“กรณ์ มีดี” ขอสวนกระแส..Save พระต้น วันที่ 30 กันยายน 2567 ปรากฎการณ์ พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ หรือ พระอาจารย์ต้น สำนักศึกษาธรรมดอยธรรมนาวา อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อให้เกิดมีการวิพากษ์วิจารณ์ และตื่นตัว ในสังคมพุทธไทยอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะ “หลักคำสอน” ที่สังคมมองว่า ไม่ตรงกับหลักพระไตรปิฏก จนเกิดกระแสต้านทั้งในหมู่พระสงฆ์และชาวพุทธส่วนใหญ่ กรณ์ มีดี นักเคลื่อนไหวชาวพุทธชื่อดัง ได้ออกมาเคลื่อนไหวปกป้อง “พระทวีวัฒน์ จารุวณฺโณ” หรือ พระอาจารย์ต้น โดยระบุว่า Save พระต้น ขอสวนกระแสอันร้อนแรงของชาวพุทธ ด้วยการปกป้องพระอาจารย์ต้น นาทีนี้ คนที่เป็นชาวพุทธฯ คงไม่มีใครกล้าสวนกระแส ปกป้องพระอาจารย์ต้น เพราะกระแสชาวพุทธที่ร้อนแรง พากันรุมโจมตีพระอาจารย์ต้นต่างๆนานา แต่สำหรับผมเอง ผมกลับมีความเห็นที่แตกต่างจากหลายๆคน ก่อนจะกล่าวถึงพระต้น ขอกล่าวถึงประวัติส่วนตัวเล็กน้อยครับ เพื่อใช้โยงว่า ทำไมผมจึงขอสวนกระแส ปกป้องพระอาจารย์ต้น ก่อนอื่นต้องบอกว่า ผมเองเรียนบาลี แม้จะไม่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยคก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าไม่สามารถเรียนได้ แต่ตั้งใจจะหยุดเพียงแค่เปรียญธรรม 6 ประโยค ถึงเรื่องการแปลภาษาจะไม่เทียบเท่าพวกที่จบเปรียญธรรม 9 ประโยคก็ตาม แต่ผมเลือกที่จะไม่อยากเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะรู้สึกว่า ยิ่งเรียนบาลีขั้นสูงเท่าไหร่ ตัวผมเองกลับรู้สึกว่า กูเก่ง กูเก่ง กูเก่ง จนต้องหยุดตัวเอง เพราะเริ่มเห็นว่า ตัวผมเองเริ่มมีทิฏฐิสูงขึ้นทุกวันๆ แทนที่เรียนบาลีชั้นสูงๆแล้วกิเลสจะน้อยลง แต่เมื่อรู้สึกว่า ยิ่งเรียนกิเลสยิ่งมาก ยิ่งรู้สึกว่า กูเก่ง มากขึ้น และได้รู้จักหลายคนที่จบเปรียญธรรม 9 ประโยค ก็รู้สึกว่า หลายคนก็ดีจนแทบใจหาย แต่หลายคนเช่นกัน กลับดูหมิ่นผู้ที่เรียนไม่จบเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญ 9 หลายๆ คนก็กิเลสมากกว่า หลายคนที่ไม่ได้เปรียญด้วยซ้ำ คนที่จบเปรียญ 9 ทุกคนจะมีหลักการดีมาก แต่คนที่จบเปรียญ 9 แล้วน่าศรัทธากราบไหว้อย่างสบายใจก็มีมาก ซึ่งก็มากกว่า คนที่จบมาแล้วดูหมิ่นคนอื่น ผมมาคิดถึงตัวเอง ผมน่าจะอยู่ในกลุ่มที่ทิฏฐิสูง ยิ่งเรียนจบสูงคงยิ่งดูถูกคนอื่นว่าด้อยกว่า และกูเก่ง พอเริ่มรู้สึกตัว ก็รู้สึกละอายใจว่า ทำไม ผมบวชในพระพุทธศาสนา แต่ยิ่งเรียนทำไม ยิ่งกิเลสเยอะ แสดงว่า การเรียนอย่างเดียวคงไม่ตอบโจทย์ชีวิต จึงหยุดเรียนบาลีทันที ที่กล่าวนี้มันเกิดเฉพาะกับตัวผมคนเดียวนะครับ ไม่เกี่ยวกับผู้อื่น หลังจากนั้นก็หันไปเรียนมหามกุฎราชวิทยาลัย ที่อยู่วัดบวรฯ จนจบปริญญาตรี ตอนนั้นหนทางเหมือนมีทางแยก ระหว่าง เข้าป่าปฏิบัติธรรม กับลาสิกขา(สึก) คิดอยู่หลายตลบ ก็ตัดสินใจว่า ถ้าเข้าป่า ก็จะสงสัยว่าชีวิตครองเรือนมันเป็นอย่างไร เอาละ ขอลงสึกไปใช้ชีวิตดูสักครา ว่าจะเป็นอย่างไร และเมื่อตัดสินใจก็ได้ลาสิกขา (สึก) ทันที ยอมรับอยู่อย่างว่า ระหว่างบวชเรียนบาลี ผมไม่รู้จักการปฏิบัติธรรมเลย บวชเรียน 15 ปี แต่ไม่รู้จักการปฏิบัติธรรม พอสึกออกมาก็ทิ้งวัดว่าไปประมาณ เกือบ 10 ปี แต่ก็มีพระธุดงค์องค์หนึ่ง มาให้สติผม จนผมเริ่มเข้าวัดปฏิบัติธรรม ช่วงเข้าวัดปฏิบัติธรรมใหม่ๆ นั้น ผมไม่เคยบอกใครว่า ผมคืออดีตมหาเปรียญ ก็ไปปฏิบัติธรรม เริ่มต้นกับสายหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ฝึกอยู่ 4 ปี แม้จะพอฝึกได้ แต่ก็เห็นว่า กิเลสในใจไม่ได้เบาบางลงเลยแม้แต่น้อย ซ้ำร้าย ความรู้สึกว่า กูเก่ง กูเก่ง กลับมาเจริญในจิตใจอีกแล้ว นี่คงเป็นเพราะผมไม่ได้มีบุญได้ปฏิบัติธรรมสมัยหลวงพ่อฤาษีลิงดำยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง บุญผมคงน้อยเกินไป สุดท้ายก็ตัดสินใจที่จะแสวงหาครูบาอาจารย์นักปฏิบัติ และก็เลือกครูบาอาจารย์ตามป่าเท่านั้น แต่ก็มาเริ่มต้นที่วัดเขาถ้ำสาริกา จ.นครนายก เพราะอยากตามรอยหลวงปู่มั่น นั่นเอง การปฏิบัติธรรมที่นี่ ก็ใช้วิธีลองผิดลองถูก เพราะยังไม่เจอครูบาอาจารย์ที่พอจะสอนได้เต็มตัว แต่ก็ได้รับคำแนะนำที่ดีๆ จากครูบาอาจารย์หลายท่านอยู่เป็นระยะ จนประมาณ 2-3 ปี จึงเริ่มจับแนวทางปฏิบัติของหลวงปู่มั่นได้ เริ่มปฏิบัติได้ถูกทาง ตัวรู้เริ่มเกิดขึ้นและเด่นชัดขึ้นทุกขณะจิต จนวันหนึ่งได้เห็นว่า กายกับจิตนี้มันแยกออกจากกัน ชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน เห็นกายก็ส่วนหนึ่ง เห็นจิตก็ส่วนหนึ่ง ตัวรู้ก็อีกตัวหนึ่ง จากวันนั้นจิตใจของตัวเองที่เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ชนิดไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้จะไม่ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดก็ตาม แต่มั่นใจในตัวเองว่า จิตใจตนเอง หยั่งลงในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่คลอนแคลนเลยแม้แต่น้อย เมื่อก่อนเคยกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิสิทธิ์ต่างๆ หลังจากนั้นแม้จะกราบไหว้ ก็ไม่ได้ไหว้ด้วยศรัทธา ไหว้เพียงแค่ไหว้ผู้ที่เป็นเหมือนญาติ เหมือนเพื่อน เหมือนคนรู้จัก ไม่ได้ไหว้ด้วยศรัทธาเลย ความศรัทธาของข้าพเจ้ามีให้เฉพาะในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ชนิดไม่มีคลอนแคลนเลยแม้แต่น้อยเท่านั้น และวันนั้นผมก็ได้รู้จักศีลอัตโนมัติว่าเป็นอย่างไร (ขอยืนยันอีกครั้งว่า ผมยังไม่บรรลุแม้แต่พระโสดาบันนะครับ) จิตของผมยังไม่ก้าวข้ามโคตรภูญาณแน่ๆ แต่ก็ใกล้เคียงเหมือนกัน จึงยังอยู่ในสถานะที่ยังเสื่อมได้อยู่นั่นเอง แต่แม้จะไปได้เท่านั้น จิตใจของผมก็ไม่เคยคลอนแคลนในพระพุทธศาสนาเลย เลิกกลัวผีตั้งแต่บัดนั้น รู้สึกว่า ผีก็ไม่ต่างกับ ก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ รวมถึงตัวเรา ก็เป็นเพียงสิ่งที่มีอยู่ชั่วขณะและก็ต้องสลายไปตามวัฏจักร หลังจากนั้นผมก็เริ่มเข้าป่า แสวงหาครูบาอาจารย์ที่จะต่อยอด ผมจึงเข้าทุกป่าที่ได้ฟังมาว่า มีครูบาอาจารย์ดีๆ อยู่ที่นั่น ก็มีทั้งเจอและไม่เจอ ป่าส่วนใหญ่ที่เข้าไปก็เป็นแถวอีสาน เช่น ภูลังกา ภูวัว ภูทอก ภูพาน ดงหลวง ภูเขาควาย (ประเทศลาว) การเดินทางไปปฏิบัติแต่ละครั้ง ได้พบครูบาอาจารย์จำนวนมาก ได้พบพระที่มีจริตต่างๆ หลายองค์สอนไม่เหมือนกัน ปฏิบัติไม่เหมือนกัน แต่แม้จะไม่เหมือนกัน แต่เบื้องปลายกลับคล้าย ๆ กัน พระหลายๆ องค์ ท่านไม่เคยเรียนบาลี ไม่เคยเรียนอภิธรรม แต่ท่านมุ่งมั่นปฏิบัติธรรม ลองผิดลองถูก อันไหนที่ท่านปฏิบัติแล้วถูกทาง ท่านก็เอาแนวนั้นมาสอน ทำให้เห็นว่า แต่ละองค์ในเบื้องต้นนั้น สอนไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าองค์ไหนจริตจะเป็นอย่างไร หรือปฏิบัติแบบไหนแล้วท่านพ้นกิเลส การสอนจึงไม่เหมือนกัน หลาย ๆองค์ ก็สอนที่ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่ก็เกิดจากท่านปฏิบัติตามแนวของท่านแล้วเห็นผล จึงมาแนะนำสั่งสอน ผมพูดอ้อมมาไกล เพื่อชี้ให้เห็นว่า พระป่า พระนักปฏิบัติจำนวนมาก ไม่เคยเรียนบาลี ไม่เคยเรียนอภิธรรม ไม่เคยเปิดตำราพระไตรปิฎกอ่าน ถึงบางองค์เปิดอ่าน ก็จับจุดไม่ถูก ว่าจะเริ่มจากตรงไหน ท่านจึงเลือกปฏิบัติตามแนวครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่สอนมา แล้วเอามาปรับปรุงตามแนวทางที่ตนเองทำแล้วเห็นผลดีนั่นแหละ ขอกล่าวถึงพระอาจารย์ต้น ที่ผมพอจะทราบ พระอาจาย์ต้น เป็นพระป่าองค์หนึ่ง ช่วงเริ่มปฏิบัติธรรม ท่านไม่เคยเรียนบาลี ไม่เคยเรียนพระอภิธรรม แต่ท่านปฏิบัติธรรม กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น จนในที่สุดพระอาจารย์ต้นก็เหมือนครูบาอาจารย์หลายๆ องค์ที่ผมบอกว่า พอปฏิบัติแบบใดแบบหนึ่งแล้ว กรรมฐานเจริญก้าวหน้า ก็เลือกทำแบบนั้น และพระอาจารย์ต้นก็คงเป็นตามที่ผมกล่าวไว้ ผมไม่อาจทราบได้ว่า ท่านบรรลุธรรมขั้นใดหรือไม่ ไม่ทราบและไม่ยืนยัน แต่สิ่งที่พระอาจารย์ต้น เป็นต้นแบบสั่งสอนเด็กและเยาวชนนั้น ผมชื่นชมมาก สิ่งที่ท่านสอนออกมานั้น ผมก็รู้ว่า ไม่มีในพระไตรปิฎก ท่านก็บัญญัติสิ่งที่ท่านปฏิบัติแล้วได้ผล นำมาสอน ผมเห็นเยาวชนคนไทยจำนวนมาก ที่ไม่สนใจพระพุทธศาสนา กลับมาสนใจปฏิบัติธรรม สนใจพระพุทธศาสนาอย่างมากมาย คนที่เป็นบุคคลเด่นๆ ที่เป็นลูกศิษย์ พระอาจารย์ต้น ที่ผมชื่นชมมากๆ ก็คือ “ น้องวนิ อินพุทธ” น้องวนิ อินพุทธ ได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์ต้น แล้วจิตใจชองน้องได้เปลี่ยนแปลงชนิดถวายหัวใจแก่พระพุทธศาสนา ด้วยความที่น้องเป็นคนรุ่นใหม่ เรียนรู้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบปัจจุบัน น้องจึงได้นำเอาแนวทางการสอนของพระอาจารย์ต้น มาประยุกต์กับกิจกรรมแบบใหม่ ที่ดึงดูดเยาวชน มาเข้าค่ายเป็นจำนวนมาก และจัดหลายๆ รุ่น และได้พบว่า เยาวชนจำนวนมาก ที่ไม่เคยศรัทธาพระพุทธศาสนา กลับหันมาศรัทธาพระพุทธศาสนา พร้อมน้อมนำเอาแนวทางของพระอาจารย์ต้นมาปฏิบัติ ส่วนตัวผมไม่เคยเจอพระอาจารย์ต้น ไม่เคยเจอน้องวนิ อินพุทธ และไม่เคยรู้จักเป็นการส่วนตัวเลยแม้กระทั่งนาทีนี้ แต่ผมกลับเชื่อมั่นและชื่นชมในตัวน้องวนิ อย่างมากมาย เคยสนับสนุนเงินเพื่อให้น้องนำไปทำกิจกรรมค่ายอินพุทธ ในบางครั้ง ผมรู้ครับ ว่า สิ่งที่พระอาจารย์ต้นสอนนั้น ไม่มีในพระไตรปิฎก ท่านสอนในสิ่งที่ท่านปฏิบัติแล้วได้ผลให้แก่คนทั่วไป แต่หลายๆ คำสอนที่พวกเราปฏิบัติกันทุกวันนี้ ก็ไม่มีในพระไตรปิฎกนะครับ เช่น คำภาวนาว่า “พุทโธ” “ยุบหนอ พองหนอ” “ภาวนาพุทโธ” “สัมมาอรหัง” “นะมะพะธะ” เป็นต้น ทุกคำภาวนา ล้วนเกิดจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ได้ลองผิดลองถูก จนในที่สุด ท่านใช้แนวทางภาวนาดังกล่าว แล้วได้ผลและเข้าถึงได้ธรรมได้ ท่านก็เอาคำเหล่านี้แหละมาสอน สำหรับผมแล้ว ผมมองว่า คำภาวนาไหน ก็ไม่มีคำไหนผิดเลยแม้แต่คำเดียว เพราะคำภาวนาเหล่านั้น มันคือ อุบายเบื้องต้นให้จิตเกิดมีสมาธิ หรือให้มีจิตกำลัง ซึ่งทั้งหมดรวมถึงสิ่งที่พระอาจารย์ต้นสอน ในเบื้องต้น มันยังเป็นเพียง สมถกรรมฐานเท่านั้น แต่สมถกรรมฐาน คือจุดแรก จุดเบื้องต้นที่ทุกสาย ทุกแนวต้องมี แต่มีแล้ว ขั้นต่อไป คือการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาต่างๆหาก ตรงยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนานี่แหละ ที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์กล่าวถึง ตรงกันทั้งหมด นั่นคือการเจริญ สติปัฏฐาน 4 สติปัฏฐาน 4 นี้แหละที่ ภาษาบาลี ท่านเรียกว่า เอกายโน มัคโค หรือ ทางสายเอก ทางสายเดียวที่จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา อาจารย์ทุกองค์ที่ท่านบรรลุธรรมจริงๆ ไม่ว่า เบื้องต้นท่านจะสอนแบบไหน มีในพระไตรปิฎก หรือไม่มีในพระไตรปิฎก ก็ตาม ผมมองว่า สอนแบบไหนก็ไม่ผิด เพราะมันคือสมถกรรมฐาน สมถกรรมฐานนี้จะไม่มีก็ไม่ได้ ถ้าไม่มี จิตก็ไม่มีพลังเพียงพอที่จะยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา (ยกเว้นผู้ที่บารมีแก่รอบ แม้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ก็สามารถบรรลุธรรมได้ทันที ตรงนี้ไม่ขอกล่าวถึง) เบื้องต้นผู้ปฏิบัติ ต้องเจริญ สมถกรรมฐานนี้ให้ได้เสียก่อน แล้วจึงใช้สติปัฏฐาน เป็นตัวยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาครับ ผมกล่าวมายืดยาว เพราะอยากให้เห็นว่า พระอาจารย์ต้น ท่านไม่ได้เคยเรียนบาลี ไม่เคยเรียนอภิธรรม การปฏิบัติธรรมในเบื้องต้นของท่านจึง เหมือนที่ผมกล่าว ที่ผมเห็น นั่นคือ ลองปฏิบัติหลายๆ แบบ พอปฏิบัติแบบไหนแล้วได้ผล ก็เอาแบบนั้นมาสอน มันจึงไม่มีในพระไตรปิฎก ซึ่งก็ไม่ต่างกับคำภาวนาว่า “พุทโธ” “ยุบหนอ พองหนอ” เป็นต้น แต่สิ่งที่พระอาจารย์ต้น สอนแนวทางนี้ สามารถดึงเยาวชนให้มาสนใจ เข้าใจ เข้าถึงพระพุทธศาสนา อย่างมากมาย ตรงนี้ต่างหากที่ผมสนใจและสนับสนุน ที่สำคัญ หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราช (ท่านเป็นสายพระป่า เช่นเดียวกัน) ได้เมตตาออกมาแนะนำ ไม่ให้พระต้นออกนอกลู่นอกทาง ผมก็ไม่เห็นพระอาจารย์ต้นปฏิเสธใดๆ ตรงกันข้าม ท่านน้อมรับ แล้วรีบศึกษา ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลี เพื่อเอาไปปรับปรุงหนังสือตำราของท่าน เพื่อให้ตรงตามพระไตรปิฎก ที่ผมออกมาปกป้องพระอาจารย์ต้น เพราะเห็นว่า 1.ท่านคือพระป่า ที่ต้องผ่านการปฏิบัติแบบลองผิดลองถูกมาก่อน 2.ท่านไม่ปฏิเสธ คำตักเตือนของสมเด็จพระสังฆราช พร้อมรีบนำมาปรับปรุงให้อยู่ในทิศทางของพระไตรปิฎก 3.ท่านว่านอนสอนง่าย พร้อมปฏิบัติตามพระผู้ใหญ่ โดยไม่รอช้า 4.ท่านพยายามเข้าหาผู้เชียวชาญภาษาบาลี เพื่อแก้ไขให้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ข้อสังเกตุ ต้องกลับไปดูเยาวชนด้วยนะ ว่าเยาวชนจำนวนมาก ที่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเพราะพระอาจารย์ต้น เกิดจากการใช้ถ้อยคำที่ง่ายๆ เด็กๆ เข้าใจง่ายๆ นำไปปฏิบัติได้ง่าย ถ้าเปลี่ยนแบบเต็มไปด้วยภาษาบาลี เราก็อาจจะเห็น ว่า เยาวชน เริ่มไม่เข้าใจมากขึ้น การสื่อสารทำได้ยากขึ้นก็ได้ สุดท้าย ขอบอกว่า ผมไม่ใช่ลูกศิษย์พระอาจารย์ต้น ไม่เคยเป็นลูกศิษย์ท่าน ไม่เคยปฏิบัติตามแนวของท่าน ไม่เคยรู้จักไม่เคยพบเจอท่าน แต่ผมขอสวนกระแสชาวพุทธ ด้วยคำว่า “ผมขอปกป้องพระอาจารย์ต้นครับ” จำนวนผู้ชม : 2,483 Leave a ReplyFacebook Comments More Articles By the same author เจ้าคณะเขตเทศน์ธรรมกิจกรรม “นุ่งขาวห่มสไบใส่บาตรหลวงพ่อรอด” อุทัย มณี ม.ค. 12, 2022 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,… เปิดมุมมอง “อดีตสามเณรโฟล์ค” ตั้งคำถามถึงวงการสงฆ์..?? อุทัย มณี พ.ค. 24, 2022 ในช่วงที่ผ่านมาวงการสงฆ์ถูกพุทธศาสนิกชนตั้งคำถามตรวจสอบและวิพากษ์วิจารณ์อย่างล้นหลามทั้งผ่านพุทธศาสนิกชนเอง… โปรดเกล้าฯแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมชุดใหม่ อุทัย มณี ธ.ค. 11, 2021 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งกรรมการมหาเถรสมาคมความว่า… นายก ฯกำชับ กอ.รมน.แก้ปัญหาลักลอบนำเข้าผลผลิตการเกษตร อุทัย มณี ม.ค. 10, 2019 เมื่อวานนี้ (9 ม.ค.62) พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. กล่าวว่า… มติ มส.แต่งตั้งพระสังฆาธิการหลายตำแหน่ง โดยมี พระพรหมดิลก -พระพรหมสิทธิ ร่วมประชุม อุทัย มณี ก.ย. 10, 2024 วันอังคารที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร… สมเด็จพระมหาธีราจารย์มอบผู้แทนร่วมแถลง “River Festival 2022 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย” อุทัย มณี ต.ค. 28, 2022 วันที่ ๒๘ ต.ค. ๖๕ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมัลคลาราม… โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระภาวนาวัชราจารย์” อุทัย มณี ธ.ค. 29, 2022 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์… เจ้าอาวาสวัดสุทัศน์ เยี่ยมให้กำลังใจพระธรรมทูตไทยในสหรัฐอเมริกา อุทัย มณี พ.ย. 20, 2023 วันที่ 20 พ.ย.66 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือเจ้าคุณประสาร รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา… “ปุ๋ม ปนัดดา”แนะยุวชนวิถีใหม่ จงหิวแสงสร้างภาพดีแบบไม่ยอมโง่ อุทัย มณี ต.ค. 16, 2021 วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๔ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. วิทยากรต้นแบบสันติภาพ… Related Articles From the same category รายงานพิเศษ:การขับเคลื่อน โคก หนอง นา คือ “การฟื้นวิถีชีวิตคนอีสานกลับคืนสู่ท้องถิ่น” “ หลักการโคกหนองนาคือ หลักการการจัดการน้ำ หาน้ำ และกักเก็บน้ำ… ถอดรหัส!หลักธรรมในพระไตรปิฎก ‘บิ๊กตู่’นำมาใช้ปกครองประเทศ หลังจากวันขึ้นใหม่ 2562 มาเพียงวันเดียว คนไทยได้รับบุญอันประเสริฐจากพล.อ.ประยุทธ์… วธ.จัดหลักสูตรติวเข้ม เด็กเยาวชน-เครือข่ายวัฒนธรรมกว่า 500 คน เน้น “ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างมืออาชีพ” วันที่ 26 เมษายน 65 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม… โบสถ์พุทธแห่งแรกในกองทัพอากาศสหรัฐฯ : Brett Campbell วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 เพจ The Land Of Buddha ได้โพสต์ข้อความว่า โบสถ์แห่งแรกในกองทัพอากาศสหรัฐฯ… ปลัดมท.เผดิมงานวันแรกเปิด “ศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชน” เฉลิมพระเกียรติ “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” วันที่ 1 ต.ค. 64 เวลา 13.30 น. ณ กรมการพัฒนาชุมชน อาคารรัฐประศาสนภักดี…
Leave a Reply