กก.พระปริยัติธรรม !! ย้ำความสำคัญ “เครือข่าย -ไอที-การวิจัย” เพื่อยกระดับการศึกษาคณะสงฆ์ไทย

วันที่ 20 ธ.ค. 2567 เวลา 15.00 ที่ ห้องประชุมสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองธรรมสนามหลวง เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยมี ดร.นิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม  วาระสำคญ เช่น  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.พินิติ รตะนานุกูล แทน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ที่ว่างลง รายงานผลการสำรวจข้อมูลสามเณรที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา พิจารณา เสนอร่างประกาศมหาเถรสมาคม เรื่องนโยบายด้านการศึกษาของพระภิกขุ สามเณร

ดร.นิยม เวชกามา เปิดเผยหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า การประชุมในคราวนี้ได้รับมอบหมายจากรองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้มาร่วมประชุม ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 สาระกันประชุมในวันนี้มีหลายประเด็นด้วยกัน ทั้งเรื่องที่ดำเนินการมาแล้วแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ และนโยบายที่จะขับเคลื่อนต่อ เรื่องที่ดำเนินการแล้ว เช่น การประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพการศึกษา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 เป็นการยกระดับการศึกษาของคณะสงฆ์ให้มีคุณภาพสูงขึ้น เพื่อให้การศึกษาพระปริยัติธรรมสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล  การอบรมครูสอนพระปริยัติธรรม เพื่อให้ครูสามารถนำไปใช้ในการสอนจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประชุมร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

“ที่ประชุมได้มีการยกประเด็นการสร้างเครือข่ายการศึกษาพระปริยัติธรรม โดยการเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยีในการศึกษา ซึ่งในยุคปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ และทำให้การศึกษาเข้าถึงได้ง่ายขึ้น การสร้างสื่อการสอนออนไลน์ การจัดการเรียนการสอนผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา และรวมทั้งคณะสงฆ์ควรจะต้องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ในด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา การสนับสนุนให้มีการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการเรียนรู้ จะช่วยให้เกิดการพัฒนาที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนและสังคมต่อไปด้วย..”

Leave a Reply