วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 หลังจากเมื่อวานนี้มีสื่อรายงานว่า ที่วัดครุนอก ซอยสุขสวัสดิ์ 47 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พระมหาเพชร ภทุทจาโร พระวินยาธิการหรือตำรวจพระ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดครุนอก ร้องเรียนพระสงฆ์ 1 รูปที่เป็นพระลูกวัดอยู่ที่วัดครุใน ชื่อพระสง่า ฉายาฉินนาลโย สอนสิริ อายุ 83 ปี แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการเดินบิณฑบาต และทวงหนี้เงินกู้กับแม่ค้า โดยมีชาวบ้านได้บันทึกคลิปภาพเกิดเหตุไว้ได้ เวลาประมาณ 07.30 น วันที่ 6 กรกฎาคม 2567 ขณะที่ผู้เสียหาย นางสาว กนกวรรณ แม่ค้าขายทอดมัน กำลังขายของอยู่ และมีนางกานต์มณี ชาวบ้านที่ออกมาใส่บาตร กำลังนั่งคุยกันอยู่ที่ร้าน ก็มี พระสง่า เดินบิณฑบาตผ่านมา แล้วเดินเข้ามาหานางสาว กนกวรรณ ทวงถามเงินที่เอาไป ก็ได้พูดคุยกันและทวงถามเรื่องเงิน จนเกิดมีปากเสียงกัน ทางนางกานต์มณี จึงได้ช่วยพูดคุย ทำให้พระสง่าไม่พอใจเลยต่อว่านางกานต์มณี ด้วยถ้อยคำไม่สุภาพ
นางกานต์มณี จึงได้บอกพระสง่า ว่าเป็นพระเป็นเจ้า ไม่สมควรทำพฤติกรรมแบบนี้ไม่เหมาะสม และมาออกเงินกู้อีก มันผิดศีล ทำให้ทางพระสง่าไม่พอใจ มีอาการอย่างชัดเจน นางกานต์มณี จึงได้หยิบโทรศัพท์มือถือมาอัดคลิปวีดีโอไว้ ส่วนทางด้านพระสง่า ก็ยังไม่เกรงกลัว จนสักพักพระสง่าก็ได้เดินออกไป พร้อมยกเท้าให้กับนางกานต์มณี
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ทำให้ผู้เสียหายทั้ง 2 ราย ได้เข้าร้องเรียนกับพระมหาเพชร ซึ่งเป็นพระวินยาธิการ เพื่อให้ตรวจสอบพระรูปดังกล่าว เพราะหากปล่อยไว้ จะทำให้ศาสนาและพระสงฆ์ที่ดี ๆ ได้รับความเสื่อมเสีย
เกี่ยวกับประเด็นนี้ “นายบุญเชิด กิตติธรางกูร” ผอ. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี ได้โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัวนำ
“คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2538 กรณีพระภิกษุปล่อยเงินกู้” ไว้เตือนสติพระภิกษุปล่อยเงินกู้ไว้ ดังนี้ว่า
“โจทก์ซึ่งเป็นพระภิกษุนำเงินส่วนตัวออกให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ย ซึ่งไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้และไม่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้าม จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โจทก์มีสิทธินำสัญญากู้ยืมเงินมาฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยจากจำเลยได้”
แม้พระภิกษุซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายในการให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินและคิดดอกเบี้ยได้หากไม่เกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
แต่การกระทำดังกล่าว ส่งผลต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของพระภิกษุในสายตาประชาชน ซึ่งกระทบถึงพุทธศาสนาโดยรวม แม้กฎหมายจะอนุญาต แต่พระภิกษุควรพิจารณาให้รอบคอบถึงความเหมาะสมและผลกระทบต่อสังคมและศาสนา
ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายการเลี้ยงชีพมิชอบ ที่เรียกว่า “อเนสนา”
อเนสนา หมายถึง การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ,เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม
ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ เงินลงทุนหาผลประโยชน์ ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมากเป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า เป็นต้น จิตสำนึกต่อความเป็นสมณะ ท่านต้องมีให้มาก อย่าลืมว่าท่านอยู่ในเพศที่สูงกว่าชาวบ้าน
ภาพข่าว : ช่อง 3
Leave a Reply