โลกวิกฤติพิษโควิด-19! วิจัย”สันติศึกษา มจร” พบกระบวนการพระสงฆ์ใช้สื่อออนไลน์สร้างสติสู้ภัย

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงที่โลกประสบปัญหาไรวัสโควิด-19 ระบาดอยู่ขณะนี้ การสื่อสารออนไลน์นั้นถือว่ามีความจำเป็นในหลายมติทั้งการสื่อสาร การบริหารจัดการ การศึกษารวมถึงธุรกิจ เนื่องจากประชาชนเสี่ยงต่อการติดเชื้อหากเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ พร้อมกันขวัญกำลังใจถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการต่อสู้กับภัยในครั้งนี้ นอกจากภาครัฐแล้วพระสงฆ์ก็ถือว่ามีหน้าที่ตรงนี้

จากผลการวิจัยดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอก สาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเรื่อง “กระบวนการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์ผ่านเฟซบุ๊กโดยพุทธสันติวิธี” ที่ผ่านการอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พบว่า การสื่อสารออนไลน์ของพระสงฆ์ยังมีปัญหาขัดหลักวาจาสุภาษิต ทั้งนี้เนื่องจากพระสงฆ์ไทยยังมีทัศนคติที่ขาดสติเป็นฐานไร้เมตตา ขาดปัญญาโยนิโสมนสิการวิเคราะห์ข้อมูลและผู้รับสารแล้วประกอบสารแล้วสื่อออกไปให้เหมาะสมกับกาลเวลา มีองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการวิธีการสื่อสารน้อย ขาดทักษะประกอบสาร รวมถึงขาดเครือข่ายหรือทำงานเป็นทีม

ผลงานวิจัยดังกล่าวได้นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์ไทย เช่นหลักวาจาสุภาษิตซึ่งเป็นหลักพุทธสันติวิธีในการสื่อสาร บูรณาการกับทฤษฎีการสื่อสารพื้นฐานเช่น SMCR และ 1W1H ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติภาพและทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติ พร้อมเสนอพระสงฆ์ที่ต้นแบบหรือไอดอลการสื่อสารออนไลน์ของพระสงฆ์เพื่อส่งเสริมสันติภาพผ่านเฟซบุ๊ก 4 ด้าน มีพระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคมเป็นต้น พร้อมนำเสนอกระบวนการสื่อสารออนไลน์เพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์ไทยผ่านเฟซบุ๊กโดยพุทธสันติวิธีที่ประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1 ผู้ส่งสาร (S) คือพระสงฆ์ ต้องมีคุณสมบัติคือ สติ เมตตากรุณาต่อคนอื่น โยนิโสมนสิการ มีขันติเคารพความเห็นต่าง ขั้นตอนที่ 2 ผู้ส่งสาร (S) ประเมินวิเคราะห์ผู้รับสาร (R) ว่ามีความต้องการอะไร ขาดอะไร ต้องการเติมเต็มสิ่งใด ขั้นตอนที่ 3 ผู้ส่งสาร(S) ประกอบสาร (M) ดูเนื้อสารใหัมีองค์ประกอบตามหลักวาจาสุภาษิตคือ จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์หรือไม่ ขั้นตอนที่ 4 ผู้ส่งสาร (S) ออกแบบเนื้อหา เรียบเรียงให้สั้น กระชับ มีน้ำหนักเหมาะกับการเป็นสื่อสารสันติภาพ ขั้นตอนที่ ๕ ผู้ส่งสาร (S) ตัดสินใจส่งสาร(M) โดยดูว่าควรจะผ่านช่องทางใด (C) สารเช่นนี้ควรผ่านเฟซบุ๊ก สารแบบนี้ควรผ่านยูทูป หรืออื่นๆ

ทั้งนี้ต้องตรวจสอบกับตัวเองตลอดเวลาว่าขั้นต่างๆนั้นมีสติอยู่หรือไม่ มีอคติหรือไม่ มี่ความรักเมตตาหรือไม่ จะเป็นวงจรอยู่เช่นนี้ และมีการทวนกลับจากผู้รับสารไปสู่ผู้ส่งสารเป็นการสื่อสารสอง ถึงจะทำให้พระสงฆ์ส่งสารสื่อสติสุขต่อสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงไวรัสโควิด-19ระบาดอยู่ขณะนี้สากล

ทั้งนี้ “พระสงฆ์ไทยยุคเอไอต้องสติมั่นคงดำรงมั่น
จิตใจนั้นเปรี่ยมรักเมตตาอารีย์สมาน
สติปัญญาแหลมคมดุจทองคำทนทาน
มั่นวิเคราะห์ประกอบสารสมบูรณ์ดี

ทั้งความจริง ไพเราะ ประสานประโยชน์
จะปราโมทย์ดุจดังมธุรสวาจาสมานฉันท์
ก่อนจะส่งเฟซบุ๊กเวลาความต้องการตรงกัน
ผู้รับสารมีสติรู้เท่าทันย่อมสร้างสันติสุขหรรษาแก่สังคมระดับสากลได้ชั่วกัลป์เอย!

ดังนั้นจากผลการวิจัยครั้งนี้จะทำพระสงฆ์ไทยมีทัศนคติบวก มีมีองค์ความรู้เกี่ยวกับหลักการ วิธีการ และกระบวนการ มีทักษะและมีแนวทางสร้างเครือข่ายทำงานเป็นทีมในการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อส่งเสริมสันติภาพมากขึ้น และประชาชนและคณะสงฆ์ได้ประโยชน์มีสติตื่นรู้สู้ภัยในครั้งนี้

Leave a Reply