เรื่องเล่า : โคกหนองนา “ระนอง” “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” หลังจากเดินทางไปร่วมพูดคุยกับชาวบ้านถึงผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะการดำเนินการโครงการโคกหนองนา ที่ดำเนินการโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ภายใต้การอำนวยการของ “ปลัดเก่ง” สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรอบนี้ดำเนินการลงพื้นที่ไปแล้วทั้งภาคเหนือ อีสาน และกลาง ล่าสุดนี้ได้เดินทางไปภาคใต้ โดยมีเป้าหมาย 2 จังหวัดคือ จังหวัดระนองและจังหวัดพังงา “ จังหวัดระนอง” เป็นเมืองที่มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองดีบุก มีชื่อเดิมว่า “แร่นอง” เดิมเป็นหัวเมืองที่เป็นเมืองขึ้นของชุมพรตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแบ่งการปกครองออกเป็นเมืองระนอง และเมืองตระต่อมาในปี 2404 เมื่อสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ยกเมืองระนองและเมืองตระเป็นหัวเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อความสะดวกในการรักษาราชการทางชายแดน และในปี 2420 ระนองมีฐานะเป็นหัวเมืองอิสระ และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัด โดยยุบเมืองตระเป็น “อำเภอกระบุรี” และขึ้นกับจังหวัดระนองตั้งแต่นั้นมา ประชากรจังหวัดระนองประชากร มีประมาณ 193,371 คน นับถือศาสนาพุทธคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 85.74 ศาสนาอิสลามร้อยละ 14.07 ที่เหลือเป็นศาสนาคริสต์ ซิกส์ ฮินดู และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 0.20 โดยมีศาสนสถานของศาสนาพุทธจำนวน 102 แห่ง ศาสนาอิสลามจำนวน 32 แห่ง และศาสนาคริสต์จำนวน 5 แห่ง ระนอง เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้ มีพื้นที่ติดต่อทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดชุมพร ทางใต้ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา ทางตะวันตกติดกับประเทศพม่าและทะเลอันดามัน มีลักษณะพื้นที่เรียวและแคบ มีความยาวถึง 200 กิโลเมตร และมีความแคบในบริเวณอำเภอกระบุรี เพียง 9 กิโลเมตรสภาพภูมิประเทศของระนอง ประกอบด้วยภูเขาสูงในทางทิศตะวันออก และลาดลงสู่ทะเลอันดามันในทางทิศตะวันตก มีแม่น้ำและคลองสำคัญหลายสาย และมีภูเขาสูงสุดคือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง “จังหวัดระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ฝนแปด แดดสี่” นั่นคือมีฝนตก 8 เดือน และฝนแล้งเพียง 4 เดือน นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากอยู่ติดกับทะเลอันดามัน ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างมาก “ทีมข่าวเฉาะกิจ” ได้รับการอนุเคราะห์การประสานงานจาก “กรมการพัฒนาชุมชน” ส่วนกลางเพื่อแจ้งในพื้นที่ว่าจะลงไปพูดคุยกับประชาชนซึ่งที่ผ่านมาปรากฎว่า เมื่อทีมงานติดต่อไปยังแปลงเกษตรกรผู้ดำเนินโครงการโคกหนองนา มักเกรงกับการให้ข่าวหรือสัมภาษณ์กับสื่อมวลชน “ภาณุมาศ ชูพูล” เจ้าหน้าพัฒนาชุมชนจังหวัดระนอง คือ บุคคลหลักในการประสานพร้อมเปิดเผยว่า จังหวัดระนองได้ดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนแปลง โคก หนอง นา จังหวัดระนอง ทั้งหมดจำนวน 105 แปลง โดยแบ่ง ขนาด แปลง 1 ไร่ จำนวน 101 แปลง และขนาด 3 ไร่ จำนวน 4 แปลง.. พร้อมประสานงานการเจ้าของแปลงโคก หนอง นา จำนวน 2 แปลง ในพื้นที่จังหวัดระนอง คือ แปลงของ “สุชาติ คำวาศรี” บ้านบางสังตี หมู่ที่ 2 ตำบลหาดส้มแป้น อำเภอเมืองระนอง เป็นอดีตกำนันในพื้นที่ ซึ่งมีองค์ประกอบทางกายภาพครบถ้วน ในรูปแบบ โคก หนอง นา มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และมีผลผลิตที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้ชุมชน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และต่อยอด ขยายผล “โคก หนอง นา” สู่การพัฒนาพื้นที่แบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ และเผยแพร่ผลสำเร็จการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยโคก หนอง นา อารยเกษตร ให้ประชาชนได้รับรู้และมีแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” เดินทางขับรถลัดเลาะไปตามกลางป่าเขา ผ่าน “บ่อน้ำร้อนรักษะวาริน” อันเลื่องชื่อ ที่ภาครัฐพร้อมกับประกาศจังหวัดระนองให้เป็น “มหานครแห่งน้ำแร่” ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ภายใต้แคมเปญ “สุขทันทีที่เที่ยวระนอง” พร้อมปักหมุด13 แหล่งแช่น้ำแร่ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวชุมชน พร้อมกับแวะรับประทานอาหารเมนูดัง “ปลาหลุมพุกต้มเค็ม” ซึ่งเป็น “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” จังหวัดระนอง ประจำปี 2567 ซึ่งกินได้ทั้งตัว เกร็ด ก้าง มีรสชาติหวานปนเค็ม “จังหวัดระนอง” เนื่องจากมีป่าและหุบเขาเป็นจำนวนมาก มีน้ำจากภูเขาไหลเป็นห้วย คลอง หลายสาย สภาพเหมือนกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ถนนต้องตัดเลาะไปท่ามกลางหุบเขา มีธารน้ำไหลผ่าน ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ “กำนันสุชาติ” เมื่อเราไปถึงกำลังใช้รถ “แบ็คโฮ” ตักดินลูกรังใส่รถสิบล้อ ซึ่งจอดเรียงรายกันอยู่หลายคัน เมื่อจบงานเดินมาทักทายด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม พร้อมกับบอกว่ากำลังปรับปรุงพื้นที่ เพื่อสร้างศูนย์เรียนรู้ สำหรับคนที่มาดูงานแปลงโคกหนองนา พร้อมกับเดินพาชมแปลงที่ซึ่งเป็นแปลงผสมผสาน ส่วนใหญ่ปลูกทุเรียน กระท่อม พร้อมกับผักอีกหลากหลายชนิด “ที่จริงปลูกกระท่อมไว้เยอะประมาณ 500 ต้น แต่กฎหมายยังไม่ปลดล็อค ปลูกทุเรียน 120 ต้น ในโคกหนองนา และยังมีนอกแปลงอีกประมาณ 80 ต้นรวมเป็น 200 ต้น ซึ่งที่นี่ก็เป็นศูนย์เรียนรู้ให้คนเข้ามาศึกษาดูงาน” เดิมทีประกอบอาชีพผู้รับเหมา ทำเหมืองและมาเป็นกำนันเป็นกำนันมาตั้งแต่ปี 2557 เมื่ออายุครบ 60 ปีก็เกษียณ ตอนนี้อายุย่างเข้า 63 ปี หลังจากเกษียณแล้วก็มีความคิดว่าจะต้องมีแปลงที่ทำประโยชน์ได้ ซึ่งแปลงนี้จำนวน 3 ไร่ได้รับงบจากกรมการพัฒนาชุมชน ตอนที่ขุดบ่อนั้นเป็นผู้รับเหมาเองก็ขุดเองตามแบบของผมเอง แต่ทางพช.ก็ได้ออกแบบมาให้ด้วย สำหรับพื้นที่ประมาณ 9 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา ตรงนี้เป็นป่าพรุ ที่ไม่สามารถปลูกอะไรได้เลย และแบ่งไปทำโคกหนองนาจำนวน 3 ไร่ หลัก ๆ แล้วปลูกกล้วยก่อน เพื่อปรับปรุงดิน กล้วยนั้นจะมีจุลินทรีย์ที่รากโคนต้น สังเกตง่าย ๆได้จากกล้วยปลูกตรงไหนก็ขึ้น ทนแล้ง และยังเป็นพืชพี่เลี้ยงให้กับพืชชนิดอื่นด้วย “ตอนนี้แปลงนี้กลายเป็นศูนย์กลางของพช. เมื่อมีงานอะไรก็ต้องมาทำที่นี่ โดยมีเจ้าหน้าที่ของพช.มาให้ความรู้อยู่เป็นประจำ และจริง ๆ ผมเรียนจบด้านเกษตรมา อาชีพดั้งเดิมของพ่อแม่ก็ทำไร่ทำสวนมา แต่เมื่อผมเรียนจบมาก็ไม่ได้มาทำในสิ่งที่เรียนจบมาจากวิทยาลัยเกษตรศาสตร์..” เมื่อทีมงานตั้งคำถามว่าชาวบ้านละแวกนี้คิดอย่างไรกับโคกหนองนา กำนันสุชาติ ครุ่นคิดสักพักแล้ว ตอบว่า บางคนก็ไม่เข้าใจ บางคนก็เข้ามาเรียนรู้ ทำแล้วมันเห็นผลปลูกทุกอย่างที่กินได้ เช่น พริก มะนาว เป็นแหล่งอาหารของเรา พอเหลือก็สามารถแจกจ่ายได้ส่วนที่เหลือก็นำไปขาย ส่วนตนเองรายได้หลักมาจากกล้วย ส่วนรายได้รายวันก็มาจากพริก ชะอม ขายได้ทุกวัน รายได้โดยเฉลี่ยประมาณเดือนละ 20,000 บาท อยู่ได้ ซึ่งในบ่อก็เลี้ยงปลาไว้หลากหลายชนิด “ปัญหาสำคัญประการหนึ่งการทำแปลงโคกหนองนา ในจังหวัดระนอง คือ ขุดบ่อแล้วไม่มีน้ำ เพราะจังหวัดระนอง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ขุดแล้วไม่มีน้ำ หน้าแล้งก็น้ำแห้ง ดังนั้นก่อนที่จะขุดก็ต้องรู้บริบทของพื้นที่ด้วย อย่างแปลงของผมมีน้ำตลอดปีถือว่ามีธนาคารน้ำใต้ดิน ใช้ได้ตลอดทั้งปี จังหวัดระนองนี้มีปัญหาด้านภูมิศาสตร์ และบางคนที่ทำแล้วเลิก คือ บางแปลงไม่เข้าใจ เขาคิดว่าหน่วยงานราชการจะช่วยทุกอย่าง หลังจากเข้าโครงการแล้ว เรื่องจริงเขาให้เฉพาะบ่อให้พืชพันธุ์เล็กน้อย ของผมเข้าโครงการไว้ 5 ปี ในงบเงินกู้และจะมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเครือข่าย ตามทฤษฎี 9 ขั้นของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตอนนี้อยากให้ภาครัฐ มาดูช่วยเรื่องการตลาด เรื่องการแปรรูปสินค้า นำผลผลิตมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ตอนนี้ยังไม่ได้จดเป็นวิสาหกิจชุมชน เพราะเครือข่ายยังไม่มั่นคง แต่ผลผลิตทางการเกษตรของเราพร้อมอยู่แล้ว..” กำนันสุชาติ คำวาศรี กล่าวทิ้งท้าย จังหวัดระยอง เป็นจังหวัดหนึ่งที่ “ทีมงาน” รู้สึกประทับใจในสภาพแวดล้อมและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองเล็ก ๆ สงบ ขับรถผ่านเข้าไปทาน “โรตี” เจ้าอร่อยในตัวเมือง เห็นห้องแถวคับคั่งไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น พม่า ทวาย มอญ หรือแม้กระทั้งคนต่างศาสนา ในประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในฐานะเจ้าบ้านรู้สึกภูมิใจเล็กน้อยในความเป็นคนไทยที่หลากหลายชาติพันธุ์ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร การที่ผู้คนหลากหลายเข้ามาพึ่งแผ่นดินไทยแปลว่า ประเทศไทย อุดมสมบูรณ์ การเดินทางไปแปลงโคก หนอง นา อีกแปลง ห่างไกลจากตัวเมืองระนองประมาณ 2 ชั่วโมง ขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะมีฝนตกตลอดทาง เห็นบนภูเขามีน้ำตกตอนแรกนึกว่าเป็น “หินสีขาว” แต่เมื่อสังเกตใกล้ ๆ มันคือน้ำตกจริง ๆ สวยงาม สองข้างทางผ่าน “สวนหมาก” และ “สวนปาล์ม” ตลอดทาง ปัจจุบันคนภาคใต้หลายจังหวัดนิยม “ปลูกทุเรียน” สวนทุเรียนจึงผุดขึ้นแทนสวนยางพาราและสวนปาล์มหลายแห่ง และที่สังเกตได้ง่ายว่าในพื้นที่ประชาชนนิยมปลูกทุเรียนคือ “ร้านขายพันธุ์ทุเรียน” ตลอดทางตั้งแต่ชุมชนแยกเข้ามายังจังหวัดระยองเต็มไปด้วยร้านขาย..พันธุ์ทุเรียน “บ่าหรี หมาดหมัน” บ้านทุ่งถั่ว ต.นาคา อ.สุขสำราญ จ.ระยอง ในวัยเกือบ 58 ปี เป็นชายร่างเล็ก อัธยาศัยดียิ้มแย้มแจ่มใส ดูแล้วสุขภาพยังแข็งแรง หลังจากพาทีมงานเดินพาชมพื้นที่แปลงโคก หนอง นา กล่าวว่า ตนเองเริ่มทำโคกหนองนาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2564 ก่อนหน้านี้ได้ปลูกพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว คือ ยางพารา มีข้อเสียคือช่วงมรสุมจะไม่สามารถทำรายได้ หลังจากนั้นก็ปลูกพืชแบบผสมผสาน ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก จากนั้นหน่วยงานของกรมพัฒนาชุมชนได้ส่งไปเข้าอบรมที่จังหวัดชุมพร กลับมาทำเลย และได้มีการตั้งกลุ่ม “ทุ่งถั่วรวมใจ” ที่ดินตรงนี้เป็น นส.3 หลังจากเข้าร่วมโครงการทางพชก็มาขุดบ่อให้ 2 บ่อ ให้ต้นทุเรียน 1 ต้นต้นมะพร้าว 3 ต้น และต้นพญาไม้ 1 ต้นแต่ตรงนี้เป็นดินเปรี้ยวไม่สามารถปลุกได้ พืชอื่นๆใช้งบส่วนตัวทั้งนั้น “โคกหนองนาไม่สามารถทำรายได้เป็นก้อนได้แต่ถือว่าได้อยู่กับครอบครัว ตอนนี้คนในครอบครัวมีทั้งหมด 11 คนก็สามารถอยู่ได้ เพราะพืชผักไม่ต้องซื้อ ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ถือว่าอยู่ได้อย่างมีความสุข ตอนนี้ยางพาราไม่ดีแล้ว ทำอย่างนี้ดีกว่า ผมมีที่ดินทั้งหมด 20 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกยางพาราและไม้ยืนต้น ส่วนใหญ่ไม้ยืนต้นพวกนี้ไม้เศรษฐกิจกว่าจะได้ทำรายได้ต้องรออีก 20-25 ปี แต่เราอยู่ได้เพราะไม่มีหนี้ เมื่อก่อนนี้ก็เคยเป็นหนี้เหมือนกัน แต่เราพยายามรีบใช้ให้หมดหนี้ ยังมีหนี้ที่เหลือก็คือรถกระบะ แค่แสนกว่าบาท ครอบครัวเรามีลูก 3 คน แยกย้ายกันไปมีครอบครัว และยังเหลือลูกคนเล็กที่ยังเรียนอีกคนหนึ่ง การทำโคกหนองนาก็ตอบโจทย์ชีวิตเราได้ เมื่อก่อนเราทำพืชเศรษฐกิจต้องมีการแข่งขัน แต่เมื่อได้มาทำโคกหนองนาเราต้องทำอย่างใจเย็น ค่อยเป็นค่อยไปและมีสุขภาพที่ดีขึ้น เพราะเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ไม่เคยใช้ยาฆ่าแมลงและสารเคมี ตอนนี้อายุ 58 ปี ..” ชุมชนบ้านทุ่งถั่วโดยทั่วไปของเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมมีทั้งคนไทยพุทธและมุสลิม รวมทั้งแรงงานข้ามชาติที่เป็นแรงงานกรีดยาง อาชีพส่วนใหญ่คือ เกษตรกร ซึ่ง “บ่าหรี” บอกว่า ตนเองแม้จะเป็นคนมุสลิมแต่ไม่เคยแบ่งพวก ทุกคนคือคนไทยหมด อยู่ผืนแผ่นดินเดียวกัน เข้ากันได้ทุกฝ่าย มีในหลวงพระองค์เดียวกัน เดินตามศาสตร์ของพระราชา ไม่มีวันอดตาย พร้อมทั้งย้ำว่า หัวใจสำคัญของคนที่ทำโคกหนองนา คือ ต้องขยัน อดทน และอย่าท้อ “คนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ บางรายไม่ได้ตั้งใจจริง แค่อยากได้ทุนของส่วนราชการอย่างเดียว พอไม่ได้เงินก็ไม่ทำ แต่เราต้องสำนึกไว้ว่าที่ของเราขุดไว้แล้ว เราต้องใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดอย่ารอจากหน่วยงานราชการช่วยเหลืออย่างเดียว ของผมมีความโชคดีคือขุดไปแล้วเจอตาน้ำ ทำเกษตรมันไม่รวยแต่เราอยู่อย่างสบายใจ ถ้าอยากรวยต้องไปทำอย่างอื่น..” ก่อนจากกัน “ทีมข่าวเฉพาะกิจ” ถามว่า อยากให้ภาครัฐมาดูแลหรืออำนวยความสะดวกอะไรบ้างหรือไม่ “บ่าหรี” ยิ้มแล้วตอบว่า ลงมือทำคือ ตัวสำเร็จ ไม่ต้องรอหวังพึ่งจากใคร เราทำเท่าที่ทำได้พอ!! จำนวนผู้ชม : 494 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author “ณพลเดช”ชี้ปมปลด”เจ้าอาวาสวัดมณฑป” อาจไม่ชอบด้วยหลักสิทธิมนุษยชน อุทัย มณี ส.ค. 14, 2021 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2564 ดร.ณพลเดช มณีลังกา เลขานุการกรรมาธิการการกฎหมาย… กรมการศาสนาจัดพิธีประกาศเกียรติคุณ ศิลปินนักร้องบทเพลงคุณธรรมอดีตจนถึงปัจจุบัน อุทัย มณี มิ.ย. 20, 2019 วันที่ 20 มิ.ย.2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 2 กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม… พระดีศรีคณะสงฆ์ “พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน” ส่งมอบห้องเคมีบำบัด รพ.ชัยภูมิ รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท อุทัย มณี ส.ค. 19, 2024 วันที่ 14 สิงหาคม 2567 พระครูบวรวีรวงศ์ หรือ พระอาจารย์ครรชิต… ฟ้ายิ้มสู้!ลุยขอคะแนนถิ่นนราธิวาส ชู’ศีลธรรม นำชาติ’ อุทัย มณี ก.พ. 22, 2019 แม้จะผ่านเหตุการณ์วันที่ 18 ม.ค.2562 คนร้ายยิงถล่มวัดรัตนานุภาพ… โปรดเกล้าฯสถาปนาสมณศักดิ์ พระอนุชาในสมเด็จพระสังฆราช ขึ้นชั้นรองสมเด็จที่พระพรหมมงคลวัชราจารย์ อุทัย มณี ต.ค. 18, 2021 วันที่ 18 ตุลาคม 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ชั้นรองสมเด็จความว่า… มหาดไทยจับมือคณะสงฆ์ ขับเคลื่อนแก้ความยากจนยึดแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อุทัย มณี เม.ย. 02, 2022 ปลัดกระทรวงมหาดไทยประชุมร่วมคณะสงฆ์และภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดเชียงราย… วัดพระธรรมกายจัดตักบาตรพระ ต้อนรับศักราชใหม่ 2563 อุทัย มณี ม.ค. 01, 2020 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 พระครูสมุห์สนิทวงศ์ วุฑฺฒิวํโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร… สาธุ!รัสเซียต่ออายุพระธรรมทูตไทยเป็นข้าราชการครู อุทัย มณี ก.พ. 28, 2019 วันที่ 28 ก.พ.2562 เฟซบุ๊ก Chatree Hemapandha ของศาสตราจารย์ ดร.พระชาตรี เหมพันธ์… ผู้ตรวจกระทรวงมหาดไทยลงพื้นที่จริง ติดตามผลดำเนินการโครงการ “โคก หนอง นา พช.” สุโขทัย อุทัย มณี ม.ค. 20, 2022 วันที่ 20 ม.ค. 65 วานนี้ เวลา 09.30 น. นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย… Related Articles From the same category เหรียญมังกรคนจีนชอบกันนัก มหาอำนาจ เหรียญพระอาจารย์นก วัดเขาบังเหย พุทธคุณสุดยอดประสบการณ์เพียบ พระอาจารย์เฉลิมชัย ฐิตตธมโม หรือ พระอาจารย์นก ฐิตตธมโม แห่งวัดเขาบังเหยชุมพลสีมาราม… แม่ทัพภาค 4 เข้าวัด-กินข้าวกับชาวไทยพุทธ วันนี้ (21 ก.พ.64 ) เฟชบุ๊ค Wassana Nanuam นักข่าวสายทหาร รายงานว่า… ขอนแก่นจัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ฟื้นฟูวัฒนธรรมเกื้อกูลของชุมชน ในพื้นที่ “โคก หนอง นา” วันที่ 7 ก.ค. 64 วานนี้ ณ บ้าน นางสมพร ทิพจง บ้านโนนโพธิ์ไทร… “โป๊ปฟรานซิส”ทรงชูภาษาเป็นสะพาน สร้างความเข้าใจแก้ความขัดแย้ง สร้างสันติสุขให้กับมนุษยชาติ กรรมการมหาเถรสมาคมร่วมรับฟังสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงแสดงปาฐกถาพิเศษหัวข้อ… ผู้สมัครส.ส.ศรีสะเกษแผ่นดินธรรม กราบสังขารหลวงปู่เครื่องเป็นกำลังใจ ขณะที่หัวหน้าพรรคเริ่มดีเบตกับพรรคกรีนเวทีกกต.จัด วันที่ 2 มี.ค.2562 นายพลากร เทศนำ เลขาธิการพรรคแผ่นดินธรรม ได้นำผู้ลงสมัคร…
Leave a Reply