หัวใจระทึก กับศึกเลือกตั้ง 2562

โดย..บุญเลิศ  ช้างใหญ่

หลังจากมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งส.ส.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา สิ่งที่จะติดตามมาคือ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศวันเลือกตั้ง ให้เป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์

2562 เปิดรับสมัครวันที่ 14 – 18 มกราคม 2562

                        พรรคการเมืองประกาศรายชื่อผู้จะเป็นนายกรัฐมนตรี

 ความสนใจของประชาชนอยู่ที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาจะยอมให้พรรคพลังประ ชารัฐ เสนอชื่อเป็นนายกฯหรือไม่

                        การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการซึ่งผู้สมัครได้เบอร์กันแล้วจะเริ่มขึ้น

                        ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คนมี 1 เสียง จะถูกรุมตอมด้วยการป่าวประกาศเชิญชวนจากพรรคการเมืองต่างๆเพื่อจะช่วงชิงเอา 1 คะแนนนั้นไปให้ได้

                        ไม่เพียงแต่จะชี้ชะตาให้ใครได้รับเลือกเป็นส.ส.ในเขต ยังส่งผลถึงการได้เป็น    ส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรค รวมทั้งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

                        เจตนารมณ์ของประชาชนที่แสดงออกผ่านการกาเบอร์ผู้สมัคร จะเป็นตัวกำหนดทิศ ทางการเมือง และการบริหารประเทศ

                        การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคและผู้สมัครในช่วงเดือนเศษนับแต่ ผู้สมัครได้เบอร์ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ทั้งกระแสและกระสุน  รวมทั้งเหลี่ยมเล่เพทุบาย

เพื่อจะเอา 1 เสียงของผู้มีสิทธิไปให้ได้

                       พรรคการเมืองเก่า – ใหม่ พรรคการเมืองใหญ่ – กลาง – เล็ก มีความได้ เปรียบ เสีย เปรียบต่างกัน

                        ก่อนถึงวันเลือกตั้งจะมีการวิเคราะห์วิจารณ์ พยากรณ์ผลการเลือกตั้งว่า    พรรคไหนจะได้จำนวนส.ส.เท่าไร  ใครมีโอกาสนายกฯ พรรคไหนจะเป็นแกนจัดตั้งรัฐบาล จะร่วมกับพรรคใดบ้าง  คะแนนเสียงรวมแล้วได้ประมาณเท่าไร  ส.ว. 250 คน คสช.จะจิ้มเอาใครมาเป็น

                        เสถียรภาพของรัฐบาลจากจำนวนส.ส. ที่ต้องได้เกินครึ่ง และส.ว.ที่คสช.แต่งตั้งในรอบสุดท้ายโดยมี 6 ผู้นำกองทัพและตำรวจมาเป็นส.ว.โดยตำแหน่งจะมีส่วนในการประคับ ประคองการเมือง จะช่วยพลิกผันสถานการณ์ได้หรือไม่

                        ประเทศไทยว่างเว้นการเลือกตั้งมาเกือบ 10 ปี ครั้งสุดท้ายเลือกตั้งเมื่อ 3 กรฎาคม 2554

                        ครั้งนั้น ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือพรรคเพื่อไทย15,744,190คะแนน ได้ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อรวม 265 คน

รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน    ได้ส.ส.เขตและบัญชีรายชื่อ รวม 159 คน

                        ถัดมา 5 ปี มีการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน   เมื่อวันที่ 7 สิงหา คม 2559 จากจำนวนผู้มีสิทธิ 50,071,589 คน  มีผู้ให้ความเห็นชอบ16,820,402 คะแนน ไม่เห็นชอบ10,598,037  คะแนน บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนนจำนวน 936,209 บัตร

                        อย่างไรก็ตาม ความชอบธรรม หรือความมีเหตุและผลในความรู้สึกของประชาชนที่เอาการแก้ไขปัญหาของประเทศเป็นเดิมพัน คือคำตอบที่ยั่งยืนของการเลือกตั้งครั้งหน้านี้

////////////////////

Leave a Reply