พระสงฆ์ยังมึน! “Online Learning: อะไร? อย่างไร?”ฝ่าวิกฤติโควิด-19

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563 เฟซบุ๊กเพจ Phramaha Boonchuay Doojai ของพระครูพิพิธสุตาทร (พระมหา ดร.บุญช่วย สิรินธโร) อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้โพสต์ข้อความว่า

“Online Learning: อะไร ? อย่างไร ?”

@ สืบเนื่องจากการ “สานเสวนา” กลุ่มผู้บริหารศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โซนภาคเหนือ เรื่อง “บัณฑิตศึกษาในยุค Disruption” ในโครงการสัมมนาร่วมกับศูนย์บัณฑิตศึกษา ภายในประเทศ โซนภาคเหนือ จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย ส่วนกลาง ณ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน จังหวัดน่าน ได้มีข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการจัด “กระบวนการเรียนรู้” ในยุค Disruption นี้โดยการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่มาใช้ที่เรียกกันว่าเป็น “ระบบการเรียนการสอนออนไลน์”

@ กรอปรกับในภาวะที่ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤต “COVID-19” ณ เวลานี้ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization – UNESCO) ได้คาดการณ์ว่ามีนักเรียน-นักศึกษากว่า 363 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบ และประมาณการณ์ว่ามีสถาบันการศึกษาใน 15 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกาเหนือ ได้ปิดการเรียนการสอนปกติที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย และมีสถาบันการศึกษาในหลายประเทศ ได้นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เพื่อเปิดการเรียนการสอนผ่าน “ออนไลน์”

@ “ประเทศจีน” ต้นตอของการแพร่ระบาด เป็นประเทศแรกที่ประกาศหยุดกิจกรรมการเรียนการสอนที่โรงเรียน และมหาวิทยาลัย ทั้ง “ครู และนักเรียน – นักศึกษา” หันไปเปิดการเรียนการสอนทาง “ออนไลน์” ด้าน“สหรัฐอเมริกา” เริ่มปิดโรงเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด และมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในสหรัฐอเมริกา เช่น “Harvard” ประกาศจะใช้การเรียนการสอนเสมือนจริง (Virtual Education) ในขณะที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 โดยจะเริ่มตั้งแต่ 23 มีนาคมนี้ และล่าสุดเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของรัฐที่ให้ปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ออกประกาศให้สถาบันการศึกษาได้นำการเรียนการสอนรูปแบบ “ออนไลน์” มาใช้

@ จึงมีคำถามเกิดขึ้นกับ “ตัวเอง” ซึ่งเป็นคนรุ่น “Silver Gen” หรือ “Baby Boomers” ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชากรสูงวัย และยังขาด “Digital literacy” ว่า “เอาไงดี หว่า ???” ที่จะต้องจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับคนรุ่น “Gen Y” และ “Gen Z” ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีดิจิทัลและสิ่งอำนวยความสะดวกรอบด้านเรียนรู้การดำเนินชีวิตในสังคมแบบ “ดิจิทัล” จะมีกลุ่ม “Gen X” อยู่บ้างก็น่าจะน้อยนิด ซึ่งก็ไม่ทราบว่าคนอื่นเขามี “คำถาม” กันหรือไม่ ตอนนี้ก็เริ่มรู้สึกว่ามีความ “กังวล” เกิดขึ้นแล้วล่ะสิ

@ เหตุที่กังวลก็เพราะรู้ตัวดีว่า “ตัวเอง” ยังขาด “ทักษะ” ในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบัน (คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสื่อสาร การปฏิบัติงาน และการทำงานร่วมกัน หรือใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ทักษะที่ว่านี้ครอบคลุมความสามารถ 4 มิติ คือ 1) การใช้ (Use) 2) เข้าใจ (Understand) 3) การสร้าง (create) 4) เข้าถึง (Access) เทคโนโลยีดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ทั้งนี้สอดคล้องกับผลงานวิจัยนี้ “โลกวิกฤติพิษโควิด-19! วิจัย”สันติศึกษา มจร” พบกระบวนการพระสงฆ์ใช้สื่อออนไลน์สร้างสติสู้ภัย“)

@ จากความ “กังวล” ใน “Digital illiteracy” ของตัวเอง ก็เลยต้องมาทำความเข้าใจเรื่อง “Online Learning” เผื่อว่าจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่เมื่อยิ่งค้นคว้าหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจ ก็ยิ่งรู้ว่าตัวเองยังอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกว่า “Digital Illiteracy” แล้วเราจะจัดการเรียนรู้ “ออนไลน์” ให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ???? เพราะยังไม่รู้เลยว่า ….

> “Virtual Education” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Cloud Computing” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tech Company” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “DingTalk” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Hangout Meet” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Google Classroom” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Augmented Reality – AR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Visual Reality – VR” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Artificial Intelligence – AI” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Tencent” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Intelligent Video Collaboration” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Blackboard” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “Zoom Room” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

> “…ฯลฯ…” คืออะไร ? ทำงานอย่างไร ? จะนำมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างไร ?

@ ปกติสถาบันการศึกษาทุกแห่งจะต้องมีส่วนงานที่ทำหน้าที่ด้าน “เทคโนโลยีสารสนเทศ” เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำพันธกิจในการสนับสนุนการจัดการศึกษา ถ้าจำไม่ผิดมหาวิทยาลัยที่ทำงานอยู่ตอนนี้ก็มีส่วนงานระดับคณะชื่อ “สำนักห้องสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ” มีภารกิจเกี่ยวกับ “งานพัฒนาและให้บริการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ‘เทคโนโลยีการศึกษา’ ส่งเสริม พัฒนาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ” และมี “กลุ่มงานเทคโนโลยีการศึกษา” ซึ่งมีภารกิจในการปฏิบัติงานจัดอบรมบุคลากรและนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ งานบริหารจัดการเว็บไซต์ งานบริการการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

@ แต่เท่าที่ “จำความได้” ยังไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรม “Course” ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนออนไลน์ (E-Learning) แม้แต่ครั้งเดียว จึงทำให้ตัดสินใจได้อย่างไม่ต้องลังเลว่าตัวเองนั้นอยู่ในกลุ่ม “Digital Illiteracy” เลยมีคำถามตามมาว่า ทำไมเราจึงไม่ได้เข้ารับการฝึกอบรม มีคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้หลายคำตอบ ว่า

> เพราะ “เราไม่รู้” ว่ามี Course(s) ฝึกอบรมตลอดเวลา หรือว่า

> เพราะ “เรามัวแต่เดินทางท่องเที่ยว” ทั้งในและต่างประเทศ (เจอหลายคนชอบทักแบบนี้) จนไม่มีเวลาเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “เราไม่สนใจ” ที่จะเข้ารับการฝึกอบรม หรือว่า

> เพราะ “มหาวิทยาลัยยังไม่เคยจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้) หรือว่า

> เพราะ ที่ผ่านมา “มหาวิทยาลัยไม่มีงบประมาณสนับสนุนการจัด Course(s) ฝึกอบรม” ให้แก่คณาจารย์ (ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ อีกนั่นแหละ)

@ ยิ่งทำให้เป็นที่น่ากังวลว่า “คณาจารย์” ของมหาวิทยาลัย จะมีทักษะในการนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ตามนโยบายของรัฐและประกาศของมหาวิทยาลัยได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ อย่างไร

@ ดูเหมือนว่า “มหาวิทยาลัย” ไม่ได้ “เตรียมการ” ในเรื่องนี้เป็นอย่างดีมาก่อนที่จะเกิดผลกระทบจากวิกฤต COVID-19

@ เอาเป็นว่า ที่ผ่านมาก็ควรให้มันผ่านไป ใช้มันให้เป็นบทเรียน เพื่อก้าวข้ามไปให้ได้ในยุค “Disruption” โดยมีสิ่งที่ต้องจัดการเป็นการ “เร่งด่วน” อย่างน้อย 4 เรื่อง ได้แก่

> การลงทุนเกี่ยวกับ “Educational Technology” ที่เหมาะสมกับ “บริบทของมหาวิทยาลัย”

> ภาวะผู้นำ ของ “ผู้บริหารมหาวิทยาลัย” ทุกระดับ

> กลไก “การบริหารจัดการ” เฉพาะด้าน “Educational Technology” ที่สามารถวางแผนและตัดสินใจได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

> การพัฒนา “อาจารย์” ให้เข้าสู่กลุ่ม “Digital literacy” อย่างเป็นรูปธรรม

@ แม้จะเป็นข้อเสนอจากคนที่ไม่ใช่ “ผู้เล่นหลัก” แต่ก็เป็นไปด้วยจิตแห่งความห่วงใย ที่สำคัญคือไม่ใช่ความห่วงใยในสถานะของตนเอง แต่ห่วงใยใน “ผู้เรียน” ที่มีความคาดหวังว่าจะได้เป็นบัณฑิตในอุดมคติของมหาวิทยาลัย รวมถึง “ความอยู่รอดของมหาวิทยาลัย “ในยุค “Disruption”

ขอบคุณภาพ และศึกษาเพิ่มเติมที่:

https://www.marketingoops.com/…/covid-19-reinvent-global-e…/

http://www.edit.psu.ac.th/…/e-learning%20book-AW-edit%20(fi…
https://www.skilllane.com/…/make%20an%20online%20course%20i…

https://www.thaipost.net/main/detail/60276
https://www.posttoday.com/life/healthy/587633
https://techsauce.co/…/collaboration-is-the-new-innovation-…
http://www.todayhighlightnews.com/…/smart-connected-healthc…
https://www.nexttopbrand.com/…/smart-connected-healthcare-c…
http://www.sevenminutescientist.com/…/Online-Learning-1024x…

Leave a Reply