วันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล อาจารย์ผู้ออกแบบพัฒนาซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ภาษาบาลี มหวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย( มจร) วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม คณะกรรมการจัดทำสัททานุกรมพระไตรปิฎกเชิงวิจัย ฉบับบาลี-ไทย เปิดเผยว่า ประมาณ 4-5 วัน ที่ผ่านมาได้รับข้อความใน Messenger จากอดีตมหาเปรียญที่สนใจเรียนบาลีคัมภีร์สัททาวิเสส และได้คุยกันเรื่องการสวดสาธยายคาถาอาราธนาธรรม “พฺรหฺมา จ โลกาธิปตี ฯลฯ” เรื่องนี้ได้เขียนเรียบเรียงในงานวิจัยทำเป็นบทความตีพิมพ์เผยแผ่เมื่อปี 2556 ประเด็นเรื่อง “ผิด ถูก” ก็ว่ากันตามหลักฐาน ทั้งในพระไตรปิฎก อรรถกถา
“เมื่อครั้งที่ผมเรียนคัมภีร์ฉันทลักษณ์ “วุตโตทัย” สอนโดยอาจารย์รุ่งอรุณ จันทร์สงคราม เมื่อปี 2534 ที่สถาบันบาฬีศึกษาพุทธโฆส (สมัยนั้น ยังไม่เข้าในสังกัดมหาจุฬาฯ) สนุกสนานครับ เรียนกฎฉันทลักษณ์แล้วเปิดบาลีพระไตรปิฎก ฝึกตรวจทานสูตรวุตโตทัย มีหลายแห่งครับ ในหนังสือที่พิมพ์เผยแผ่ เช่นบทสวดมนต์ต่าง ๆ อักขระคลาดเคลื่อนและสวดสาธยายต่อ ๆ กันมา” รศ.ดร.เวทย์ กล่าวและว่า
จึงต้องการให้อย่างน้อยก็รู้ว่า “เรียนบาลีกัจจายนสูตร วุตโตทัย ที่พระศรีสุทธิพงศ์ แนะนำให้สามเณรเวทย์ท่องจำและเรียนอย่างจริงจัง มีประโยชน์เป็นอริยทรัพย์ติดตามไปทุกภพชาติ”
รศ.ดร.เวทย์ ระบุด้วยว่า อ่านเอกสารที่ตนได้เขียนเรียบเรียงในโพสต์ผ่านทางเฟซบุ๊ก Wate Bunnakornkul (ทั้งหมด 41 หน้า) โดยให้เปิดพระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ 33 หน้า 435 ประกอบด้วย จะรู้ว่า “… ที่เราสวด ๆ กันในมนต์พิธี คลาดเคลื่อนอย่างไร?” โดยสามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/100004489845162/posts/1387961154696866?sfns=mo
Leave a Reply