@ ศาสนากับสงคราม ?
หากเราศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนากันให้ดีๆจะพบว่า มีหลายศาสนาหรืออาจะบางศาสนาที่เกิดขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ ที่ผ่านมานี้ใช้วิธีการเผยแผ่ศาสนาด้วยการเอาศาสนามาเป็นนโยบายของรัฐ หรือเาอรัฐกับศาสนามารวมๆอยู่ด้วยกัน ทำให้เกิดการ “ทำสงครามศาสนา” เกิดขึ้น เพื่อปกป้องดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ส่วนจะเป็นศาสนาไหน ไปศึกษากันเอาเอง ประวัติศาสตร์มีให้เรียนรู้กันอยู่แล้ว
@ พระุพุทธศาสนากับ “สงครามและการรบ” ?
อย่างที่เราทราบกันดีว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาเแห่งเหตุปัจจัย เป็นศาสนาแห่งการมีเมตตา เป็นศาสนาแห่งการให้อภัย และเป็นศาสนาที่เชื่อในเรื่องของ “กรรม” หรือ “กรรมวาที” ไม่มีการกำหนดเป้าหมายของศาสนาไว้ที่ “พระเจ้า” แต่กำหนดเป้าหมายของพระศาสนาไว้ที่ “พระรัตนตรัย” หรือที่พึ่งอันเกษมสูงสุดได้แก่ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ไม่เหมือนกับศาสนาที่มีพระเจ้าทั้งหลายที่มีพระเจ้าเป็นสรรพสิ่งของชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
พระพุทธศาสนาได้กำหนดและวางท่าทีเกี่ยวกับ “ความรุนแรงทางสังคมและการสร้างความขัดแย้งระหว่างรัฐ”ไว้ใน หลักศีล ๕ ศีลข้อที่ ๑ ห้าทำร้ายและเบียดเบียน และยังวางนโยบายเกี่ยวกับการเผยแผ่ศาสนาว่า ต้องเป็นแบบ อนูปฆาโต อนูปวาโท คือไม่เข้าไปทำร้านและเข้าไปว่าร้ายคนอื่นที่อยู่ต่างศาสนาหรือผู้ที่ไม่เชื่อ และวางหลักการปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธเอาไว้ที่ “ความอดทน” กล่าวคือการเป็นชาวพุทธที่ดีก็คือจะต้องเป็นผู้ที่มีความอดทนอดกลั้น
จะเห็นว่าหลักการทางพระพุทธศาสนานั้นมีความชัดเจนในเรื่องของการวางท่าทีต่อ (๑) ความรุนแรงส่วนตัว คือการไม่เข้าไปทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่น (๒) ความรุนแรงระหว่างรัฐ คือ การไม่ไปหาเรื่องกระทบกระทั่งกับใคร (อนูปฆาโต อนูปวาโท) คือการที่จะทำให้รัฐสงบก็ต้องไม่ไปหาเรื่อง “กวนตีน”ชาวบ้านเขา และ (๓) อดทนอดกลั้น กล่าวคือเมื่ออยู่ในที่ตั้งก็ต้องมีความอดทนหรือเมื่อถูกกระทบกระทั่งก็จะต้องรู้จักการอดทนให้มากที่สุด ไม่โฉ่งฉ่าง ทั้งหมดนี้ผมถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของคนพุทธที่ค่อนข้างชัดเจนคือ ไม่หาเรื่องใคร เมื่อมีใครมาหาเรื่องก็อดทนนิ่งไว้ก่อน แต่ถามว่าเมื่อมีผู้มารุกรานหนักๆเข้า (๑) ถ้าเป็นรัฐของชาวบ้านก็ตอบโต้ตามสมควร แต่(๒) ถ้าเป็นพระท่านก็ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้อง ใครก็ตามที่มองเรื่องสงครามกับพระพุทธศาสนาจะต้องแยกแยะเรื่องนี้เอาไว้ให้ดี อย่าสับสน (๑)โยมถ้ามีคนมารุกราน ปกป้องตนเองไ้ ส่วน (๒) พระหลีกเลี่ยงความรุนแรงและทำจิตให้สงบ อย่าเอาบทบาทพระไปใช้กับวิถีชาวบ้านอย่างเด็ดขาด ไม่งั้นยุ่ง
ในเรื่องของการทำสงครามถามว่าพระพุทธเจ้าให้แสดงท่าทีอย่างไร ผมว่าพระพุทธองค์ทรงฉลาดในการสอน เนื่องจากทรงอยู่ในท่ามกลางสังคมที่มีความขัดแย้งระหว่างรัฐสูงมากในยุคนั้น คือ แคว้นมคธ กับแคว้นโกศลนี่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันมานานมากโดยเฉพาะในยุคของพระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์ทรงทำสงครามรายวันกับพระเจ้าปเสนทิโกศลเยก็ว่าได้ ประเภทผลัดกันรุกผลัดกันรับตามยุทธศาสตร์ของสงคราม
ถามว่าทำไมพระพุทธเจ้าไม่ทรงห้ามชาวบ้านทำสงครามกัน คำตอบคือ “เรื่องของราชาพระมหากษัตริย์ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางอย่างก็ห้ามไม่ได้” เพราะเป็นความแค้นส่วนตัว เมื่อทรงห้ามไม่ได้พระพุทธองค์ก็ทรงใช้วิธีการอื่น คือ สอนให้ความรู้กับคู่สงคราม ผมว่พระพุทธองค์ทรงทำถูกนะครับ อะไรก็ตามที่ห้ามไม่ได้เราก็อย่าไปยุ่ง ทางที่ดีคือ สอนให้สติด้วยการให้หลักการที่ดีแก่ทั้งสองฝ่าย ว่า”การเป็นกษัตริย์ที่ดีควรทำอย่างนี้ แต่ไม่ควรทำอย่างนี้นะ เช่น ทรงสอนเรื่องทศพิศราชธรรม ๑๐ ประการนี่ทรงสอนก่อนว่า อักโกธะ คือต้องไม่โกรธนะ เพราะความโกรธนี่มันเกิดเร็วดับเร็วก็จริงแต่เกิดขึ้นเมื่อไหร่อำนาจอยู่ในมือก็จะก่อให้เกิดผลคือ หลายคนตายไปก่อนเพราะความโกรธของพระราชาที่ทรงยับยั้งไม่ทัน ดังที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า อย่าดูถูกว่าพระราชามีอายุน้อย หรืออย่าดูถูกว่างูพิษตัวน้อยจะกัดไม่ตาย ตายครับไม่เหลือหรอ พระราชาทรงพระเยาว์ก็สามารถออกคำสั่งประหารได้เลย ดังนั้น พรองค์จึงทรงสอนให้ระวังความโกรธ
คือทรงพยายามที่จะสอนผู้นำรัฐในยุคนั้นให้มีสติ คือยับยั้งพระราชหทัยให้ได้อย่าปล่อยจิตปล่อยใจไปตามอำนาจของความโกรธไม่งั้นไฟไหม้บ้านเมืองไปทั่ว อันนี้พระพุทธองค์ทรงสอนในยุคนั้นนะครับ
นอกนั้น ในเรื่องของสงครามและการรบนั้นจะพบว่าเมื่อมีการรบหรือสงครามทรงมองว่า “สงครามและการรบเป็นเรื่องของชาวโลก เขาจะรบกันไม่ใช่เรื่องของพระจะเข้าไปยุ่งวุ่นวาย เพราะหน้าที่ของพระไม่ได้เกี่ยวกับ “สงครามและการรบภายนอก” แต่ทรงสอนพระภิกษุทั้งหลายว่า “ให้ทำสงครามและการรบภายใน”มากกว่า โดยที่สงครามที่พระภิกษุจะต้องทำการรบก็คือ “จิตใจตัวเอง หรือกิเลสที่ซุกซ่อนอยู่ในจิตใจของตนเอง” กิเลสที่เป็นศัตรูในใจเรานั้นได้แก่อะไร บ้าง
คำตอบก็คือ (๑) ราคะ หรือบางที่ใช้โลภะ คือความใคร่หรือความโลภที่มีอยู่ในใจเราที่มันปชเป็นสิ่งที่ผลักดันให้เราทำกรรมนานับประการ เช่น การแสวงหา ความพยายามดิ้นรน (๒) โทสะ คือความโมโหร้าย เป็นกิเลสที่กำจัดได้ยากเพราะเป็นอารมณ์ที่ฝังอยู่ในใจเราพระพุทธองค์ทรงสอนให้รบกับความโมโหร้ายและดับมันลงให้ได้ ด้วยการไม่โกรธ และที่สำคัญทรงสอนให้ “ฆ่ากิเลสได้ ก็คือ การฆ่าความโกรธ” โดยทรงสอนว่าถ้าเราฆ่าความโกรธได้เมื่อไหร่ เราจะมีความสุข อยูา่เป็นสุขแม้ตายก็เป็นสุข (๓) โมหะ คือ ความหลง หรืออวิชชา หมายถึงความไม่รู้ตามความเป็นจริงคือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้สาเหตุของทุกข์ ไม่รู้การดับทุกข์ และไม่รู้มรรควิธีที่จะดำเนินไปเพื่อการดับทุกข์นั้น
สำหรับอุปกรณ์ในการทำสงครามในการรบนั้นพระพุทธองค์ทรงสอนว่าจะต้องมี “สติ หรือความไม่ประมาท”เป็นพื้นฐานที่จะดำเนินไปตามครรลองของการฝึกฝนเพื่อทำสงครามใน ๓ ประการ คือ (๑) ศีล (๒) สมาธิ และ (๓) คือ ปัญญา เมื่อมีสติไม่ประมาทแล้วย่อมมีศีล มีสมาธิและมีปัญญาได้ นอกจากนั้น ต้องมีวิธีมในการรบกับกิเลส หรือที่เราเรียกว่ามียุทธวิธีในการรบ พระพุทธเจ้าทรงสอนยุทธวิธีในการรบอยู่ ๒ ประการ คือ
(๑) ยุทธิวิธีที่ ๑ ใช้การพิจารณาลมหายใจเข้าออกเรียกว่า อานาปานสติ หรือสมถกรรมฐาน การให้วิธีการนี้เหมาะสำหรับนักรบ(ภิกษุ)ที่มีอุปนิสัยชอบการรบแบบโลดโผน เพราะยุทธวิธีนี้เป็นการรบด้วยฤทธิ์ ผลการรบอาจจะช้าหน่อยแต่ก็เป็นการรบที่ต้องให้พละกำลังมาก โดยมีอุปกรณืหรือแนวทางในการรบหลายอย่าง เช่น (๑)แนวกสิณ ๑๐ (๒)แนวอสุภ ๑๐ (๓) แนวอนุสสติ ๑๐(๔) แนวอัปปมัญญา ๔(๕) แนวอาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑(๖) แนวจตุธาตุววัฏฐาน ๑(๗) แนวอากิญจัญญายตนะ ๑(๘) แนวเนวสัญญานาสัญญายตนะ ๑
(๒) ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ใช้การพิจารณาอาการเคลื่อนไหวของร่างกาย พิจารณาอาการเกิดดับของรูปนามอย่างต่อเนื่อง เป็นการรบที่ต้องใช้สติปัญญาสูง เป็นการรบที่ไม่ต้องการความรุนแรง โลกโผนแต่อย่างใดเราเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” โดยมีแนวทางในการรบ คือ (๑) ใช้การพิจารณาขันธ์ ๕ (๒) อายตนะ ๑๒ (๓) แนวพิจารณา ธาตุ ๑๘ (๔) แนวอินทรีย์ ๒๒ (๕) แนวอริยสัจ ๔ (๖) แนวปฏฺจจสมุปปบาท ๑๒ เป็นแนวทางในการรบ
@ ผลการรบ หรือเป้าหมายของการรบ ?
ในการรบในสงครามชีวิตของพระพุทธศาสนานั้นพระพุทธศาสนาได้กำหนดเป้าหมายหรือความสำเร็จไว้ที่ “ความสุขแบบเบ็ดเสร็จ คือ ความสุขที่ปลอดจากศัตรู คือกิเลส โดยระดับของความสุขที่ตั้งไว้ก็มีอยู่ทั้งหมด ๔ ระดับ
(๑) ระดับโสดาบัน
(๒) ระดับสกทาคามี
(๓) ระดับอนาคามี
(๔) ระดับ พระอรหันต์
ในการทำสงครามหรือการรบนั้นเป็นธรรมดาย่อมมีบาดแผลและความล้มเหลวเป็นธรรมดา คนที่ไม่สามารถทำสงครามได้ก็พ่ายแพ้ไป แต่สำหรับนักรบที่มีความสามารถก็จะรบจนชนะศัตรูคือกิเลสไปได้ ส่วนจะได้แค่ไหนนั้นก็สุดแท้แต่ความรู้ความสามารถหรือกำลังในการรบของแต่ละคน ซึ่งการรบแบบนี้เป็นการรบที่สามารถรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ได้
@ พอดีในช่วงนี้ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ก็กำลังอยู่ในช่วงที่พระนิสิต นิสิตฆราวาส คณะพุทธศาสตร์และคณะอื่นๆอีก ๓ คณะ คือ คณะสังคม คณะมนุษย์และคณะครุศาสตร์ก็กำลังทำการรบสงครามชีวิตครั้งยิ่งใหญ่อยู่เป็นระยะเวลา ๑๐ วัน ตั้งแต่วันที่ ๑๗-๒๘ ธ.ค.๖๑ นี้ หรือในส่วนของวิทยาเขตและวิทยาลัยสงฆ์ทั่วประเทศก็กำลังทำสงครามกับการต่อสู่กับกิเลสอยู่ในห้วงระยะเวลาเดียวกันนี้อยู่อย่างเข้มข้น
ก็เป็นธรรมดาที่กองทัพจะต้องเดินด้วยท้อง ก็ฝากมายังญาติโยมที่เป็นฝ่ายเสบียงทุกท่านหากประสงค์ที่จะเห็นความสำเร็จของการรบในสงครามทางจิตครั้งนี้ก็ให้ช่วยกันส่งเสบีงสนับสนุนกองทัพและนักรบที่กำลังทำสงครามอยู่ ณ ขณะนี้ด้วยนะครับ ผมว่ามีสงครามชนิดหรือประเภทเดียวนี้แหละที่ผู้สนับสนุนการทำสงครามได้บุญอย่างจริงจัง และมีผู้ปรารถนาที่จะเป็นหน่วยสนับสนุนเป็นจำนวนมากนะครับ
ขอบคุณครับ
Cr.FB-Naga King
Leave a Reply