“เจ้าคุณประสาร” แจงเหตุ “ยุติศูนย์พิทักษ์ฯ” จบภารกิจและสมาชิกส่วนใหญ่ “สูงวัย – ตายจาก” วันที่ 11 สิงหาคม 2567 หลังจาก ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ประกาศปิดกิจการและยุติบทบาททั้งหมด โดยคำสั่งของ “พระธรรมกิตติเมธี” ประธานศูนย์พิทักษฯ พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” เลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ตามที่ประธานกรรมการบริหารศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศเรื่อง. แจ้งปิดทำการสำนักงานและยุติกิจการทั้งหมด รวมทั้งการสิ้นสภาพการเป็นสมาชิกของบุคลากร กรรมการและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน โดยจะมีผลอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ตามที่ทราบแล้วนั้น ในฐานะเลขาธิการศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ขอชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย ก่อกำเนิดเมื่อ 23 ปีก่อน (พ.ศ.2544) เหตุผลในเวลานั้นก็เนื่องมาจาก การยกร่างรัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ.2540 ซึ่งในปีนั้น รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เวลานั้นนักคิด นักปราชญ์ พระนักวิชาการ พระนิสิต พระนักศึกษา พระภิกษุหนุ่ม สามเณรน้อย นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรม ตลอดจนชาวพุทธส่วนหนึ่งได้ก่อตัวขึ้น เพื่อเคลื่อนไหวให้ สสร.บรรจุหลักสำคัญที่เป็นความประสงค์ของชาวพุทธ (แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม)โดยขอให้บรรจุคำว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำขาติ” ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ผู้แทนชาวพุทธได้นำรายชื่อผู้เห็นด้วยกว่า สองแสนรายชื่อเข้าไปยื่นที่รัฐสภา ถนนอู่ทองใน ประธานยกร่างรัฐธรรมนูญในขณะนั้น ได้พูดกับผู้แทนชาวพุทธ ทั้งที่เป็นพระสงฆ์ สามเณรและฆราวาสที่เข้าไปยื่นเรื่องว่า รายชื่อเยอะมาก ดูไม่ไหวหรอก ทำให้ในเวลาต่อมา ความพยายามของชาวพุทธส่วนหนึ่งก็ดูว่าไร้ผล ไม่มีเสียงตอบรับ ไม่มีความหมายใดๆ สำหรับ“เสียงชาวพุทธ”จำนวนมากมายมหาศาลนั้น ต่อมาคณะพุทธบริษัทดังกล่าวนี้ ก็ยังไม่ได้ละทิ้งอุดมการณ์ กอรปกับพระพุทธศาสนา คณะสงฆ์ได้รับผลกระทบ ถูกกระทำต่างๆนานา ในต่างกรรม ต่างวาระ หรืออาจจะพูดได้ว่า ในหลายเรื่อง หลายโอกาส ได้ถูกกระทำ ย่ำยี อย่างไม่เคารพยำเกรง จนมีการนำวลีประวัติศาสตร์ของชาวพุทธมาย้อนในเชิงห้ามปรามและตัดพ้อว่า “ไม่ยกย่องก็อย่าเหยียบย่ำ” จากนั้นมา (พ.ศ. 2540) คณะบุคคลดังกล่าว ก็ได้ก่อตัวขึ้นในนามศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร (คณะใต้) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และภายหลังกำเนิดศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย การทำงาน การทุ่มเท เสียสละและการต่อสู้ภายใต้สโลแกน “พิทักษ์ ปกป้องและคุ้มครองพระพุทธศาสนา” ก็เข้มข้นขึ้นตามลำดับ มีพระเถระ พระสงฆ์ คฤหัสถ์ ที่เป็นดาวเด่น ดาวดัง เกิดขึ้นประดับวงการพุทธมากมาย การเดินหน้าให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มีระบบ แบบแผนยิ่งขึ้น ในทุกรัฐธรรมนูญ การออกมาชี้แจง ตอบโต้ ชี้ผิด ชี้ถูก การทำความเข้าใจกับสังคมมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง แม้กระทั่ง การออกมารวมตัวกันของพระสงฆ์จำนวนมากในหลายที่ หลายแห่ง หลายกรณี ตามที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ม๊อบพระ” ก็มีให้เห็นบ่อยครั้ง ในยุคสมัยที่ศูนย์พิทักษ์ฯแห่งนี้เฟื่องฟู แน่นอนการดำเนินการทั้งหลาย ทั้งปวงที่กล่าวมานีันั้นย่อมมีทั้งคุณและโทษ มีทั้งดอกไม้และก้อนอิฐ มีคนรัก มีคนเกลียด มีคนชม มีคนสาปแช่งชิงชัง “ถึงอย่างไรก็ตาม สมาชิกศูนย์ฯ ทุกคนต่างก็เชื่อมั่นในอุดมการณ์ ในฐานะพุทธบริษัทในอันที่จะมีหน้าที่พิทักษ์ ปกป้อง และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอย่างไม่คลอนแคลน ทุกท่านยอมเสียสละ แม้จะต้องเผชิญกับอะไรในหลายๆอย่างก็ตาม ในวันที่ถูกด่า ทุกประจานทุกคนไม่ท้อ ไม่ถอย แต่ยังกล้าสบตากับทุกคน ในวันที่ไม่อยากมีใครเข้าใกล้ ในวันที่คนอื่นกลัวจะโดนไปด้วย แต่เราชาวศูนย์ฯ ต่างก็อดทน อดกลั้น บำเพ็ญขันติบารมีและรู้จักกลืนเลือดให้เป็น โดยไม่เคยปริปากบ่น ไม่ไปวิ่ง ไม่ไปขอความเห็นใจ..” กาลเวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่ง วันนี้สมาชิกศูนย์ฯในวัยที่แตกต่างกัน ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ ได้มานั่งคุยเพื่อถอดบทเรียน ถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ท่ามกลางสังคมที่แปรเปลี่ยน ประธานเสนอให้เลขาธิการขึ้นไปนั่งเป็นประธานกรรมการบริการศูนย์ฯ ในฐานะเลขาธิการก็ได้แต่ผ่อนไปผ่อนมา และในที่สุดก็มีผลสรุปร่วมกันว่า 1.ศูนย์ฯได้ทำหน้าที่ตามเจตนารมณ์และอุดมการณ์มานานกว่า 23 ปีแล้ว 2.ผลงานที่ผ่านมาก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จในภารกิจที่ร่วมกันทำมาอย่างยาวนานและบัดนี้ก็มีหลายหน่วยงานได้รับไม้ต่อยอดไปในเรื่องนั้น ๆ แล้วพอสมควร แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม 3.สมาชิกหลายท่าน หลายคนก็อายุมากขึ้นหลายท่านอยู่่ในวัยผู้สูงอายุและบางท่านก็ล้มหายตายจากกันไป ด้วยเหตุผลดังกล่าว เราชาวศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย จึงขอแจ้งทุกท่านว่า ถึงเวลาแล้วที่จะขอปิดม่านประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ ปกป้อง และคุ้มครองพระพุทธศาสนาในนามศูนย์ฯอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป ในส่วนสมาชิกหลายท่าน หลายคนจะไปรวมกลุ่มกันเพื่อจัดตั้งองค์กรใดองค์กรหนึ่งขึ้นมาตามอุดมการณ์และแนวทางของตนเพื่อพระพุทธศาสนานั้นก็ขอให้เป็นเรื่องคำตอบที่จะมีในอนาคตก็แล้วกัน จำนวนผู้ชม : 2,541 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author ‘หม่อมหลวงกรกสิวัฒน์-พระครูวิมลปัญญาคุณ’ ติดแผงโซล่าร์เซลล์วัดน้ำท่วมอุบลฯ อุทัย มณี ก.ย. 22, 2019 วันที่ 22 ก.ย.2562 เพจพระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม ได้โพสต์ข้อความว่า… ประมวลภาพ “อดีตพระพรหมสิทธิ” ทำบุญวันเกิดครบรอบ 68 ปี อุทัย มณี ก.พ. 16, 2024 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร อดีตพระพรหมสิทธิ… เยือนเมืองดอกบัว “มหานคร” แห่ง โคก หนอง นา (ตอน2) อุทัย มณี ก.ค. 20, 2022 คำว่า “เขตเศรษฐกิจพอเพียง” ถือว่าเป็นคำใหม่ในสังคมไทย เนื่องจากคำนี้เพิ่งปรากฏในเอกสารสั่งการของ… พระแนะวิธีช่วยชาติ! สร้างคนดีแถมคนเก่งเข้าสู่สังคม อุทัย มณี ส.ค. 26, 2019 วันที่ 26 ส.ค.2562 พระครูวิมลปัญญาคุณ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ… นัดแรกยกร่าง “กฎระเบียบตำรวจพระ” อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2018 เมื่อกลางปีที่ผ่านมานี้มหาเถรสมาคมได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณายกร่างกฎระเบียบพระวินยาธิการหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า… ตั้ง “พระเทพเวที” เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม อุทัย มณี มิ.ย. 21, 2021 วันที่ 21 มิ.ย. 64 สมเด็จพระวันรัต กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต… พระราชาคณะ “สนองพระราชดำริ” สมัครเรียนบาลี “คึกคัก” อุทัย มณี ส.ค. 28, 2024 วันที่ 28 สิงหาคม 2567 สืบเนื่องจากการประชุมมหาเถรสมาคมเมื่อวันที่… พระสุเมธาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ราชวรวิหาร / เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายรามัญ อุทัย มณี ม.ค. 04, 2019 วันนี้ขอเสนอ ชีวประวัติของพระเถราจารย์รามัญรูปสำคัญของคณะสงฆ์รามัญนิกายสยามวงศ์… เปิดตัวต้นแบบตำบลช่อสะอาด 4 ภาค สร้างรากฐานสุจริตวัฒนธรรมประเทศ อุทัย มณี เม.ย. 29, 2019 ระหว่าง 27-29 เมษายน 2562 ที่บ้านท่าคอยนาง ต.สวาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ… Related Articles From the same category ความหิวรอไม่ได้!! คณะสงฆ์น่าน ตั้งโรงครัวช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว วันที่ 22 สิงหาคม 2567 จากเหตุการณ์ฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน ระหว่างวันที่… “สมเด็จธงชัย” ประธานพิธี “เจ้าคุณละเอียด” ย้ายจากวัดสามพระยาไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส “วัดเฉลิมพระเกียรติ” วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ… ตั้มแปดริ้วแจกฟรี! พระหลวงพ่อพุทธโสธร 3,000 องค์ พิธีต้อนรับขบวนแห่หลวงพ่อพุทธโสธรทางน้ำ วันที่ 10 พ.ย.2562 หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแปดริ้ว… หลวงพ่อบุญเทียม เทพเจ้าแห่งพระรามัญลาดหลุมแก้ว ขอนำเสนอชีวประวัติของพระเถราจารย์รามัญแห่งเมืองดอกบัวหลวง… ปลัด มท.เน้นย้ำวิทยากรประวัติศาสตร์ประจำท้องถิ่น คือ ครูจิตอาสาผู้ร่วมกันสร้างความรักสามัคคีและความกตัญญูกตเวทีต่อแผ่นดิน วันนี้ (19 เม.ย. 67) เวลา 10.00 น. ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี…
Leave a Reply