“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ แต่เดิมมาข้าพเจ้าได้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส และได้เข้าถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยวิธีนั้น ๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว จึงขอมอบตัวแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า จะได้รับการจัดการให้ความคุ้มครอง รักษาพระพุทธศาสนาโดยชอบธรรมตลอดไป ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงจำไว้ด้วยดีว่า ข้าพเจ้าเป็นพุทธศาสนูปภัมภกเถิด”
นี่คือพระราชดำรัสอันเป็น “พระราชปณิธาน” ที่ประกาศพระองค์ต่อคณะสงฆ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตั้งแต่บัดนั้น..จนถึงบัดนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์นี้ ทรงตั้งมั่น ตั้งใจ ทะนุบำรุงกิจการพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์อย่างแท้จริง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ทรงมีพระราชศรัทธาต่อคณะสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่พระองค์ขึ้นครองราชย์เราจึงเห็นภาพปรากฎว่า พระองค์ทรงนิมนต์พระภิกษุเข้าไปถวายกรรมฐาน สนทนาธรรมอยู่เนือง ๆ ซ้ำทรงนิมนต์คณะพระภิกษุสงฆ์ตามพระอารามต่าง ๆ เข้าไปเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อให้ทั้งพระองค์และข้าราชบริพาร ได้สดับตรับฟังสิ่งที่เป็น “มงคลแห่งชีวิต”
ใน “สำนักพระราชวัง” เสมือนพระองค์ตั้ง “หน่วยงาน” ไว้หน่วยงานหนึ่งสำหรับอุปถัมภ์อุปัฎฐากดูแล “กิจการพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์” โดยเฉพาะ
ชาวพุทธหากติดตาม “ข่าวสาร” ทางพระพุทธศาสนาจึงมักเห็นว่า “ในหลวง” ส่งข้าราชบริพารไปถวาย ภัตตาหาร สังฆทาน ผ้าไตรตามพระอารามต่าง ๆ ทั่วประเทศ เป็นประจำ “ทุกวัน”
ในส่วนที่พระองค์ ทรงรับเป็นเจ้าภาพภัตตาหาร “เจ้าภาพประจำ” เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,วัดโมลีโลกยาราม, มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย อันนี้
“เปรียญสิบ” เล่าเท่ารู้..ความจริงมีมากกว่านี้โดยเฉพาะ “วัดป่าสายกรรมฐาน”
“เปรียญสิบ” เล่ามานี้ยังไม่รวมที่ “ในหลวง” ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ทรงอุปถัมภ์ สร้าง บูรณะ พระอารามต่าง ๆ อีกมากมาย
ในส่วนของ “สมณศักดิ์” ก็ให้องคมนตรี 4 ท่าน ที่ตั้งเป็น “กลุ่มพิเศษ” โดยเฉพาะ เพื่อดูแลเรื่องนี้ ในการถวาย เพื่อสร้าง “ขวัญและกำลังใจ” ให้พระภิกษุผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ รวมกระทั้ง “ทรงแก้ไขในสิ่งผิด” การคืนสมณศักดิ์ให้กับ “พระพรหมดิลก -พระพรหมสิทธิ” เป็นต้น
รัชสมัยนี้!! จึงมีคนกล่าวกันว่า “พระภิกษุ-สามเณร” ได้รับการยกย่องเชิดชู ดูแลยิ่งกว่า รัชสมัยใด ๆ
ในส่วนของ “กิจการคณะสงฆ์”
ไม่ว่าคณะสงฆ์จะมีกิจการอะไรที่เป็น “ส่วนรวม” เช่น สอบบาลี สอบนักธรรม อบรมพระอุปัชฌาย์ หรือแม้กระทั้งอบรมพระวิปัสสนาจารย์
สิ่งของพระราชทาน “อุปการณ์การศึกษา” โรงทานพระราชทาน จิตอาสา เตรียมพร้อมสรรพ ณ ที่นั่น
แม้กระทั้งในส่วนของ “ประชาชน”
พระองค์มักส่งคติคำสอนอันเป็น “หลักธรรม” ทางพระพุทธศาสนา เพื่อ “สื่อสาร” ให้ประชาชนนำไปประพฤติปฎิบัติในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ๆ เช่น “ธรรมนาวา” วัง อันเป็น“หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์” หรือแม้กระทั้ง..ล่าสุด
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” พระราชทานภาพประกอบคติธรรมในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา เนื่องในโอกาสวันอาสาฬหบูชา 2567 อันมีใจความสำคัญว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั่นยอมดับไปเป็นธรรมดา”
เนื่องในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 นี้ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ หรือ 72 พรรษา..ขอจงทรงพระเจริญ
………………
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย…“เปรียญสิบ”: [email protected]
Leave a Reply