญ่ ณ ศูนย์ปฎิบัติธรรมพระธาตุชัยภูมิ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
“เจ้าคุณต่อศักดิ์” ท่านไปไหนท่านชอบ “สร้าง” เป็นคนหัวทันสมัย แม้ไปอยู่ “วัดโบสถ์” ปทุมธานี ตอนนี้ก็พัฒนาจนคนในชุมชนเอง..ก็งงอยู่ว่า..ทำไปได้อย่างไร??
3 .พระธรรมวชิโรดม
“พระธรรมวชิโรดม” เจ้าคณะภาค 6 เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม หรือ “เจ้าคุณพล” เพิ่งได้รับโปรดเกล้า ฯ สมณศักดิ์มาใหม่ ๆ ถิ่นกำเนิด บ้านเก็ต ต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน “บ้านเก็ต” เป็นชุมชนไทลื้อขนาดใหญ่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนามาร่วม 200 ปีแล้ว วัดภูเก็ตตั้งอยู่บนเน้นเขา มีอาคารพัก “อาคันตุกะ” เห็นชื่อเจ้าภาพหลายคนส่วนใหญ่ใกล้ชิดกับ “เจ้าคุณพล” แม้กระทั้ง “เจ้าคุณเทียบ” พระเทพวัชราจารย์ ก็มีรายชื่อเป็นเจ้าภาพห้องพัก มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่สร้างโดยตระกูล “เตชะไกรศรี” ตระกูลนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชื่อดัง รวมทั้ง “ศาลาประชุม” หลังใหญ่ กุฎิหลายหลัง อุโบสถ์หลังงาม ศาลาพิพิธภัณฑ์ที่สร้างโดย “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ “บันได” เชื่อมเจ้าภาพเหล่านี้ เป็นใครไม่ได้นอกจาก “เจ้าคุณพล” ปัจจุบันคือ “พระธรรมวชิโรดม” นอกจากนี้ “เจ้าคุณพล” ยังให้ทุนการศึกษาสามเณรที่จบการศึกษาจากโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดภูเก็ต ให้ทุนการศึกษาในเด็กในชุมชนอีกหลายสิบทุน รวมทั้งส่งเสริม “สัมมาชีพ” ประเภททอผ้าไทลื้อของชุมชนภูเก็ตเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันด้วย
4.พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี
“องค์ม่อน เครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี” หรือ พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี แห่งสำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมาราม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว รูปนี้ “สนิทกัน” ตั้งแต่เป็นสามเณรอยู่วัดสังข์กระจาย ฯ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ตอนเป็นสามเณร ไม่เห็นมี “วี่แวว” ว่า โตขึ้นจะ “โด่งดัง” มีชื่อเสียง และกลายเป็น “พระนักพัฒนา” แบบนี้
“องค์ม่อน” หลังจากการศึกษาระดับปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ก็กลับบ้านเกิด ไปอาศัยอยู่ที่ดิย “มรดก” ที่คุณตา ซึ่งบวชเป็นพระก่อนแล้วไป “เปิดทาง” เอาไว้ ทำทุกอย่างเพื่อให้ “คนเข้าวัด” ทำทุกอย่างเพื่อให้คนในชุมชน “ยอมรับ” ความเป็นพระภิกษุ ดึงคนให้เข้าวัดหลากหลายวิธีการ พร้อมทั้งชวนเด็กและเยาวชนไปดูแลผู้สูงวัยในชุมชน ตั้งธนาคารผ้าแพมเพิสกับให้ผู้ป่วยติดเสียงในอำเภออรัญประเทศ เปิดสำนักธรรมป่าโมกข์ธรรมารามให้เป็น “ศูนย์พักพิง” ทั้งทางกายและทางใจ ภายในสำนัก ฯ มีแปลงโคก หนอง นา มีธนาคารเมล็ดพันธ์ข้าว มีร้านกาแฟ ให้เด็ก ๆ ในชุมชนมีรายได้
ปัจจุบัน “องค์ม่อน เครือข่ายธรรมาอารมณ์ดี” กลายเป็น “พระดาวรุ่ง” ของจังหวัดสระแก้วที่มุ่งอุทิศตนตามรอยบาทของพระศาสดา เป็นที่พึ่งไม่เฉพาะเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ และชุมชน เท่านั้น สำนักปฏิบัติธรรมป่าโมกข์ธรรมาราม ได้สร้างชื่อเสียงให้กับคณะสงฆ์ในจังหวัดสระแก้ว ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับคณะสงฆ์ในภาพรวมได้ช่วยเช่นกัน
จึงนับได้ว่า “พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี” หรือ องค์ม่อน ธรรมะอารมณ์ดี เป็น 1 ใน 5 สุดยอดของพระภิกษุผู้มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด
5.พระมหาอ้าย ธีรปญฺโญ
Leave a Reply