มส.ว่าไง!! พรรคการเมือง จี้ขอให้แก้ “บทอาราธนาธรรม” บอกพบผิดจากพระไตรปิฎก 2 คำ

วันที่ 13 ก.พ.2568   นายจักรพงศ์ ชื่นดวง และนายประสงค์ แก้ววิจิตร กรรมการบริหารพรรคไทยชนะเข้าพบและยื่นหนังสือต่อนายนิยม เวชกามา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ร่วมผลักดันให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดของบทสวดอาราธนาธรรมที่ใช้กันในวัดทั่วประเทศมีการสวดผิดเพี้ยนมาอย่างยาวนาน จากการตรวจสอบพบว่า บทสวดอาราธนาธรรมที่ใช้ในหลายวัดทั่วประเทศ มีการสวดที่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับเดิมในพระไตรปิฎก ซึ่งส่งผลต่อความถูกต้อง ในการสวดพิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสำคัญอย่างยิ่ง คือ บทสวด แบบบาฬี พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี สหมฺปติ กตญฺชลี อนธิวรํ อยาจถสนฺตีธ สตฺตา อปฺปรชกฺขชาติกา เทเสหิ ธมฺมํ อนุกมฺปิมํ ปชํ.

แบบภาษาไทยคำอ่านคือ พรหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กะตัญชะลี อะนธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีธะ สัตตาป ปะระชักขะ ชาติกา เทเสหิ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง และบทสะกดไม่ตรงกับคาถาในคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่มีอยู่ในหนังสือ บทสวดมนต์ทั่วไป คือ พรหมา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ สันธีตะ สัตตาป ปะรักชักขะ ชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง

ทั้งนี้ บทอาราธนาธรรมที่ปรากฏคุ้นเคยกันในประเทศไทยเป็นบทสวดที่ผิด โดยมีคำที่ผิดสองคำคือ “กัตอัญชะลี” ซึ่งแปลไม่ได้ คำที่ถูกต้องเป็น “กะตัญชะลี” แปลว่าประนมมือ และคำที่ผิดคำที่สองคือ “อันธิวะรัง” ซึ่งแปลได้ว่า “ผู้มืดบอดอย่างที่สุด” ซึ่งผิด คำที่ถูกต้องคือคำว่า “อะนะธิวะรัง” แปลว่า “ผู้ไม่มืดบอดอย่างที่สุด” ได้แก่พระพุทธเจ้านั่นเอง

ด้านนายนิยม เปิดเผยภายหลังว่า ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะบทสวดอาราธนาธรรมเป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรมทางศาสนา หากสวดผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับเดิม จะทำให้ความหมายในการสวดผิดพลาด จึงรับเรื่องเพื่อพิจารณา เร่งแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็วที่สุด ทั้งนี้ จะนำเรื่องปรึกษาหารือ มหาเถรสมาคม สำนักพระพุทธศาสนาและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป

 

ขอบคุณ..ผู้จัดการออนไลน์

Leave a Reply