นักวิชาการสันติวิธีแนะนำหลักอริยสัจ 4 แก้ขัดแย้งรัฐบาลกับ”อปท”ปมจัดหาวัคซีนโควิด

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี รุ่น 5 สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยว่า ได้เรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ที่หลักสูตรสันติศึกษา มจร ภายใต้ “หลักสูตรแนวคิดพื้นฐานการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี” โดยสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า กลุ่มวิชาที่ 2 “การวิเคราะห์ จัดการความขัดแย้งและแปลงเปลี่ยนความขัดแย้งสู่ทางเลือกที่สร้างสรรค์” โดยภาคบ่ายหัวข้อการวิเคราะห์ความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ 2 กิจกรรมและบรรยายโดย อาจารย์ ดร. พิมพ์รภัช ดุษฎีอิสริยกุล ผู้จัดการมูลนิธิฟรีดิชเนามัน ประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนและสันติวิธีและเชี่ยวชาญด้านจัดกระบวนการเรียนรู้ในบทบาทเป็นFa

โดยมีสาระประเด็นสำคัญว่า การจัดการความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ เวลาเรามองความขัดแย้งจะต่างกันเพราะประสบการณ์หรือแว่นที่ใส่มีความแตกต่างกัน ความขัดแย้งเป็นการปฏิสัมพันธ์ 2 ตัวแสดงที่ได้รับผลกระทบ ทำไมเราต้องวิเคระห์ความขัดแย้งเพราะเราต้องการมองแบบทะลุถึงทางออก เป็นความขัดแย้งของใคร มีขอบเขตความขัดแย้งแค่ไหน จึงมีการวิเคราะห์ระดับปัจเจก หรือ ตวามขัดแย้งระหว่างกลุ่ม การวิเคราะห์ความขัดแย้งไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจความขัดแย้ง แต่เพื่อให้สามาถมองความขัดแย้งได้อย่าง ทะลุปรุโปร่ง เพื่อสะท้อนและสร้างการสื่อสารที่ชัดเจน การวิเคราะห์ความขัดแย้งจึงมีมุมมองแตกต่างกัน 3 ทาง คือ H H C Model ประกอบด้วย 1) Havard Approach แยกระหว่างจุดยืน: Positionsกับผลประโยชน์: Interests 2) Human Needs Teory ความขัดแย้งเกิดจากความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ วิเคราะห์ความต้องการและสื่อสารความต้องการ 3) Conflict Transformation มองความขัดแย้งทำลายล้างหรือสร้างสรรค์ แปรเปลี่ยนความขัดแย้ง มองหลายบริบท วัฒนธรรม ตัวแสดง

เครื่องมือในการวิเคราะห์ความขัดแย้ง มี 5 เครื่องมือ ประกอบด้วย

1.วงล้อความขัดแย้ง : Conflict Wheel ทำให้เห็นภาพรวมของความความขัดแย้ง วงล้อความขัดแย้ง จึงมองมี 6 ประการ คือ
1)ตัวแสดงคู่ขัดแย้ง เช่น สำนักงานนิติบุคคล กับ เจ้าของห้องชุด
2)ประเด็นความขัดแย้ง เช่น น้ำท่วมห้องชุด
3)พลวัตความขัดแย้ง เช่น สอบถาม มาตรฐานป้องกัน จัดลงวาระประจำปี
4)โครงสร้างและบริบท เช่น เคยเกิดเหตุมาแล้วต้องมีมาตรการป้องกัน
5)สาเหตุความขัดแย้ง เช่น เกิดความเสียหายจาดน้ำท่วม
6)ยุทธศาสตร์และทางเลือก/วิธีการ เช่น จัดหาและสร้างธรณีกั้นน้ำ

2. ต้นไม้ความขัดแย้ง : Cinflict Tree ฉายภาพความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุ ประเด็นปัญหา และพลวัตความขัดแย้ง โดยแบบออก 1 ประเด็นคือ 1)ราก : Structural Factors ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขและสะสมมาเรื่อยๆ 2)ลำต้น : Manifest Issues ประเด็นเรื่องที่ขัดแย้งกัน 3)ใบ หรือ ดอกผล : Dynamic Factors สิ่งที่เห็นหรือปรากฎการณ์ เช่น รูปแบบการสื่อสารระดับของความขัดแย้ง มุมมองความสัมพันธ์ หรือ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการแทรกแซงความขัดแย้ง ซึ่งต้นไม้แห่งความขัดแย้งประกอบด้วย ปรากฎการณ์สิ่งที่มองเห็น คือนักเรียนห้อง ก กับห้องนักเรียนห้อง ข เขม่นกัน ประเด็นที่ขัดแย้งกันคือ นักเรียนห้อง ข ทำลายอุปกรณ์ที่นักเรียนห้อง ก เตรียมไว้สำหรับขายของ ที่มาสาเหตุที่ขัดแย้งกันคือ นักเรียนห้อง ก และนักเรียนห้อง ข อยากได้ล็อกที่ดีที่สุดเพื่อขายของในงานโรงเรียน

3. โมเดลการยกระดับความขัดแย้งของกลาซึล :Glasl’s Escalation Model โดยแบ่งออก 9 ระดับ ประกอบด้วย
1) “การก่อรูป” คือ มุมมองของแต่ละฝ่ายเริ่มตายตัว และมีการปะทะกันในระดับนี้ยังสามารถคลี่คลายความขัดแย้งได้โดยการพูดคุย
2) “วิวาทะ” คือ เกิดการแบ่งขั้วความคิดแบบขาวจัด ดำจัด จุดยืนของตนมีความเหนือกว่า
3) “พูดไปก็ไร้ประโยชน์” คือ มีการปะทะ ไม่พูดคุย และสูญสิ้นความเห็นอกเห็นใจกัน เกิดการตีความที่ผิด
4) “ภาพพจน์และการสร้างพันธมิตร” คือ ต่างฝ่ายต่างผลักดันให้อีกฝ่ายเป็นตัวร้ายของเรื่องมีการระดมผู้สนับสนุนและปะทะกัน
5) “การเสียหน้า” คือ โจมตีกันในที่สาธารณะ มีเป้าหมายให้อีกฝ่ายเสียหน้า
6) “การข่มขู่” คือ ยุทธศาสตร์ข่มขู่
7) “เกิดความเสียหาย” คือ เริ่มมองว่าฝ่สยตรงข้ามไม่ใช่มนุษย์ การทำร้ายหรือทำลายเป็นไปตามความเหมาะสม
8) “แยกสลาย” คือ ทำลายล้างศัตรู
9) “ลงเหวไปด้วยกัน” คือ การเผชิญหน้าขั้นเด็ดขาด ยอมทำทุกอย่างเพื้อให้คู่ขัดแย้งเสียหาย แม้การกระทำนั้นตนเองจะเสียหายด้วยก็ตาม คนกลาง จึงมีหน้าที่สร้างบรรยากาศในการพูดคุยกัน

4. การวิเคราะห์มุมมองความขัดแย้ง : Conflict Perspective Analysis CPA เป็นการแยกข้อเท็จจริงและการตีความ แยกคนออกจากปัญหา หาจุดยืนกับความต้องการ ปรับมุมมองจากเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นทุกความต้องการเป็นไปได้ ขยายมุมมองมองอย่างรอบด้านครอบคลุม เสนอแนะและตั้งสมมติฐานเพื่อเปิดทางเลือกจากมุมมองต่างๆ ที่ไม่จำกัดเพียงมุมมองของคู่ขัดแย้ง Conflict Perspective Analysis CPA : วิธีทำสามารถแบ่งออก 7 ขั้นตอน คือ 1) นำเสนอ 2) ตัวแสดง 3) ข้อเท็จจริง 4) แรงจูงใจหรือผลประโยชน์ 5) ทางเลือก 6) ตรวจสอบความเป็นไปได้ :ประเมินความเป็นไปได้ของทางเลือกที่เสนอมาในข้อที่ 5 อาจมีการปรับปรุง 7) ค้นพบข้อเสนอ : คู่ขัดแย้งแสดงความเห็นเกี่ยวกับทางออกที่เป็นไปได้ และอาจมีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม

5. แผนที่ความกลัวและความต้องการ : Needs-Fears Mapping

เพื่อแสดงคุณลักษณะต่างๆ ของตัวแสดงในความขัดแย้งเพื่อให้เห็นอย่างเปรียบเทียบ ให้ความสำคัญดับความต้องการและความกลัวมากกว่าที่จะมองจุดยืน มองหาวิธีการที่เป็นไปได้ในการจัดการกับความต้องการและความกลัว ให้เข้าใจหรือมองเห็นมุมมองของคนอื่น และกระตุ้นให้เกิดการสนทนา

จึงมีการวิเคราะห์ความขัดแย้งเกี่ยวกับวัคซีนต้นโควิด ประเด็นในการวิเคราะห์ความขัดแย้งคือ ทั่วโลกต้องเจอกับการระบาดของไวรัสอันตราย บริษัทต่างๆ ได้คิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัส รัฐบาลประเทศหนึ่งดำเนินการจัดซื้อวคัซีนเพื่อแจกจ่ายให้กบัประชาชน แต่ปริมาณวัคซีนที่จัดหาได้ไม่เพียงพอกับจำนวนประชากร ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นหนึ่ง ต้องการจัดซื้อวัคซีนเอง เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ ต่อมารัฐบาล ประกาศว่ารัฐบาลจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อวัคซีนทั้งหมด โดยไม่ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นดำเนินการ เพราะเห็นว่าการจัดซื้อวัคซีนอยู่ภายใต้ภาวะวิกฤตรัฐบาลควรมีอำนาจสั่งการเต็ม แต่องค์กรปกครองท้องถิ่นเห็นว่าการแก้ปัญหาของรัฐบาล ไม่ตรงกกับความต้องการของพื้นที่ จึงต้องการดำเนินการเอง วงล้อความขัดแย้ง หรือ Conflict Wheel ทำให้เห็นภาพรวมของความความขัดแย้งด้านวัคซีน จากการวิเคราะห์ประกอบด้วย

1)ตัวแสดงคู่ขัดแย้ง คือ รัฐบาลกับ อปท.

2)ประเด็นความขัดแย้ง คือ การจัดหาวัคซีน

3)พลวัตความขัดแย้ง คือ อำนาจที่ไม่ชัดเจน

4)โครงสร้างและบริบท คือ อำนาจเต็มของรัฐบาลในการจัดการภาวะวิกฤต

5)สาเหตุความขัดแย้ง คือ ปริมาณวัคซีนจัดหาได้จำกัด และไม่เพียงพอ

6)ยุทธศาสตร์และทางเลือก/วิธีการ คือ กระจายอำนาจในการจัดการในภาวะวิกฤตเพื่อให้ตรงตามความต้องการในพื้นที่ และเพิ่มศักยภาพในการจัดหาของรัฐบาล เช่น การผ่อนคลายมาตรการระเบียบจัดซื้อ

ดังนั้น มีการวิเคราะห์มุมมองความขัดแย้ง: Conflict Perspective Analysis :CPA ในมิติของวัคซีน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ การนำเสนอ ผู้เกี่ยวข้องตัวแสดง ข้อเท็จจริง แรงจูงใจผลประโยชน์ ทางเลือก ตรวจสอบความเป็นไปได้ และค้นพบข้อเสนอ จึงมีการวิเคราะห์ความขัดแย้ง รวมถึงรูปแบบการยกระดับความขัดแย้ง ด้วยการเสนอทางออกความขัดแย้งวัคซีนต้านโควิด ผ่านวงล้อและวิเคราะห์มุมมองความขัดแย้งผ่าน CPA Model การวิเคราะห์ความขัดแย้งจึงมองมิติกับพระพุทธศาสนาคือ อริยสัจ 4 คือ ปัญหา สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้สาเหตุของปัญหา เครื่องมือของการวิเคราะห์และการมองความขัดแย้งอย่างเป็นระบบ

Leave a Reply